ในกระทู้นี้มันจะไม่ใช่การอวย การถล่ม จิกแซว แต่เราจะมองดูว่าเรื่องนี้ทำให้เราเห็นอะไรบ้าง สิ่งที่เราได้สัมผัสตลอดที่ดูเรื่องนี้คือการเข้าถึงด้านลึกของมนุษย์ และการตั้งคำถามกับความยุติธรรม การแก้แค้น และการประหารชีวิต แล้วก็มีประเด็นทางปรัชญามากมาย แต่ในที่นี่จะไม่วิชาการมากหรอกสบายใจได้ ถ้าเห็นประเด็นอะไรน่าเพิ่ม ก็แชร์กันมานะ
ทำไมต้องแก้แค้น
มีบทประพันธ์ที่พูดเรื่องการแก้แค้น เราขอยกเรื่องที่เป็นที่สุดของผู้หญิงแก้แค้น คือบทประพันธ์ยุคโบราณแบบ Medea เรื่องคือ Medea ถูกสามีทรยศไปแต่งงานใหม่กับผู้หญิงที่ดีกว่า การแก้แค้นของเธอคือ การฆ่าลูกของเธอกับสามี ทั้งสามีและเธอก็เสียใจสุดๆ ทั้งคู่ อันนั้นคือพีคยิ่งกว่า แต่สิ่งที่เรื่องนำเสนอคือ การแก้แค้นคือกระบวนการที่มนุษย์ใช้สร้างความมั่นคงในจิตใจ เป็นการเอาคืนสิ่งที่ทำให้เราสูญเสียแล้วไม่สามารถจะไปต่อได้ การแก้แค้นจะเยียวยาจุดนี้ ทำให้เรารู้สีกเปลี่ยนไป จากผู้แพ้เป็นผู้ชนะ จากผู้ถูกกระทำเป็นผู้กระทำ และเรื่องเกี่ยวกับการแก้แค้นแบบผู้หญิง ก็จะเล่นกับความรู้สึกของผู้ถูกกระทำ ก็เพราะผู้หญิงคือเพศที่ถูกกดขี่มาตั้งแต่ยุคโบราณ เป็นผู้ถูกกระทำมาตลอด ฉะนั้นแรงพยาบาทที่เป็นแรงขับของการแก้แค้นมีมาก
มาที่เรื่อง ล่า มธุสร เสียความมั่นคงทางจิตใจแบบสุดๆ สามีทรยศ ช่วยตำรวจทำดี แต่สิ่งที่ตอบแทนคือชีวิตพัง ชีวิตลูกก็พัง กระบวนการยุติธรรมไม่ช่วยอะไร เธอพึ่งพาใครไม่ได้ ในเรื่องอาจไม่ได้พูดเรื่องศาสนา แต่คิดว่ามธุสรก็ไม่คงไม่เชื่อเรื่องศาสนาไปด้วยเหมือนกัน ถ้าลองทำดีแล้วไม่ได้ดีแล้ว ยังจะเชื่ออะไรได้อีก คนที่เข้ามาคือ เซ็นเซยูกิ ที่เหมือนนำหลักที่พึ่งใหม่มาให้ เป็นเหมือนศาลเตี้ย เป็นเหมือนศาสนาใหม่ ที่สอนว่าความพยาบาทเป็นของหวาน มธุสรเองก็มองเห็นว่าสิ่งที่จะเยียวยาเธอและลูก และทำให้ชีวิตของทั้งคู่ move on คือการแก้แค้น อันนี้เป็นการตีความในช่วงแรก แล้วมันพิสูจน์ว่าเรื่องนี้เล่นเรื่องนี้จริงๆ ตอนที่หมอพูดถึงคอนเซ็ปต์นี้ในศาล
นอกจากนี้ความรุนแรงของความแค้นก็มากขึ้นเพราะ มธุสรคือคนที่พาตัวเองและลูกมาสู่จุดนี้คือ การเลือกมาอยู่สถานที่แบบนี้ การเลือกเข้าเกี่ยวข้องกับเรื่องยา ที่ในใจเธอต้องโทษตัวเองอย่างหนัก อยากจะแก้ไข อยากจะเอาความรู้สึกผิดออกจากใจ มันมีวิธีนึงที่เราจะลดการโทษตัวเองด้วยการโทษอย่างอื่น คนอื่น เธอก็โทษตัวเองแบบไม่ไหวแล้ว เลยยกความผิดไปให้กับพวกทรชนเต็มๆ แล้วล่าทีละตัว ชีวิตเธอจะได้ไปต่อได้ และเป็นสิ่งที่เธอจะเยียวยาลูกเพื่อเป็นการชดเชย
