ทำไมประเทศเวเนซุเอลา ถีงกำลังจะล่มสลาย ? ในเมื่อมีทรัพยากรน้ำมันมากมาย เหมือน ซาอุ ?

ในเมื่อมีทรัพยากรน้ำมันมากมาย  เหมือนซาอุ เหมือนตะวันออกกลาง  มันก็ไม่น่าหมดตังค์ เศรษฐกิจพังได้เร็วอย่างนี้ไม่ใช่หรอครับ  สงครามแกก็ไม่น่าจะค่อยมี ในช่วง 10-20 ปี ที่ผ่านมา   กลายเป็นซาอุ เสียอีกที่แกโดนภาวะสงครามมากกว่า ไม่ว่าจะกลุ่มไอสิส  หรือ การขัดแย้งในตะวันออกกลาง

บ้างก็ว่าเพราะเวเนประชานิยม  แจกประชาชนผลาญภาษีแหลก พอน้ำมันราคาตก ก็จบกัน  แต่ประเทศซาอุ  เค้าก็ส่งออกน้ำมัน  พี่งน้ำมันเป็นหลักเหมือนกันไม่ใช่หรอครับ  ? ทำไมเค้าถีงอยู่รอดมาได้ทุกวันนี้  ทั้งๆที่เค้าปกครองแบบกษัตริย์   หรือ กี่งๆรัฐศาสนาด้วยซ้ำ   เสรีภาพผู้หญิงก็แทบไม่ค่อยมี  แต่เค้าก็ประคองตัวเองมาถึงทุกวันนี้ได้


ปล pantip เอาแทก เศรษฐกิจออกทำมายยยยย  มันเกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจเลยนะ  เพราะประเทศพวกนี้มันผูกเศรฐษกิจ กับน้ำมัน  โอยย ไม่เข้าใจ จนท pantip เลยย ชอบลบแทก แล้วไม่ถามด้วยนะ
แก้ไขข้อความเมื่อ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
ทั้งสองประเทศมีความเหมือนและแตกต่างกันอยู่อย่างชัดเจน    และนั่นเป็นเหตุผลที่สามารถอธิบายได้ว่า  ทำไมซาอุดิอารเบียถึง  "ยัง"  ไม่ได้อยู่ในสภาพล้มละลายเช่นเดียวกับเวเนซุเอลาเนื่องจากการตกต่ำของราคาน้ำมัน

ในส่วนแรกนั้นต้องเข้าใจก่อนว่า   การที่ราคาน้ำมันคงที่อยู่ในระดับต่ำระหว่าง 63-67$ต่อบาร์เรลในทุกวันนี้    ทำให้ประเทศที่ผลิตน้ำมันขาดรายได้ไปจากเดิมที่ราคาน้ำมันเคยขึ้นไปสูงถึงเกือบ  100$ ต่อบาร์เรลเมื่อปี 2015 มาแล้วนั้ัน   เป็นนโยบายของซาอุเองด้วยที่ต้องการให้เป็นเช่นนั้นด้วยจุดประสงค์หลักๆ  หลายข้อได้แก่   การที่ต้องการจะทำลายธุรกิจน้ำมันเชลออยล์ของอเมริกาไม่ให้เกิดเติบใหญ่ขึ้นมาเป็นคู่แข่งในตลาดได้   เนื่องจากต้นทุนผลิตเชลออยส์นั้นสูงถึง  US$60 / barrel  ในขณะที่ต้นทุนผลิตน้ำมันจากแหล่งน้ำมันปกติมีเพียง  US$9 / barrel   ดังนั้นซาอุจึงใช้กลยุทธ์ผลิตน้ำมันออกสู่ตลาดเท่าที่จำนวนจะรักษาราคาให้อยู่ที่ราคาปัจจจุบัน    เว้นเสียแต่ว่าอเมริกาจะพัฒนากระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นเพื่อลดราคาต้นทุนการผลิตลงไปอีก

นโยบายหวังผลทางการเมืองที่สำคัญอื่นๆ ก็คือ  การสกัดรายได้จากน้ำมันของรัสเซียและอิหร่านซึ่งเป็นศัตรูสำคัญที่สนับสนุนด้านสงครามที่เป็นปฏิปักษ์ต่อซาอุดิอาระเบีย    ด้วยนโยบายเดียวกันนี้ซาอุเคยประสบความสำเร็จในการโค่นล่มชาร์ของอิหร่านมาแล้วในอดีต

ด้านเศรษฐกิจที่ทำให้ซาอุแตกต่างจากเวเนถึงแม้ว่าทั้งสองประเทศจะเป็นประเทศที่มีน้ำมันสำรองมากเป็นอันดับหนึ่งและสองของโลก     ด้วยจำนวนประชากรที่ใกล้เคียงกัน   และใข้นโยบายให้สวัสดิการแกประชาชนอย่างเต็มที่เหมือนๆ กันก็ตาม   ทั้งๆ ที่เวเนมีจำนวนสำรองน้ำมันมากกว่าซาอุด้วยซ้ำไปแต่คุณภาพน้ำมันของเวเนเป็นน้ำมันหนักที่ต้องใช้ต้นทุนในการกลั่นสูง   และน้ำมันของเวเนจะอยู่ลึกลงไปใต้ชั้นดินมากและยังอยู่ห่างฝั่งมากอีกด้วย   ต่างจากน้ำมันของซาอุที่อยู่ในพื้นดินไม่ลึกมากและเป็นน้ำมันคุณภาพดีที่เบาและไม่ต้องลงทุนในการกลั่นมาก  ทำให้ต้นทุนการผลิตน้ำมันของเวเนกับซาอุต่างกันมากมายคือ  เวเน  $28/barrel  ต่อซาอุ $9   ซาอุ Aramco ผลิตราว 10.5m barrel/วัน  ในขณะที่เวเน  PDVSA ผลิตได้เพียง  2.2m เท่านั้น

