สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 15
- ตอนเดบิวต์ ปี 2014 ใครเป็นเบอร์ 1 ล่ะ โซชิไงยังแอคทีฟเต็มวงด้วย รุ่นพี่ในค่ายไหม
- ชายนี่เดบิวต์ปี 2008 ใครเป็นเบอร์ 1 ล่ะ ดงบังชินกิไงยังแอคทิฟเต็มวงด้วย
- F(x) เดบิวต์ 2009 เหมือนกัน กรณีเดียวกับ rvv
*** คุณอาจมองไม่ออก คุณรอดู GGวงใหม่ของ SM ที่กำลังจะเดบิวต์ได้เลย จะเห็นภาพชัดขึ้น
เราว่ากรณีของ rvv มันไม่ได้ย้อนแย้ง แฟนคลับค่ายเขารู้ดีว่าระบบค่ายเป็นยังไง เราว่าคนที่ย้อนแย้งคือคนอื่นที่ไม่ใช่แฟนคลับค่าย พยายามที่จะย้อนแย้งมากกว่านะ ถ้าให้นับเป็นยุคต่อยุค ค่ายอื่นยุคละวง แต่ sm ยุคละกี่วง??
ยุคแรก H.O.T S.E.S Shinhwa
ยุคสอง TVXQ CSJH SJ SNSD SHINEE F(x)
ยุคสาม EXO RVV NCT (โซชิดังลากยาวมาเลย)
ในกระทู้นนั้นคุณ Mayro อธิบายได้ชัดเจนอยู่แล้ว ถ้าคุณเปิดใจอ่านและรับฟังมันนะ
การตลาดของค่ายนี้อาจแปลกแต่สามารถครอบคลุมเม็ดเงินที่จะไหลเข้ามา วงนี้ไปตีตลาดญี่ปุ่น อีกวงตีตลาดจีน อีกวงตีตลาดเกาหลี เบอร์ใหญ่ไปทัวร์คอน ก็ปล่อยเบอร์รองมาคัมแบ็ค มันถึงได้รวยเอาๆยังไงล่ะ
#สุดท้ายแล้วกระทู้นี้ก็จบลงแบบกระทู้เดิมคือบางคนเขาก็พยายามอธิบายให้ชัดเจนที่สุดแล้ว ก็ยังมีคนตั้งคำถาม ทั้งๆที่เขาก็อธิบายไปแล้ว...
- ชายนี่เดบิวต์ปี 2008 ใครเป็นเบอร์ 1 ล่ะ ดงบังชินกิไงยังแอคทิฟเต็มวงด้วย
- F(x) เดบิวต์ 2009 เหมือนกัน กรณีเดียวกับ rvv
*** คุณอาจมองไม่ออก คุณรอดู GGวงใหม่ของ SM ที่กำลังจะเดบิวต์ได้เลย จะเห็นภาพชัดขึ้น
เราว่ากรณีของ rvv มันไม่ได้ย้อนแย้ง แฟนคลับค่ายเขารู้ดีว่าระบบค่ายเป็นยังไง เราว่าคนที่ย้อนแย้งคือคนอื่นที่ไม่ใช่แฟนคลับค่าย พยายามที่จะย้อนแย้งมากกว่านะ ถ้าให้นับเป็นยุคต่อยุค ค่ายอื่นยุคละวง แต่ sm ยุคละกี่วง??
ยุคแรก H.O.T S.E.S Shinhwa
ยุคสอง TVXQ CSJH SJ SNSD SHINEE F(x)
ยุคสาม EXO RVV NCT (โซชิดังลากยาวมาเลย)
ในกระทู้นนั้นคุณ Mayro อธิบายได้ชัดเจนอยู่แล้ว ถ้าคุณเปิดใจอ่านและรับฟังมันนะ
การตลาดของค่ายนี้อาจแปลกแต่สามารถครอบคลุมเม็ดเงินที่จะไหลเข้ามา วงนี้ไปตีตลาดญี่ปุ่น อีกวงตีตลาดจีน อีกวงตีตลาดเกาหลี เบอร์ใหญ่ไปทัวร์คอน ก็ปล่อยเบอร์รองมาคัมแบ็ค มันถึงได้รวยเอาๆยังไงล่ะ
#สุดท้ายแล้วกระทู้นี้ก็จบลงแบบกระทู้เดิมคือบางคนเขาก็พยายามอธิบายให้ชัดเจนที่สุดแล้ว ก็ยังมีคนตั้งคำถาม ทั้งๆที่เขาก็อธิบายไปแล้ว...
