เป็นเวลากว่าศตวรรษมาแล้วที่งานวิจัยได้มีการเผยแพร่หลักทฤษฎีต่างๆที่เกี่ยวกับการยกระดับเชาวน์ปัญญาในตัวมนุษย์ โดยนักประสาทวิทยาศาสตร์บางคนคิดว่าเชาวน์ปัญญาจะยกระดับได้จากส่วนสมองหรือจากเครือข่ายระบบเส้นประสาท ในขณะที่คนอื่นก็อธิบายว่าเนื้อเยื่อหรือเซลล์สมองที่ดีถือเป็นกุญแจสำคัญ
ทฤษฎีใหม่นี้ก็ได้มีการตีพิมพ์ในนิตยสาร Trend In Cognitive Sciences โดยได้ยกกรณีตัวอย่างการทำงานของสมองในรูปแบบต่างๆว่ามีความเชื่อมโยงกันอย่างไร แต่เช่นกันคำถามก็คือความเชื่อมโยงนี้มีการตอบสนองเปลี่ยนระดับเชาวน์ปัญญาของมนุษย์ได้มากน้อยแค่ไหนนั้น ก็ทำให้คาดการณ์ได้ถึงระดับเชาวน์ปัญญาในสมองของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี
“เมื่อพวกเรากล่าวถึงใครสักคนที่ฉลาดหลักแหลม พวกเราก็เข้าใจได้โดยสัญชาตญาณว่าหมายถึงอะไร” กล่าวโดยนักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัย Illinois อย่าง Aron Barbey ผู้เขียนงานวิจัย “ปกติแล้วพวกเรามักจะพูดถึงหลักการตัดสินใจที่ดีกับความสามารถในการแก้ไขปัญหาต่างๆของพวกเขา แต่ไม่นานมานี้งานวิจัยเกี่ยวกับประสาทวิทยาศาสตร์ได้มีการให้ความสำคัญกับการทำความเข้าใจในส่วนของหลักชีววิทยาที่เกี่ยวกับการยกระดับเชาวน์ปัญญา” งานวิจัยนี้ก็ได้มุ่งเน้นในเรื่องของโครงสร้างและการทำหน้าที่ของสมอง
นักวิทยาศาสตร์หลายคนเข้าใจมานานแล้วว่าสมองประกอบไปด้วยหน่วยต่างๆ ซึ่งมีทั้งเรื่องของการทำงานของสมองที่ไม่เหมือนกันที่รองรับทักษะความสามารถเฉพาะบุคคล Barbey กล่าว
“ตัวอย่างเช่น ส่วนที่เป็นสมองกลีบท้ายทอยที่อยู่บริเวณด้านหลังของสมองก็เป็นที่รู้จักกันดีเป็นกระบวนการทำงานในส่วนของการมองเห็น” เขากล่าว แต่ก็มีการตีความว่ากระบวนการในการมองเห็นสามารถทำงานในสมองส่วนอื่นๆด้วยเช่นกัน
“ในการระบุถึงวัตถุประสงค์นั้น พวกเราก็จะต้องทำการจัดแบ่งประเภทต่างๆ โดยไม่ได้ให้ความสำคัญเพียงแค่เรื่องของการมองเห็นเท่านั้น แต่ยังมีเรื่องของกรอบความรู้กับมุมมองเกี่ยวกับกระบวนการส่วนอื่นๆที่เป็นตัวส่งเสริมการทำหน้าที่ของสมองส่วนอื่นๆด้วย” เขากล่าว “และยิ่งมีเกณฑ์การวัดมากเท่าไร ยิ่งจะต้องมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับสมองในทางทฤษฎีโดยองค์รวมมากขึ้น”
นักวิทยาศาสตร์ได้พยายามทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการทำงานของสมองและพยายามที่จะวิเคราะห์โครงสร้างหรือการทำหน้าที่ในสมองส่วนต่างๆ
“คอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้าเป็นส่วนที่อยู่ตรงสมองส่วนหน้า ตรงส่วนนี้ถือเป็นกระบวนการที่สำคัญต่อวิวัฒนาการของมนุษย์” Barbey กล่าว เนื่องจากสมองส่วนนี้เป็นตัวส่งเสริมให้มนุษย์คิดอย่างมีแบบแผนและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่เหมาะสม นักวิทยาศาสตร์ชี้ว่าคอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้าเป็นตัวขับเคลื่อนเชาวน์ปัญญาให้กับมนุษย์
