หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งเกิดขึ้นในยุโรปเป็นส่วนใหญ่และมีทหารและพลเรือนเสียชีวิตกว่า 13 ล้านคน ซึ่งทำให้การแข่งขันแบดมินตัน All England ต้องหยุดการแข่งขันไป 5 ปีคือ 1915-1919 แต่ก็ทำให้ประเทศชนะสงครามอย่างอังกฤษเองก็สูญเสียไม่น้อย
แต่การสูญเสียทั้งเรื่องเศรษฐกิจและสังคม ทำให้ต้องเร่งฟื้นฟู และ”กีฬา”เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ทุกฝ่ายเห็นตรงกันว่าจะเป็นทั้งความบันเทิงและสร้างสามัคคี ดังนั้น ในปี 1920 หรือปีเพียงเดียวหลังสงครามโลกครั้งแรกยุติ การแข่งขันแบดมินตันรายการเก่าแก่ที่สุดของโลก คือ All England ก็เริ่มทันทีในช่วงวันที่ 2 -7 มีนาคม 1920
ซึ่งบุคคลที่สามารถทำให้ชาวอังกฤษมีความสุขหลังผ่านความยากลำบากจากเหตุร้ายในสงครามโลก ก็ยังคงเป็น Sir George Thomas ที่ลงแข่งขันโดยใช้ชื่อ(ใหม่)ว่า George Alan ที่คว้าแชมป์ชายเดี่ยวติดต่อกัน 4 ปีคือ 1920-1923 และเป็นแชมป์ชายคู่ในปี 1921 ,1924 ,1928 ขณะที่ประเภทคู่ผสม ก็เป็นแชมป์ 3 ปีซ้อนในปี 1920-1922
สำหรับ Sir George Thomas ต้องถือเป็น”สุภาพบุรุษนักกีฬาตัวจริง” เพราะนอกจาก”แบดมินตัน ที่เขาเป็นแชมป์ All England ถึง 21 รายการแล้ว ก็ยังเคยลงแข่งขันเทนนิส Wimbledon และเข้าถึงรอบรองชนะเลิศประเภทชายคู่ในปี 1911 และรอบ Quarter Final ประเภทชายเดี่ยว รวมทั้งเป็นแชมป์หมากรุก British Chess Champion ถึง 2 ครั้ง
แต่กีฬาที่ Sir George Thomas หลงใหลมากที่สุดก็คือ”แบดมินตัน” และเขามุ่งหวังที่จะเห็นการขยายตัวของกีฬานี้ให้มากขึ้น จึงเป็นตัวตั้งตัวตีในการจัดตั้ง International Badminton Federation หรือ IBF ขึ้นในปี 1934 และรับหน้าที่เป็นประธานในปี 1934-1955 และพัฒนาระบบการบริหารจนเป็น Badminton World Federation หรือ BWF ในปัจจุบัน
ชื่อของเขาสำหรับวงการแบดมินตันในทุกวันนี้ก็คือ การแข่งขันชิงถ้วย Thomas Cup หรือการชิงแชมป์แบดมินตันประเภททีมชาย ที่จะจัดขึ้นที่กรุงเทพฯในเดือนพฤษภาคมนี้
ขณะเดียวกัน 20 ปีหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ก่อนที่จะหยุดการแข่งขันอีกครั้งในช่วงปี 1940-1946 ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ การขยายตัวของกีฬาประเภทนี้ ที่มีมากขึ้นในภาคพื้นยุโรป และทำให้”แชมป์”มีนักแบดมินตันมากมายจากหลาชาติที่ไม่ได้เป็นแค่”นักกีฬาอังกฤษ”ที่ครองแชมป์แบบผูกขาดมายาวนาน
โดยหลังจาก Guy Sautter นักแบดมินตันชาวสวิสที่เคยคว้าแชมป์ชายเดี่ยวและคู่ผสมก่อนสงครามโลกแล้ว ก็มีนักกีฬาแบดมินตันขจากสาธารณรัฐไอร์แลนด์หลายคนมาคว้าแชมป์ โดยคนแรกคือ Frank Devlin ที่คว้าแชมป์ชายคู่เมื่อจับคู่กับ Guy Sautter ในปี 1922 แถมยังชนะ Sir George Thomas - Frank Hodge ในรอบชิง 15–7, 15–9 ดับความฝันของ Sir George Thomas ที่จะเป็นดับเบิลแชมป์ในปีนั้น