ความคิดเห็นที่ 33
ตอบความเห็นที่ 3 นะ เอาจริงก็กะไม่ตอบ เพราะกระทู้นั้นเยอะแล้ว แต่ความเห็น 3 ถามเรื่องนักธุรกิจคิดไหม นี่ขอตอบล่ะกัน
ตรงนี้ มันเป็นโมเดลทางมารเก็ตติ้งที่คนทั่วโลกเขาใช้กัน และศึกษากันมานาน พวกไอวี่ลีค อะไรพวกนี้มีหมดล่ะ ไว้ใช้อธิบายที่มากไปกว่าการพูดถึงไอดอลวงใดวงหนึ่ง ใช้อธิบายโมเดลทางบิสซิเนส ถือว่าครั้งนี้แชร์อะไรนอกกรอบที่ต่างจากเคป็อปล่ะกัน
SM น่าจะใช้ส่วนนึงของ STP Market Segmentation , Target Market and Positioning มาวิเคราะห์ในการออกโปรดักซ์ที่เป็นสินค้าแต่ละตัว สินค้าในที่นี้คือ ตัวไอดอล ถ้าหมายถึงโมเดลของวงที่กำลังขายอยู่ตอนนี้ เพราะไอดอลก็เป็นตัวโปรดักซ์หนึ่งในหลายผลิตภัณท์ที่ค่ายทำอยู่ แล้วบริษัทที่มีวงในค่ายเยอะๆ หรือมีธุรกิจ ในเครือที่โอกาสซ้ำซ้อนกันทางโปรดักซ์สูง ร้อยเปอร์เซ็นต์ยังไงก็ต้องใช้
พอดีมีคนถามเลยแปะให้ในส่วนทฤษฎีล่ะกัน คิดว่าค่ายก็ไม่ได้ใช้แค่โมเดลนี้แค่อันเดียว น่าจะมีอย่างอื่นอีก bcg matrix นั่นก็ใช่ ที่ใช้อธิบายว่าวงนั้นอยู่ในช่วงไหนมากกว่าของแผนภูมิว่าทำเงิน ดาวรุ่ง หรือขาลง
แต่อันนี้เป็นการเน้นกลยุทธ์ทางการตลาด วิธีใช้ที่เข้าใจง่ายสุดล่ะ อย่างน้อยคุณรู้ไว้ก็ไม่เสียหลายเอาไว้คุยกับพวกมักเกิ้ล มันก็ยังมีประโยชน์กว่าจะเอามาเถียงกันหน้าดำหน้าแดง ว่าวงไหนที่หนึ่ง ที่สองแห่งยุค คือมันก็รู้อยู่แล้วว่าตอนนี้วงไหนเป็นที่หนึ่ง
มีนักการตลาดชื่อดังคนนึงเคยพูดไว้ว่า
“อย่าพยายามทำการตลาดสำหรับทุกๆ คน แต่ให้หาความต้องการเฉพาะกลุ่ม แล้วส่งมอบคุณค่าของสินค้าเหล่านั้นให้กับลูกค้าของคุณ แล้วจึงค่อยขยายตลาด”
ว่างๆ ลองไปอ่านเล่นๆ ดู ภาคทฤษฎี ส่วนจะเอาประยุกต์กับเหตุการณ์ในค่ายก็ที่เขียนๆ กันมาหลายความเห็นข้างบนนั่นแหละ ถ้า SNSD = Mass Market / RVV = Segment Market ยังไม่ถึง Niche Market จุดเด่นของตลาดนี้คือ อาจจะแหวกตลาด Mass พลิกกลับมาทำกำไรได้เพิ่มขึ้น เพราะไม่มีคู่แข่งในตลาดเลย ไม่มีใครอยากแข่งขันแบบ Red Ocean (กลยุทธ์น่านน้ำสีแดง/ทะเลสีเลือด) เอาชนะแบบตาต่อต่า ฟันต่อฟัน แบบถามว่าใครได้ที่ 1 ตลอดเวลาเหมือนกระทู้นี้ ถ้าทุกคนหวังจะได้ที่ 1 แล้วไปชิงส่วนแบ่งการตลาดแค่ตรงนั้น กลยุทธ์ของ Blue Ocean ก็ไม่มีวันเกิดมาในโลกนี้แน่ๆ กลยุทธ์นี้ไม่ได้แค่แพ้ แต่ต้องการจะหาเงินในช่องทางที่ง่ายและสบายกว่า เพิ่มอีกทางเลือกให้ผู้บริโภค บางครั้งก็ยอมได้ในส่วนแบ่งที่น้อยลง แต่ได้เต็มที่ใน Segment นั้น ธุรกิจดังๆ หลายรายอยู่โซน Blue Ocean เยอะอยู่ แต่ถ้าเมื่อไหร่ มีคนหันมาสนใจตรงนี้เยอะขึ้นเกิดการแข่งขันสูงอีกก็กลับมาใน Red Ocean แบบเดิม ต้องหาแหล่ง Blue Ocean ใหม่อีก
และคีย์เวิร์ดของเอสเอ็มเวลาฟอร์มวงใหม่จะมีคำว่า ใหม่และไม่เหมือนใคร เกือบตลอด แล้วจะเกี่ยวข้องกับ Innovative เสมอ หาทางเลือกที่ต่างจากผู้เล่นในตลาดรายอื่น ที่ไม่ซ้ำกับผู้เล่นในค่ายและนอกค่าย นี่ล่ะ Blue Ocean เต็มรูปแบบ พอวงนั้นดังปุ๊ปแล้ว จะหาคอนเซปต์ใหม่ทันที ที่เห็นว่าธีมไม่ซ้ำกันในค่าย ฉีกกันชัดเจนเพราะแบบนี้แหละะ
ส่วน White Ocean กับ Sm นี่ฝันไปก่อนนะ 5555 พวกแนวคิดแบบคุณธรรม ความเท่าเทียม แต่ยังดีหน่อยที่รู้จักให้กับสังคมบ้าง (CSR) จากโครงการหลายอย่างที่ผ่านตา มาทางสื่อ
https://expertassignmenthelp.com/market-segmentation-targeting-and-positioning/
https://www.gotoknow.org/posts/606951 << แถมภาษาไทยให้ ถ้าไม่ชอบอังกฤษ
แต่เวลาสร้างวง ถ้ามีหลายวงในค่ายจำเป็นต้องใช้โมเดลแบบนี้ แน่นอน เหมือน คุณออกไปเสนอขายลูกค้าแล้วลูกค้าถามว่าผลิตภัณฑ์ตัวนี้แตกต่างจากอันก่อนยังไง แล้วออกมาโดยที่ความแตกต่างแทบจะไม่มี มาแย่งลูกค้าเจ้าเดียวกัน แบบนั้นอ้ะ เค้กมันก็มีน้อยชิ้นอยู่แล้วยังจะมาแย่งแบ่งเค้กชิ้นเดียวกันตัดออกเป็นกี่ส่วน ซอยถี่ๆๆ คงจะกินอิ่มหรอก
เหมือนที่ผู้บริหารเคยออกมาให้สัมภาษณ์ว่า เราวางแผนจะให้ศิลปินของเรามีไอดอลที่ครอบคลุมตั้งแต่รุ่นผู้ใหญสมัย H.O.T. จนถึงวัยรุ่นสมัย RVV จับตลาดมันทุกรุ่นตั้งแต่รุ่นโต - รุ่นเล็ก แล้วมีความแตกต่างกันชัดเจน นี่ล่ะสะท้อนแนวคิดตรงนี้ได้ดีที่สุดเลย
เอสเอ็มไม่ใช่ค่ายที่จะบอกได้ว่าปั้นใครก็จะประสบความสำเร็จหมด อันนั้นก็มั่นหน้าไปนิด ล้มเหลวก็มี แต่ก็จะพยายามหาช่องทางที่จะประสบความสำเร็จได้มากที่สุด ล้มเหลวให้น้อยที่สุด เป้าหมายคือภาพรวมขององค์กร มองภาพรวม
ไม่ได้ทำเพื่อประโยชน์ของวงใดวงหนึ่งหรือความดังของไอดอลคนใดคนหนึ่งซึ่งตรงนี้มันเป็นหน่วยย่อยขององค์กรมากๆ และมีขนาดเล็กทั้งที่ไม่มีความแน่นอนอะไรเลย เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา
( แต่นี่มันห้องเฉลิมกรุงโซลที่ส่วนใหญ่ก็เน้นที่ไอดอลเป็นหลักอยู่แล้วก็เข้าใจแหละ Idol คือทุกอย่างของแฟนคลับ ก็จะเน้นไปที่ชาร์ตยอดขายยอดเพลงยอดคอนเสิร์ต แต่เห็นความเห็นนั้นถามว่านักธุรกิจเขาคิดกันด้วยหรอ อยากจะบอกว่าทั่วโลกเขาคิดกันหมดแหละมีแต่แฟนคลับบางส่วนนี้แหละที่ไม่คิด หรืออาจจะไม่เคยเห็นไม่รู้มาก่อนจริงๆ)
แต่จะดังระดับไหนค่อยว่ากันไปเคสบายเคส แล้วสมัยนี้ตัวแปรมันก็เยอะมาก ที่จะบอกได้ว่าค่ายจะทำให้วงได้อันดับ 1 ทุกครั้งที่เดบิวออกมา ค่ายอื่นบางกลยุทธ์ก็ดีนะคะ ไม่ได้พูดถึงไม่ได้หมายความว่าไม่ดี
แต่การจะประสบความสำเร็จนั้น เค้าต้องตั้งจุดมุ่งหมายด้วยว่าระดับไหน ตอบสนองกับผู้บริโภคกลุ่มไหนด้วย มันก็เลยมีเพดานของความสำเร็จในแต่ละวงที่ต่างกันออกไป ก็คงไม่ได้เป็นที่ 1 ทุกอย่างเหมือนที่แฟนคลับบางส่วนอยากได้หรอก อย่างที่บอกว่าสมัยนี้คู่แข่งมันก็เยอะ จนเดี๋ยวนี้ จะหาทารเก็ตที่ไม่ได้ทับทางใคร หรือสไตล์ไหนที่ฉีกออกไปมันก็ยิ่งยากขึ้น เงินก็จะเอา แฟนคลับก็อยากได้ แดซังก็จะเอา เพลงแนวๆ ก็อยากทำ รักษาสถิติก็จะทำ โห ชีวิต มันก็เป็นงานยากเหมือนกันที่จะได้ทุกอย่าง แต่ตอนนี้ขอให้วงเลี้ยงตัวเองได้ แฟนคลับแฮปปี้กับผลตอบรับก็โอเค ทั้งหมดไม่ใช่ข้อแก้ตัวของคนที่แพ้ แต่คือการกลับมายืนมอง ในจุดที่เหมาะสม ไม่ได้มองและอธิบายทุกอย่างโดยยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง สมัยเราอายุ 10 กว่าๆ ก็มองว่าที่ 1 = is the best มองจากตัวเองเป็นหลัก พอโตก็ต้องรับฟังคนอื่นมากขึ้น มันไม่เสียฟอร์มอะไรที่จะลดอคติลง เพื่อเปิดโลกใหม่ ใบใหญ่กว้างกว่าเดิม
จริงๆ เอสเอ็มมันไม่ได้จ้างแค่คนทำมาร์เก็ตติ้ง ทีมงานที่ทำค่อนข้างหลากหลาย มีหลายฝ่าย เห็นพวกทีเซอร์อะไรแบบนี้มันก็ผสมผสานหลายแนวคิด สถิติ วิทยาศาสตร์ จิตวิทยา ถ้าคุณโฟกัสไปที่มากกว่าตัวไอดอล ก็เห็นอะไรเยอะอยู่ ไม่ต้องรักเอยค่ายอะไร (ที่แย่มากก ที่พลาดมันก็มี) ดีก็ดี อันไหนไม่ดีก็ด่า คุณเป็นผู้บริโภค ได้สิทธิ์นั้นเต็มที่อยู่แล้ว
แต่อะไรเจ๋งๆ ก็ดูเอาไว้สนุกๆ พวกกล้องที่ใช้ถ่ายทำ เห็นเหมือนจะเซฟงบ บางงานใช้ตัวแพง หลายล้านเลยนะ ไม่ก็เทคนิคค่อดประหยัดแต่ทำแล้วเนียน
