*กระทู้นี้จัดทำขึ้นเพื่อบอกเล่าและประชาสัมพันธ์การทำโครงงาน IS3 ของสมาชิกในกลุ่ม เผยแพร่ลงสู่ชุมชนเพื่อนการศึกษาไม่ได้มีเจตนาอื่นใดในเชิงพาณิชย์แต่อย่างใด*
เรื่อง การทดสอบสารปรอทในครีมบำรุงผิว
สภาพปัจจุบันในสังคมประเทศไทยมีครีมหรือเครื่องสำอางค์บำรุงผิวหลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละรูปแบบได้มี นวัตกรรมที่แตกต่างกันไป มีทั้งที่ดีและไม่ดี ที่ปลอดภัยและไม่ปลอดภัยผู้ประกอบการหรือผู้ผลิตได้หาช่องทางในการเอาเปรียบผู้บริโภคโดยอาจมาได้ในหลายๆรูปแบบหนึ่งในนั้นก็คือการใส่สารที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคสารเคมีอันตรายแต่ละตัวจะมีคุณสมบัติแตกต่างกันไปไม่ว่าจะเป็นทำให้ผิวขาวนุ่มเนียนและชุ่มชื้นซึ่งสารเคมีอันตรายเหล่านี้มักจะให้ผลที่ดีและสามารถเห็นได้ชัดเจนแต่ส่งผลเสียในระยะยาวต่อสุขภาพของผู้บริโภคไม่ว่าจะเป็นโรคมะเร็งซึ่งโรคนี้มักจะปนเปื้อนมาจากสารเคมีอันตรายต่างๆในบางกรณีอาจจะเกิดอาการแพ้สารเคมีจนทำให้ขึ้นผื่นแดงเกิดการอักเสบของผิวหนังและอาจถึงแก่ชีวิตได้นี้คือปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ในปัจจุบันมีหน่วยงานต่างๆที่ตรวจสอบเรื่องคุณภาพของเครื่องสำอางค์และครีมบำรุงผิวไม่ว่าจะเป็นองค์กรอาหารและยากระทรวงสาธารณะสุขหรือในคณะทางวิทยาศาสตร์สุขภาพหลายๆสถาบันที่ตรวจสอบสารปนเปื้อนในครีมทาผิวและเครื่องสำอางค์มีทั้งที่เจอสารเคมีอันตรายและไม่เจอแต่ในปัจจุบันไม่ว่าจะมีสถาบันที่ตรวจสอบคุณภาพเครื่องสำอางค์และครีมบำรุงผิวมากแค่ไหน แต่ก็ยังไม่พ้นความเห็นแก่ตัวของผู้ผลิตได้
ดังนั้นทางคณะผู้จัดทำจึงมีความเห็นกันที่ว่าไม่ว่าผู้ผลิตจะเห็นแก่ตัวแค่ไหนพวกเราจึงขอเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือสังคมของพวกเรารวมถึงการรณณรงค์ให้ผู้บริโภครู้ถึงภัยอันตรายจากครีมบำรุงผิวให้รู้จักเลือกใช้ครีมบำรุงผิวอย่างถูกต้องและปลอดภัย
เรื่องและประเด็นปัญหา
การมีสุขภาพผิวที่ดีนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญ การมีสุขภาพผิวที่ดีนั้นขึ้นอยู่กับการดูแลผิวพรรณอย่างถูกวิธีไม่ว่าจะเป็นการทำความสะอาดผิว การขัดผิว รวมถึงการเลือกผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่เหมาะกับสภาพผิวของตนเองและที่สำคัญไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
ในปัจจุบันครีมบำรุงผิวหน้าได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในชีวิตประจำวันของทุกเพศทุกวัย ทำให้มีผลิตภัณฑ์เพื่อการบำรุงผิวออกมาสู่ท้องตลาดเป็นจำนวนมาก เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคไม่ว่าจะเป็นครีมเพื่อผิวขาว ครีมรักษาสิว เป็นต้น ซึ่งผู้ผลิตบางรายนำสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อผิวมาเป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอาง ซึ่งสารเคมีชนิดดังกล่าวได้แก่ สารปรอท โมโนเบนโซน ไฮโรควิโนน และกรดวิตามินเอ เป็นต้น ซึ่งสารเหล่านี้เป็นสารต้องห้ามใช้ในเครื่องสำอาง ซึ่งหากได้รับสารปรอทในปริมาณมากจะทำให้มีความผิดปกคิต่อผิวหนัง เกิดอาการแพ้และมีผื่นแดง ผิวหน้าดำ ผิวบางลง เกิดพิษสะสมทำให้ทางเดินปัสสาวะอักเสบและไตอักเสบ
