พักยก มาดูชีวิตครูนักพัฒนากันบ้างนะคะ เผื่อท่านใดสะดวกที่จะช่วยสนับสนุนกิจกรรมตรงนี้ ก็อ่านรายละเอียดตรงท้ายกระทู้ค่ะ
..................................................................................................................
ครูต้นแบบหัวใจน่ากราบ! ชีวิตจริงของครูนักพัฒนา “ช่วยเด็กพิการ-ยากไร้” (มีคลิป)
เผยแพร่: 9 ก.พ. 2561 20:25:00 โดย: MGR Online
ครูต้นแบบ..ช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาส “ชาวกะเหรี่ยง-กะหร่าง-พม่า” ผ่านความสุขที่พอดีแบบครู “ผู้ให้” เนรมิตโรงเรียนทุรกันดาร จนกลายเป็นศูนย์เรียนรู้ฝึกอาชีพให้เด็กๆ “ผอ.พจนพร จิตเจริญทวีโชค” ผู้ได้รับรางวัล “ครูดีเด่นชายขอบ” กับความสุขที่ได้เดินตามรอยเท้าพ่อ “ในหลวง ร.9”
“ครูนักพัฒนา” เนรมิตโรงเรียนเพื่อเด็กยากไร้!
“เราเหมือนมาเปลี่ยน มาพลิกแผ่นดินที่นี่เลยนะ แม้แต่สภาพแวดล้อมก็ไม่ใช่อย่างนี้ มาใหม่ๆ ต้นไม้ไม่มี ห้องน้ำไม่ดี การศึกษายังเข้าไม่ถึง เราพลิกโฉมเลย มันคุ้มค่ากับที่เราเหนื่อย 9 ปีที่นี่ เราเปลี่ยนให้เขาไม่เหลือซากเดิมเลย”
“ผอ.พจนพร จิตเจริญทวีโชค” ผู้อำนวยการโรงเรียนรุจิรพัฒน์ อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี ฉายภาพความทรงจำก่อนเนรมิตสถานที่แห่งนี้ให้เป็นโรงเรียนในฝันของเด็กๆ ชายแดนไทย-พม่า ทั้งยังเล่าด้วยความภูมิใจที่สามารถพัฒนาโรงเรียนรุจิรพัฒน์ให้น่าอยู่ขึ้นจากเดิม จนปัจจุบันมีนักเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาล-ม.3 ทั้งสิ้นกว่า 1,200 คน!
“ก่อนหน้านี้ที่นี่ต้นไม้ไม่มี-ห้องน้ำไม่ดี เราเริ่มสอนระบบสุขาให้เด็กๆ ใหม่หมด เพราะเด็กส่วนใหญ่อยู่ตามป่า เขาจะไม่รู้วิธีใช้ห้องน้ำ เพราะฉะนั้น ห้องน้ำที่มีไม่ได้ถูกใช้ให้เป็นประโยชน์เมื่ออยู่ที่นี่ ผอ.จึงต้องมาเริ่มสอนเด็กๆ ใหม่ ด้วยการเริ่มจากระบบสุขาก่อนเลย แล้วค่อยต่อยอดให้เด็กๆ เรียนรู้วิชาอื่นๆ”
ไม่เพียงแต่สวัสดิการค่าอาหาร ค่ารักษาพยาบาล และค่าเดินทางเท่านั้นที่เด็กๆ ชาวกะเหรี่ยง-กะหร่าง-พม่า จะได้รับ เพราะหลังจากที่ ผอ.พจนพร ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนบ้านของเด็กๆ แล้ว พบว่าปัญหาครอบครัวแตกแยกที่เด็กกำลังเผชิญอยู่เป็นเรื่องที่ต้องได้รับการดูแลเช่นกัน