เพราะมันมีตังค์จ้างทีมงานหลายฝ่ายในระดับนึง และให้ความสำคัญกับหลายฝ่ายที่บางครั้งโฟกัสมากกว่าไปกว่าตัวไอดอลอีก ไอดอลเป็นส่วนนึงของผลิตภัณท์ในค่าย น่าเศร้านะ แต่มันดันเป็นความจริงที่ปฎิเสธไม่ได้ ก็ถอยมายืนมองในจุดที่ดูแล้วสบายใจเอา คือมาติ่งทั้งทีอย่างน้อยก็ไม่ควรเอาความไม่สบายใจตัวเองกลับไปคิด ชีวิตภายนอกมันหนักอยู่แล้ว
ตรงนี้ มันเป็นโมเดลทางมารเก็ตติ้งที่คนทั่วโลกเขาใช้กัน และศึกษากันมานาน พวกไอวี่ลีค อะไรพวกนี้มีหมดล่ะ ไว้ใช้อธิบายที่มากไปกว่าการพูดถึงไอดอลวงใดวงหนึ่ง ใช้อธิบายโมเดลทางบิสซิเนส ถือว่าครั้งนี้แชร์อะไรนอกกรอบที่ต่างจากเคป็อปล่ะกัน
SM น่าจะใช้ส่วนนึงของ STP Market Segmentation , Target Market and Positioning มาวิเคราะห์ในการออกโปรดักซ์ที่เป็นสินค้าแต่ละตัว สินค้าในที่นี้คือ ตัวไอดอล ถ้าหมายถึงโมเดลของวงที่กำลังขายอยู่ตอนนี้ เพราะไอดอลก็เป็นตัวโปรดักซ์หนึ่งในหลายผลิตภัณท์ที่ค่ายทำอยู่ แล้วบริษัทที่มีวงในค่ายเยอะๆ หรือมีธุรกิจ ในเครือที่โอกาสซ้ำซ้อนกันทางโปรดักซ์สูง ร้อยเปอร์เซ็นต์ยังไงก็ต้องใช้
พอดีมีคนถามเลยแปะให้ในส่วนทฤษฎีล่ะกัน คิดว่าค่ายก็ไม่ได้ใช้แค่โมเดลนี้แค่อันเดียว น่าจะมีอย่างอื่นอีก bcg matrix นั่นก็ใช่ ที่ใช้อธิบายว่าวงนั้นอยู่ในช่วงไหนมากกว่าของแผนภูมิว่าทำเงิน ดาวรุ่ง หรือขาลง
แต่อันนี้เป็นการเน้นกลยุทธ์ทางการตลาด วิธีใช้ที่เข้าใจง่ายสุดล่ะ อย่างน้อยคุณรู้ไว้ก็ไม่เสียหลายเอาไว้คุยกับพวกมักเกิ้ล มันก็ยังมีประโยชน์กว่าจะเอามาเถียงกันหน้าดำหน้าแดง ว่าวงไหนที่หนึ่ง ที่สองแห่งยุค คือมันก็รู้อยู่แล้วว่าตอนนี้วงไหนเป็นที่หนึ่ง
มีนักการตลาดชื่อดังคนนึงเคยพูดไว้ว่า
“อย่าพยายามทำการตลาดสำหรับทุกๆ คน แต่ให้หาความต้องการเฉพาะกลุ่ม แล้วส่งมอบคุณค่าของสินค้าเหล่านั้นให้กับลูกค้าของคุณ แล้วจึงค่อยขยายตลาด”
ว่างๆ ลองไปอ่านเล่นๆ ดู ภาคทฤษฎี ส่วนจะเอาประยุกต์กับเหตุการณ์ในค่ายก็ที่เขียนๆ กันมาหลายความเห็นข้างบนนั่นแหละ ถ้า SNSD = Mass Market / RVV = Segment Market ยังไม่ถึง Niche Market จุดเด่นของตลาดนี้คือ อาจจะแหวกตลาด Mass พลิกกลับมาทำกำไรได้เพิ่มขึ้น เพราะไม่มีคู่แข่งในตลาดเลย ไม่มีใครอยากแข่งขันแบบ Red Ocean (กลยุทธ์น่านน้ำสีแดง/ทะเลสีเลือด) เอาชนะแบบตาต่อต่า ฟันต่อฟัน แบบถามว่าใครได้ที่ 1 ตลอดเวลาเหมือนกระทู้นี้ ถ้าทุกคนหวังจะได้ที่ 