ก่อนอ่านจ้า อยากบอกว่าทั้งหมดที่จะเขียนในกระทู้นี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัว ไม่ได้มีเจตนาจะว่าร้าย ดูถูก หรือส่งเสริมสถาบันหรือพฤติกรรมใดๆก็ตามที่ถูกเขียนขึ้นในกระทู้นะคะ ไม่ดราม่าๆ ไม่โลกสวย
สวัสดีค่ะ แนะนำตัวก่อน ตอนนี้เรากำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยชื่อดังแห่งหนึ่งในประเทศไทยที่มีหลักสูตรนานาชาติ
ตั้งแต่เด็ก ที่บ้านเรานับได้ว่าเป็นครอบครัวที่พอมีพอกิน แม่เลยเลือกที่จะส่งเสียให้เรียนโรงเรียนนานาชาติ
พอจบมาผลที่ได้รับคือ ภาษาเราดีมากๆ ใช้ภาษาอังกฤษ และภาษาที่สามสี่ได้ในระดับดีมาก แต่ภาษาไทยเราไม่ค่อยแข็งแรง (แปลว่าในกระทู้นี้อาจจะมีพิมพ์ผิดไปบ้างอย่างโทษกันนะคะ) และเลขเราก็ไม่ค่อยแม่น เกรดเราตอนก่อนสอบเข้ามหาลัยอยู่ในระดับที่ถือว่าดีมาก ประมาณ 3.98 ได้
ทีนี้เราก็เลือกที่จะเข้ามหาลันแห่งหนึ่ง เพราะที่บ้านเราอยากให้เข้า แล้วก็ต้องเลือกเป็นภาคอินเตอร์ เพราะเราคงเรียนในห้องที่อาจารย์สอนเป็นภาษาไทยไม่ถนัดเท่าการเรียนการสอนที่เป็นภาษาอังกฤษเพราะเรียนแบบนี้มาตลอด
พอเข้ามาแล้ว ก็เป็นอย่างที่คิด คือสังคมของเด็กที่จบจากโรงเรียนไทยนั้นค่อนข้างที่จะมีอธิผลสูง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องคะแนน การตัดเกรดในแต่ละวิชา หรือสังคมเพื่อนทั่วไป
เข้าเรื่องที่ถามในหัวข้อกระทู้คือ ใบปริญญาราคาเท่าไหร่
ถึงเราจะจบจากโรงเรียนนานาชาติมา อาจจะดูเหมือนบ้านมีฐานะ แต่เราเป็นคนที่ขี้เหนียวมากๆ (ฮ่าๆ) ดังนั้นเราจะเป็นคนที่ซีเรียสกับเรื่องนี้นิดนึง
คำถามนี้มันติดอยู่ในหัวเรามาสักพักละ (ทั้งๆที่ควรรีบไปอ่านสอบมิดเทอมนะ)
1. เรียนพิเศษระดับมหาลัย
เป็นอะไรที่แผร่หลายมากในหมู่เด็กมหาลัยที่เรียนหลักสูตรนานาชาติ ซึ่งส่วนมากที่เรียนจะเป็นเด็กที่จบมาจากโรงเรียนไทย เด็กที่จบจากโรงเรียนนานาชาติก็มีเรียนบ้างแต่ถือว่าส่วนน้อย (ซึ่งพอเรียนไปเรื่อยๆ เริ่มรู้สึกว่ามันเพิ่มจำนวน) กลายเป็นว่าพอคนส่วนมากเลือกที่จะเรียนพิเศษ มันทำให้คนส่วนน้อยที่ไม่ได้เรียนนั้นเหมือนถูกผลกระทบ ถึงจะไม่โดนแบบตรงๆ แต่มันก็กระทบในทางอ้อมอยู่ดี เช่น
