ทริปโดนป้ายยา ภูทับเบิก เขาตะเคียนโง๊ะ อช ทุ่งแสลงหลวง ทุ่งปอเทืองข้างทาง
ทริปนี้เริ่มด้วยการป้ายยากันเอง ที่เห็นคนอื่นเค้าได้มีโอกาสไปดูดอกพญาเสือโคร่ง ที่ชมพูบานสะพรั่งให้ชมทางภาคเหนือ เลยมาลองคุยกันดูเส้นทางกันว่า เราไปที่ไหนกันดี….
ในระหว่างตัดสินใจ เรามาทำความรู้จักกับ ดอกพญาเสือโคร่ง พืชดอกที่ได้รับฉายาว่า “ซากุระเมืองไทย” เพราะมีลักษณะคล้ายซากุระในประเทศญี่ปุ่น แม้จะเป็นคนละชนิดกันก็ตาม
นางพญาเสือโคร่ง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Prunus cerasoides, อังกฤษ: Wild Himalayan Cherry) เป็นพืชดอกในสกุล Prunus ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ พบทั่วไปบนภูเขาตั้งแต่ความสูง 1,200-2,400เมตร
จากระดับน้ำทะเล
นางพญาเสือโคร่ง เป็นพรรณไม้ที่มีการกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติอยู่ที่ตอนเหนือของประเทศไทย เช่น ภูลมโล จังหวัดเลย, ดอยแม่สลอง จังหวัดเชียงราย, ดอยเวียงแหง ดอยอ่างขาง ขุนช่างเคี่ยน ขุนแม่ยะ จังหวัดเชียงใหม่, ขุนสถาน ดอยวาว ดอยภูคา มณีพฤกษ์ จังหวัดน่าน, ภูทับเบิก จังหวัดเพชรบูรณ์, ภูหินร่องกล้าจังหวัดพิษณุโลก ฯลฯ โดยเป็นดอกไม้ประจำอำเภอเวียงแหง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ นางพญาเสือโคร่งเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ ขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 10-15 เมตร ใบ เป็นชนิดใบเดี่ยว ลักษณะรูปรีแบบไข่ หรือไข่กลับ ออกสลับกัน ใบมีความกว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 5 -12 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบกลมหรือสอบแคบ ขอบจักปลายก้านใบมีต่อม 2-4 ต่อม หูใบแตกแขนงคล้ายเขากวาง ใบร่วงง่าย ดอก สีขาว ชมพู หรือแดง ออกเป็นช่อกระจุกใกล้ปลายกิ่ง ก้านดอกยาว 0.7-2 เซนติเมตร ขอบริ้วประดับจักไม่เป็นระเบียบ กลีบเลี้ยงติดกันเป็นรูปกรวย กลีบดอกมี 5 กลีบ เมื่อบานขนาดโตเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 เซนติเมตร ผล รูปไข่หรือกลม ยาว 1-1.5 เซนติเมตร เมื่อสุกสีแดงระยะเวลาออกดอกระหว่างเดือนธันวาคมจนถึงกุมภาพันธ์ โดยจะทิ้งใบก่อนออกดอก
ผลของนางพญาเสือโคร่งสามารถนำมารับประทานได้ มีรสเปรี้ยว ส่วนเนื้อไม้และการใช้ประโยชน์ ด้านอื่นยังไม่มีการบันทึกข้อมูลไว้ นอกจากการนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ เนื่องจากมีดอกสวยงาม
การปลูกเลี้ยง ได้มีการปลูกนางพญาเสือโคร่งบนพื้นที่ต้นน้ำลำธารมาเป็นเวลา 10 ปี แล้วปรากฏว่าได้ผลดี เป็นไม้ที่มีความเหมาะสมในการที่จะขึ้นอยู่ในพื้นที่ผ่านการทำไร่เลื่อนลอย บนพื้นที่สูงแต่ไม่ควรปลูกบนพื้นที่ซึ่งมีลมพัดจะทำให้กิ่งก้านหักได้ง่าย ขยายพันธุ์โดยเมล็ด
