รัฐวิสาหกิจจ่ายโบนัส ปี 60 อู่ฟู่ "ทอท.-ปตท." รับสูงสุด 7.5 เดือน ด้าน "ธอส.-ยาสูบ" กวาด 7 เดือน ระบุผลดำเนินงานดี ด้าน สคร.ย้ำเป็นไปตามการประเมิน ชี้ผลจากเศรษฐกิจดี ดัน กำไรแต่ละหน่วยงานเพิ่ม วอนอย่านำไปเปรียบเทียบกับเอกชน
แม้กำลังซื้อภายในประเทศปีที่ผ่านมา ยังคงชะลอตัว โดยเฉพาะกำลังซื้อในกลุ่มฐานราก แต่ภาพรวมเศรษฐกิจที่โตเกินคาด ผลักดันให้รัฐวิสาหกิจหลายแห่ง มีกำไร จากการดำเนินงานดี สะท้อนจากเงินโบนัสในปี 2560 ที่จ่ายสูงขึ้น
แหล่งข่าวจากแวดวงรัฐวิสาหกิจ กล่าวว่า ในปี 2560 รัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ประกาศจ่ายโบนัสในอัตราสูงขึ้นเกือบ ทุกแห่ง โดยรัฐวิสาหกิจที่จ่ายโบนัสสูงสุด 7.5 เดือนมี 2 แห่ง คือ บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. จ่ายโบนัสไปแล้ว เมื่อช่วงปลายปี 2560 เป็นการจ่ายโบนัสเท่ากับปีที่ผ่านมา
อีกแห่งจ่ายสูงขึ้นในปี 2560 คือ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) แบ่งการจ่ายเป็น 2 รอบคือ เงินพิเศษตามผลการประเมิน (เคพีไอ) ของพนักงาน 1-1.5 เดือน จ่ายไป เมื่อช่วงเดือนธ.ค.2560 และจ่ายโบนัสอีก 6 เดือน เมื่อเดือนม.ค.2561 รวมแล้ว พนักงานปตท.ได้โบนัสรวมกับเงินพิเศษสูงสุด 7.5 เดือน โดยเงินพิเศษที่ได้ ปี2560 ถือว่าสูงสุด และไม่ได้มีทุกปี ผู้บริหารให้เหตุผลการจ่ายเงินพิเศษว่า ปตท. มีผลการ ดำเนินงานที่ดี
’ธอส.’ จ่ายโบนัส 7 เดือน
ส่วนรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงการคลังไม่น้อยหน้า สามารถจ่ายโบนัสสูงสุด 7 เดือน หลายแห่ง เช่น ธนาคารอาคารสงเคราะห์ที่ทำกำไรถึง 11,775 ล้านบาท และได้รับคะแนนประเมินจากสำนักงานนโยบายรัฐวิสาหกิจ(สคร.) สูงมาก จึงทำให้จ่ายโบนัส 6 เดือน และเงินเพิ่มอีก 1 เดือนรวมแล้ว 7 เดือน สูงกว่าปีที่ผ่านมาจ่าย 6 เดือน
นอกจากนี้ ยังมีโรงงานยาสูบในปี 2559 เคยประกาศจ่ายโบนัส 7 เดือน เท่าที่ดูใน ปี 2560 ผลประกอบการยาสูบใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา คาดว่าการจ่ายโบนัสจะใกล้เคียงกับปี 2559 สำหรับธนาคารออมสิน ผู้บริหารประกาศว่าจะจ่ายโบนัสถึง 6 เดือนมากกว่าปี 2559 ที่จ่ายโบนัส 5.3 เดือน
สำหรับสถาบันการเงินรัฐอื่นๆ มี ผลประกอบการที่ดีขึ้นประกาศจ่ายโบนัส 2-4 เดือน นอกจากนี้พบว่าบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทยฯ (บวท.) ประกาศจ่ายโบนัสและเงินพิเศษในปี 2560 ประมาณ 4 เดือน ส่วนการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) 2 เดือน