1.1 รู้สึกว่าสู้เพื่อนที่เรียนพิเศษไม่ได้
รุ่นพี่ที่สอนพิเศษมักจะมีเฉลยข้อสอบเก่าๆ ที่ถ้าไม่เรียนก็ไม่ได้ ไม่มีโจทย์ให้ฝึกทำ หาแนวไม่ได้ หัวข้อนี้พูดรวมไปจนถึงข้อสอบร่ั่ว คือ ข้อสอบจริงๆ นั้นเหมือนกับเฉลยที่พี่ที่สอนพิเศษให้มา ต่างแค่ตัวเลขที่เปลี่ยนไป เด็กที่ไม่ได้เรียนพิเศษ คืออ่านแถบเป็นแถบตาย แต่ไม่ตรง จบข่าว บอกลาเกรดไปได้เลยค่ะ
1.2 อาจารย์ไม่ปรับปรุง
เพราะว่าถึงตัวเองจะสอนแย่ยังไง หรือมี teaching material ที่ไม่ดีแค่ไหน นิสิตก็สามารถที่จะทำข้อสอบ แล้วไปแสวงหามันมาได้อยู่ดี
มีวิชาหนึ่งที่เคยเรียนมาคือ อาจารย์สอนกว้างมาก แต่ตอนสอบกลับให้คะแนนโดยนับจำนวน keyword ถ้าได้อ่านชีทเฉลย คือเต็ม ถ้าไม่อ่าน มี chance ที่จะเลือก keyword ที่อจ ต้องการได้น้อยมาก (แบบนี้ก็ได้หรอ)
2. จ้างทำรายงาน
เราไม่รู้ว่ามันเป็นเรื่องที่ปกติหรือเปล่าที่มันเป็นเรื่องปกติที่เขาทำกันอยู่แล้ว ยกตัวอย่างเช่นอาจารย์สั่งทำ essay 1500 คำ สำหรับเรา เราไม่คิดว่ามันเยอะอะไรมากมาย และสามารถเขียนได้ทันตามเวลาที่อจ เห็นสมควร แต่เราโดนตอกกลับมาว่า "สู้เอาเวลาไปอ่านตัวอื่นไม่ดีกว่าหรอวะ" อ่าว
สรุปกูโง่นี่หว่า ทำไมไม่ฉลาดเหมือนเค้าวะ
เราถูกสอนและคิดเสมอว่า Nothing is fair in this world และไม่ได้อยากบ่นถ้าเกรดมันจะห่างกันเพราะด้วยเหตุอะไรก็ตาม (เกรดเราตอนนี้ถือว่าเป็นเด็ก B- A แล้วแต่บุญแต่กรรม) ถึงแม้ว่าเราทุกคนที่รับปริญญาจบไปจะโดน Judge ด้วยบรรทัดฐานเดียวกัน คิดเสมอว่าเกรดก็เป็นเพียงตัวเลข ประสบการณ์และความตั้งใจต่างหากที่จะทำให้เราแตกต่าง
แต่ก็ไม่รู้ว่ากี่ครั้งที่ไอ้เลข กับจุดทศนิยมสองหน่วย มีผลกับชีวิตมากแค่ไหน ยิ่งช่วงสอบ การผิดใจกันเรื่องงานกลุ่ม การเหมือนบังคับของเลคเชอร์กลลายๆ
การแซงคิวขอจ้างรุ่นพี่เขียนรายงาน การทะเลาะกันแย่งเวลาเรียนพิเศษ ก็มีให้เห็นจนน่ารำคาญ
สรุปคือ การศึกษาไทยอาจจะไม่ได้ห่วยแตก แต่เป็นความคิดของสังคมผู้ศึกษาเองที่พังไม่เป็นท่า
ในมหาลัยที่ผู้เข้าศึกษาประกาศว่าตัวเองเป็นหัวกะทิ เป็นคนที่จะกลายเป็น someone อนาคต ยัง logic ป่วยขนาดนี้ แล้วอนาคตจะต้องมีเด็กที่มีความคิดแบบนี้ออกมาอีกกี่ล้านคน