คณะผู้จัดทำโครงงานจึงได้เห็นความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยของครีมบำรุงผิวหน้า จึงได้ทำการทดสอบหาสารปรอทในครีมบำรุงผิวหน้าเพื่อเป็นแนวางในการเลือกซื้อครีมบำรุงผิวหน้าได้อย่างปลอดภัยและไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพผิว
วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาและประชาสัมพันธ์ถึงอันตรายของสารปรอทที่ผสมอยู่ในครีมบำรุงผิว
2.เพื่อค้นหาสารปรอทที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
วัสดุ-อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดสอบหาสารปรอท
1.ครีมอินเตอร์เน็ต
2.ครีมตลาดนัด
3.ครีมร้านขายยา
4.ครีมร้านสะดวกซื้อ
5.ครีมห้างสรรพสินค้า
6.ที่ตั้งหลอดทดสอบ
7.หลอดทดสอบ
8.น้ำยาทดสอบ
9.ไม้ตักตัวอย่าง
10.หลอดหยด
11.ถุงมือ
ขั้นตอนการทดลอง
1.เตรียมครีมทั้ง 5 ประเภท
2.ตักครีมด้วยไม้ตักอย่างขนาดเท่ากับเมล็ดถั่วลิสง (ครีมอินเตอร์เน็ต)
3.ป้ายครีมรอบๆผนังด้านในของหลอดทดสอบจากขอบบนจนเกือบถึงกึ่งกลางหลอด
4.หยดน้ำยาทดสอบ 15 หยดลงในหลอดทดสอบ
5.ปิดฝาหลอดทดสอบ คว่ำและหงายประมาณ10ครั้ง สังเกตความเปลี่ยนแปลง
6.ทดสอบไปแบบนี้เรื่อยๆจนครบทั้ง 5 ชนิด
(ครีมตลาดนัด)
ตักครีม
ป้ายครีม
หยดน้ำยา 15 หยด
คว่ำแหละหงาย 10 ครั้ง
(ครีมร้านขายยา)
ตักครีม
หยดน้ำยา 15 หยด
คว่ำหงาย 10 ครั้ง
(ครีมร้านสะดวกซื้อ)
ตักครีม
ป้ายครีม
หยดน้ำยา 15 หยด
คว่ำหงาย 10 ครั้ง
(ครีมห้างสรรพสินค้า)
ตักครีม
ป้ายครีม
หยดน้ำยา 15 หยด
คว่ำหงาย 15 ครั้ง
ตารางบันทึกผลการทดสอบ
การประเมินผล
1.ตรวจพบสารปรอท
- น้ำยาที่ก้นหลอดทดสอบเปลี่ยนเป็นสีส้ม หรือ สีเหลืองอมส้มแสดงว่าตรวจพบสารปรอท
- น้ำยาทดสอบเป็นสีโอโรส แสดงว่าตรวจพบสารปรอท
2.ตรวจไม่พบสารปรอท
- น้ำยาทดสอบเป็นสีเขียวแสดงว่าไม่พบสารปรอท
สรุปผลการทดลอง
การทดลองหาสารปรอทนี้ได้แบ่งประเภทของครีมออกเป็น 5 ชนิดโดยแบ่งจากแหล่งขายครีมชนิดๆนั้นๆ ได้แก่ ครีมอินเตอร์เน็ต ครีมตลาดนัด ครีมร้านขายยา ครีมร้านสะดวกซื้อ ครีมห้างสรรพสินค้า จากนั้นได้นำมาทดลองด้วยชุดทดสอบสารปรอทของศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 3 นครสวรรค์
พบว่า ครีมที่ซื้อจากอินเตอร์เน็ตและครีมจากตลาดนัดมีสารปรอทเป็นส่วนผสมอยู่ ทำให้เห็นได้เด่นชัดว่า แหล่งซื้อขายของครีมเป็นสิ่งสำคัญควรเลือกความน่าเชื่อถือได้จากร้านขายยา ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น อย่าหลงเชื่อเพียงคำโฆษณา ทางที่ปลอยภัยที่สุดในการเลือกบริโภคคือการดูฉลากอย่างละเอียดว่ามี อ.ย. หรือไม่แต่อย่างนั้นก็ไม่พอเพราะเมื่อเวลาผ่านไปทางผู้ผลิตอาจนำสารอันตรายเหล่านี้มาผสมอยู่ด้วยหลังได้เลข อ.ย.แล้วก็ตาม
ดังนั้น ผู้บริโภคเครื่องสำอางหรือครีมบำรุงผิวชนิดใดก็ตามควรพิจารณาไตร่ตรองให้ดีหากแหล่งซื้อคือ อินเตอร์เน็ตและตลาดนัด
