เอ็นจีโอไทยรับเงินต่างชาติ ทำงานเพื่อใคร

ความอึมครึมเกี่ยวกับการทำงานและที่มาของเงินที่ NGO ไทยได้รับ ถูกเปิดเผยชัดขึ้นในช่วงสองปีมานี้ ซึ่งสร้างความฮือฮาไม่น้อย เพราะเป็นครั้งแรกที่มีการเปิดเผยตัวเลขที่ค่อนข้างชัดเจน และมีหลักฐานยืนยัน แต่ก็ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีความพยายามเปิดเผยเบื้องลึกเบื้องหลังการทำงานและการรับเงินจากต่างชาติของ NGO ไทย

ละไว้ในฐานที่เข้าใจว่า NGO ที่ทำงานเพื่อสังคม เพื่อคนยากไร้ เพื่อกลุ่มผู้เปราะบางในสังคมอย่างแท้จริงนั้น มีอยู่จริง แต่ไม่ใคร่จะเด่นดังหรือเป็นที่รู้จักมากนัก เนื่องจากคนกลุ่มนี้มักจะคลุกคลีอยู่ในพื้นที่ ก้มหน้าก้มตาทำงาน จึงไม่ค่อยมีเวลามาสนใจกับกิจกรรมทางการเมือง

ขณะที่ NGO ที่เรามักคุ้นเคย เอ่ยชื่อมาก็ร้องอ๋อ เพราะเห็นเย้ว ๆ ทางหน้าสื่ออยู่เป็นประจำ ประเภทนี้นี่เองที่มักทำอะไรอย่างน่าสงสัยว่ามีเบื้องลึกเบื้องหลัง หรือถูกใบสั่งมาทำงานหรือไม่ จะเห็นได้ชัด ๆ ก็มักเป็นกลุ่มที่ต่อต้าน เรียกร้องทางการเมือง หรืออ้างงานด้านสังคม สิ่งแวดล้อมเป็นหลัก หากย้อนกลับไปดูกิจกรรมที่คนกลุ่มนี้ทำ จะพบว่ากิจกรรมส่วนใหญ่หากไม่โจมตีรัฐบาลก็โจมตีองค์กรใดองค์หนึ่งที่มีผลกระทบต่อประเทศค่อนข้างมาก


เปิดโปงมูลนิธิ Open Society

กลางปี 2559 มีข่าวสะพัดจากการแฮกข้อมูลของมูลนิธิสังคมเปิด หรือ Open Society Foundation ซึ่งเป็นของพ่อมดทางการเงินชื่อก้องโลก จอร์จ โซรอส โดยข้อมูลที่รั่วออกมาในส่วนที่เกี่ยวพันกับประเทศไทย เป็นการให้เงินสนับสนุน NGO หรือองค์กรอิสระในไทย ซึ่งสื่อ The Nation ได้รายงานข่าวเปิดเผย 4 รายชื่อองค์กรที่ถูกระบุว่ารับเงินจากมูลนิธิโอเพนโซไซตี้ ได้แก่ เว็บไซต์ประชาไท, เครือข่ายพลเมืองเน็ต (Thai Netizen Network), มูลนิธิผสานวัฒนธรรม (Cross Cultural Foundation) และสโมสรผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (FCCT)

NGO เหล่านี้มีทั้งออกมายอมรับและปฏิเสธ โดยเว็บประชาไทยอมรับว่า ได้รับเงินสนับสนุนจริงปีละ 1.7 ล้านบาทมาตั้งแต่ปี 2548, Thai Netizen Network บอกว่าได้รับเงินสนับสนุนเพียงครั้งเดียว, มูลนิธิผสานวัฒนธรรมยอมรับแค่ว่า เคยรับเงินจากโอเพ่นโซไซตี้ในบางโครงการเท่านั้น, ส่วนสโมสรผู้สื่อข่าวต่างประเทศ ที่เป็นแหล่งรวมของสื่อตะวันตกชื่อด้ง เช่น BBC, Reuters, AFP และ AP ปฏิเสธและไม่ยอมเปิดเผยแหล่งที่มาของเงินอย่างชัดเจน รวมทั้งเงินทุนจาก Open Society และอิทธิพลอื่นที่มีต่อสโมสร  


แฉ NED กับอิทธิพลในไทย

เมื่อปีที่แล้ว ปรากฏหลักฐานทางสื่อออนไลน์เปิดเผยงบประมาณประจำปี 2560 ของ NED ซึ่งได้รับอนุมัติจากสภาคองเกรส ให้กับองค์กรพัฒนาเอกชนไม่แสวงหาผลกำไรที่อ้างว่าทำงานเพื่อสร้างเสริมประชาธิปไตย และการป้องกันสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยจำนวน 22 องค์กร เป็นเงินกว่า 70 ล้านบาท หรือประมาณ 2 ล้านดอลลาร์

มีรายงานว่า NED ซึ่งมีนายแอนดรูว์ เอช.การ์ด (Andrew H. Card) อดีตหัวหน้าสำนักประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา จอร์จ ดับเบิลยู บุช เป็นประธาน สังกัดกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ และอยู่ภายใต้การดูแลของสถานทูตสหรัฐอเมริกา เรียกกันว่าเป็น CIA ภาคพลเรือน มีภารกิจแทรกแซงการเมืองและสังคมในไทย โดยมีจุดประสงค์เพื่อการควบคุมจัดการผลประโยชน์ต่าง ๆ ในประเทศ ด้วยการให้งบประมาณสนับสนุนนักการเมือง และกลุ่มมวลชน รวมถึงสื่อมวลชน นักวิชาการ อาจารย์มหาวิทยาลัย ให้ออกมาดำเนินการเคลื่อนไหวในเรื่องต่าง ๆ ทั้งทางการเมือง ความมั่นคง สังคม และระบอบการปกครองของไทย