“เด็กที่นี่อยู่บ้านเป็นเพิง ที่รอรถเมล์ยังดีกว่าบ้านเด็ก และใน 1 หลังนี่อยู่กันเป็นสิบๆ บ้านเหมือนกระต๊อบ เป็นเพิงหลังคาและมีพื้นนอน มีฝานิดหน่อยแบบเปิดเลย เข้าไปนี่เจอทุกห้อง ห้องกิน ห้องอะไรอยู่ตรงนั้นหมดเลย โดยเฉพาะบ้านเด็กพิการ เป็นอย่างนี้หมดส่วนใหญ่”
ภาพความยากลำบากสะท้อนให้เห็นความอัตคัตขัดสนที่หลายครอบครัวต้องเผชิญ บางครอบครัวมีลูกหลานอยู่ในภาวะผิดปกติ-ขาดแคลนอาหาร จนทำให้เด็กเติบโตมาอย่างไม่สมบูรณ์ นี่จึงเป็นเหตุผลที่ ผอ.พจนพร ตั้งใจอยากช่วยเหลือด้านอาหารโรงเรียนให้แก่เด็กเหล่านี้
“เด็กที่นี่ 260 กว่าคนที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ ฉะนั้น เราต้องดูแลตั้งแต่อาหารเช้าและอาหารกลางวัน ส่วนเด็กพิการแม้จะไม่ได้อยู่ใน 260 คนนี้ แต่ ผอ.ให้เขากินข้าวเช้า-กลางวันที่นี่ และหากอาหารกลางวันที่นี่เหลือ เราจะให้แม่ครัวใส่ถุงรอไว้เลย มา 10 คนก็ให้ 10 ถุง
ฉะนั้น เด็กเหล่านี้ ผอ.ดูแลเขาให้ครบ 3 มื้อ อย่างที่เห็นว่าเปิดเทอมมาเด็กที่นี่ผอมมากเลย หัวโต ผมยาว เขาบอกไม่อยากให้ รร.ปิด เพราะไม่มีอาหารกิน”
นอกจากดูแลเรื่องอาหารให้เด็กทั้ง 3 มื้อแล้ว ผอ.พจนพร ยังจัดงานระดมทุนเพื่อสร้างห้องเรียนให้เด็กพิการ รวมทั้งตั้งกองทุนเพื่อดูแลเด็กๆ เหล่านี้ด้วย
เน้นความดี..ไม่ใช่ความเก่ง
“ที่โรงเรียนเราเน้นทักษะอาชีพ เพราะเด็กส่วนใหญ่พูดไทยไม่ได้ อ่านหนังสือไม่ออก ฉะนั้น ถ้าเน้นวิชาการ เด็กจะเรียนไม่จบ เพราะเขาเรียนภาษาไทยไม่ได้ เราเลยมาคิดทำยังไงดีให้เด็กเรียนแล้วไปรอด เราจึงหาทางออกด้วยการปรับหลักสูตรการเรียนการสอนให้มีการส่งเสริมวิชาชีพมากขึ้น”
เมื่อปัญหาของเด็กชายขอบคือการไม่รู้ภาษาไทย นี่จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้เด็กส่วนใหญ่ตัดสินใจเลิกเรียน และออกไปทำงานหาเงินนอกรั้วโรงเรียน ผอ.พจนพร จึงต้องแก้ปัญหาด้วยการสอนวิชาชีพให้ด้วย เพื่อตอบสนองทั้งความต้องการของเด็กและผู้ปกครอง ที่มองว่า อาชีพสามารถนำมาซึ่งรายได้ในการเลี้ยงครอบครัว
“สิ่งที่เกิดขึ้นคือการที่เราทำเป็นชุมนุม มีฝึกทักษะด้านงานเสริมสวย ตัดผม ศิลปะ ดนตรี กีฬา เกษตรกรรม และปรับเวลาเรียนให้น้อยลง แต่เน้นด้านทักษะอาชีพมากขึ้น เด็กเขาก็มีความสุขนะ เพราะมันเกิดจากการปฏิบัติจริง”
นอกจากการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับนักเรียนในพื้นที่ชายขอบแล้ว โรงเรียนรุจิรพัฒน์ ยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดไม่ได้ จากในหลวง ร.9 ที่ทรงคัดเลือกโรงเรียนเข้าโครงการพระราชทานทุนการศึกษา
“โรงเรียนกองทุนพระเจ้าอยู่หัว ท่านตั้งตั้งแต่ปี 2554 เมื่อครั้งพระองค์ประชวรอยู่ที่ รพ.ศิริราช ท่านมีรับสั่งให้องคมนตรีเข้าเฝ้า พระองค์บอกจะพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ก้อนหนึ่ง เพื่อให้องคมนตรีไปดูแลโรงเรียนที่ขาดแคลน เขาก็ตระเวนหากัน แต่รอบแรกไม่ได้มาที่เรา
พิธีมอบทุนการศึกษาพระราชทานนักเรียนในพระบรมราชานุเคราะห์
พระเจ้าอยู่หัวฯ ฝากให้สร้างเด็กดีให้กับบ้านเมือง ถ้าเด็กดีแล้ว เก่งจะตามมาเอง พระองค์ไม่ได้เน้นคนเก่ง จากนั้นรุ่นแรกสำเร็จ ก็มีรุ่นที่ 2 ก็มาที่โรงเรียนรุจิรพัฒน์ รับเป็นกองทุนการศึกษารุ่นที่ 2 โรงเรียนกองทุนฯ ต้องเน้นคุณธรรมเป็นอันดับแรก
เน้นความดี ไม่ใช่เน้นความเก่ง เพื่อให้ผอ.และครูทั้งโรงเรียนไปอบรมเป็นเวลา 1 สัปดาห์ ซึ่งมีวิทยากรมาถ่ายทอด เน้นสร้างเด็กดี เน้นสร้างคุณธรรมให้เป็นโรงเรียนคุณธรรม”
ผลจากการทุ่มเทพัฒนาโรงเรียนของ ผอ.พจนพร ทำให้โรงเรียนรุจิรพัฒน์ได้รับรางวัลทั้งในระดับอำเภอและจังหวัด ขณะที่ตัว ผอ.พจนพร เอง ก็ได้รับรางวัล “ครูดีเด่นชายขอบ” เช่นกัน
“ผอ.ไม่ได้เป็นคนสนใจรางวัลหรอก เรามุ่งทำเกี่ยวกับโรงเรียน เกี่ยวกับเด็กมากกว่า ไม่ได้ทำเพื่อตัวเรา ที่ได้มา ก็โอเค เป็นความภูมิใจนิดหนึ่ง แต่ไม่ใช่ที่สุดของชีวิต
ที่สุดคือการที่เราได้ทำงาน ผอ.รู้สึก เราโชคดีมากนะ และเราได้ทำงานรับใช้พระเจ้าอยู่หัว เราเดินตามรอยเท้าพ่อ อยู่อย่างพอเพียง เรียบง่าย ประหยัด ผอ.ใช้แนวปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงมาดำเนินชีวิต”
บ้านสานฝัน..ปันรัก “เด็กพิการ-ด้อยโอกาส”
ไม่เพียงแต่เป็นโรงเรียนชายขอบในถิ่นทุระกันดารที่เปิดกว้างให้เด็กหลายกลุ่มชาติพันธุ์ได้เข้าถึงการศึกษา แต่โรงเรียนรุจิรพัฒน์ ยังเปิดรับเด็กพิเศษ-เด็กพิการ ให้มีโอกาสได้รับการศึกษาด้วย
“เด็กพิการที่นี่มีเยอะและเดินทางมาเรียนลำบาก เราเลยประชุมกับกรรมการฝ่ายการศึกษาว่า งานวันเด็กเราอยากขอนำเงินมาสร้างบ้านให้เด็กพิการ เขาก็ช่วยกันจัดงาน-ขายบัตร จนนำเงินมาช่วยสร้างที่พักให้เด็กๆ ผู้พิการได้”
