คนไทยชอบยกย่องคนรวย หรือคนมีอำนาจโดยรู้ตัวบ้าง ไม่รู้ตัวบ้าง อาจโดยเพราะได้รับผลประโยชน์ หรือไม่ได้อะไร
ยกตัวอย่างเช่น สื่อไทยมักนำเสนอข่าวดาราทำธุรกิจ ลงข่าวรถยนต์หรู บ้านหรูของนักธุรกิจ ฯลฯ
บ้างก็นำเสนอให้คนที่ประสบตวามสำเร็จเป็นไอดอล
ซึ่งสามารถเป็นไอดอลได้จริงในเชิงธุรกิจ แต่กลับไม่มีการนำเสนอหรือสนใจด้านคุณธรรม หรือจริยธรรมของคนเหล่านั้น
ทำให้วันนึงคนที่มีภาพลักษณ์เป็นไอดอล อาจแอบแฝงทำเรื่องผิดกฏหมายหรือเอาเปรัยบผู้อื่นอยู้ได้
สามารถดำเนินการได้สะดวกขึ้นจากภาพลักษณ์ที่ถูกสร้างขึ้น โดยไม่มีผู้ใดโต้แย้ง
เช่น พอคนที่เป็นอดีตรัฐมนตรีกระทรวง ที่ไม่มีอำนาจอย่างเป็นทางการแล้ว พอขอความร่วมมือก็ได้รับอย่างรวดเร็วโดยไม่มีการสอบสวน
หรือดารามักได้รับอภิสิทธิ์ในบางครั้ง เช่น การไม่ต้องเข้าคิว การได้รับของแถมของกำนัล หรือผู้ว่าฯที่มักได้กระเช้าปีใหม่มากมายเป็นประจำ
ส่วนนึงก็เป็นเพราะค่านิยมต่างตอบแทน และอีกส่วนนึงก็เป็นเพราะความชื่นชมคนรวย คนมีอำนาจ แบบตื้นเขินของคนไทย
ทั้งๆที่บางครั้ง คนมีอำนาจเหล่านั้น อาจได้รับอำนาจมาจากการเอาเปรียบคนที่นิยมชมชอบคนๆนั้นก็เป็นได้
เช่น การรับส่วยใต้โตํะที่ควรเป็นเงินภาษี การแซงคิวเพื่อรับบริการโดยคนส่วนใหญ่ในบริเวณนั้นยินยอม
การซื้อตำแหน่งโดยการเสนอผลประโยชน์ให้พวกพ้อง
เช่นเดียวกันกับข่าว การลักลอบเข้าไปล่าสัตว์ที่เพิ่งเกิดขึ้น ที่อาจได้รับการช่วยเหลือ จากคนในวงการราชการ วงการกฏหมาย
อาจพันผืดโดยการทำลายหลักฐาน หรือเตรียมการทางใช้ช่องโหว่ของกฏหมายไว้ล่วงหน้า
ในสภาพสังคมที่มีคนน้อย อาจสามารถมีนำการลงโทษทางสังคม(Social Sanction)มาใช้ เพื่อให้เกิดตวามเท่าเทียม
เช่น การเลิกให้เครดิต การไม่เพิ่มธุรกิจที่จะเกิดขึ้นกับบริษัทนั้นเพื่อลดอำนาจคนรวยที่โดนยกย่องจนลืมไปว่าตัวเองควรมีหน้าที่เป็นตัวอย่าง
หรือเป็นหัวเรือของสังคมในการทำประโยชน์ มากกว่ามาทำผิดกฏหมาย ไปจนถึงการถอนหุ้นออก
คำถามก็คือ ในสภาพสังคมปัจจุบัน เราจะยังพิจารณา ถึงความเหมาะสมในการยกย่องใครก็ตาม
อาจเป็นข้าราชการ นักธุรกิจ พนักงานที่มีอำนาจ ฯลฯ
หรือเราจะยังสามารถนำการลงโทษทางสังคมมาใช้ ให้เหมาะสม และมีประสิทธิภาพได้อยู่รึเปล่า