ความสัมพันธ์ของ Open Society และ NED ในไทย

จอร์จ โซรอส เป็นผู้สนับสนุนคนสำคัญของพรรคเดโมแครต และเป็นคนสนับสนุนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา โดยให้การสนับสนุนหน่วยงานความมั่นคงของสหรัฐด้วยทุนส่วนตัวมาโดยตลอด และใช้มูลนิธิ Open Society เป็นตัวแทนให้เงินสนับสนุนจำนวนมากแก่องค์กรการกุศล องค์กรภาคเอกชนและภาครัฐ ทั่วโลกกว่า 100 ประเทศ จนสามารถชี้นำในองค์กรเหล่านั้นได้ เพื่อสนับสนุนให้เปิดสังคมนั้น ๆ เป็นประชาธิปไตยแบบสหรัฐหรือเป็นสังคมประชาธิปไตยเสรี

ที่สำคัญยังให้เงินทุนสนับสนุนแก่ NED ด้วย จึงเป็นพันธมิตรที่ดีในการทำงานร่วมกันเพื่อแทรกแซงประเทศตนเองและประเทศต่าง ๆ


แนวทางการทำงานขององค์กรเหล่านี้ จะใช้การกระตุ้นความตื่นตัวของพลเมือง โดยอ้างเรื่องหลัก ๆ ได้แก่ ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน และสิ่งแวดล้อม ผ่านการทำงานของบุคคล 3 กลุ่มหลัก คือ

1.    นักวิชาการ ในการผลิตชุดความรู้ เผยแพร่ข้อมูลที่อ้างอิงได้จากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อสร้างน้ำหนักให้สังคมคล้อยตาม
2.    นักเขียน สื่อ บล็อกเกอร์ หรือ influencer ทางสังคม ผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น สื่อออนไลน์ เพื่อสร้างกระแสการติดตามและส่งต่อเป็นเครือข่ายเหมือนไฟลามทุ่ง
3.    NGO หรือนักเคลื่อนไหว เพื่อปลุกระดมหรือทำการเคลื่อนไหวต่อต้าน เช่น ต่อต้านนโยบายรัฐที่ไม่ตอบสนองต่อนโยบายของสหรัฐอเมริกา โดยอ้างประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน และสิ่งแวดล้อม บังหน้า


แม้ NGO หลายส่วนจะตอบโต้เสียงแข็งว่า การรับเงินไม่ได้มีผลต่ออุดมการณ์หรือครอบงำการทำงาน แต่โดยธรรมชาติแล้วไม่อาจปฏิเสธได้ เปรียบว่าคุณเป็น freelance รับเงินจากบริษัทแห่งหนึ่งมา 1 ล้านบาท คุณจะบอกว่า บริษัทให้เปล่า ไม่ได้บอกให้ทำงานอะไรตอบแทน ถามว่าจะมีใครเชื่อ แล้วจะเป็นไปได้อย่างไร บริษัททีต้องหาเงินงก ๆ เข้าบริษัท เพื่อเลี้ยงพนักงานและค่าฝชจ่ายต่าง ๆ จู่ ๆ จะเอาเงินที่กว่าจะหามาได้ ยกให้ freelance สักคนฟรี ๆ โดยไม่หวังผลตอบแทนกระนั้นหรือ ของฟรีเช่นนี้มีในโลกด้วยหรือ


ยิ่งไปกว่านั้น หากไม่มีอะไรในก่อไผ่จริง ทำไมที่ผ่านมา NGO ไม่เปิดเผยแหล่งที่มาของเงินทุนอย่างเปิดเผย หากไม่มีการเปิดโปงสองเหตุการณ์ดังกล่าวข้างต้นออกมา ความลับของเงินทุนของ NGO ก็ยังคงเป็นความลับต่อไปใช่ไหม

ถึงตอนนี้รัฐบาลควรจะมีมาตรการอย่างเข้มงวดจริงจังออกมา ให้ NGO ทั้งหลายในประเทศไทยต้องเปิดเผยข้อมูลที่มาของแหล่งเงินทุนสนับสุนนอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ โดยเฉพาะจำนวนเงินที่ถูกเปิดเผยออกมานั้น ตรงกับความเป็นจริงหรือไม่ ไม่ปล่อยให้ใครทำอะไรงุบงิบ

หาก NGO ทั้งหลายบริสุทธิ์ใจจริง ก็ต้องโปร่งใส ยินดีให้ตรวจสอบ และสามารถพิสูจน์ข้อสงสัยหรือข้อกล่าวหาได้ ไม่ใช้แค่ลมปากปฏิเสธว่าไม่ใช่ ไม่จริงเพียงอย่างเดียว ที่สำคัญการพิสูจน์ จะทำให้อย่างน้อยรู้ด้วยว่า NGO ทั้งหลายยังมีสำนึกรู้ตัวหรือไม่ว่า กำลังถูกต่างชาติเอาเศษเงินฟาดหัว เพื่อทำลายความมั่นคงของประเทศชาติบ้านเกิดเมืองนอนของตัวเอง














[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่