ถ้ารวย ถึงจะเป็นมหาลัยรัฐ ก็จบได้แล้วใช่ปะ
ไปอ่านหนังสือละ
ใบปริญญาราคาเท่าไหร่
สวัสดีค่ะ แนะนำตัวก่อน ตอนนี้เรากำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยชื่อดังแห่งหนึ่งในประเทศไทยที่มีหลักสูตรนานาชาติ
ตั้งแต่เด็ก ที่บ้านเรานับได้ว่าเป็นครอบครัวที่พอมีพอกิน แม่เลยเลือกที่จะส่งเสียให้เรียนโรงเรียนนานาชาติ
พอจบมาผลที่ได้รับคือ ภาษาเราดีมากๆ ใช้ภาษาอังกฤษ และภาษาที่สามสี่ได้ในระดับดีมาก แต่ภาษาไทยเราไม่ค่อยแข็งแรง (แปลว่าในกระทู้นี้อาจจะมีพิมพ์ผิดไปบ้างอย่างโทษกันนะคะ) และเลขเราก็ไม่ค่อยแม่น เกรดเราตอนก่อนสอบเข้ามหาลัยอยู่ในระดับที่ถือว่าดีมาก ประมาณ 3.98 ได้
ทีนี้เราก็เลือกที่จะเข้ามหาลันแห่งหนึ่ง เพราะที่บ้านเราอยากให้เข้า แล้วก็ต้องเลือกเป็นภาคอินเตอร์ เพราะเราคงเรียนในห้องที่อาจารย์สอนเป็นภาษาไทยไม่ถนัดเท่าการเรียนการสอนที่เป็นภาษาอังกฤษเพราะเรียนแบบนี้มาตลอด
พอเข้ามาแล้ว ก็เป็นอย่างที่คิด คือสังคมของเด็กที่จบจากโรงเรียนไทยนั้นค่อนข้างที่จะมีอธิผลสูง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องคะแนน การตัดเกรดในแต่ละวิชา หรือสังคมเพื่อนทั่วไป
เข้าเรื่องที่ถามในหัวข้อกระทู้คือ ใบปริญญาราคาเท่าไหร่
ถึงเราจะจบจากโรงเรียนนานาชาติมา อาจจะดูเหมือนบ้านมีฐานะ แต่เราเป็นคนที่ขี้เหนียวมากๆ (ฮ่าๆ) ดังนั้นเราจะเป็นคนที่ซีเรียสกับเรื่องนี้นิดนึง
คำถามนี้มันติดอยู่ในหัวเรามาสักพักละ (ทั้งๆที่ควรรีบไปอ่านสอบมิดเทอมนะ)
1. เรียนพิเศษระดับมหาลัย
เป็นอะไรที่แผร่หลายมากในหมู่เด็กมหาลัยที่เรียนหลักสูตรนานาชาติ ซึ่งส่วนมากที่เรียนจะเป็นเด็กที่จบมาจากโรงเรียนไทย เด็กที่จบจากโรงเรียนนานาชาติก็มีเรียนบ้างแต่ถือว่าส่วนน้อย (ซึ่งพอเรียนไปเรื่อยๆ เริ่มรู้สึกว่ามันเพิ่มจำนวน) กลายเป็นว่าพอคนส่วนมากเลือกที่จะเรียนพิเศษ มันทำให้คนส่วนน้อยที่ไม่ได้เรียนนั้นเหมือนถูกผลกระทบ ถึงจะไม่โดนแบบตรงๆ แต่มันก็กระทบในทางอ้อมอยู่ดี เช่น
1.1 รู้สึกว่าสู้เพื่อนที่เรียนพิเศษไม่ได้