1 แล้วไปชิงส่วนแบ่งการตลาดแค่ตรงนั้น กลยุทธ์ของ Blue Ocean ก็ไม่มีวันเกิดมาในโลกนี้แน่ๆ กลยุทธ์นี้ไม่ได้แค่แพ้ แต่ต้องการจะหาเงินในช่องทางที่ง่ายและสบายกว่า เพิ่มอีกทางเลือกให้ผู้บริโภค บางครั้งก็ยอมได้ในส่วนแบ่งที่น้อยลง แต่ได้เต็มที่ใน Segment นั้น ธุรกิจดังๆ หลายรายอยู่โซน Blue Ocean เยอะอยู่ แต่ถ้าเมื่อไหร่ มีคนหันมาสนใจตรงนี้เยอะขึ้นเกิดการแข่งขันสูงอีกก็กลับมาใน Red Ocean แบบเดิม ต้องหาแหล่ง Blue Ocean ใหม่อีก
และคีย์เวิร์ดของเอสเอ็มเวลาฟอร์มวงใหม่จะมีคำว่า ใหม่และไม่เหมือนใคร เกือบตลอด แล้วจะเกี่ยวข้องกับ Innovative เสมอ หาทางเลือกที่ต่างจากผู้เล่นในตลาดรายอื่น ที่ไม่ซ้ำกับผู้เล่นในค่ายและนอกค่าย นี่ล่ะ Blue Ocean เต็มรูปแบบ พอวงนั้นดังปุ๊ปแล้ว จะหาคอนเซปต์ใหม่ทันที ที่เห็นว่าธีมไม่ซ้ำกันในค่าย ฉีกกันชัดเจนเพราะแบบนี้แหละะ
ส่วน White Ocean กับ Sm นี่ฝันไปก่อนนะ 5555 พวกแนวคิดแบบคุณธรรม ความเท่าเทียม แต่ยังดีหน่อยที่รู้จักให้กับสังคมบ้าง (CSR) จากโครงการหลายอย่างที่ผ่านตา มาทางสื่อ
https://expertassignmenthelp.com/market-segmentation-targeting-and-positioning/
https://www.gotoknow.org/posts/606951 << แถมภาษาไทยให้ ถ้าไม่ชอบอังกฤษ
แต่เวลาสร้างวง ถ้ามีหลายวงในค่ายจำเป็นต้องใช้โมเดลแบบนี้ แน่นอน เหมือน คุณออกไปเสนอขายลูกค้าแล้วลูกค้าถามว่าผลิตภัณฑ์ตัวนี้แตกต่างจากอันก่อนยังไง แล้วออกมาโดยที่ความแตกต่างแทบจะไม่มี มาแย่งลูกค้าเจ้าเดียวกัน แบบนั้นอ้ะ เค้กมันก็มีน้อยชิ้นอยู่แล้วยังจะมาแย่งแบ่งเค้กชิ้นเดียวกันตัดออกเป็นกี่ส่วน ซอยถี่ๆๆ คงจะกินอิ่มหรอก
เหมือนที่ผู้บริหารเคยออกมาให้สัมภาษณ์ว่า เราวางแผนจะให้ศิลปินของเรามีไอดอลที่ครอบคลุมตั้งแต่รุ่นผู้ใหญสมัย H.O.T. จนถึงวัยรุ่นสมัย RVV จับตลาดมันทุกรุ่นตั้งแต่รุ่นโต - รุ่นเล็ก แล้วมีความแตกต่างกันชัดเจน นี่ล่ะสะท้อนแนวคิดตรงนี้ได้ดีที่สุดเลย
เอสเอ็มไม่ใช่ค่ายที่จะบอกได้ว่าปั้นใครก็จะประสบความสำเร็จหมด อันนั้นก็มั่นหน้าไปนิด ล้มเหลวก็มี แต่ก็จะพยายามหาช่องทางที่จะประสบความสำเร็จได้มากที่สุด ล้มเหลวให้น้อยที่สุด เป้าหมายคือภาพรวมขององค์กร มองภาพรวม