“แต่จริงๆแล้วการทำงานของสมองโดยรวมก็เหมือนกับงานสถาปัตยกรรมและการมีปฎิสัมพันธ์จากล่างไปสู่บนทำให้มนุษย์ยกระดับเชาวน์ปัญญาขึ้นมา” Barbey กล่าว
เกณฑ์การวัดการทำงานของสมองในเบื้องต้นก็จะต้องมาดูส่วนที่มีการปิดกั้นการทำงานโดยรวมก่อน “สัญชาติญาณที่เชื่อมโยงไปยังเครือข่ายการทำงานของสมอง” ก็มีความผูกมัดกัน Barbey กล่าว เครือข่ายก็จะประกอบไปด้วยโครงสร้างของสมองที่มีการทำงานร่วมกันเมื่อแต่ละคนมีทักษะทางด้านการกระบวนการรับรู้
“ตัวอย่างเช่น เครือข่าย Frontoparietal จะทำงานก็ต่อเมื่อมีสัญญาณภายนอกเข้ามา เครือข่ายที่มีลักษณะเฉพาะจะปรากฎให้เห็นเมื่อมีการควบคุมส่วนที่มีความเชื่อมโยงกันและเครือข่ายปกติจะเข้ามาแทนที่ก็ต่อเมื่อมีการเชื่อมโยงภายใน” เขากล่าว
เครือข่ายที่ไม่ได้ทำงานฝักใฝ่ใดก็จะมีการเชื่อมโยง 2 ประเภทที่เชื่อได้ว่าเป็นตัวช่วยส่งเสริมกระบวนการต่างๆ Barbey กล่าว
“การใช้กระบวนการเรียนรู้กับประสบการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นก่อนหน้า พวกเราเรียกว่า ‘เชาวน์ปัญญาผนึก’ ส่วนเรื่องของการประยุกต์ใช้หลักเหตุผลกับทักษะการแก้ไขปัญหาต่างๆด้วยความยืดหยุ่นได้ซึ่งเรียกว่าเป็น ‘เชาวน์ปัญญาเหลว’” เขากล่าว
เชาวน์ปัญญาผลึกก็จะอาศัยเหตุการณ์ที่มีความเชื่อมโยงต่างๆที่ผลลัพธ์ออกมาจะต้องใช้เวลาหลายเดือนหรือหลายปีกล่าวจะเห็นถึงแนวทางการแก้ไขปัญหารูปแบบต่างๆ ส่วนเชาวน์ปัญญาเหลวก็จะทำให้มองเห็นถึงจุดเปราะบาง ผลกระทบที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราวและพัฒนามากขึ้นเมื่อสมองรับมือกับความคิดต่างๆหรือปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น
“รูปแบบเชาวน์ปัญญาจะมีการก่อตัวขึ้นมาอย่างถาวร พวกเราจะต้องอัพเดทความรู้ที่ได้รู้มาก่อนหน้านี้และจะต้องหันมาให้ความสำคัญกับความรู้ใหม่ๆ” Barbey กล่าว ยิ่งเข้าใจรูปแบบการทำงานของสมองและมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงมากเท่าไร ก็จะยิ่งทำให้เชาวน์ปัญญาพัฒนามากขึ้น เขากล่าว
แม้ว่านักวิจัยหลายคนรู้ดีว่าความยืดหยุ่นเป็นสิ่งสำคัญในกระบวนการทำงานสมองของมนุษย์ แต่ก็มีแนวคิดที่ปรากฏไม่นานมานี้ว่า ความยืดหยุ่นเป็นพื้นฐานสำคัญของเชาวน์ปัญญามนุษย์ เขากล่าว
“ปกติแล้วเชาวน์ปัญญาจะมีเรื่องของความยืดหยุ่นที่เป็นเรื่องง่ายต่อการเข้าถึงองค์ประกอบต่างๆที่รองรับเชาวน์ปัญญาผนึก แต่เช่นกันก็มีการประยุกต์และทำให้เป็นเรื่องยากต่อการเข้าถึงในส่วนของเชาวน์ปัญญาเหลว” Barbey กล่าว “ทางด้านคณะของผมกับตัวผมเองก็เข้าใจดีว่า ปกติเชาวน์ปัญญาไม่ได้มีที่มาที่ไปจากสมองแต่ละส่วนหรือจากเครือข่าย ในหลักประสาทวิทยาศาสตร์ก็ได้มีการชี้ว่า เชาวน์ปัญญาเป็นตัวสะท้อนให้เห็นถึงความยืดหยุ่นที่มีการส่งผ่านไปยังเครือข่ายต่างๆ”
ผู้แปล : Mr.lawrence10
ที่มา : sciencedaily.com