รุ่นพี่ที่สอนพิเศษมักจะมีเฉลยข้อสอบเก่าๆ ที่ถ้าไม่เรียนก็ไม่ได้ ไม่มีโจทย์ให้ฝึกทำ หาแนวไม่ได้ หัวข้อนี้พูดรวมไปจนถึงข้อสอบร่ั่ว คือ ข้อสอบจริงๆ นั้นเหมือนกับเฉลยที่พี่ที่สอนพิเศษให้มา ต่างแค่ตัวเลขที่เปลี่ยนไป เด็กที่ไม่ได้เรียนพิเศษ คืออ่านแถบเป็นแถบตาย แต่ไม่ตรง จบข่าว บอกลาเกรดไปได้เลยค่ะ
1.2 อาจารย์ไม่ปรับปรุง
เพราะว่าถึงตัวเองจะสอนแย่ยังไง หรือมี teaching material ที่ไม่ดีแค่ไหน นิสิตก็สามารถที่จะทำข้อสอบ แล้วไปแสวงหามันมาได้อยู่ดี
มีวิชาหนึ่งที่เคยเรียนมาคือ อาจารย์สอนกว้างมาก แต่ตอนสอบกลับให้คะแนนโดยนับจำนวน keyword ถ้าได้อ่านชีทเฉลย คือเต็ม ถ้าไม่อ่าน มี chance ที่จะเลือก keyword ที่อจ ต้องการได้น้อยมาก (แบบนี้ก็ได้หรอ)
2. จ้างทำรายงาน
เราไม่รู้ว่ามันเป็นเรื่องที่ปกติหรือเปล่าที่มันเป็นเรื่องปกติที่เขาทำกันอยู่แล้ว ยกตัวอย่างเช่นอาจารย์สั่งทำ essay 1500 คำ สำหรับเรา เราไม่คิดว่ามันเยอะอะไรมากมาย และสามารถเขียนได้ทันตามเวลาที่อจ เห็นสมควร แต่เราโดนตอกกลับมาว่า "สู้เอาเวลาไปอ่านตัวอื่นไม่ดีกว่าหรอวะ" อ่าวสรุปกูโง่นี่หว่า ทำไมไม่ฉลาดเหมือนเค้าวะ
เราถูกสอนและคิดเสมอว่า Nothing is fair in this world และไม่ได้อยากบ่นถ้าเกรดมันจะห่างกันเพราะด้วยเหตุอะไรก็ตาม (เกรดเราตอนนี้ถือว่าเป็นเด็ก B- A แล้วแต่บุญแต่กรรม) ถึงแม้ว่าเราทุกคนที่รับปริญญาจบไปจะโดน Judge ด้วยบรรทัดฐานเดียวกัน คิดเสมอว่าเกรดก็เป็นเพียงตัวเลข ประสบการณ์และความตั้งใจต่างหากที่จะทำให้เราแตกต่าง
แต่ก็ไม่รู้ว่ากี่ครั้งที่ไอ้เลข กับจุดทศนิยมสองหน่วย มีผลกับชีวิตมากแค่ไหน ยิ่งช่วงสอบ การผิดใจกันเรื่องงานกลุ่ม การเหมือนบังคับของเลคเชอร์กลลายๆ
การแซงคิวขอจ้างรุ่นพี่เขียนรายงาน การทะเลาะกันแย่งเวลาเรียนพิเศษ ก็มีให้เห็นจนน่ารำคาญ
สรุปคือ การศึกษาไทยอาจจะไม่ได้ห่วยแตก แต่เป็นความคิดของสังคมผู้ศึกษาเองที่พังไม่เป็นท่า
ในมหาลัยที่ผู้เข้าศึกษาประกาศว่าตัวเองเป็นหัวกะทิ เป็นคนที่จะกลายเป็น someone อนาคต ยัง logic ป่วยขนาดนี้ แล้วอนาคตจะต้องมีเด็กที่มีความคิดแบบนี้ออกมาอีกกี่ล้านคน
ถ้ารวย ถึงจะเป็นมหาลัยรัฐ ก็จบได้แล้วใช่ปะ
ไปอ่านหนังสือละ