การแก้แค้นชอบธรรมหรือไม่
แน่นอนว่ามันผิดกฎหมาย เพราะกฎหมายไม่อนุญาตให้คนแก้แค้นกันเอง กฎหมายจะจัดการให้อย่างยุติธรรม แต่ถ้ากฎหมายไม่ยุติธรรมล่ะ การลุกขึ้นมาทวงความยุติธรรมจะชอบธรรมหรือไม่ เป็นเรื่องที่จะมีความเห็นที่หลากหลายตามมาแน่นอน รวมถึงศาสนา ถ้าตามพุทธแล้ว เราควรจะปล่อยวาง มองว่าเป็นกรรมเก่า ส่วนคนที่ทำกับเรากรรมจะตามทัน แล้วต้องรอนานแค่ไหนกว่ากรรมจะส่งผล แล้วกรรมมีจริงทำไมพวกคนเลวมันรอด
อาจจะมีดราม่าในช่วงนึงที่บอกว่า ระบบกฎหมายมันไม่ได้แย่ขนาดนั้น มสุธรไม่ได้รับความยุติธรรมขนาดนี้ได้ยังไง เรามองว่าเรื่องนี้เป็นดิสโทเปียหน่อยๆ โลกมันแย่กว่าความเป็นจริง เราจะเห็นว่าก็โลกจริงๆ ก็ไม่ได้มีคนแบบมธุสรที่ลุคมาปลอมตัวฆ่าคน เพราะระบบกฎหมายก็คงใช้ได้อยู่ แต่การจะผลักให้เกิดคนทำเรื่องที่แหกสุดๆ แบบนี้ ก็ต้องมีแรงส่งที่รุนแรงคือ ระบบกฎหมายแที่แย่จริงๆ แย่ระดับที่ไอ้พวกคนที่ทำร้ายเธอไม่ติดคุก ยังทำเลวต่อ พวกอยู่ในคุกก็เข้าไม่นาน เหมือนไปเข้าค่าย และกลับมาแบบที่ไม่ได้สำนึกแล้วยังจะมาทำร้ายเธอกับลูกอีก ความไม่ยุติธรรมและรู้สึกโดนรังแกแบบนี้คือแรงส่งให้เธอแหกทั้งกฎหมายและศีลธรรม
สิ่งที่เธอทำมีแรงผลักและวิธีคิดแบบของเธอ แต่การจะตัดสินว่ามันผิดหรือถูกอย่างไร มันอยู่ที่ว่าจะใช้กรอบไหนมาตัดสิน เชื่อว่าย่อมมีคนเห็นแตกต่างแน่นอน
องค์กรชุดดำกับเซ็นเซยูกิ
ไม่ได้มีไว้เพื่อให้ตลกแน่ๆ แต่องค์กรนี้เป็นเหมือนกฎหมายหรือศาสนาใหม่ของมธุสร ในช่วงที่ชีวิตไร้หลักไว้ยึด องค์กรนี้ได้เข้ามา มีผู้นำเป็นเซนเซยูกิ ต้นแบบจริงๆ ของเซ็นเซก็ไม่รู้มาจากไหน นินจา ยากูซ่า ผู้เสพความตาย ซิธลอร์ด หรือนารูโตะก็ไม่รู้ แต่ที่แน่ๆ คือพวกอุดมคติสุดขั้ว เชื่อว่าตัวเองเปลี่ยนโลกได้ คนเลวต้องถูกฆ่า ความพยาบาทเป็นของหวาน เพราะเซ็นเซจะได้อะไรกับการแก้แค้นของมธุสร คงไม่ได้อะไรนอกจากการบูชาอุดมคติของตัวเอง จะเห็นได้ว่าจะมีภาพของเซ็นเซยูกิ กลายเป็นนักพูดปลุกใจ ซึ่งก็ดูมีภาพซ้อนทับของนักพูดคนหลายคนที่ทำราวกับสร้างลัทธิของตัวเองอยู่
โยงกลับไปที่ทำไมต้องแก้แค้น เชิ่อว่าคนพวกนี้คงโดนกระทำมาเหมือนกัน กฎหมายช่วยไม่ได้ ศาสนาช่วยไม่ได้ เลยหาหลักยึดให้ตัวเอง คืออุดมคติแบบนั้น และเชื่อว่าถ้ามีคนที่ถูกกระทำและไร้หลักยึดแบบพวกเขา องค์กรส่งเสริมการแก้แค้นจะอยู่ต่อไป
ตำรวจ