แหล่งข่าว กล่าวต่อว่า หากดูจากการ นำส่งรายได้ในปีงบประมาณ 2560 สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1. สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล จำนวน 30,948 ล้านบาท 2. บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จำนวน 26,278 ล้านบาท 3. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จำนวน 21,660 ล้านบาท 4. ธนาคารออมสิน จำนวน 13,118 ล้านบาท และ 5.การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.) 11,384 ล้านบาท พบว่า จะแค่ปตท.และธนาคารออมสินเท่านั้น ที่จ่ายโบนัสสูง
"กองสลาก" ขีดโบนัส 3.75 เดือน ในขณะที่สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลถูกกำหนดให้จ่ายโบนัสไว้ไม่เกิน 3.75 เดือน ส่วนกฟผ.มีการจ่ายโบนัสในปี 2559 ประมาณ 3.6 เดือน และปี2560มีแนวโน้มน้อยกว่า ปีที่ผ่านมา ส่วนกฟภ.โบนัสประมาณ 2 เดือน ซึ่ง 2 การไฟฟ้าดังกล่าวมีพนักงานจำนวนมากแม้จะมีกำไรสูงมากและ นำส่งเงินสูง แต่เมื่อนำกำไรได้รับจัดสรรไป หารเฉลี่ยกับจำนวนพนักงานจึงได้คนละไม่มาก
"ทอท.และปตท. สามารถจ่ายโบนัส ได้สูง เพราะอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ทอท. เคยทำสถิติการจ่ายโบนัสสูงสุด 11 เดือน เมื่อปี 2556 ซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก ทำให้ช่วงหลังๆ การจ่ายโบนัสอยู่ที่ 7.5 เดือน มาหลายปี ส่วนธอส.จ่ายได้สูงเพราะ พนักงานน้อย เมื่อนำผลกำไรที่ได้รับจัดสรรตามผลการประเมินไปหารกับจำนวนพนักงานจึงได้สูงมาก"แหล่งข่าวกล่าว
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ
รัฐวิสาหกิจ 'โบนัส' 'ปตท.-ทอท.' 7.5 เดือน
รัฐวิสาหกิจจ่ายโบนัส ปี 60 อู่ฟู่ "ทอท.-ปตท." รับสูงสุด 7.5 เดือน ด้าน "ธอส.-ยาสูบ" กวาด 7 เดือน ระบุผลดำเนินงานดี ด้าน สคร.ย้ำเป็นไปตามการประเมิน ชี้ผลจากเศรษฐกิจดี ดัน กำไรแต่ละหน่วยงานเพิ่ม วอนอย่านำไปเปรียบเทียบกับเอกชน
แม้กำลังซื้อภายในประเทศปีที่ผ่านมา ยังคงชะลอตัว โดยเฉพาะกำลังซื้อในกลุ่มฐานราก แต่ภาพรวมเศรษฐกิจที่โตเกินคาด ผลักดันให้รัฐวิสาหกิจหลายแห่ง มีกำไร จากการดำเนินงานดี สะท้อนจากเงินโบนัสในปี 2560 ที่จ่ายสูงขึ้น
แหล่งข่าวจากแวดวงรัฐวิสาหกิจ กล่าวว่า ในปี 2560 รัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ประกาศจ่ายโบนัสในอัตราสูงขึ้นเกือบ ทุกแห่ง โดยรัฐวิสาหกิจที่จ่ายโบนัสสูงสุด 7.5 เดือนมี 2 แห่ง คือ บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. จ่ายโบนัสไปแล้ว เมื่อช่วงปลายปี 2560 เป็นการจ่ายโบนัสเท่ากับปีที่ผ่านมา
อีกแห่งจ่ายสูงขึ้นในปี 2560 คือ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) แบ่งการจ่ายเป็น 2 รอบคือ เงินพิเศษตามผลการประเมิน (เคพีไอ) ของพนักงาน 1-1.5 เดือน จ่ายไป เมื่อช่วงเดือนธ.ค.2560 และจ่ายโบนัสอีก 6 เดือน เมื่อเดือนม.ค.2561 รวมแล้ว พนักงานปตท.ได้โบนัสรวมกับเงินพิเศษสูงสุด 7.5 เดือน โดยเงินพิเศษที่ได้ ปี2560 ถือว่าสูงสุด และไม่ได้มีทุกปี ผู้บริหารให้เหตุผลการจ่ายเงินพิเศษว่า ปตท. มีผลการ ดำเนินงานที่ดี