นอกจากนั้น ก็มี Gordon Mack ที่คว้าแชมป์ชายคู่และคู่ผสมในปี 1923 และเป็นแชมป์ชายเดี่ยวในปี 1924 ที่เขาชนะ Sir George Thomas ในรอบชิง 17-15, 9-15, 15-6 ทำให้ Sir George Thomas ไม่สามารถเป็นแชมป์ชายเดี่ยวสมัยที่ 5 ติดต่อกัน
แต่”วีรบุรุษ”ในวงการแบดมินตันของไอร์แลนด์ตัวจริง ก็ต้องยกให้ Frank Devlin ที่คว้าแชมป์ All England ถึง 18 รายการในช่วงปี 1925 -1931 โดยเป็นแชมป์ชายเดี่ยว 6 ครั้งคือปี 1925-1929 และ 1931 ที่เหลือเป็นแชมป์ชายคู่และคู่ผสม
ปิดท้ายก่อนที่จะหยุดการแข่งขัน 7 ปีในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 1940-1946 ก็มีบันทึกว่ามีนักแบดมินตันหญิงเดี่ยวต่างชาติคนแรกที่มาคว้าแชมป์หญิงเดี่ยวในปี 1939 แถมเป็นนักกีฬาที่บินข้ามทวีปมาด้วย นั่นคือ Dorothy Walton นักแบดมินตันสาวชาวแคนาดา และได้รับการยกย่องเป็นหนึ่งในนักกีฬา Canadian Olympic Hall of Fame
นอกจากนั้น ก็มีนักกีฬาจาก”เดนมาร์ค”มาร่วมแข่งขันและคว้าถึง 2 แชมป์ในปีสุดท้ายก่อนพักยาวในช่วงสงครามโลก คือในปี 1939 โดย Tage Madsen คว้าแชมป์ชายเดี่ยว Ruth Dalsgaard - Tonny Olsen คว้าแชมป์หญิงคู่ แถม Thomas Boyle - James Rankin จากไอร์แลนด์ แชมป์ชายคู่ โดยนักกีฬาอังกฤษได้แชมป์ประเภทเดี่ยวจาก Ralph Nichols - Bessie M. Staples ในประเภทคู่ผสม
และนั่นเป็นสัญญาณเตือนว่า”หมดเวลา”ของนักแบดมินตันอังกฤษในศึก All England
Cr. Photo Badminton England
ที่มา :
http://badmintonthaitoday.com/news_allengland_detail.php?nid=1493
All England ... เวทีเกียรติยศนักแบดมินตัน (ตอน 3) All England ... เปิดตำนาน Sir George Thomas
แต่การสูญเสียทั้งเรื่องเศรษฐกิจและสังคม ทำให้ต้องเร่งฟื้นฟู และ”กีฬา”เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ทุกฝ่ายเห็นตรงกันว่าจะเป็นทั้งความบันเทิงและสร้างสามัคคี ดังนั้น ในปี 1920 หรือปีเพียงเดียวหลังสงครามโลกครั้งแรกยุติ การแข่งขันแบดมินตันรายการเก่าแก่ที่สุดของโลก คือ All England ก็เริ่มทันทีในช่วงวันที่ 2 -7 มีนาคม 1920
ซึ่งบุคคลที่สามารถทำให้ชาวอังกฤษมีความสุขหลังผ่านความยากลำบากจากเหตุร้ายในสงครามโลก ก็ยังคงเป็น Sir George Thomas ที่ลงแข่งขันโดยใช้ชื่อ(ใหม่)ว่า George Alan ที่คว้าแชมป์ชายเดี่ยวติดต่อกัน 4 ปีคือ 1920-1923 และเป็นแชมป์ชายคู่ในปี 1921 ,1924 ,1928 ขณะที่ประเภทคู่ผสม ก็เป็นแชมป์ 3 ปีซ้อนในปี 1920-1922
สำหรับ Sir George Thomas ต้องถือเป็น”สุภาพบุรุษนักกีฬาตัวจริง” เพราะนอกจาก”แบดมินตัน ที่เขาเป็นแชมป์ All England ถึง 21 รายการแล้ว ก็ยังเคยลงแข่งขันเทนนิส Wimbledon และเข้าถึงรอบรองชนะเลิศประเภทชายคู่ในปี 1911 และรอบ Quarter Final ประเภทชายเดี่ยว รวมทั้งเป็นแชมป์หมากรุก British Chess Champion ถึง 2 ครั้ง