นอกจากจะได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับมธุสร ก็น่าตั้งคำถามเกี่ยวกับสารวัตรด้วย อาจดูเหมือนเรื่องนี้ไม่ค่อยรักตำรวจ ตำรวจเลยดูพึ่งพาไม่ได้ อันนี้แล้วแต่คนจะมอง จะมองว่าสมจริง หรือมองว่าเป็นดิสโทเปียก็ได้ แต่ในโลกในละครนี้ ตำรวจเป็นที่พึ่งให้มธุสรไม่ได้จริงๆ มธุสรช่วยตำรวจแต่ตำรวจช่วยเธอไม่ค่อยได้ไปจนถึงไม่ได้ เป็นแรงผลักอย่างนึงให้มธุสรไม่รอตำรวจแล้ว ฉันจะล่าเอง ตอนผึ้งถูกจับตัวการเลือกพบเซ็นเซและจัดการเอง คือสัญลักษณ์ที่บอกว่าเธอไม่พึ่งตำรวจ มันก็น่าคิดว่าถ้าตำรวจพึ่งไม่ได้ เราควรพึ่งตัวเองหรือไม่
หรือแม้แต่สารวัตรเอง ที่ก็มีความสับสนอยู่ให้เห็น ฉากที่คุยกับชัยได้บอกถึงความขัดแย้งได้อย่างดี สารวัตรน้ำดีที่เชื่อในกฎหมายและความเป็นตำรวจ แต่คนดีใกล้ตัวต้องเจอความไม่ยุติธรรม เขาทำอะไรไม่ได้เลย คนเลวอยู่ตรงหน้า แต่ด้วยหน้าที่ก็ต้องปกป้องชีวิตเพราะเรื่องสิทธิมนุษยชน
ผู้ทรงอิทธิพล
ไม่รู้ว่าจะมีจริงในสังคมนี้รึเปล่า...นะ แต่สังคมในละครมีตัวที่ทำลายโครงสร้างต่างๆ อยู่ ด้วยอิทธิพล เงิน เครือข่าย เขาสามารถบิดระบบกฎหมายให้มันบิดเบี้ยวได้ เข้าแทรกแซงในแต่ละขั้นตอนเพื่อช่วยบริวารของตน สร้างโครงสร้างใหม่ ฆ่าคนให้นายแล้วนายจะปกป้อง อิทธิพลและอำนาจเป็นเกราะป้องกันอย่างดี โครงสร้างนี้เป็นแรงผลักให้มธุสรอาศัยกฎหมายไม่ได้ อาศัยตำรวจก็ไม่ได้ และต้องล่าเอง
เส้นทางที่ผิด
การที่คนจะเลวได้ อาจจะไม่อยู่ที่ตัวเค้า อาจะอยู่ที่ครอบครัว สังคม ด้วย จะเห็นได้จากชีวิตของบิ๊ก ต้องบอกเลยว่าเรื่องนี้ทำให้มธุสรและคนดูสับสนมาก ว่าควรจะฆ่าหรือควรปล่อยให้เขาได้แก้ตัว บิ๊กคือคนที่มีพ่อที่แย่ และมีแม่กับอาม่าที่รักเขามาก เลยกลายเป็นคนที่ไม่สุด เลวแต่ก็มีส่วนดีอยู่บ้าง พอจะทำดีก็มีวิธีการเลวๆ มาปน ใส่ตัวละครนี้มาได้ถูกช่วงเวลา เพราะเป็นทรชนคนแรกที่มธุสรต้องฆ่า และมันเป็นเรื่องยากมากกับการที่ต้องฆ่าใครซักคน และยากไปอีกเมื่อมธุสรเห็นว่า คนคนนี้คือเด็กคนนึงที่ครอบครัวทำให้เขาเลว เด็กคนนึงที่มี่ความพยายามจะดีอยู่บ้าง เขาอาจจะเป็นคนดีถ้าครอบครัวและเพื่อนดีกว่านี้ แล้วที่เขาเลว มันควรจะโทษใคร การฆ่าเขามันถูกต้องแล้วเหรอ รวมถึงบิ๊กยังเด็กอยู่ บางทีทำดีต่อครอบครัว และก็คิดจะบวช ยิ่งทำให้มสุธรยิ่งสับสน
มาถึงตัวมธุสรเอง เมื่อจะต้องพิจารณาคดี มธุสรก็คือที่ทำความผิดแล้วคือฆ่าคน มีแรงผลักคือการที่ถูกกระทำก่อน และความต้องการที่จะฮีลตัวเธอและลูก เธอควรได้รับความเห็นใจหรือไม่ เพราะถ้าเธอไม่เจอเหตุการณ์เลวร้ายแบบนั้น เธอก็คงไม่ทำอย่างนี้ สิ่งที่เธอทำควรจะโทษเธอหรือโทษสิ่งที่เธอเจอกันแน่
ควรประหารหรือไม่