ด้วยความมุ่งมั่นและตั้งใจ อยากให้เด็กพิการได้ศึกษา-เล่าเรียน ผอ.พจนพร จึงได้จัดงานเพื่อระดมทุน ซึ่งเมื่อคนในสังคมทราบข่าว จึงได้ร่วมด้วยช่วยกัน นั่นจึงเป็นที่มาของการก่อตั้งห้องเรียนเด็กพิการ “บ้านสานฝัน..ปันรัก” และจัดกองทุนเด็กพิการและด้อยโอกาส รวมถึงสวัสดิการต่างๆ แก่เด็ก ซึ่งยังทำมาอย่างต่อเนื่องจนถึงทุกวันนี้
ครูสอนหนังสือให้เด็กพิการและด้อยโอกาส
“เราดูแลลูกเขาได้ ก็เหมือนช่วยเหลือครอบครัวเขาไปด้วย ทั้งเรื่องการเรียน การฝึกทักษะอาชีพ ส่วนเรื่องการเดินทางของเด็กพิการ เรามีรถรับ-ส่ง เป็นซาเล้งสองคัน เพราะถ้าให้เขานั่งรถปกติกับคนอื่น เขานั่งไม่ได้ ทุกวันนี้ ผอ.จ่ายค่ารถรับส่งให้เด็กๆ เกือบ 7หมื่นบาท”
นอกจากนี้ ผอ. ยังตั้งโครงการ “พ่อแม่อุปถัมภ์” ซึ่งจากการที่ได้ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านเด็กๆ และเห็นสภาพปัญหา ทั้งถูกพ่อ-แม่ทอดทิ้ง เป็นเด็กกำพร้า ขาดความอบอุ่น จึงเกิดเป็นโครงการเพื่อให้ครูหรือผู้ที่อยากอุปถัมภ์ได้ช่วยกันดูแลเด็กๆ
“ทุกวันนี้ ผอ.ก็รับดูแลเด็กในอุปถัมภ์อยู่เหมือนกัน มีซื้อเสื้อผ้าหรือนำเสื้อผ้าที่ได้รับบริจาคมาให้พวกเขา เพราะเด็กที่นี่ต้องยอมรับว่าทางบ้านยากจน เด็กบางคนก็ใส่เสื้อนักเรียนนอน เพราะไม่มีเสื้อผ้าใส่
ถามว่าทำไมถึงต้องทุ่มเททำขนาดนี้ ผอ.ก็ตอบไม่ได้นะ เราเป็นคนที่เห็นอะไรแล้วถ้าไม่ช่วย เราจะไม่สบายใจ เรารู้ว่าเขาลำบาก แต่เราช่วยเขาได้ ทำไมเราจะไม่ช่วยหล่ะ บางทีเรากลับไปบ้าน ก่อนนอนจะคิดทุกคืนว่าจะช่วยเด็กได้ยังไงบ้าง
เราได้ทำอะไรที่เราอยากทำ พอทำแล้วมันเห็นผล ทำแล้วมันเป็นประโยชน์กับคนอื่น โดยเฉพาะกับเด็กด้อยโอกาส ผอ.ถือว่าเราโชคดีนะที่เราได้ทำตรงนี้”
หากท่านใดต้องการสานฝันของเด็กชายขอบให้มีอนาคตที่สดใส สามารถโอนเงินไปได้ที่ ธนาคารกรุงไทย สาขาสวนผึ้ง ชื่อบัญชี โครงการกองทุนช่วยเหลือเด็กพิการและด้อยโอกาสโรงเรียนรุจิรพัฒน์ เลขบัญชี 729-033-237-7
ติดตามรับชมรายการ “ฅนจริง ใจไม่ท้อ” ได้ ทุกวันเสาร์ เวลา 09.00-10.00 น. ทางสถานีโทรทัศน์ NEWS1
เครดิต
https://mgronline.com/livelite/detail/9610000013128
ครูต้นแบบหัวใจน่ากราบ! ชีวิตจริงของครูนักพัฒนา “ช่วยเด็กพิการ-ยากไร้” (เพื่อสานฝันความฝันของเด็กชายขอบ) / น้ำมิตร
..................................................................................................................