ทฤษฎี : ความยืดหยุ่นเป็นหัวใจสำคัญในเชาวน์ปัญญาของมนุษย์
เป็นเวลากว่าศตวรรษมาแล้วที่งานวิจัยได้มีการเผยแพร่หลักทฤษฎีต่างๆที่เกี่ยวกับการยกระดับเชาวน์ปัญญาในตัวมนุษย์ โดยนักประสาทวิทยาศาสตร์บางคนคิดว่าเชาวน์ปัญญาจะยกระดับได้จากส่วนสมองหรือจากเครือข่ายระบบเส้นประสาท ในขณะที่คนอื่นก็อธิบายว่าเนื้อเยื่อหรือเซลล์สมองที่ดีถือเป็นกุญแจสำคัญ
ทฤษฎีใหม่นี้ก็ได้มีการตีพิมพ์ในนิตยสาร Trend In Cognitive Sciences โดยได้ยกกรณีตัวอย่างการทำงานของสมองในรูปแบบต่างๆว่ามีความเชื่อมโยงกันอย่างไร แต่เช่นกันคำถามก็คือความเชื่อมโยงนี้มีการตอบสนองเปลี่ยนระดับเชาวน์ปัญญาของมนุษย์ได้มากน้อยแค่ไหนนั้น ก็ทำให้คาดการณ์ได้ถึงระดับเชาวน์ปัญญาในสมองของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี
“เมื่อพวกเรากล่าวถึงใครสักคนที่ฉลาดหลักแหลม พวกเราก็เข้าใจได้โดยสัญชาตญาณว่าหมายถึงอะไร” กล่าวโดยนักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัย Illinois อย่าง Aron Barbey ผู้เขียนงานวิจัย “ปกติแล้วพวกเรามักจะพูดถึงหลักการตัดสินใจที่ดีกับความสามารถในการแก้ไขปัญหาต่างๆของพวกเขา แต่ไม่นานมานี้งานวิจัยเกี่ยวกับประสาทวิทยาศาสตร์ได้มีการให้ความสำคัญกับการทำความเข้าใจในส่วนของหลักชีววิทยาที่เกี่ยวกับการยกระดับเชาวน์ปัญญา” งานวิจัยนี้ก็ได้มุ่งเน้นในเรื่องของโครงสร้างและการทำหน้าที่ของสมอง
นักวิทยาศาสตร์หลายคนเข้าใจมานานแล้วว่าสมองประกอบไปด้วยหน่วยต่างๆ ซึ่งมีทั้งเรื่องของการทำงานของสมองที่ไม่เหมือนกันที่รองรับทักษะความสามารถเฉพาะบุคคล Barbey กล่าว
“ตัวอย่างเช่น ส่วนที่เป็นสมองกลีบท้ายทอยที่อยู่บริเวณด้านหลังของสมองก็เป็นที่รู้จักกันดีเป็นกระบวนการทำงานในส่วนของการมองเห็น” เขากล่าว แต่ก็มีการตีความว่ากระบวนการในการมองเห็นสามารถทำงานในสมองส่วนอื่นๆด้วยเช่นกัน
“ในการระบุถึงวัตถุประสงค์นั้น พวกเราก็จะต้องทำการจัดแบ่งประเภทต่างๆ โดยไม่ได้ให้ความสำคัญเพียงแค่เรื่องของการมองเห็นเท่านั้น แต่ยังมีเรื่องของกรอบความรู้กับมุมมองเกี่ยวกับกระบวนการส่วนอื่นๆที่เป็นตัวส่งเสริมการทำหน้าที่ของสมองส่วนอื่นๆด้วย” เขากล่าว “และยิ่งมีเกณฑ์การวัดมากเท่าไร ยิ่งจะต้องมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับสมองในทางทฤษฎีโดยองค์รวมมากขึ้น”
นักวิทยาศาสตร์ได้พยายามทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการทำงานของสมองและพยายามที่จะวิเคราะห์โครงสร้างหรือการทำหน้าที่ในสมองส่วนต่างๆ
“คอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้าเป็นส่วนที่อยู่ตรงสมองส่วนหน้า ตรงส่วนนี้ถือเป็นกระบวนการที่สำคัญต่อวิวัฒนาการของมนุษย์” Barbey กล่าว เนื่องจากสมองส่วนนี้เป็นตัวส่งเสริมให้มนุษย์คิดอย่างมีแบบแผนและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่เหมาะสม นักวิทยาศาสตร์ชี้ว่าคอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้าเป็นตัวขับเคลื่อนเชาวน์ปัญญาให้กับมนุษย์