มันเหมือนการตั้งคำถามกับโทษประหาร ที่เราควรจะฆ่าคนนึง ทั้งที่เขาอาจจะเลวเพราะสังคม ครอบครัว สถานการณ์ในชีวิต ก็ได้ เหมือนชีวิตถูกกำกับให้มาในทางที่ผิด แต่อีกทางหนึ่ง สามารถคิดได้ว่า มนุษย์สามารถเลือกได้ เลือกที่จะไม่ทำผิดก็ได้ เพราะฉะนั้นจึงควรรับผิด
การทำผิดของบิ๊กและมธุสรต่างกันมาก แต่ทำให้สับสนในเรื่องเดียวกัน ทั้งควรลงโทษให้จบชีวิตหรือไม่ ถ้าพวกเขาได้รับชีวิตที่ดี พวกเขาอาจไม่ต้องเดินทางนี้ก็ได้ ควรได้รับการอภัยหรือไม่ ในส่วนของมธุสรในระหว่างที่ฆ่าคนก็ช่วยคนด้วย ควรที่จะลงโทษด้วยการฆ่าหรือไม่ หรือจะเชื่อว่าคนเรามีทางเลือก พวกเขาเจอชีวิตแบบนี้ ก็ไม่จำเป็นต้องเลือกทางนี้ก็ได้ แล้วมองว่าสมควรรับโทษ
แล้วอภัยโทษหรือลดหย่อนโทษจะเกิดอะไรขึ้น กับคนอย่างพวกทรชน อาจทำให้เหยื่อรู้สึกไม่เป็นธรรม และออกล่าเองก็ได้ อาจจะทำความผิดซ้ำก็ได้ อย่างที่เราจะเห็นว่าอาชญากรมักทำความผิดซ้ำ กับมธุสรคนอาจมองเป็นตัวอย่าง ลุกขึ้นมาแก้แค้นกันเอง แล้วคงไม่ต้องมีตำรวจ ไม่ต้องมีศาล ไม่ต้องมีกฎหมาย เป็นประเด็นที่ถกแล้วเสียงแตกเยอะจริงๆ
ประเด็นนี้ถูกทำให้ต่อสู้กันอย่างชัดเจนในการต่อสู้ในศาล ทนายเป็นผู้นำของความเชื่อที่ว่ามธุสรทำเพราะมีเหตุผลที่ควรได้รับความเห็นใจ แต่อัยการเป็นผู้นำของความเชื่อแบบอุดมการณ์สูง ทำผิดต้องรับผิดทุกกรณี
ในทั้งหมดคิดว่าคำถามและคำตอบระหว่างอัยการกับหมอในศาลคือบทสนทนาที่ดีที่สุดในเรื่อง อัยการพยายามถามด้วยคุณคิดเห็นอย่างไร แล้วให้ตอบในมุมต่างๆ ซึ่งมันจริงการมองสิ่งที่มธุสรทำว่าเป็นแบบไหน มันอยู่มันจะมองในมุมไหน แล้วหมอตอบด้วยคำตอบ อย่างคนมองเห็นปัญหาจริงๆ ว่ามันไม่ใช่ความผิดของมธุสรอย่างเดียว คนร้ายก็ผิด รวมถึงโครงสร้างต่างๆ ตำรวจ หมอ รวมถึงสังคมก็ผิดที่ร่วมทำให้เรื่องแบบนี้มันเกิดขึ้น
และสิ่งที่เป็นคำถามใหญ่คือ ระหว่างการล่าของมธุสร กับ การที่กระบวนการทางกฎหมายที่ให้ความเป็นธรรมไม่ได้ อะไรกันที่ทำให้กฎหมายไม่ศักดิสิทธิ์การพิจารณาคดีของมธุสรได้จบไป แต่การแก้ปัญหาเพื่อไม่ให้เกิดคนแบบมธุสร อาจจะต้องแก้ที่ต้นเหตุ คือ กฎหมายและตำรวจต้องสร้างความมั่นคงทางจิตใจ เป็นที่พึ่งให้เธอได้ ไม่ใช่ให้เธอไปพึ่งเซ็นเซคอสเพย์หรือพึ่งตัวเองในการฆ่า สำหรับมธุสรและโลกดิสโทเปียของเธอ เราคงไปช่วยอะไรเธอไม่ได้เพราะมันคือโลกอีกโลก โลกจริงๆ คงไม่แย่อย่างนั้น... หรอกนะ
แต่ว่าโลกที่เราอยู่ตรงนี้กระบวนการทางกฎหมาย ตำรวจ และรัฐ ให้ความมั่นคงทางจิตใจให้ประชาชนได้แค่ไหนกัน
อย่าต้องให้เกิดมธุสรขึ้นมาในโลกจริงๆ เลย
กับละคร