ว่าด้วยเรื่องคนรวย ความยกย่องคนรวยของคนไทย การเข้าไปลักลอบล่าสัตว์ และการลงทัณฑ์์ทางสังคม
ยกตัวอย่างเช่น สื่อไทยมักนำเสนอข่าวดาราทำธุรกิจ ลงข่าวรถยนต์หรู บ้านหรูของนักธุรกิจ ฯลฯ
บ้างก็นำเสนอให้คนที่ประสบตวามสำเร็จเป็นไอดอล
ซึ่งสามารถเป็นไอดอลได้จริงในเชิงธุรกิจ แต่กลับไม่มีการนำเสนอหรือสนใจด้านคุณธรรม หรือจริยธรรมของคนเหล่านั้น
ทำให้วันนึงคนที่มีภาพลักษณ์เป็นไอดอล อาจแอบแฝงทำเรื่องผิดกฏหมายหรือเอาเปรัยบผู้อื่นอยู้ได้
สามารถดำเนินการได้สะดวกขึ้นจากภาพลักษณ์ที่ถูกสร้างขึ้น โดยไม่มีผู้ใดโต้แย้ง
เช่น พอคนที่เป็นอดีตรัฐมนตรีกระทรวง ที่ไม่มีอำนาจอย่างเป็นทางการแล้ว พอขอความร่วมมือก็ได้รับอย่างรวดเร็วโดยไม่มีการสอบสวน
หรือดารามักได้รับอภิสิทธิ์ในบางครั้ง เช่น การไม่ต้องเข้าคิว การได้รับของแถมของกำนัล หรือผู้ว่าฯที่มักได้กระเช้าปีใหม่มากมายเป็นประจำ
ส่วนนึงก็เป็นเพราะค่านิยมต่างตอบแทน และอีกส่วนนึงก็เป็นเพราะความชื่นชมคนรวย คนมีอำนาจ แบบตื้นเขินของคนไทย
ทั้งๆที่บางครั้ง คนมีอำนาจเหล่านั้น อาจได้รับอำนาจมาจากการเอาเปรียบคนที่นิยมชมชอบคนๆนั้นก็เป็นได้
เช่น การรับส่วยใต้โตํะที่ควรเป็นเงินภาษี การแซงคิวเพื่อรับบริการโดยคนส่วนใหญ่ในบริเวณนั้นยินยอม
การซื้อตำแหน่งโดยการเสนอผลประโยชน์ให้พวกพ้อง
เช่นเดียวกันกับข่าว การลักลอบเข้าไปล่าสัตว์ที่เพิ่งเกิดขึ้น ที่อาจได้รับการช่วยเหลือ จากคนในวงการราชการ วงการกฏหมาย
อาจพันผืดโดยการทำลายหลักฐาน หรือเตรียมการทางใช้ช่องโหว่ของกฏหมายไว้ล่วงหน้า
ในสภาพสังคมที่มีคนน้อย อาจสามารถมีนำการลงโทษทางสังคม(Social Sanction)มาใช้ เพื่อให้เกิดตวามเท่าเทียม
เช่น การเลิกให้เครดิต การไม่เพิ่มธุรกิจที่จะเกิดขึ้นกับบริษัทนั้นเพื่อลดอำนาจคนรวยที่โดนยกย่องจนลืมไปว่าตัวเองควรมีหน้าที่เป็นตัวอย่าง
หรือเป็นหัวเรือของสังคมในการทำประโยชน์ มากกว่ามาทำผิดกฏหมาย ไปจนถึงการถอนหุ้นออก
คำถามก็คือ ในสภาพสังคมปัจจุบัน เราจะยังพิจารณา ถึงความเหมาะสมในการยกย่องใครก็ตาม
อาจเป็นข้าราชการ นักธุรกิจ พนักงานที่มีอำนาจ ฯลฯ
หรือเราจะยังสามารถนำการลงโทษทางสังคมมาใช้ ให้เหมาะสม และมีประสิทธิภาพได้อยู่รึเปล่า