หลังจากที่เกริ่นมานาน พอสมควร จากการที่ได้หาข้อมูล และเส้นทางการเดินทาง เราจึงตัดสินใจไปที่ ภูทับเบิก จ เพชรบูรณ์กัน จาก กทม มุ่งหน้าสู่จ เพชรบูรณ์ ล้อหมุนตั้งแต่ช่วงสี่ทุ่ม เราเลือกที่จะไปเส้นเลี่ยงเมือง ใช้เส้นอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี แล้วเเลี้ยวขวาเข้าสู่จ เพชรบูรณ์ เราถึงสถานที่แรก คือ จุดชมวิวธารพายุ ช่วงตีสี่กว่า อากาศเย็นสบายอยู่ที่ 16-17 องศา สำหรับคนที่นี่ แต่พวกเรานี่สิ เย็นยะเยือกขาสั่นกันเชียวแหล่ะ โชคดีตรงที่เพื่อนอีกคน มีความรู้และความสนใจในการถ่ายภาพ ทางช้างเผือก หรือเรารู้จักกันในชื่อ Milky way เราเลยได้ อานิสงค์ ที่จะเรียนรู้เรื่อง ดาราศาสตร์ ชื่อดาวต่างๆ พร้อมกับดื่มด่ำวิวทิวทัศน์ยามเช้าก่อนที่พระอาทิตย์จจะขึ้น
เราจึงขับรถออกมาจากจุดชมวิว ขับผ่านไปทาง โบสถ์เซนต์เทเรซา คาทอลิก ไม่เกินสามสี่กิโล ก็จึงที่หมาย จะมีประตูที่ใช้ไม้ไผ่เป็นตัวกั้น ไม่ให้วัวของชาวบ้านหลุดออกมา เพื่อนเพื่อนที่กำลังจะไป ขอความร่วมมือด้วยนะคะ คงไม่วัวหาย แล้วล้อมคอกค่ะ ขำขำกันไป ห้าบาทสิบบาท
เราจะเห็นต้นนางพญาเสือโคร่งตามรายทาง แทบจะทุกบ้านจะมีปลูกไว้ เนื่องจากโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ 5,000,000 ไร่ ตั้งแต่ปี 2535 และเริ่มนำนางพญาเสือโคร่งมาปลูกครั้งแรกเมื่อปี 2548 ทำให้เห็นความเปลี่ยนแปลงของการพัฒนาพื้นที่ป่าในเวลา 10 ปี จากเขาหัวโล้นกลายเป็นป่าสมบูรณ์อย่างเห็นได้ชัด
กลุ่มเรามาถึงเป็นกลุ่มแรก เลยเป็นที่โชคดีที่ยังไม่มีคน และไม่ต้องไปเบียดกับคนเยอะแบบที่อื่นด้วย ดีจัง
เริ่มแยกย้าย หามุมถ่ายภาพนางพญาเสือโคร่ง เลือกมุมกันไม่ถูกเลยทีเดียว
หลังจากที่สนุกสนานกับการเก็บภาพกันมานานพอควร เราจึงแวะเติมพลังกันที่ร้านอาหารแถว ภูทับเบิก
ราคาไม่แพงมาก กับวิวขนาดนี้ บรรยากาศดีดีแบบนี้
และมองหาที่พักสายตาชั่วคราว จึงกลับมานอนกางเต้นท์เล่นกัน ที่จุดชมวิวเมื่อเช้า Zzz..Z..Zzz
เริ่มเย็นสามสี่โมง ออกเดินทางไปหาที่พัก จุดกางเต้นท์ และถ่ายภาพพระอาทิตย์ตกดินกัน
เราขับรถออกจากภูทับเบิก และแวะซื้อของกินในตลาด มื้อเย็นและเช้าวันถัดไป เราเลือกไปแวะจุดที่จะถ่ายภาพพระอาทิตย์ตกดินไว้ในความทรงจำที่ จุดชมวิวเขาตะเคียนโง๊ะ ตั้งอยู่ในตำบลหนองแม่นา อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นจุดชมวิวที่สวยที่สุดอีกแห่งหนึ่งบนเขาค้อ ที่สามารถ สามารถชมทะเลหมอกได้รอบทิศแบบ 360 องศา
หลังจากได้ภาพพระอาทิตย์ตกดินเป็นที่เรียบร้อย ขับรถเลยไปอีก ๒ถึง๓ กม ถึงหน้าอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง ชำระค่าธรรมเนียนเข้า ท่านละ 40 บาท ส่วนเรื่องค่าเช่าเต๊นท์ แผ่นรองนอน และอื่นๆ ให้ไปติดต่อเจ้าหน้าที่ด้านใน