ครูต้นแบบหัวใจน่ากราบ! ชีวิตจริงของครูนักพัฒนา “ช่วยเด็กพิการ-ยากไร้” (มีคลิป)
เผยแพร่: 9 ก.พ. 2561 20:25:00 โดย: MGR Online
ครูต้นแบบ..ช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาส “ชาวกะเหรี่ยง-กะหร่าง-พม่า” ผ่านความสุขที่พอดีแบบครู “ผู้ให้” เนรมิตโรงเรียนทุรกันดาร จนกลายเป็นศูนย์เรียนรู้ฝึกอาชีพให้เด็กๆ “ผอ.พจนพร จิตเจริญทวีโชค” ผู้ได้รับรางวัล “ครูดีเด่นชายขอบ” กับความสุขที่ได้เดินตามรอยเท้าพ่อ “ในหลวง ร.9”
“ครูนักพัฒนา” เนรมิตโรงเรียนเพื่อเด็กยากไร้!
“เราเหมือนมาเปลี่ยน มาพลิกแผ่นดินที่นี่เลยนะ แม้แต่สภาพแวดล้อมก็ไม่ใช่อย่างนี้ มาใหม่ๆ ต้นไม้ไม่มี ห้องน้ำไม่ดี การศึกษายังเข้าไม่ถึง เราพลิกโฉมเลย มันคุ้มค่ากับที่เราเหนื่อย 9 ปีที่นี่ เราเปลี่ยนให้เขาไม่เหลือซากเดิมเลย”
“ผอ.พจนพร จิตเจริญทวีโชค” ผู้อำนวยการโรงเรียนรุจิรพัฒน์ อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี ฉายภาพความทรงจำก่อนเนรมิตสถานที่แห่งนี้ให้เป็นโรงเรียนในฝันของเด็กๆ ชายแดนไทย-พม่า ทั้งยังเล่าด้วยความภูมิใจที่สามารถพัฒนาโรงเรียนรุจิรพัฒน์ให้น่าอยู่ขึ้นจากเดิม จนปัจจุบันมีนักเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาล-ม.3 ทั้งสิ้นกว่า 1,200 คน!
“ก่อนหน้านี้ที่นี่ต้นไม้ไม่มี-ห้องน้ำไม่ดี เราเริ่มสอนระบบสุขาให้เด็กๆ ใหม่หมด เพราะเด็กส่วนใหญ่อยู่ตามป่า เขาจะไม่รู้วิธีใช้ห้องน้ำ เพราะฉะนั้น ห้องน้ำที่มีไม่ได้ถูกใช้ให้เป็นประโยชน์เมื่ออยู่ที่นี่ ผอ.จึงต้องมาเริ่มสอนเด็กๆ ใหม่ ด้วยการเริ่มจากระบบสุขาก่อนเลย แล้วค่อยต่อยอดให้เด็กๆ เรียนรู้วิชาอื่นๆ”
ไม่เพียงแต่สวัสดิการค่าอาหาร ค่ารักษาพยาบาล และค่าเดินทางเท่านั้นที่เด็กๆ ชาวกะเหรี่ยง-กะหร่าง-พม่า จะได้รับ เพราะหลังจากที่ ผอ.พจนพร ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนบ้านของเด็กๆ แล้ว พบว่าปัญหาครอบครัวแตกแยกที่เด็กกำลังเผชิญอยู่เป็นเรื่องที่ต้องได้รับการดูแลเช่นกัน
“เด็กที่นี่อยู่บ้านเป็นเพิง ที่รอรถเมล์ยังดีกว่าบ้านเด็ก และใน 1 หลังนี่อยู่กันเป็นสิบๆ บ้านเหมือนกระต๊อบ เป็นเพิงหลังคาและมีพื้นนอน มีฝานิดหน่อยแบบเปิดเลย เข้าไปนี่เจอทุกห้อง ห้องกิน ห้องอะไรอยู่ตรงนั้นหมดเลย โดยเฉพาะบ้านเด็กพิการ เป็นอย่างนี้หมดส่วนใหญ่”