คะแนนที่ให้อยู่ที่ 7/10 แต่ก็ติดตามจริงๆ และจริงจัง ชอบที่ละครในกระแสเล่นประเด็นหนักๆ บ้าง
แล้วทุกคนล่ะ เห็นประเด็นอะไร แชร์กันมา
วิพากษ์ ล่า (2017) ละครที่เต็มไปด้วยประเด็นทางสังคม กฎหมาย และมนุษย์
ทำไมต้องแก้แค้น
มีบทประพันธ์ที่พูดเรื่องการแก้แค้น เราขอยกเรื่องที่เป็นที่สุดของผู้หญิงแก้แค้น คือบทประพันธ์ยุคโบราณแบบ Medea เรื่องคือ Medea ถูกสามีทรยศไปแต่งงานใหม่กับผู้หญิงที่ดีกว่า การแก้แค้นของเธอคือ การฆ่าลูกของเธอกับสามี ทั้งสามีและเธอก็เสียใจสุดๆ ทั้งคู่ อันนั้นคือพีคยิ่งกว่า แต่สิ่งที่เรื่องนำเสนอคือ การแก้แค้นคือกระบวนการที่มนุษย์ใช้สร้างความมั่นคงในจิตใจ เป็นการเอาคืนสิ่งที่ทำให้เราสูญเสียแล้วไม่สามารถจะไปต่อได้ การแก้แค้นจะเยียวยาจุดนี้ ทำให้เรารู้สีกเปลี่ยนไป จากผู้แพ้เป็นผู้ชนะ จากผู้ถูกกระทำเป็นผู้กระทำ และเรื่องเกี่ยวกับการแก้แค้นแบบผู้หญิง ก็จะเล่นกับความรู้สึกของผู้ถูกกระทำ ก็เพราะผู้หญิงคือเพศที่ถูกกดขี่มาตั้งแต่ยุคโบราณ เป็นผู้ถูกกระทำมาตลอด ฉะนั้นแรงพยาบาทที่เป็นแรงขับของการแก้แค้นมีมาก
มาที่เรื่อง ล่า มธุสร เสียความมั่นคงทางจิตใจแบบสุดๆ สามีทรยศ ช่วยตำรวจทำดี แต่สิ่งที่ตอบแทนคือชีวิตพัง ชีวิตลูกก็พัง กระบวนการยุติธรรมไม่ช่วยอะไร เธอพึ่งพาใครไม่ได้ ในเรื่องอาจไม่ได้พูดเรื่องศาสนา แต่คิดว่ามธุสรก็ไม่คงไม่เชื่อเรื่องศาสนาไปด้วยเหมือนกัน ถ้าลองทำดีแล้วไม่ได้ดีแล้ว ยังจะเชื่ออะไรได้อีก คนที่เข้ามาคือ เซ็นเซยูกิ ที่เหมือนนำหลักที่พึ่งใหม่มาให้ เป็นเหมือนศาลเตี้ย เป็นเหมือนศาสนาใหม่ ที่สอนว่าความพยาบาทเป็นของหวาน มธุสรเองก็มองเห็นว่าสิ่งที่จะเยียวยาเธอและลูก และทำให้ชีวิตของทั้งคู่ move on คือการแก้แค้น อันนี้เป็นการตีความในช่วงแรก แล้วมันพิสูจน์ว่าเรื่องนี้เล่นเรื่องนี้จริงๆ ตอนที่หมอพูดถึงคอนเซ็ปต์นี้ในศาล
นอกจากนี้ความรุนแรงของความแค้นก็มากขึ้นเพราะ มธุสรคือคนที่พาตัวเองและลูกมาสู่จุดนี้คือ การเลือกมาอยู่สถานที่แบบนี้ การเลือกเข้าเกี่ยวข้องกับเรื่องยา ที่ในใจเธอต้องโทษตัวเองอย่างหนัก อยากจะแก้ไข อยากจะเอาความรู้สึกผิดออกจากใจ มันมีวิธีนึงที่เราจะลดการโทษตัวเองด้วยการโทษอย่างอื่น คนอื่น เธอก็โทษตัวเองแบบไม่ไหวแล้ว เลยยกความผิดไปให้กับพวกทรชนเต็มๆ แล้วล่าทีละตัว ชีวิตเธอจะได้ไปต่อได้ และเป็นสิ่งที่เธอจะเยียวยาลูกเพื่อเป็นการชดเชย
การแก้แค้นชอบธรรมหรือไม่