ทุ่งแสลงหลวง หรือที่รู้จักกันดีในนาม “ทุ่งหญ้าสะวันนาแห่งเมืองไทย” เป็นอุทยานแห่งชาติที่มีขนาดใหญ่ เป็นอันดับ 3 ของประเทศ มีเนื้อที่ประมาณ 789,000 ไร่หรือ 1,262.40 ตารางกิโลเมตร ทุ่งแสลงหลวงมีพื้นที่ ครอบคลุม อ.วังทอง อ.นครไทย อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก และใน อ.เขาค้อ อ.วังโป่ง จ.เพชรบูรณ์ สำหรับชื่อ ของอุทยานแห่งชาติมีการสันนิษฐานว่ามีการ ตั้งชื่อตามพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่งที่มีอยู่ในพื้นที่ป่าแห่งนี้ คือ ต้นแสลงใจ ซึ่งมีขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก ประกอบกับมีสภาพภูมิประเทศเป็นเนิน มีป่าหลายชนิด และสัตว์ป่าชุกชุม เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2502 ป่าทุ่งแสลงหลวงและพื้นที่ป่าอื่นๆในจังหวัดต่างๆ ได้รับการก่อตั้ง ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง มีสภาพธรรมชาติ และลักษณะทางธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่ง อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธุ์ไม้สัตว์ป่านานาชนิดซึ่งเป็นสถานที่ที่เหมาะแก่การไปท่องเที่ยว
เช้าวันใหม่ อากาศแจ่มใส หมอกจางจางในตอนเช้ากำลังเคลื่อนตัวผ่านไป พร้อมแสงอาทิตย์ที่ทักทายเรา
พวกเราทยอยเก็บของ อาบน้ำ และมุ่งหน้ากลับกรุงเทพฯ หมดเวลาสำหรับช่วงเวลาพักผ่อนแล้วหรือเนี่ย
ระหว่างทางกลับกรุงเทพฯ โชคเข้าข้างเราได้เจอทุ่งปอเทือง จึงแวะข้างไหล่ทางเพื่อเก็บภาพเป็นที่ระลึก
ปอเทือง เป็นพืชตระกูลถั่ว ลักษณะเป็นไม้พุ่มความสูง 100–300 เซนติเมตร ลำต้นกลม ใบยาวเรียวแหลม ดอกสีเหลือง ฝักเป็นรูปทรงกระบอก เมล็ดคล้ายรูปไตสีน้ำตาล ความยาวประมาณ 6 มิลลิเมตร มี 10 -20 เมล็ด/ฝัก ปอเทืองเป็นพืชที่ใช้ต้นทุนในการปลูกต่ำและทนแล้ง โดยนอกจากเก็บเมล็ดพันธุ์ขายแล้วยังสามารถไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสดเพื่อใช้ปรับคุณภาพดินได้ ดังนั้นมันจึงเป็นพืชทางเลือกใหม่ในวิกฤตแล้งเช่นนี้
ช่วงตะวันตกดินพอดิบพอดี เวลาช่างเป็นใจให้เราได้ภาพสวยสวยในความทรงจำก่อนกลับบ้าน
เราขอลาไปพร้อมกับภาพเหล่านี้ เราจะกลับมาใหม่อีกแน่นอน...สวัสดี
ขอบคุณทุกคนที่ติดตามนะครับ
[CR] ทริปอยากไปต้องได้ไป ดอกนางพญาเสือโคร่ง ภูทับเบิก เขาตะเคียนโง๊ะ อช ทุ่งแสลงหลวง ทุ่งปอเทืองข้างทาง
ทริปนี้เริ่มด้วยการป้ายยากันเอง ที่เห็นคนอื่นเค้าได้มีโอกาสไปดูดอกพญาเสือโคร่ง ที่ชมพูบานสะพรั่งให้ชมทางภาคเหนือ เลยมาลองคุยกันดูเส้นทางกันว่า เราไปที่ไหนกันดี….
