ระวัง! 'จอดรถขวางหน้าบ้าน' มีความผิดตามกฎหมายชัวร์
การจอดรถขวางทางเข้า-ออก ถือเป็นการกระทำผิดตามกฎหมายแม้จะเป็นพื้นที่สาธารณะ
มีโทษขั้นต่ำปรับ 500 บาท และอาจเข้าข่ายสร้างความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อื่น มีโทษปรับสูงสุด 5,000 บาท
ปัญหาการจอดรถกีดขวางทางเข้า-ออก เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยโดยเฉพาะในเขตเมืองหลวง
ซึ่งหลายครั้งผู้กระทำผิดมักอ้างว่าเป็นพื้นที่สาธารณะ
แต่ในทางกฎหมายนั้น แม้ว่าจะเป็นพื้นที่สาธารณะก็ไม่มีสิทธิ์กระทำการกีดขวางด้วยการจอดรถขวางทางเข้า-ออก
จนเป็นเหตุให้ผู้อื่นเกิดความเดือดร้อนได้
โดย พ.ร.บ.จราจรทางบก มาตรา 37 วรรค 10 ระบุว่า
ห้ามมิให้ผู้ขับขี่จอดรถตรงปากทางเข้าออกของอาคารหรือทางเดินรถ
หรือในระยะห้าเมตรจากปากทางเดินรถ ผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
แต่กระนั้น ในอดีตมีการฟ้องร้องผู้ที่จอดรถกีดขวางทางเข้า-ออก
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 397 ซึ่งระบุว่า
'ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ ต่อผู้อื่น อันเป็นการรังแก ข่มเหง คุกคาม
หรือกระทำให้ได้รับความอับอายหรือเดือดร้อนรำคาญ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท'
ซึ่งคดีดังกล่าวถูกตัดสินว่ามีความผิดจริงและต้องชดใช้ตามประมวลกฎหมายอาญา
จึงทำให้การจอดรถกีดขวางทางเข้า-ออก อาจเข้าข่ายความผิดทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนรำคาญ
และมีโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท นอกเหนือความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกเพียงอย่างเดียว
ที่มา
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้https://auto.sanook.com/62409/
จากข่าวกระบะจอดขวางประตูบ้าน ?! ถ้ามีรถมาจอดขวางทางเรา จะเอาผิดอะไรได้บ้าง ?!?!
การจอดรถขวางทางเข้า-ออก ถือเป็นการกระทำผิดตามกฎหมายแม้จะเป็นพื้นที่สาธารณะ
มีโทษขั้นต่ำปรับ 500 บาท และอาจเข้าข่ายสร้างความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อื่น มีโทษปรับสูงสุด 5,000 บาท
ปัญหาการจอดรถกีดขวางทางเข้า-ออก เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยโดยเฉพาะในเขตเมืองหลวง
ซึ่งหลายครั้งผู้กระทำผิดมักอ้างว่าเป็นพื้นที่สาธารณะ
แต่ในทางกฎหมายนั้น แม้ว่าจะเป็นพื้นที่สาธารณะก็ไม่มีสิทธิ์กระทำการกีดขวางด้วยการจอดรถขวางทางเข้า-ออก
จนเป็นเหตุให้ผู้อื่นเกิดความเดือดร้อนได้
โดย พ.ร.บ.จราจรทางบก มาตรา 37 วรรค 10 ระบุว่า
ห้ามมิให้ผู้ขับขี่จอดรถตรงปากทางเข้าออกของอาคารหรือทางเดินรถ
หรือในระยะห้าเมตรจากปากทางเดินรถ ผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
แต่กระนั้น ในอดีตมีการฟ้องร้องผู้ที่จอดรถกีดขวางทางเข้า-ออก
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 397 ซึ่งระบุว่า
'ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ ต่อผู้อื่น อันเป็นการรังแก ข่มเหง คุกคาม
หรือกระทำให้ได้รับความอับอายหรือเดือดร้อนรำคาญ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท'
ซึ่งคดีดังกล่าวถูกตัดสินว่ามีความผิดจริงและต้องชดใช้ตามประมวลกฎหมายอาญา
จึงทำให้การจอดรถกีดขวางทางเข้า-ออก อาจเข้าข่ายความผิดทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนรำคาญ
และมีโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท นอกเหนือความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกเพียงอย่างเดียว
ที่มา [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้