เรื่องมีอยู่ว่า นาง A มีพี่น้อง 5 คน นาง A ได้แต่งงานกับนาย ก. มีลูกด้วยกัน 3 คน แต่แล้ว นางA และลูกๆ เสียชีวิตพร้อมกัน (ย้ำว่าพร้อมกันครับ) นาย ก. ได้เป็นผู้จัดการมรดกของนาง A และได้นำทรัพย์สินของนาง A ไปกู้เงิน เพื่อมาบริหารธุรกิจ เวลาผ่านไป พี่น้องของนางA ฟ้องแบ่งมรดกและขอเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับนาย ก. ศาลสั่งให้นาย B น้องชายของนาง A เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันกับนาย ก. และเหล่าพี่น้องของนาง A ก็ฟ้องต่อผู้จัดการมรดกทั้งสอง ให้แบ่งทรัพย์สินที่ควรจะเป็นของพี่น้องนาง A โดยชอบธรรม เนื่องจาก ลูกๆของนาง A ซึ่งเป็นทายาทลำดับที่ 1 ได้เสียชีวิตหมดแล้ว มรดกจึงต้องแบ่งระหว่างนาย ก. กับเหล่าพี่น้องของนาง A แต่แล้วทีนี้ยื่นฟ้องไป ศาลชั้นต้นยกฟ้อง เนื่องจากศาลให้ความเห็นว่านาย ก. ไม่มีทรัพย์สินพอที่จะจ่ายให้ เนื่องจากมีหนี้ เยอะกว่าทรัพย์สิน (ซึ่งความเป็นจริงตรงกันข้าม) จึงยื่นอุทธรณ์ต่อ ศาลอุทธรณ์ยืนคำพิพากษาตามศาลชั้นต้น คือยกฟ้อง
-ผมอยากทราบว่าถ้ายื่นฎีกาต่อไป ผลจะออกมาแบบไหนครับ
-กรณีแบบนี้ พี่น้องนาง A มีสิทธิ์ได้รับส่วนแบ่งโดยชอบธรรมใช่หรือไม่
-หนี้ที่นาย ก. เป็นคนก่อหลังจากนาง A ตาย ให้ถือเป็นมรดกที่เหล่าพี่น้องนาง A ต้องร่วมรับหรือไม่
-นาย B ที่ได้เป็นผู้จัดการมรดกร่วม สามารถจัดการอะไรกับกองมรดกได้บ้างครับตามกฎหมาย(นาย ก. ไม่ให้นาย B แตะอะไรแม้แต่อย่างเดียว คือไม่ให้ยุ่งกับกองมรดก)
-สุดท้าย คดีนี้พวกท่านคิดว่าต้องฟ้องแบบไหนครับ พี่น้องนางA จึงจะมีสิทธิ์ชนะ และได้รับส่วนแบ่งมรดกจากนาย ก.
ปล. นาย ก. มีทรัพย์สินส่วนหนึ่งที่สามารถขายทอดตลาดแล้วได้เงินมาใช้หนี้ + ให้พี่น้องนางA แบบสบายๆครับ
อยากสอบถามกฎหมายคดีมรดกหน่อยครับ (ซับซ้อน)
-ผมอยากทราบว่าถ้ายื่นฎีกาต่อไป ผลจะออกมาแบบไหนครับ
-กรณีแบบนี้ พี่น้องนาง A มีสิทธิ์ได้รับส่วนแบ่งโดยชอบธรรมใช่หรือไม่
-หนี้ที่นาย ก. เป็นคนก่อหลังจากนาง A ตาย ให้ถือเป็นมรดกที่เหล่าพี่น้องนาง A ต้องร่วมรับหรือไม่
-นาย B ที่ได้เป็นผู้จัดการมรดกร่วม สามารถจัดการอะไรกับกองมรดกได้บ้างครับตามกฎหมาย(นาย ก. ไม่ให้นาย B แตะอะไรแม้แต่อย่างเดียว คือไม่ให้ยุ่งกับกองมรดก)
-สุดท้าย คดีนี้พวกท่านคิดว่าต้องฟ้องแบบไหนครับ พี่น้องนางA จึงจะมีสิทธิ์ชนะ และได้รับส่วนแบ่งมรดกจากนาย ก.
ปล. นาย ก. มีทรัพย์สินส่วนหนึ่งที่สามารถขายทอดตลาดแล้วได้เงินมาใช้หนี้ + ให้พี่น้องนางA แบบสบายๆครับ