โครงงานIS เรื่อง การทดสอบสารปรอทในครีมบำรุงผิว
เรื่อง การทดสอบสารปรอทในครีมบำรุงผิว
สภาพปัจจุบันในสังคมประเทศไทยมีครีมหรือเครื่องสำอางค์บำรุงผิวหลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละรูปแบบได้มี นวัตกรรมที่แตกต่างกันไป มีทั้งที่ดีและไม่ดี ที่ปลอดภัยและไม่ปลอดภัยผู้ประกอบการหรือผู้ผลิตได้หาช่องทางในการเอาเปรียบผู้บริโภคโดยอาจมาได้ในหลายๆรูปแบบหนึ่งในนั้นก็คือการใส่สารที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคสารเคมีอันตรายแต่ละตัวจะมีคุณสมบัติแตกต่างกันไปไม่ว่าจะเป็นทำให้ผิวขาวนุ่มเนียนและชุ่มชื้นซึ่งสารเคมีอันตรายเหล่านี้มักจะให้ผลที่ดีและสามารถเห็นได้ชัดเจนแต่ส่งผลเสียในระยะยาวต่อสุขภาพของผู้บริโภคไม่ว่าจะเป็นโรคมะเร็งซึ่งโรคนี้มักจะปนเปื้อนมาจากสารเคมีอันตรายต่างๆในบางกรณีอาจจะเกิดอาการแพ้สารเคมีจนทำให้ขึ้นผื่นแดงเกิดการอักเสบของผิวหนังและอาจถึงแก่ชีวิตได้นี้คือปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ในปัจจุบันมีหน่วยงานต่างๆที่ตรวจสอบเรื่องคุณภาพของเครื่องสำอางค์และครีมบำรุงผิวไม่ว่าจะเป็นองค์กรอาหารและยากระทรวงสาธารณะสุขหรือในคณะทางวิทยาศาสตร์สุขภาพหลายๆสถาบันที่ตรวจสอบสารปนเปื้อนในครีมทาผิวและเครื่องสำอางค์มีทั้งที่เจอสารเคมีอันตรายและไม่เจอแต่ในปัจจุบันไม่ว่าจะมีสถาบันที่ตรวจสอบคุณภาพเครื่องสำอางค์และครีมบำรุงผิวมากแค่ไหน แต่ก็ยังไม่พ้นความเห็นแก่ตัวของผู้ผลิตได้
ดังนั้นทางคณะผู้จัดทำจึงมีความเห็นกันที่ว่าไม่ว่าผู้ผลิตจะเห็นแก่ตัวแค่ไหนพวกเราจึงขอเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือสังคมของพวกเรารวมถึงการรณณรงค์ให้ผู้บริโภครู้ถึงภัยอันตรายจากครีมบำรุงผิวให้รู้จักเลือกใช้ครีมบำรุงผิวอย่างถูกต้องและปลอดภัย
เรื่องและประเด็นปัญหา
การมีสุขภาพผิวที่ดีนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญ การมีสุขภาพผิวที่ดีนั้นขึ้นอยู่กับการดูแลผิวพรรณอย่างถูกวิธีไม่ว่าจะเป็นการทำความสะอาดผิว การขัดผิว รวมถึงการเลือกผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่เหมาะกับสภาพผิวของตนเองและที่สำคัญไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
ในปัจจุบันครีมบำรุงผิวหน้าได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในชีวิตประจำวันของทุกเพศทุกวัย ทำให้มีผลิตภัณฑ์เพื่อการบำรุงผิวออกมาสู่ท้องตลาดเป็นจำนวนมาก เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคไม่ว่าจะเป็นครีมเพื่อผิวขาว ครีมรักษาสิว เป็นต้น ซึ่งผู้ผลิตบางรายนำสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อผิวมาเป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอาง ซึ่งสารเคมีชนิดดังกล่าวได้แก่ สารปรอท โมโนเบนโซน ไฮโรควิโนน และกรดวิตามินเอ เป็นต้น ซึ่งสารเหล่านี้เป็นสารต้องห้ามใช้ในเครื่องสำอาง ซึ่งหากได้รับสารปรอทในปริมาณมากจะทำให้มีความผิดปกคิต่อผิวหนัง เกิดอาการแพ้และมีผื่นแดง ผิวหน้าดำ ผิวบางลง เกิดพิษสะสมทำให้ทางเดินปัสสาวะอักเสบและไตอักเสบ