แน่นอนว่ามันผิดกฎหมาย เพราะกฎหมายไม่อนุญาตให้คนแก้แค้นกันเอง กฎหมายจะจัดการให้อย่างยุติธรรม แต่ถ้ากฎหมายไม่ยุติธรรมล่ะ การลุกขึ้นมาทวงความยุติธรรมจะชอบธรรมหรือไม่ เป็นเรื่องที่จะมีความเห็นที่หลากหลายตามมาแน่นอน รวมถึงศาสนา ถ้าตามพุทธแล้ว เราควรจะปล่อยวาง มองว่าเป็นกรรมเก่า ส่วนคนที่ทำกับเรากรรมจะตามทัน แล้วต้องรอนานแค่ไหนกว่ากรรมจะส่งผล แล้วกรรมมีจริงทำไมพวกคนเลวมันรอด
อาจจะมีดราม่าในช่วงนึงที่บอกว่า ระบบกฎหมายมันไม่ได้แย่ขนาดนั้น มสุธรไม่ได้รับความยุติธรรมขนาดนี้ได้ยังไง เรามองว่าเรื่องนี้เป็นดิสโทเปียหน่อยๆ โลกมันแย่กว่าความเป็นจริง เราจะเห็นว่าก็โลกจริงๆ ก็ไม่ได้มีคนแบบมธุสรที่ลุคมาปลอมตัวฆ่าคน เพราะระบบกฎหมายก็คงใช้ได้อยู่ แต่การจะผลักให้เกิดคนทำเรื่องที่แหกสุดๆ แบบนี้ ก็ต้องมีแรงส่งที่รุนแรงคือ ระบบกฎหมายแที่แย่จริงๆ แย่ระดับที่ไอ้พวกคนที่ทำร้ายเธอไม่ติดคุก ยังทำเลวต่อ พวกอยู่ในคุกก็เข้าไม่นาน เหมือนไปเข้าค่าย และกลับมาแบบที่ไม่ได้สำนึกแล้วยังจะมาทำร้ายเธอกับลูกอีก ความไม่ยุติธรรมและรู้สึกโดนรังแกแบบนี้คือแรงส่งให้เธอแหกทั้งกฎหมายและศีลธรรม
สิ่งที่เธอทำมีแรงผลักและวิธีคิดแบบของเธอ แต่การจะตัดสินว่ามันผิดหรือถูกอย่างไร มันอยู่ที่ว่าจะใช้กรอบไหนมาตัดสิน เชื่อว่าย่อมมีคนเห็นแตกต่างแน่นอน
องค์กรชุดดำกับเซ็นเซยูกิ
ไม่ได้มีไว้เพื่อให้ตลกแน่ๆ แต่องค์กรนี้เป็นเหมือนกฎหมายหรือศาสนาใหม่ของมธุสร ในช่วงที่ชีวิตไร้หลักไว้ยึด องค์กรนี้ได้เข้ามา มีผู้นำเป็นเซนเซยูกิ ต้นแบบจริงๆ ของเซ็นเซก็ไม่รู้มาจากไหน นินจา ยากูซ่า ผู้เสพความตาย ซิธลอร์ด หรือนารูโตะก็ไม่รู้ แต่ที่แน่ๆ คือพวกอุดมคติสุดขั้ว เชื่อว่าตัวเองเปลี่ยนโลกได้ คนเลวต้องถูกฆ่า ความพยาบาทเป็นของหวาน เพราะเซ็นเซจะได้อะไรกับการแก้แค้นของมธุสร คงไม่ได้อะไรนอกจากการบูชาอุดมคติของตัวเอง จะเห็นได้ว่าจะมีภาพของเซ็นเซยูกิ กลายเป็นนักพูดปลุกใจ ซึ่งก็ดูมีภาพซ้อนทับของนักพูดคนหลายคนที่ทำราวกับสร้างลัทธิของตัวเองอยู่
โยงกลับไปที่ทำไมต้องแก้แค้น เชิ่อว่าคนพวกนี้คงโดนกระทำมาเหมือนกัน กฎหมายช่วยไม่ได้ ศาสนาช่วยไม่ได้ เลยหาหลักยึดให้ตัวเอง คืออุดมคติแบบนั้น และเชื่อว่าถ้ามีคนที่ถูกกระทำและไร้หลักยึดแบบพวกเขา องค์กรส่งเสริมการแก้แค้นจะอยู่ต่อไป
ตำรวจ
นอกจากจะได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับมธุสร ก็น่าตั้งคำถามเกี่ยวกับสารวัตรด้วย อาจดูเหมือนเรื่องนี้ไม่ค่อยรักตำรวจ ตำรวจเลยดูพึ่งพาไม่ได้ อันนี้แล้วแต่คนจะมอง จะมองว่าสมจริง หรือมองว่าเป็นดิสโทเปียก็ได้ แต่ในโลกในละครนี้ ตำรวจเป็นที่พึ่งให้มธุสรไม่ได้จริงๆ มธุสรช่วยตำรวจแต่ตำรวจช่วยเธอไม่ค่อยได้ไปจนถึงไม่ได้ เป็นแรงผลักอย่างนึงให้มธุสรไม่รอตำรวจแล้ว ฉันจะล่าเอง ตอนผึ้งถูกจับตัวการเลือกพบเซ็นเซและจัดการเอง คือสัญลักษณ์ที่บอกว่าเธอไม่พึ่งตำรวจ มันก็น่าคิดว่าถ้าตำรวจพึ่งไม่ได้ เราควรพึ่งตัวเองหรือไม่