ในระหว่างตัดสินใจ เรามาทำความรู้จักกับ ดอกพญาเสือโคร่ง พืชดอกที่ได้รับฉายาว่า “ซากุระเมืองไทย” เพราะมีลักษณะคล้ายซากุระในประเทศญี่ปุ่น แม้จะเป็นคนละชนิดกันก็ตาม
นางพญาเสือโคร่ง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Prunus cerasoides, อังกฤษ: Wild Himalayan Cherry) เป็นพืชดอกในสกุล Prunus ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ พบทั่วไปบนภูเขาตั้งแต่ความสูง 1,200-2,400เมตร
จากระดับน้ำทะเล
นางพญาเสือโคร่ง เป็นพรรณไม้ที่มีการกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติอยู่ที่ตอนเหนือของประเทศไทย เช่น ภูลมโล จังหวัดเลย, ดอยแม่สลอง จังหวัดเชียงราย, ดอยเวียงแหง ดอยอ่างขาง ขุนช่างเคี่ยน ขุนแม่ยะ จังหวัดเชียงใหม่, ขุนสถาน ดอยวาว ดอยภูคา มณีพฤกษ์ จังหวัดน่าน, ภูทับเบิก จังหวัดเพชรบูรณ์, ภูหินร่องกล้าจังหวัดพิษณุโลก ฯลฯ โดยเป็นดอกไม้ประจำอำเภอเวียงแหง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ นางพญาเสือโคร่งเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ ขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 10-15 เมตร ใบ เป็นชนิดใบเดี่ยว ลักษณะรูปรีแบบไข่ หรือไข่กลับ ออกสลับกัน ใบมีความกว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 5 -12 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบกลมหรือสอบแคบ ขอบจักปลายก้านใบมีต่อม 2-4 ต่อม หูใบแตกแขนงคล้ายเขากวาง ใบร่วงง่าย ดอก สีขาว ชมพู หรือแดง ออกเป็นช่อกระจุกใกล้ปลายกิ่ง ก้านดอกยาว 0.7-2 เซนติเมตร ขอบริ้วประดับจักไม่เป็นระเบียบ กลีบเลี้ยงติดกันเป็นรูปกรวย กลีบดอกมี 5 กลีบ เมื่อบานขนาดโตเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 เซนติเมตร ผล รูปไข่หรือกลม ยาว 1-1.5 เซนติเมตร เมื่อสุกสีแดงระยะเวลาออกดอกระหว่างเดือนธันวาคมจนถึงกุมภาพันธ์ โดยจะทิ้งใบก่อนออกดอก
ผลของนางพญาเสือโคร่งสามารถนำมารับประทานได้ มีรสเปรี้ยว ส่วนเนื้อไม้และการใช้ประโยชน์ ด้านอื่นยังไม่มีการบันทึกข้อมูลไว้ นอกจากการนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ เนื่องจากมีดอกสวยงาม
การปลูกเลี้ยง ได้มีการปลูกนางพญาเสือโคร่งบนพื้นที่ต้นน้ำลำธารมาเป็นเวลา 10 ปี แล้วปรากฏว่าได้ผลดี เป็นไม้ที่มีความเหมาะสมในการที่จะขึ้นอยู่ในพื้นที่ผ่านการทำไร่เลื่อนลอย บนพื้นที่สูงแต่ไม่ควรปลูกบนพื้นที่ซึ่งมีลมพัดจะทำให้กิ่งก้านหักได้ง่าย ขยายพันธุ์โดยเมล็ด
