ทางออกอยู่ตรงไหน ... เมื่อพาราควอตถูกแบน แล้วไกลโฟเสตจะรอดหรือ

Glyphosate (ไกลโฟเสต) หรือ N-(ฟอสโฟโนเมทิล) ไกลซีน เป็นยากำจัดวัชพืชโดยวิธีฉีดพ่นและดูดซึมทางใบ, วิธีฉีดเข้าลำต้น หรือหยอดที่ยอด เป็นยากำจัดวัชพืชที่มีปริมาณการใช้งานมากที่สุดในสหรัฐอเมริกา ทั้งในการจัดการเกษตร และการตกแต่งสวนหย่อม

ไกลโฟเสตถือสิทธิบัตรและผลิตจำหน่ายในสหรัฐอเมริกามาตั้งแต่ทศวรรษ 1970 โดยบริษัทมอนซานโต้ ในชื่อการค้า ราวด์อัพ (Roundup) ในปัจจุบันมอนซานโตได้พัฒนาพืชผลที่ผ่านการตัดแต่งพันธุกรรมให้สามารถทนทานต่อไกลโฟเสต เช่น ถั่วเหลือง ข้าวโพด ถั่วอัลฟัลฟา ข้าวฟ่าง คาโนลา ทำให้สามารถฉีดพ่นไกลโฟเสตเพื่อทำลายวัชพืชโดยไม่ทำลายพืชผล เพิ่มความสะดวกและลดค่าใช้จ่ายในการจัดการ ใช้ชื่อการค้าว่า พืชราวด์อั้พ เรดดี้ (Roundup Ready Trait)

สิทธิบัตรที่บริษัทมอนซานโตได้รับนั้น มีผลคุ้มครองถึงปี ค.ศ. 2000 ปัจจุบันผู้ผลิตรายอื่นจึงสามารถผลิตและจำหน่ายไกลโฟเสตในท้องตลาดได้ในชื่อทางการค้าต่าง ๆ กัน




Glyphosate (ammonium 2-[(phosphonomethyl)amino]acetic acid) เป็นสารเคมีในกลุ่มสารปราบวัชพืช (Herbicide) ที่ค่อนข้างได้รับความนิยมในการใช้ในปัจจุบัน ไกลโฟเสตมีขายในชื่อทางการค้าต่างๆ เช่น ราวด์อัพ (Roundup)  เป็นพิษต่อมนุษย์และสัตว์ค่อนข้างน้อย สลายตัวได้ไวตามธรรมชาติด้วย จึงฆ่าได้เฉพาะพืชใบกว้างที่ไปสัมผัสมัน และใช้ป้องกันต้นใหม่ไม่ได้ ถ้านำไปพ่น ต้นที่งอกอยู่จะตายทั้งหมด แต่พวกเมล็ดที่ยังไม่งอก จะไม่ตาย ไม่ค่อยมีรายงานความเป็นพิษ นอกจากกรณีคนตายเพราะจงใจกินฆ่าตัวตาย ส่วนใหญ่เป็นพิษจากการระคายเคืองเป็นหลัก  มีครึ่งชีวิต (Half-Life) ในดินประมาณ 47 วัน

องค์กรทางด้านสิ่งแวดล้อม หรือ United States Environmental Protection Agency หรือ EPA ประเมินว่าไกลโฟเสตนั้นไม่เป็นสารก่อมะเร็ง

แต่ ...

The World Health Organization : WHO หรือ องค์กรอนามัยโลก กำหนดให้สารไกลโฟเสต เป็นสารที่น่าจะเป็นสารที่ทำให้ก่อมะเร็ง (probably carcinogenic to humans) แบบที่ 2A ที่มา : Glyphosate Wikipedia   เช่นเดียวกับ ควันบุหรี่ เนื้อสัตว์แปรรูป ควันท่อไอเสีย ผักกาดดอง กาแฟ และอาหารปิ้ง ย่าง ที่มา : FB : Jessada Denduangboripant

ไกลโฟเสต เป็นสารกำจัดวัชพืชแบบไม่เลือกทำลาย ออกฤทธิ์แบบดูดซึม โดยดูดซึมเข้าทางใบ และส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์แสง มีการเคลื่อนย้ายไปยังส่วนต่างๆของวัชพืช รวมทั้งรากเหง้าใต้ดิน ใช้กำจัดวัชพืชทั้งใบแคบและใบกว้าง วัชพืชปราบยากเช่น แห้วหมู หญ้าคา ไมยาราบยักษ์ ผักตบชวา เป็นต้น และส่วนใหญ่เกษตรกรไทยจะใช้สารไกลโฟเสตในการกำจัดวัชพืชตามหัวคันนา หรือเพื่อล้างแปลงก่อนทำนาครั้งใหม่

การที่สารเคมีดังกล่าวจะปนเปื้อน และทำลายสุขภาพของเกษตรกรผู้ฉีดพ่นได้ ก็เนื่องจาก เกษตรกรไม่ได้ทำตามคำแนะนำในการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชที่อยู่ข้างฉลากอย่างแน่นอน เพราะเกษตรกรหลายรายมักจะใช้ตามความคุ้นเคย กะตามความเคยชิน และอาศัยว่าสะดวก จึงทำให้เกิดการปนเปื้อนเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย และทำให้มีสารเคมีตกค้างในพืชผักอีกด้วย

หวังว่ากรมวิชาการเกษตร และกระทรวงสาธารณะสุขจะมีทางออกให้กับเกษตรกรไทยบ้างนะครับ ไม่ใช่ว่ายกเลิกไปแล้ว แต่ไม่มีทางเลือกอื่นที่เหมาะสม พอต้นทุนในการผลิตสูงก็ปล่อยให้เป็นภาระของเกษตรกรรับผิดชอบแต่เพียงลำพังนะครับ


อย่างไรแล้ว ผมขอแนะนำให้อ่านฉลากวิธีการใช้งานข้างแกลลอนให้ละเอียด เข้าใจ และพึงปฏิบัติตามคำแนะนำกันด้วยนะครับ เพื่อสุขภาพของคนฉีดพ่น และคนข้างเคียงครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่