’ธอส.’ จ่ายโบนัส 7 เดือน
ส่วนรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงการคลังไม่น้อยหน้า สามารถจ่ายโบนัสสูงสุด 7 เดือน หลายแห่ง เช่น ธนาคารอาคารสงเคราะห์ที่ทำกำไรถึง 11,775 ล้านบาท และได้รับคะแนนประเมินจากสำนักงานนโยบายรัฐวิสาหกิจ(สคร.) สูงมาก จึงทำให้จ่ายโบนัส 6 เดือน และเงินเพิ่มอีก 1 เดือนรวมแล้ว 7 เดือน สูงกว่าปีที่ผ่านมาจ่าย 6 เดือน
นอกจากนี้ ยังมีโรงงานยาสูบในปี 2559 เคยประกาศจ่ายโบนัส 7 เดือน เท่าที่ดูใน ปี 2560 ผลประกอบการยาสูบใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา คาดว่าการจ่ายโบนัสจะใกล้เคียงกับปี 2559 สำหรับธนาคารออมสิน ผู้บริหารประกาศว่าจะจ่ายโบนัสถึง 6 เดือนมากกว่าปี 2559 ที่จ่ายโบนัส 5.3 เดือน
สำหรับสถาบันการเงินรัฐอื่นๆ มี ผลประกอบการที่ดีขึ้นประกาศจ่ายโบนัส 2-4 เดือน นอกจากนี้พบว่าบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทยฯ (บวท.) ประกาศจ่ายโบนัสและเงินพิเศษในปี 2560 ประมาณ 4 เดือน ส่วนการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) 2 เดือน
แหล่งข่าว กล่าวต่อว่า หากดูจากการ นำส่งรายได้ในปีงบประมาณ 2560 สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1. สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล จำนวน 30,948 ล้านบาท 2. บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จำนวน 26,278 ล้านบาท 3. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จำนวน 21,660 ล้านบาท 4. ธนาคารออมสิน จำนวน 13,118 ล้านบาท และ 5.การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.) 11,384 ล้านบาท พบว่า จะแค่ปตท.และธนาคารออมสินเท่านั้น ที่จ่ายโบนัสสูง
"กองสลาก" ขีดโบนัส 3.75 เดือน ในขณะที่สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลถูกกำหนดให้จ่ายโบนัสไว้ไม่เกิน 3.75 เดือน ส่วนกฟผ.มีการจ่ายโบนัสในปี 2559 ประมาณ 3.6 เดือน และปี2560มีแนวโน้มน้อยกว่า ปีที่ผ่านมา ส่วนกฟภ.โบนัสประมาณ 2 เดือน ซึ่ง 2 การไฟฟ้าดังกล่าวมีพนักงานจำนวนมากแม้จะมีกำไรสูงมากและ นำส่งเงินสูง แต่เมื่อนำกำไรได้รับจัดสรรไป หารเฉลี่ยกับจำนวนพนักงานจึงได้คนละไม่มาก
"ทอท.และปตท. สามารถจ่ายโบนัส ได้สูง เพราะอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ทอท. เคยทำสถิติการจ่ายโบนัสสูงสุด 11 เดือน เมื่อปี 2556 ซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก ทำให้ช่วงหลังๆ การจ่ายโบนัสอยู่ที่ 7.5 เดือน มาหลายปี ส่วนธอส.จ่ายได้สูงเพราะ พนักงานน้อย เมื่อนำผลกำไรที่ได้รับจัดสรรตามผลการประเมินไปหารกับจำนวนพนักงานจึงได้สูงมาก"แหล่งข่าวกล่าว
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