หลังจากที่เกริ่นมานาน พอสมควร จากการที่ได้หาข้อมูล และเส้นทางการเดินทาง เราจึงตัดสินใจไปที่ ภูทับเบิก จ เพชรบูรณ์กัน จาก กทม มุ่งหน้าสู่จ เพชรบูรณ์ ล้อหมุนตั้งแต่ช่วงสี่ทุ่ม เราเลือกที่จะไปเส้นเลี่ยงเมือง ใช้เส้นอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี แล้วเเลี้ยวขวาเข้าสู่จ เพชรบูรณ์ เราถึงสถานที่แรก คือ จุดชมวิวธารพายุ ช่วงตีสี่กว่า อากาศเย็นสบายอยู่ที่ 16-17 องศา สำหรับคนที่นี่ แต่พวกเรานี่สิ เย็นยะเยือกขาสั่นกันเชียวแหล่ะ โชคดีตรงที่เพื่อนอีกคน มีความรู้และความสนใจในการถ่ายภาพ ทางช้างเผือก หรือเรารู้จักกันในชื่อ Milky way เราเลยได้ อานิสงค์ ที่จะเรียนรู้เรื่อง ดาราศาสตร์ ชื่อดาวต่างๆ พร้อมกับดื่มด่ำวิวทิวทัศน์ยามเช้าก่อนที่พระอาทิตย์จจะขึ้น
เราจึงขับรถออกมาจากจุดชมวิว ขับผ่านไปทาง โบสถ์เซนต์เทเรซา คาทอลิก ไม่เกินสามสี่กิโล ก็จึงที่หมาย จะมีประตูที่ใช้ไม้ไผ่เป็นตัวกั้น ไม่ให้วัวของชาวบ้านหลุดออกมา เพื่อนเพื่อนที่กำลังจะไป ขอความร่วมมือด้วยนะคะ คงไม่วัวหาย แล้วล้อมคอกค่ะ ขำขำกันไป ห้าบาทสิบบาท
เราจะเห็นต้นนางพญาเสือโคร่งตามรายทาง แทบจะทุกบ้านจะมีปลูกไว้ เนื่องจากโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ 5,000,000 ไร่ ตั้งแต่ปี 2535 และเริ่มนำนางพญาเสือโคร่งมาปลูกครั้งแรกเมื่อปี 2548 ทำให้เห็นความเปลี่ยนแปลงของการพัฒนาพื้นที่ป่าในเวลา 10 ปี จากเขาหัวโล้นกลายเป็นป่าสมบูรณ์อย่างเห็นได้ชัด
กลุ่มเรามาถึงเป็นกลุ่มแรก เลยเป็นที่โชคดีที่ยังไม่มีคน และไม่ต้องไปเบียดกับคนเยอะแบบที่อื่นด้วย ดีจัง
เริ่มแยกย้าย หามุมถ่ายภาพนางพญาเสือโคร่ง เลือกมุมกันไม่ถูกเลยทีเดียว
หลังจากที่สนุกสนานกับการเก็บภาพกันมานานพอควร เราจึงแวะเติมพลังกันที่ร้านอาหารแถว ภูทับเบิก
ราคาไม่แพงมาก กับวิวขนาดนี้ บรรยากาศดีดีแบบนี้
และมองหาที่พักสายตาชั่วคราว จึงกลับมานอนกางเต้นท์เล่นกัน ที่จุดชมวิวเมื่อเช้า Zzz..Z..Zzz
เริ่มเย็นสามสี่โมง ออกเดินทางไปหาที่พัก จุดกางเต้นท์ และถ่ายภาพพระอาทิตย์ตกดินกัน
เราขับรถออกจากภูทับเบิก และแวะซื้อของกินในตลาด มื้อเย็นและเช้าวันถัดไป เราเลือกไปแวะจุดที่จะถ่ายภาพพระอาทิตย์ตกดินไว้ในความทรงจำที่ จุดชมวิวเขาตะเคียนโง๊ะ ตั้งอยู่ในตำบลหนองแม่นา อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นจุดชมวิวที่สวยที่สุดอีกแห่งหนึ่งบนเขาค้อ ที่สามารถ สามารถชมทะเลหมอกได้รอบทิศแบบ 360 องศา