ไม่ได้ทำเพื่อประโยชน์ของวงใดวงหนึ่งหรือความดังของไอดอลคนใดคนหนึ่งซึ่งตรงนี้มันเป็นหน่วยย่อยขององค์กรมากๆ และมีขนาดเล็กทั้งที่ไม่มีความแน่นอนอะไรเลย เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา
( แต่นี่มันห้องเฉลิมกรุงโซลที่ส่วนใหญ่ก็เน้นที่ไอดอลเป็นหลักอยู่แล้วก็เข้าใจแหละ Idol คือทุกอย่างของแฟนคลับ ก็จะเน้นไปที่ชาร์ตยอดขายยอดเพลงยอดคอนเสิร์ต แต่เห็นความเห็นนั้นถามว่านักธุรกิจเขาคิดกันด้วยหรอ อยากจะบอกว่าทั่วโลกเขาคิดกันหมดแหละมีแต่แฟนคลับบางส่วนนี้แหละที่ไม่คิด หรืออาจจะไม่เคยเห็นไม่รู้มาก่อนจริงๆ)
แต่จะดังระดับไหนค่อยว่ากันไปเคสบายเคส แล้วสมัยนี้ตัวแปรมันก็เยอะมาก ที่จะบอกได้ว่าค่ายจะทำให้วงได้อันดับ 1 ทุกครั้งที่เดบิวออกมา ค่ายอื่นบางกลยุทธ์ก็ดีนะคะ ไม่ได้พูดถึงไม่ได้หมายความว่าไม่ดี
แต่การจะประสบความสำเร็จนั้น เค้าต้องตั้งจุดมุ่งหมายด้วยว่าระดับไหน ตอบสนองกับผู้บริโภคกลุ่มไหนด้วย มันก็เลยมีเพดานของความสำเร็จในแต่ละวงที่ต่างกันออกไป ก็คงไม่ได้เป็นที่ 1 ทุกอย่างเหมือนที่แฟนคลับบางส่วนอยากได้หรอก อย่างที่บอกว่าสมัยนี้คู่แข่งมันก็เยอะ จนเดี๋ยวนี้ จะหาทารเก็ตที่ไม่ได้ทับทางใคร หรือสไตล์ไหนที่ฉีกออกไปมันก็ยิ่งยากขึ้น เงินก็จะเอา แฟนคลับก็อยากได้ แดซังก็จะเอา เพลงแนวๆ ก็อยากทำ รักษาสถิติก็จะทำ โห ชีวิต มันก็เป็นงานยากเหมือนกันที่จะได้ทุกอย่าง แต่ตอนนี้ขอให้วงเลี้ยงตัวเองได้ แฟนคลับแฮปปี้กับผลตอบรับก็โอเค ทั้งหมดไม่ใช่ข้อแก้ตัวของคนที่แพ้ แต่คือการกลับมายืนมอง ในจุดที่เหมาะสม ไม่ได้มองและอธิบายทุกอย่างโดยยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง สมัยเราอายุ 10 กว่าๆ ก็มองว่าที่ 1 = is the best มองจากตัวเองเป็นหลัก พอโตก็ต้องรับฟังคนอื่นมากขึ้น มันไม่เสียฟอร์มอะไรที่จะลดอคติลง เพื่อเปิดโลกใหม่ ใบใหญ่กว้างกว่าเดิม
จริงๆ เอสเอ็มมันไม่ได้จ้างแค่คนทำมาร์เก็ตติ้ง ทีมงานที่ทำค่อนข้างหลากหลาย มีหลายฝ่าย เห็นพวกทีเซอร์อะไรแบบนี้มันก็ผสมผสานหลายแนวคิด สถิติ วิทยาศาสตร์ จิตวิทยา ถ้าคุณโฟกัสไปที่มากกว่าตัวไอดอล ก็เห็นอะไรเยอะอยู่ ไม่ต้องรักเอยค่ายอะไร (ที่แย่มากก ที่พลาดมันก็มี) ดีก็ดี อันไหนไม่ดีก็ด่า คุณเป็นผู้บริโภค ได้สิทธิ์นั้นเต็มที่อยู่แล้ว
แต่อะไรเจ๋งๆ ก็ดูเอาไว้สนุกๆ พวกกล้องที่ใช้ถ่ายทำ เห็นเหมือนจะเซฟงบ บางงานใช้ตัวแพง หลายล้านเลยนะ ไม่ก็เทคนิคค่อดประหยัดแต่ทำแล้วเนียน