ภาพความยากลำบากสะท้อนให้เห็นความอัตคัตขัดสนที่หลายครอบครัวต้องเผชิญ บางครอบครัวมีลูกหลานอยู่ในภาวะผิดปกติ-ขาดแคลนอาหาร จนทำให้เด็กเติบโตมาอย่างไม่สมบูรณ์ นี่จึงเป็นเหตุผลที่ ผอ.พจนพร ตั้งใจอยากช่วยเหลือด้านอาหารโรงเรียนให้แก่เด็กเหล่านี้
“เด็กที่นี่ 260 กว่าคนที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ ฉะนั้น เราต้องดูแลตั้งแต่อาหารเช้าและอาหารกลางวัน ส่วนเด็กพิการแม้จะไม่ได้อยู่ใน 260 คนนี้ แต่ ผอ.ให้เขากินข้าวเช้า-กลางวันที่นี่ และหากอาหารกลางวันที่นี่เหลือ เราจะให้แม่ครัวใส่ถุงรอไว้เลย มา 10 คนก็ให้ 10 ถุง
ฉะนั้น เด็กเหล่านี้ ผอ.ดูแลเขาให้ครบ 3 มื้อ อย่างที่เห็นว่าเปิดเทอมมาเด็กที่นี่ผอมมากเลย หัวโต ผมยาว เขาบอกไม่อยากให้ รร.ปิด เพราะไม่มีอาหารกิน”
นอกจากดูแลเรื่องอาหารให้เด็กทั้ง 3 มื้อแล้ว ผอ.พจนพร ยังจัดงานระดมทุนเพื่อสร้างห้องเรียนให้เด็กพิการ รวมทั้งตั้งกองทุนเพื่อดูแลเด็กๆ เหล่านี้ด้วย
เน้นความดี..ไม่ใช่ความเก่ง
“ที่โรงเรียนเราเน้นทักษะอาชีพ เพราะเด็กส่วนใหญ่พูดไทยไม่ได้ อ่านหนังสือไม่ออก ฉะนั้น ถ้าเน้นวิชาการ เด็กจะเรียนไม่จบ เพราะเขาเรียนภาษาไทยไม่ได้ เราเลยมาคิดทำยังไงดีให้เด็กเรียนแล้วไปรอด เราจึงหาทางออกด้วยการปรับหลักสูตรการเรียนการสอนให้มีการส่งเสริมวิชาชีพมากขึ้น”
เมื่อปัญหาของเด็กชายขอบคือการไม่รู้ภาษาไทย นี่จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้เด็กส่วนใหญ่ตัดสินใจเลิกเรียน และออกไปทำงานหาเงินนอกรั้วโรงเรียน ผอ.พจนพร จึงต้องแก้ปัญหาด้วยการสอนวิชาชีพให้ด้วย เพื่อตอบสนองทั้งความต้องการของเด็กและผู้ปกครอง ที่มองว่า อาชีพสามารถนำมาซึ่งรายได้ในการเลี้ยงครอบครัว
“สิ่งที่เกิดขึ้นคือการที่เราทำเป็นชุมนุม มีฝึกทักษะด้านงานเสริมสวย ตัดผม ศิลปะ ดนตรี กีฬา เกษตรกรรม และปรับเวลาเรียนให้น้อยลง แต่เน้นด้านทักษะอาชีพมากขึ้น เด็กเขาก็มีความสุขนะ เพราะมันเกิดจากการปฏิบัติจริง”
นอกจากการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับนักเรียนในพื้นที่ชายขอบแล้ว โรงเรียนรุจิรพัฒน์ ยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดไม่ได้ จากในหลวง ร.9 ที่ทรงคัดเลือกโรงเรียนเข้าโครงการพระราชทานทุนการศึกษา
“โรงเรียนกองทุนพระเจ้าอยู่หัว ท่านตั้งตั้งแต่ปี 2554 เมื่อครั้งพระองค์ประชวรอยู่ที่ รพ.ศิริราช ท่านมีรับสั่งให้องคมนตรีเข้าเฝ้า พระองค์บอกจะพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ก้อนหนึ่ง เพื่อให้องคมนตรีไปดูแลโรงเรียนที่ขาดแคลน เขาก็ตระเวนหากัน แต่รอบแรกไม่ได้มาที่เรา
พิธีมอบทุนการศึกษาพระราชทานนักเรียนในพระบรมราชานุเคราะห์
พระเจ้าอยู่หัวฯ ฝากให้สร้างเด็กดีให้กับบ้านเมือง ถ้าเด็กดีแล้ว เก่งจะตามมาเอง พระองค์ไม่ได้เน้นคนเก่ง จากนั้นรุ่นแรกสำเร็จ ก็มีรุ่นที่ 2 ก็มาที่โรงเรียนรุจิรพัฒน์ รับเป็นกองทุนการศึกษารุ่นที่ 2 โรงเรียนกองทุนฯ ต้องเน้นคุณธรรมเป็นอันดับแรก
เน้นความดี ไม่ใช่เน้นความเก่ง เพื่อให้ผอ.และครูทั้งโรงเรียนไปอบรมเป็นเวลา 1 สัปดาห์ ซึ่งมีวิทยากรมาถ่ายทอด เน้นสร้างเด็กดี เน้นสร้างคุณธรรมให้เป็นโรงเรียนคุณธรรม”
ผลจากการทุ่มเทพัฒนาโรงเรียนของ ผอ.พจนพร ทำให้โรงเรียนรุจิรพัฒน์ได้รับรางวัลทั้งในระดับอำเภอและจังหวัด ขณะที่ตัว ผอ.พจนพร เอง ก็ได้รับรางวัล “ครูดีเด่นชายขอบ” เช่นกัน
“ผอ.ไม่ได้เป็นคนสนใจรางวัลหรอก เรามุ่งทำเกี่ยวกับโรงเรียน เกี่ยวกับเด็กมากกว่า ไม่ได้ทำเพื่อตัวเรา ที่ได้มา ก็โอเค เป็นความภูมิใจนิดหนึ่ง แต่ไม่ใช่ที่สุดของชีวิต
ที่สุดคือการที่เราได้ทำงาน ผอ.รู้สึก เราโชคดีมากนะ และเราได้ทำงานรับใช้พระเจ้าอยู่หัว เราเดินตามรอยเท้าพ่อ อยู่อย่างพอเพียง เรียบง่าย ประหยัด ผอ.ใช้แนวปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงมาดำเนินชีวิต”
บ้านสานฝัน..ปันรัก “เด็กพิการ-ด้อยโอกาส”
ไม่เพียงแต่เป็นโรงเรียนชายขอบในถิ่นทุระกันดารที่เปิดกว้างให้เด็กหลายกลุ่มชาติพันธุ์ได้เข้าถึงการศึกษา แต่โรงเรียนรุจิรพัฒน์ ยังเปิดรับเด็กพิเศษ-เด็กพิการ ให้มีโอกาสได้รับการศึกษาด้วย
“เด็กพิการที่นี่มีเยอะและเดินทางมาเรียนลำบาก เราเลยประชุมกับกรรมการฝ่ายการศึกษาว่า งานวันเด็กเราอยากขอนำเงินมาสร้างบ้านให้เด็กพิการ เขาก็ช่วยกันจัดงาน-ขายบัตร จนนำเงินมาช่วยสร้างที่พักให้เด็กๆ ผู้พิการได้”