แต่กีฬาที่ Sir George Thomas หลงใหลมากที่สุดก็คือ”แบดมินตัน” และเขามุ่งหวังที่จะเห็นการขยายตัวของกีฬานี้ให้มากขึ้น จึงเป็นตัวตั้งตัวตีในการจัดตั้ง International Badminton Federation หรือ IBF ขึ้นในปี 1934 และรับหน้าที่เป็นประธานในปี 1934-1955 และพัฒนาระบบการบริหารจนเป็น Badminton World Federation หรือ BWF ในปัจจุบัน
ชื่อของเขาสำหรับวงการแบดมินตันในทุกวันนี้ก็คือ การแข่งขันชิงถ้วย Thomas Cup หรือการชิงแชมป์แบดมินตันประเภททีมชาย ที่จะจัดขึ้นที่กรุงเทพฯในเดือนพฤษภาคมนี้
ขณะเดียวกัน 20 ปีหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ก่อนที่จะหยุดการแข่งขันอีกครั้งในช่วงปี 1940-1946 ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ การขยายตัวของกีฬาประเภทนี้ ที่มีมากขึ้นในภาคพื้นยุโรป และทำให้”แชมป์”มีนักแบดมินตันมากมายจากหลาชาติที่ไม่ได้เป็นแค่”นักกีฬาอังกฤษ”ที่ครองแชมป์แบบผูกขาดมายาวนาน
โดยหลังจาก Guy Sautter นักแบดมินตันชาวสวิสที่เคยคว้าแชมป์ชายเดี่ยวและคู่ผสมก่อนสงครามโลกแล้ว ก็มีนักกีฬาแบดมินตันขจากสาธารณรัฐไอร์แลนด์หลายคนมาคว้าแชมป์ โดยคนแรกคือ Frank Devlin ที่คว้าแชมป์ชายคู่เมื่อจับคู่กับ Guy Sautter ในปี 1922 แถมยังชนะ Sir George Thomas - Frank Hodge ในรอบชิง 15–7, 15–9 ดับความฝันของ Sir George Thomas ที่จะเป็นดับเบิลแชมป์ในปีนั้น
นอกจากนั้น ก็มี Gordon Mack ที่คว้าแชมป์ชายคู่และคู่ผสมในปี 1923 และเป็นแชมป์ชายเดี่ยวในปี 1924 ที่เขาชนะ Sir George Thomas ในรอบชิง 17-15, 9-15, 15-6 ทำให้ Sir George Thomas ไม่สามารถเป็นแชมป์ชายเดี่ยวสมัยที่ 5 ติดต่อกัน
แต่”วีรบุรุษ”ในวงการแบดมินตันของไอร์แลนด์ตัวจริง ก็ต้องยกให้ Frank Devlin ที่คว้าแชมป์ All England ถึง 18 รายการในช่วงปี 1925 -1931 โดยเป็นแชมป์ชายเดี่ยว 6 ครั้งคือปี 1925-1929 และ 1931 ที่เหลือเป็นแชมป์ชายคู่และคู่ผสม
ปิดท้ายก่อนที่จะหยุดการแข่งขัน 7 ปีในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 1940-1946 ก็มีบันทึกว่ามีนักแบดมินตันหญิงเดี่ยวต่างชาติคนแรกที่มาคว้าแชมป์หญิงเดี่ยวในปี 1939 แถมเป็นนักกีฬาที่บินข้ามทวีปมาด้วย นั่นคือ Dorothy Walton นักแบดมินตันสาวชาวแคนาดา และได้รับการยกย่องเป็นหนึ่งในนักกีฬา Canadian Olympic Hall of Fame
นอกจากนั้น ก็มีนักกีฬาจาก”เดนมาร์ค”มาร่วมแข่งขันและคว้าถึง 2 แชมป์ในปีสุดท้ายก่อนพักยาวในช่วงสงครามโลก คือในปี 1939 โดย Tage Madsen คว้าแชมป์ชายเดี่ยว Ruth Dalsgaard - Tonny Olsen คว้าแชมป์หญิงคู่ แถม Thomas Boyle - James Rankin จากไอร์แลนด์ แชมป์ชายคู่ โดยนักกีฬาอังกฤษได้แชมป์ประเภทเดี่ยวจาก Ralph Nichols - Bessie M. Staples ในประเภทคู่ผสม
และนั่นเป็นสัญญาณเตือนว่า”หมดเวลา”ของนักแบดมินตันอังกฤษในศึก All England
Cr. Photo Badminton England
ที่มา : http://badmintonthaitoday.com/news_allengland_detail.php?nid=1493