หลังจากได้ภาพพระอาทิตย์ตกดินเป็นที่เรียบร้อย ขับรถเลยไปอีก ๒ถึง๓ กม ถึงหน้าอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง ชำระค่าธรรมเนียนเข้า ท่านละ 40 บาท ส่วนเรื่องค่าเช่าเต๊นท์ แผ่นรองนอน และอื่นๆ ให้ไปติดต่อเจ้าหน้าที่ด้านใน
ทุ่งแสลงหลวง หรือที่รู้จักกันดีในนาม “ทุ่งหญ้าสะวันนาแห่งเมืองไทย” เป็นอุทยานแห่งชาติที่มีขนาดใหญ่ เป็นอันดับ 3 ของประเทศ มีเนื้อที่ประมาณ 789,000 ไร่หรือ 1,262.40 ตารางกิโลเมตร ทุ่งแสลงหลวงมีพื้นที่ ครอบคลุม อ.วังทอง อ.นครไทย อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก และใน อ.เขาค้อ อ.วังโป่ง จ.เพชรบูรณ์ สำหรับชื่อ ของอุทยานแห่งชาติมีการสันนิษฐานว่ามีการ ตั้งชื่อตามพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่งที่มีอยู่ในพื้นที่ป่าแห่งนี้ คือ ต้นแสลงใจ ซึ่งมีขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก ประกอบกับมีสภาพภูมิประเทศเป็นเนิน มีป่าหลายชนิด และสัตว์ป่าชุกชุม เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2502 ป่าทุ่งแสลงหลวงและพื้นที่ป่าอื่นๆในจังหวัดต่างๆ ได้รับการก่อตั้ง ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง มีสภาพธรรมชาติ และลักษณะทางธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่ง อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธุ์ไม้สัตว์ป่านานาชนิดซึ่งเป็นสถานที่ที่เหมาะแก่การไปท่องเที่ยว
เช้าวันใหม่ อากาศแจ่มใส หมอกจางจางในตอนเช้ากำลังเคลื่อนตัวผ่านไป พร้อมแสงอาทิตย์ที่ทักทายเรา
พวกเราทยอยเก็บของ อาบน้ำ และมุ่งหน้ากลับกรุงเทพฯ หมดเวลาสำหรับช่วงเวลาพักผ่อนแล้วหรือเนี่ย
ระหว่างทางกลับกรุงเทพฯ โชคเข้าข้างเราได้เจอทุ่งปอเทือง จึงแวะข้างไหล่ทางเพื่อเก็บภาพเป็นที่ระลึก
ปอเทือง เป็นพืชตระกูลถั่ว ลักษณะเป็นไม้พุ่มความสูง 100–300 เซนติเมตร ลำต้นกลม ใบยาวเรียวแหลม ดอกสีเหลือง ฝักเป็นรูปทรงกระบอก เมล็ดคล้ายรูปไตสีน้ำตาล ความยาวประมาณ 6 มิลลิเมตร มี 10 -20 เมล็ด/ฝัก ปอเทืองเป็นพืชที่ใช้ต้นทุนในการปลูกต่ำและทนแล้ง โดยนอกจากเก็บเมล็ดพันธุ์ขายแล้วยังสามารถไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสดเพื่อใช้ปรับคุณภาพดินได้ ดังนั้นมันจึงเป็นพืชทางเลือกใหม่ในวิกฤตแล้งเช่นนี้
ช่วงตะวันตกดินพอดิบพอดี เวลาช่างเป็นใจให้เราได้ภาพสวยสวยในความทรงจำก่อนกลับบ้าน
เราขอลาไปพร้อมกับภาพเหล่านี้ เราจะกลับมาใหม่อีกแน่นอน...สวัสดี
ขอบคุณทุกคนที่ติดตามนะครับ