คณะผู้จัดทำโครงงานจึงได้เห็นความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยของครีมบำรุงผิวหน้า จึงได้ทำการทดสอบหาสารปรอทในครีมบำรุงผิวหน้าเพื่อเป็นแนวางในการเลือกซื้อครีมบำรุงผิวหน้าได้อย่างปลอดภัยและไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพผิว
วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาและประชาสัมพันธ์ถึงอันตรายของสารปรอทที่ผสมอยู่ในครีมบำรุงผิว
2.เพื่อค้นหาสารปรอทที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
วัสดุ-อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดสอบหาสารปรอท
1.ครีมอินเตอร์เน็ต
2.ครีมตลาดนัด
3.ครีมร้านขายยา
4.ครีมร้านสะดวกซื้อ
5.ครีมห้างสรรพสินค้า
6.ที่ตั้งหลอดทดสอบ
7.หลอดทดสอบ
8.น้ำยาทดสอบ
9.ไม้ตักตัวอย่าง
10.หลอดหยด
11.ถุงมือ
ขั้นตอนการทดลอง
1.เตรียมครีมทั้ง 5 ประเภท
2.ตักครีมด้วยไม้ตักอย่างขนาดเท่ากับเมล็ดถั่วลิสง (ครีมอินเตอร์เน็ต)
3.ป้ายครีมรอบๆผนังด้านในของหลอดทดสอบจากขอบบนจนเกือบถึงกึ่งกลางหลอด
4.หยดน้ำยาทดสอบ 15 หยดลงในหลอดทดสอบ
5.ปิดฝาหลอดทดสอบ คว่ำและหงายประมาณ10ครั้ง สังเกตความเปลี่ยนแปลง
6.ทดสอบไปแบบนี้เรื่อยๆจนครบทั้ง 5 ชนิด
(ครีมตลาดนัด)
ตักครีม
ป้ายครีม
หยดน้ำยา 15 หยด
คว่ำแหละหงาย 10 ครั้ง
(ครีมร้านขายยา)
ตักครีม
หยดน้ำยา 15 หยด
คว่ำหงาย 10 ครั้ง
(ครีมร้านสะดวกซื้อ)
ตักครีม
ป้ายครีม
หยดน้ำยา 15 หยด
คว่ำหงาย 10 ครั้ง
(ครีมห้างสรรพสินค้า)
ตักครีม
ป้ายครีม
หยดน้ำยา 15 หยด
คว่ำหงาย 15 ครั้ง
ตารางบันทึกผลการทดสอบ
การประเมินผล
1.ตรวจพบสารปรอท
- น้ำยาที่ก้นหลอดทดสอบเปลี่ยนเป็นสีส้ม หรือ สีเหลืองอมส้มแสดงว่าตรวจพบสารปรอท
- น้ำยาทดสอบเป็นสีโอโรส แสดงว่าตรวจพบสารปรอท
2.ตรวจไม่พบสารปรอท
- น้ำยาทดสอบเป็นสีเขียวแสดงว่าไม่พบสารปรอท
สรุปผลการทดลอง
การทดลองหาสารปรอทนี้ได้แบ่งประเภทของครีมออกเป็น 5 ชนิดโดยแบ่งจากแหล่งขายครีมชนิดๆนั้นๆ ได้แก่ ครีมอินเตอร์เน็ต ครีมตลาดนัด ครีมร้านขายยา ครีมร้านสะดวกซื้อ ครีมห้างสรรพสินค้า จากนั้นได้นำมาทดลองด้วยชุดทดสอบสารปรอทของศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 3 นครสวรรค์
พบว่า ครีมที่ซื้อจากอินเตอร์เน็ตและครีมจากตลาดนัดมีสารปรอทเป็นส่วนผสมอยู่ ทำให้เห็นได้เด่นชัดว่า แหล่งซื้อขายของครีมเป็นสิ่งสำคัญควรเลือกความน่าเชื่อถือได้จากร้านขายยา ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น อย่าหลงเชื่อเพียงคำโฆษณา ทางที่ปลอยภัยที่สุดในการเลือกบริโภคคือการดูฉลากอย่างละเอียดว่ามี อ.ย. หรือไม่แต่อย่างนั้นก็ไม่พอเพราะเมื่อเวลาผ่านไปทางผู้ผลิตอาจนำสารอันตรายเหล่านี้มาผสมอยู่ด้วยหลังได้เลข อ.ย.แล้วก็ตาม
ดังนั้น ผู้บริโภคเครื่องสำอางหรือครีมบำรุงผิวชนิดใดก็ตามควรพิจารณาไตร่ตรองให้ดีหากแหล่งซื้อคือ อินเตอร์เน็ตและตลาดนัด