หรือแม้แต่สารวัตรเอง ที่ก็มีความสับสนอยู่ให้เห็น ฉากที่คุยกับชัยได้บอกถึงความขัดแย้งได้อย่างดี สารวัตรน้ำดีที่เชื่อในกฎหมายและความเป็นตำรวจ แต่คนดีใกล้ตัวต้องเจอความไม่ยุติธรรม เขาทำอะไรไม่ได้เลย คนเลวอยู่ตรงหน้า แต่ด้วยหน้าที่ก็ต้องปกป้องชีวิตเพราะเรื่องสิทธิมนุษยชน
ผู้ทรงอิทธิพล
ไม่รู้ว่าจะมีจริงในสังคมนี้รึเปล่า...นะ แต่สังคมในละครมีตัวที่ทำลายโครงสร้างต่างๆ อยู่ ด้วยอิทธิพล เงิน เครือข่าย เขาสามารถบิดระบบกฎหมายให้มันบิดเบี้ยวได้ เข้าแทรกแซงในแต่ละขั้นตอนเพื่อช่วยบริวารของตน สร้างโครงสร้างใหม่ ฆ่าคนให้นายแล้วนายจะปกป้อง อิทธิพลและอำนาจเป็นเกราะป้องกันอย่างดี โครงสร้างนี้เป็นแรงผลักให้มธุสรอาศัยกฎหมายไม่ได้ อาศัยตำรวจก็ไม่ได้ และต้องล่าเอง
เส้นทางที่ผิด
การที่คนจะเลวได้ อาจจะไม่อยู่ที่ตัวเค้า อาจะอยู่ที่ครอบครัว สังคม ด้วย จะเห็นได้จากชีวิตของบิ๊ก ต้องบอกเลยว่าเรื่องนี้ทำให้มธุสรและคนดูสับสนมาก ว่าควรจะฆ่าหรือควรปล่อยให้เขาได้แก้ตัว บิ๊กคือคนที่มีพ่อที่แย่ และมีแม่กับอาม่าที่รักเขามาก เลยกลายเป็นคนที่ไม่สุด เลวแต่ก็มีส่วนดีอยู่บ้าง พอจะทำดีก็มีวิธีการเลวๆ มาปน ใส่ตัวละครนี้มาได้ถูกช่วงเวลา เพราะเป็นทรชนคนแรกที่มธุสรต้องฆ่า และมันเป็นเรื่องยากมากกับการที่ต้องฆ่าใครซักคน และยากไปอีกเมื่อมธุสรเห็นว่า คนคนนี้คือเด็กคนนึงที่ครอบครัวทำให้เขาเลว เด็กคนนึงที่มี่ความพยายามจะดีอยู่บ้าง เขาอาจจะเป็นคนดีถ้าครอบครัวและเพื่อนดีกว่านี้ แล้วที่เขาเลว มันควรจะโทษใคร การฆ่าเขามันถูกต้องแล้วเหรอ รวมถึงบิ๊กยังเด็กอยู่ บางทีทำดีต่อครอบครัว และก็คิดจะบวช ยิ่งทำให้มสุธรยิ่งสับสน
มาถึงตัวมธุสรเอง เมื่อจะต้องพิจารณาคดี มธุสรก็คือที่ทำความผิดแล้วคือฆ่าคน มีแรงผลักคือการที่ถูกกระทำก่อน และความต้องการที่จะฮีลตัวเธอและลูก เธอควรได้รับความเห็นใจหรือไม่ เพราะถ้าเธอไม่เจอเหตุการณ์เลวร้ายแบบนั้น เธอก็คงไม่ทำอย่างนี้ สิ่งที่เธอทำควรจะโทษเธอหรือโทษสิ่งที่เธอเจอกันแน่
ควรประหารหรือไม่
มันเหมือนการตั้งคำถามกับโทษประหาร ที่เราควรจะฆ่าคนนึง ทั้งที่เขาอาจจะเลวเพราะสังคม ครอบครัว สถานการณ์ในชีวิต ก็ได้ เหมือนชีวิตถูกกำกับให้มาในทางที่ผิด แต่อีกทางหนึ่ง สามารถคิดได้ว่า มนุษย์สามารถเลือกได้ เลือกที่จะไม่ทำผิดก็ได้ เพราะฉะนั้นจึงควรรับผิด
