การข่มขู่

การข่มขู่
มีทั้งผิดกฎหมาย และไม่ผิดกฎหมาย

การข่มขู่ หมายถึง การกระทำให้เกิดความเกรงกลัว
ไม่ว่าจะข่มขู่โดยวิธีใด ให้ผู้ถูกข่มขู่เกิดความกลัวว่าจะเกิดภัยขึ้นแก่ตน
สำหรับวิธีการข่มขู่นั้นอาจทำได้ในโดยทางวาจา หรือโดยทางลายลักษณ์อักษร หรือโดยกิริยาอาการที่เป็นการข่มขู่  
ทั้งการข่มขู่นั้นอาจขู่ว่าจะทำร้ายร่างกายให้ถึงแก่บาดเจ็บ หรือถึงแก่ชีวิต
หรือมีจุดประสงค์เพื่อให้เกิดความหวาดกลัว ตกใจ
หรือทำให้ผู้ถูกข่มขู่เชื่อว่าจะมีการกระทำตามที่ขู่ไว้ จนรู้สึกหวาดระแวง มีผลต่อการดำเนินชีวิตและจิตใจ
การข่มขู่ดังกล่าวมีความผิดตามกฎหมาย ตาม ป.อาญา ม.392

ส่วนการข่มขู่ที่ไม่ผิดกฎหมาย (หากมีองค์ประกอบชัดเจน)
หมายถึงการขู่โดย การขู่ว่าจะใช้สิทธิตามปกตินิยม
การขู่นั้น โดยผู้ข่มขู่นั้นมีสิทธิเรียกร้องได้ตามกฎหมายที่จะให้ผู้ถูกข่มขู่ทำนิติกรรม หรือพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่สมควร
โดยผู้ข่มขู่เชื่อโดยสุจริตว่าตนมีสิทธิที่จะทำได้
การ เชื่อโดยสุจริตว่า นั้น ต้องมีเหตุและผลที่สามารถพิสูจน์ได้
หมายถึงผู้ถูกขู่ได้ละเมิด หรือกระทำผิดกฎหมายต่อผู้ขู่อย่างชัดเจน (โดยต้องไม่ใช้ข้อกฎหมายที่คลุมเครือมาขู่)

การข่มขู่ตามสิทธิปกตินิยม แม้จะไม่ผิดกฎหมายก็ตาม
แต่หากมีการกระทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อเล็งเห็นผลลัพธ์ในทางลบที่จะเกิดขึ้นต่อผู้ถูกขู่
เช่นการข่มขู่ทางอินเตอร์เน็ต ที่กระทำอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานๆ เป็นเดือนๆ หรือเป็นปีๆ
โดยที่ผู้ใช้สิทธิขู่นั้น ไม่ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้ผู้ถูกขู่นั้นรับโทษตามกฎหมาย (ดำเนินคดี)
ในมุมมองส่วนตัว อาจมองว่าเป็นการข่มขู่ที่เกินขอบเขตของสิทธิก็ได้
เพราะผู้ถูกขู่อาจเกิดการหวาดระแวง การดำเนินชีวิตไม่เป็นปกติสุข มีผลกระทบด้านจิตใจ หรืออาจทำให้คิดสั้นได้ (กรณีผู้ที่ไม่รู้ข้อกฎหมาย)
ดังนั้น การขู่ตามสิทธิปกตินิยม มักจะกระทำเป็นระยะเวลาสั้นๆ เมื่อผู้ถูกขู่ไม่กระทำตามที่ขู่ ผู้ขู่ก็จะดำเนินคดีโดยทันที
และให้สิ้นสุดที่กระบวนการยุติธรรม เพื่อสิ้นสุดปัญหาที่อาจก่อให้เกิดความไม่สงบในสังคมได้
จะด้วยการรับโทษ หรือจะด้วยการประนีประนอมยอมความ แล้วแต่กรณี
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่