เมื่อไปดูสถานะทางการเงินของทั้งสองประเทศยิ่งเห็นความแตกต่าง

ตัวเลขล่าสุดปีนี้ 2018  ซาอุมีเงินสำรองในธนาคารกลาง (SAMA) มากกว่า $700Bn รวมกับเงินอยู่ในกองทุนสำหรับลงทุน (PIF, KSA) ในขณะที่เวเนมีอยู่ใน FEM เพียง 0.8Bn.    เมื่อมาดูหนี้สินของประเทศซาอุมีอยู่  $84 Bn (SAR 316.5 Bn )  ในขณะที่เวเนมีสูงถึง$150Bn   รัฐบาลเวเนถึงประกาศล้มละลายไปแล้ว     งบประมาณค่าใช้จ่ายของซาอุอยู่ที่ $261B สำหรับปี 2018 ในขณะที่เวเนมี $8bn    ดูตัวเลขหลักๆ เหล่านี้แล้วก็คงจะเห็นว่าสถานะเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศแตกต่างกันมโหฬาร   ยิ่งมาดูตัวเลขมูลค่าส่งออกน้ำมันของทั้งสองประเทศก็เช่นเดียวกัน   ซาอุส่งออกมูลค่า  $182Bn  เวเนส่งออกเพียง  $34.3Bn

แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าซาอุดิอาระเบียจะไม่ประสบปํญหาจากราคาน้ำมันตกต่ำ   เพราะบริษัทใหญ่ๆ ในซาอุได้ปิดตัวลงไปได้แก่  Saudi Oger หลังจากที่ต้องถูกบังคับให้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างใหม่หมด   การที่รายได้ของประเทศลดลงย่อมส่งผลต่อการใช้จ่ายในประเทศซึ่งรัฐบาลซาอุตระหนักข้อนี้ดีและพยายามหามาตรการแก้ไข   ด้วยการแก้ไขกฏหมายแรงงงานที่ต้องการให้ชาวซาอุออกมาทำงานหรือทำธุรกิจมากขึ้น  การสนับสนุนด้านการเงินแก่คนหนุ่มสาวให้ไปศึกษาระดับมหาลัยในอเมริกาจำนวนกว่าแสนคนในช่วงกว่า 10 ปีที่ผ่านมา   การสนันสนุนอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในเมือง  Jubail และ  Yanbu   การลงทุนในอุตสาหกรรมด้านแปรรูปอาหาร  และ ลงทุนอุตสาหกรรมหนักอื่นๆ ร่วมกับต่างชาติ เช่น รถบรรทุกหนักกับ Renault  ฯลฯ    ซึ่งต่างกับเวเนซุเอล่าที่ผู้นำของประเทศมุ่งหน้าแต่จะคอรัปชั่นเอาผลกำไรเข้ากระเป๋าตนเอง   ซาอุอาระเบียยังมีระบบกษัตริย์ปกครองที่ไม่มีฝ่ายค้าน   ซึ่งตราบใดที่ประชาชนยังมีอาหารการขกินอย่างอุดมสมบูรณ์ก็จะไม่มีคนออกมาประท้วงอย่างที่เกิดขึ้นในเวเนซุเอล่า

ซาอุดิอาระเบียลงทุนซื้อที่ดินในต่างประเทศไว้มากมายและปลูกพืชเกษตรส่งกลับเข้าไปป้อนตลาดผู้บริโภคในประเทศ   ในขณะที่ภาคเกษตรกรรมของเวเนซุเอล่าล่มสลายลงไปจากการถูกทอดทิ้งไม่เอาใจใส่ให้ความสนใจมาเป็นเวลานาน   ด้วยว่าอาศัยเงินจากรายได้น้ำมันนำเข้าสินค้าอาหารเครื่องอุปโภคบริโภคมาโดยตลอด    พอตอนนี้เวเนซุเอล่าต้องการปฏิรูปภาคเกษตรก็ทำไม่ได้เนื่องจากขาดกำลังเงิน

สำหรับซาอุดิอาร์เบียต้องไม่ลืมอีกว่า  รายได้จากผู้แสวงบูญเป็นล้านที่เข้ามาในแต่ละปีก็เป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของประเทศที่สำคัญอีกทางหนึ่ง

แต่ในขณะที่ซาอุดิอารเบียยังต้องเริ่มทำงานหนักเพื่อพยุงสถานะเศรษฐกิจของประเทศและยังไม่แน่ว่าอนาคตจะต้องประสบปัญหาอย่างเวเนซุเอล่าได้เช่นเดียวกันนั้น   ประเทศน้ำมันเพื่อนบ้านอื่นๆ ได้แก่  คูเวต  UAE  การตาร์  ต่างก็เตรียมการลงทุนไว้เพียงพอสำหรับเลี้ยงประเทศในภายภาคหน้าได้อย่างสบายๆ แล้ว   เอาแค่  UAE ประเทศเดียวที่เพียงแต่หาเงินให้ได้แค่ 3% ของ ROI ก็สามารถมีรายได้ 40Bn ต่อปีเลี้ยงประชากรได้อย่างไม่ตกยาก
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่