“แต่จริงๆแล้วการทำงานของสมองโดยรวมก็เหมือนกับงานสถาปัตยกรรมและการมีปฎิสัมพันธ์จากล่างไปสู่บนทำให้มนุษย์ยกระดับเชาวน์ปัญญาขึ้นมา” Barbey กล่าว
เกณฑ์การวัดการทำงานของสมองในเบื้องต้นก็จะต้องมาดูส่วนที่มีการปิดกั้นการทำงานโดยรวมก่อน “สัญชาติญาณที่เชื่อมโยงไปยังเครือข่ายการทำงานของสมอง” ก็มีความผูกมัดกัน Barbey กล่าว เครือข่ายก็จะประกอบไปด้วยโครงสร้างของสมองที่มีการทำงานร่วมกันเมื่อแต่ละคนมีทักษะทางด้านการกระบวนการรับรู้
“ตัวอย่างเช่น เครือข่าย Frontoparietal จะทำงานก็ต่อเมื่อมีสัญญาณภายนอกเข้ามา เครือข่ายที่มีลักษณะเฉพาะจะปรากฎให้เห็นเมื่อมีการควบคุมส่วนที่มีความเชื่อมโยงกันและเครือข่ายปกติจะเข้ามาแทนที่ก็ต่อเมื่อมีการเชื่อมโยงภายใน” เขากล่าว
เครือข่ายที่ไม่ได้ทำงานฝักใฝ่ใดก็จะมีการเชื่อมโยง 2 ประเภทที่เชื่อได้ว่าเป็นตัวช่วยส่งเสริมกระบวนการต่างๆ Barbey กล่าว
“การใช้กระบวนการเรียนรู้กับประสบการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นก่อนหน้า พวกเราเรียกว่า ‘เชาวน์ปัญญาผนึก’ ส่วนเรื่องของการประยุกต์ใช้หลักเหตุผลกับทักษะการแก้ไขปัญหาต่างๆด้วยความยืดหยุ่นได้ซึ่งเรียกว่าเป็น ‘เชาวน์ปัญญาเหลว’” เขากล่าว
เชาวน์ปัญญาผลึกก็จะอาศัยเหตุการณ์ที่มีความเชื่อมโยงต่างๆที่ผลลัพธ์ออกมาจะต้องใช้เวลาหลายเดือนหรือหลายปีกล่าวจะเห็นถึงแนวทางการแก้ไขปัญหารูปแบบต่างๆ ส่วนเชาวน์ปัญญาเหลวก็จะทำให้มองเห็นถึงจุดเปราะบาง ผลกระทบที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราวและพัฒนามากขึ้นเมื่อสมองรับมือกับความคิดต่างๆหรือปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น
“รูปแบบเชาวน์ปัญญาจะมีการก่อตัวขึ้นมาอย่างถาวร พวกเราจะต้องอัพเดทความรู้ที่ได้รู้มาก่อนหน้านี้และจะต้องหันมาให้ความสำคัญกับความรู้ใหม่ๆ” Barbey กล่าว ยิ่งเข้าใจรูปแบบการทำงานของสมองและมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงมากเท่าไร ก็จะยิ่งทำให้เชาวน์ปัญญาพัฒนามากขึ้น เขากล่าว
แม้ว่านักวิจัยหลายคนรู้ดีว่าความยืดหยุ่นเป็นสิ่งสำคัญในกระบวนการทำงานสมองของมนุษย์ แต่ก็มีแนวคิดที่ปรากฏไม่นานมานี้ว่า ความยืดหยุ่นเป็นพื้นฐานสำคัญของเชาวน์ปัญญามนุษย์ เขากล่าว
“ปกติแล้วเชาวน์ปัญญาจะมีเรื่องของความยืดหยุ่นที่เป็นเรื่องง่ายต่อการเข้าถึงองค์ประกอบต่างๆที่รองรับเชาวน์ปัญญาผนึก แต่เช่นกันก็มีการประยุกต์และทำให้เป็นเรื่องยากต่อการเข้าถึงในส่วนของเชาวน์ปัญญาเหลว” Barbey กล่าว “ทางด้านคณะของผมกับตัวผมเองก็เข้าใจดีว่า ปกติเชาวน์ปัญญาไม่ได้มีที่มาที่ไปจากสมองแต่ละส่วนหรือจากเครือข่าย ในหลักประสาทวิทยาศาสตร์ก็ได้มีการชี้ว่า เชาวน์ปัญญาเป็นตัวสะท้อนให้เห็นถึงความยืดหยุ่นที่มีการส่งผ่านไปยังเครือข่ายต่างๆ”
ผู้แปล : Mr.lawrence10
ที่มา : sciencedaily.com