ด้วยความมุ่งมั่นและตั้งใจ อยากให้เด็กพิการได้ศึกษา-เล่าเรียน ผอ.พจนพร จึงได้จัดงานเพื่อระดมทุน ซึ่งเมื่อคนในสังคมทราบข่าว จึงได้ร่วมด้วยช่วยกัน นั่นจึงเป็นที่มาของการก่อตั้งห้องเรียนเด็กพิการ “บ้านสานฝัน..ปันรัก” และจัดกองทุนเด็กพิการและด้อยโอกาส รวมถึงสวัสดิการต่างๆ แก่เด็ก ซึ่งยังทำมาอย่างต่อเนื่องจนถึงทุกวันนี้
ครูสอนหนังสือให้เด็กพิการและด้อยโอกาส
“เราดูแลลูกเขาได้ ก็เหมือนช่วยเหลือครอบครัวเขาไปด้วย ทั้งเรื่องการเรียน การฝึกทักษะอาชีพ ส่วนเรื่องการเดินทางของเด็กพิการ เรามีรถรับ-ส่ง เป็นซาเล้งสองคัน เพราะถ้าให้เขานั่งรถปกติกับคนอื่น เขานั่งไม่ได้ ทุกวันนี้ ผอ.จ่ายค่ารถรับส่งให้เด็กๆ เกือบ 7หมื่นบาท”
นอกจากนี้ ผอ. ยังตั้งโครงการ “พ่อแม่อุปถัมภ์” ซึ่งจากการที่ได้ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านเด็กๆ และเห็นสภาพปัญหา ทั้งถูกพ่อ-แม่ทอดทิ้ง เป็นเด็กกำพร้า ขาดความอบอุ่น จึงเกิดเป็นโครงการเพื่อให้ครูหรือผู้ที่อยากอุปถัมภ์ได้ช่วยกันดูแลเด็กๆ
“ทุกวันนี้ ผอ.ก็รับดูแลเด็กในอุปถัมภ์อยู่เหมือนกัน มีซื้อเสื้อผ้าหรือนำเสื้อผ้าที่ได้รับบริจาคมาให้พวกเขา เพราะเด็กที่นี่ต้องยอมรับว่าทางบ้านยากจน เด็กบางคนก็ใส่เสื้อนักเรียนนอน เพราะไม่มีเสื้อผ้าใส่
ถามว่าทำไมถึงต้องทุ่มเททำขนาดนี้ ผอ.ก็ตอบไม่ได้นะ เราเป็นคนที่เห็นอะไรแล้วถ้าไม่ช่วย เราจะไม่สบายใจ เรารู้ว่าเขาลำบาก แต่เราช่วยเขาได้ ทำไมเราจะไม่ช่วยหล่ะ บางทีเรากลับไปบ้าน ก่อนนอนจะคิดทุกคืนว่าจะช่วยเด็กได้ยังไงบ้าง
เราได้ทำอะไรที่เราอยากทำ พอทำแล้วมันเห็นผล ทำแล้วมันเป็นประโยชน์กับคนอื่น โดยเฉพาะกับเด็กด้อยโอกาส ผอ.ถือว่าเราโชคดีนะที่เราได้ทำตรงนี้”
หากท่านใดต้องการสานฝันของเด็กชายขอบให้มีอนาคตที่สดใส สามารถโอนเงินไปได้ที่ ธนาคารกรุงไทย สาขาสวนผึ้ง ชื่อบัญชี โครงการกองทุนช่วยเหลือเด็กพิการและด้อยโอกาสโรงเรียนรุจิรพัฒน์ เลขบัญชี 729-033-237-7
ติดตามรับชมรายการ “ฅนจริง ใจไม่ท้อ” ได้ ทุกวันเสาร์ เวลา 09.00-10.00 น. ทางสถานีโทรทัศน์ NEWS1
เครดิต https://mgronline.com/livelite/detail/9610000013128