เพราะมันมีตังค์จ้างทีมงานหลายฝ่ายในระดับนึง และให้ความสำคัญกับหลายฝ่ายที่บางครั้งโฟกัสมากกว่าไปกว่าตัวไอดอลอีก ไอดอลเป็นส่วนนึงของผลิตภัณท์ในค่าย น่าเศร้านะ แต่มันดันเป็นความจริงที่ปฎิเสธไม่ได้ ก็ถอยมายืนมองในจุดที่ดูแล้วสบายใจเอา คือมาติ่งทั้งทีอย่างน้อยก็ไม่ควรเอาความไม่สบายใจตัวเองกลับไปคิด ชีวิตภายนอกมันหนักอยู่แล้ว
ความคิดเห็นที่ 10
เราว่าไม่ใช่แค่ sm หรอก แต่ในมุมมองเชิงธุรกิจคงไม่มีบริษัทไหนที่ตั้งเป้าหมายง่ายๆ แค่ว่าจะเป็นวงอันดับหนึ่งแล้วจบ ลงทุนเดบิวท์วงออกมาก็เหมือนออกผลิตภัณฑ์ใหม่ออกมาชิ้นหนึ่ง ก็คงต้องมองให้รอบด้าน จะวาง positioning ให้เป็นวงแบบไหน จับกลุ่มเป้าหมายแบบไหน อย่าง sm มีผลิตภัณฑ์อยู่ในมือหลายแบรนด์ วงที่เดบิวท์ใหม่จะช่วยเสริม market diversity ของบริษัทยังไงเพื่อกระจายความเสี่ยงในการลงทุน เวลาจะคิดจะทำอะไร บริษัทจะคิดแค่วงเดียวไม่ได้ ต้องวางแผนพร้อมกันไปทั้งแผง เพราะท้ายที่สุด resources และความเสี่ยงต่างๆ ต้องแชร์กันทั้งบริษัท
ดังนั้นที่ถามว่าเดบิวท์มาแล้วไม่อยากให้เป็นที่หนึ่งเหรอ? เราว่าบริษัทไม่ได้มองตรงนั้นมากเท่าเดมาแล้วจับตลาดได้ตรงจุดที่วางกลยุทธ์ในภาพรวมขององค์กรไว้รึเปล่า อันนี้คือการขยายตลาดและกระจายความเสี่ยงในระดับองค์กร ส่วนเป้าหมายในระดับตัววงคือทำผลงานสร้างรายได้ให้ค่ายได้ในระดับที่คาดการณ์ไว้ ส่วนเรื่องอันดับต่างๆ ถ้าไม่ได้เป็นที่หนึ่ง แต่ผลงานออกมาตามเป้าหรือเกินเป้า ค่ายก็แฮปปี้แล้วล่ะ
ดังนั้นที่ถามว่าเดบิวท์มาแล้วไม่อยากให้เป็นที่หนึ่งเหรอ? เราว่าบริษัทไม่ได้มองตรงนั้นมากเท่าเดมาแล้วจับตลาดได้ตรงจุดที่วางกลยุทธ์ในภาพรวมขององค์กรไว้รึเปล่า อันนี้คือการขยายตลาดและกระจายความเสี่ยงในระดับองค์กร ส่วนเป้าหมายในระดับตัววงคือทำผลงานสร้างรายได้ให้ค่ายได้ในระดับที่คาดการณ์ไว้ ส่วนเรื่องอันดับต่างๆ ถ้าไม่ได้เป็นที่หนึ่ง แต่ผลงานออกมาตามเป้าหรือเกินเป้า ค่ายก็แฮปปี้แล้วล่ะ
แสดงความคิดเห็น
ทำไมทุกคนคิดว่า SM ไม่ได้อยากให้ RVV มาเป็นเบอร์ 1 ของยุคนี้?
ก็แบบเอ่อมันมีอะไรหลายๆอย่างที่จำกัดหลายๆ อย่างตามที่หลาย คห.บอก
แต่ค่ายอะไรจะไม่อยากเดนักร้องตัวเองมาแล้วไม่เป็นGGเบอร์1
#มีความย้อนแย้งในใจ
ปล.ไม่เกียวกับวงอื่น