การทำผิดของบิ๊กและมธุสรต่างกันมาก แต่ทำให้สับสนในเรื่องเดียวกัน ทั้งควรลงโทษให้จบชีวิตหรือไม่ ถ้าพวกเขาได้รับชีวิตที่ดี พวกเขาอาจไม่ต้องเดินทางนี้ก็ได้ ควรได้รับการอภัยหรือไม่ ในส่วนของมธุสรในระหว่างที่ฆ่าคนก็ช่วยคนด้วย ควรที่จะลงโทษด้วยการฆ่าหรือไม่ หรือจะเชื่อว่าคนเรามีทางเลือก พวกเขาเจอชีวิตแบบนี้ ก็ไม่จำเป็นต้องเลือกทางนี้ก็ได้ แล้วมองว่าสมควรรับโทษ
แล้วอภัยโทษหรือลดหย่อนโทษจะเกิดอะไรขึ้น กับคนอย่างพวกทรชน อาจทำให้เหยื่อรู้สึกไม่เป็นธรรม และออกล่าเองก็ได้ อาจจะทำความผิดซ้ำก็ได้ อย่างที่เราจะเห็นว่าอาชญากรมักทำความผิดซ้ำ กับมธุสรคนอาจมองเป็นตัวอย่าง ลุกขึ้นมาแก้แค้นกันเอง แล้วคงไม่ต้องมีตำรวจ ไม่ต้องมีศาล ไม่ต้องมีกฎหมาย เป็นประเด็นที่ถกแล้วเสียงแตกเยอะจริงๆ
ประเด็นนี้ถูกทำให้ต่อสู้กันอย่างชัดเจนในการต่อสู้ในศาล ทนายเป็นผู้นำของความเชื่อที่ว่ามธุสรทำเพราะมีเหตุผลที่ควรได้รับความเห็นใจ แต่อัยการเป็นผู้นำของความเชื่อแบบอุดมการณ์สูง ทำผิดต้องรับผิดทุกกรณี
ในทั้งหมดคิดว่าคำถามและคำตอบระหว่างอัยการกับหมอในศาลคือบทสนทนาที่ดีที่สุดในเรื่อง อัยการพยายามถามด้วยคุณคิดเห็นอย่างไร แล้วให้ตอบในมุมต่างๆ ซึ่งมันจริงการมองสิ่งที่มธุสรทำว่าเป็นแบบไหน มันอยู่มันจะมองในมุมไหน แล้วหมอตอบด้วยคำตอบ อย่างคนมองเห็นปัญหาจริงๆ ว่ามันไม่ใช่ความผิดของมธุสรอย่างเดียว คนร้ายก็ผิด รวมถึงโครงสร้างต่างๆ ตำรวจ หมอ รวมถึงสังคมก็ผิดที่ร่วมทำให้เรื่องแบบนี้มันเกิดขึ้น
และสิ่งที่เป็นคำถามใหญ่คือ ระหว่างการล่าของมธุสร กับ การที่กระบวนการทางกฎหมายที่ให้ความเป็นธรรมไม่ได้ อะไรกันที่ทำให้กฎหมายไม่ศักดิสิทธิ์การพิจารณาคดีของมธุสรได้จบไป แต่การแก้ปัญหาเพื่อไม่ให้เกิดคนแบบมธุสร อาจจะต้องแก้ที่ต้นเหตุ คือ กฎหมายและตำรวจต้องสร้างความมั่นคงทางจิตใจ เป็นที่พึ่งให้เธอได้ ไม่ใช่ให้เธอไปพึ่งเซ็นเซคอสเพย์หรือพึ่งตัวเองในการฆ่า สำหรับมธุสรและโลกดิสโทเปียของเธอ เราคงไปช่วยอะไรเธอไม่ได้เพราะมันคือโลกอีกโลก โลกจริงๆ คงไม่แย่อย่างนั้น... หรอกนะ
แต่ว่าโลกที่เราอยู่ตรงนี้กระบวนการทางกฎหมาย ตำรวจ และรัฐ ให้ความมั่นคงทางจิตใจให้ประชาชนได้แค่ไหนกัน
อย่าต้องให้เกิดมธุสรขึ้นมาในโลกจริงๆ เลย
กับละคร
คะแนนที่ให้อยู่ที่ 7/10 แต่ก็ติดตามจริงๆ และจริงจัง ชอบที่ละครในกระแสเล่นประเด็นหนักๆ บ้าง
แล้วทุกคนล่ะ เห็นประเด็นอะไร แชร์กันมา