มีเงินในกองทุน50%ของหนี้ ควรเอาไปใช้หนี้หรือลงทุนต่อดี

ตอนนี้เรามีหนี้เยอะเกินตัวมาก (ทั้งหมดเป็นหนี้จากสินเชื่อ)
ขอเล่าแบบคราวๆและยอดเงินแบบกลมๆนะคะ

ตอนนี้เรามีหนี้ประมาณ 1ล้านบาท อย่างที่บอกคือเป็นเงินกู้ทั้งหมดเลย
ต้องผ่อนจ่ายทุกเดือน ประมาณเดือนละ1แสน ในขณะที่เราได้เงินเดือน5หมื่นบาท!!
(หลายคนน่าจะสงสัยว่าใช้ชีวิตรอดมาได้ยังไง นั่นสิ!!เราก็ยังงงตัวเอง)
เมื่อก่อนเรามีเงินสำรอง ก็เอามารวมกับเงินเดือนแล้วเอาไปจ่ายหนี้ทุกเดือน
ทำแบบนี้ได้ไม่ถึง2ปี เงินหมด!!!!!

ตอนนี้เลยเครียดมาก เพราะเริ่มไม่มีเงินจ่ายหนี้รายเดือนแล้ว
อยากขอความเห็น คำแนะนำคนอื่นหน่อยค่ะ
-—- มีหนี้ 1 ล้านบาท
+1+ มีเงินกองทุน LTF 55,000 ที่ครบกำหนดถอนได้
+2+ มีเงินกองทุน LTF 85,000 ที่ยังไม่ครบกำหนด
+3+ ประกันออมทรัพย์ 500,000 ยังจ่ายไม่ครบ
+4+ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 370,000 (ถอนได้เมื่อลาออก)
+5+ กระเป๋าbrandname 150,000 (ราคาขาดทุนแล้ว แต่ยังขายไม่ได้)
+6+ ของสะสมที่มีมูลค่าทางจิตใจ (ธนบัตรเก่า เหรียญ แสตมป์ ฯลฯ)

ขอความเห็นหน่อยหน่อยนะคะ
>> ควรจะเอาเงินกองทุน(+1+) ออกมาใช้หนี้ดีมั้ย (ซึ่งมันก็ห่างไกลจากหนี้มาก)
>> ถ้าออกจากงาน(ได้งานใหม่ แต่ยังไม่มีกำหนด) เราควรถอนกองทุน(+4+) ดีมั้ย
แต่กลัวภาษีเหมือนกันค่ะ (รายได้ต่อปีประมาณ8แสน เสียภาษีประมาณ2-3หมื่น มีลดหย่อนแค่ค่าประกัน กับเงินบริจาค)
>> กระเป๋า brandname อยากขาย แต่ไม่อยากขาดทุนมาก มีแม่ค้ามาขอซื้อแบบตัดราคาครึ่งๆเลย (ขาดทุนประมาณ6-7หมื่น)

ปล.  เราไม่อยากปรับโครงสร้างหนี้ เพราะมีแพลนว่าหมดหนี้ก็จะซื้อบ้าน
ปล2 เขียนไปเขียนมายาวมาก ขอบคุณคนที่อ่านจนจบ และคนที่ช่วยแนะนำนะคะอมยิ้ม17
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
ข้อเสนอครับ..
1. เนื่องจากหนี้ มีดอกเบี้ย.. ดังนั้น สินทรัพย์ที่ไม่มีดอกเบี้ยต้องขายออกก่อน ทั้งกระเป๋าและของสะสม
2. ส่วนสินทรัพย์ที่มีผลตอบแทน คือ LTF นั้น ขึ้นกับว่า ระหว่างหนี้ กับ ระหว่างสินทรัพย์อะไรโตเร็วกว่ากัน. ซึ่งปกติแล้ว หนี้จะโตเร็วว่า เพราะ LTF อัตราเฉลี่ยคือ 10% ต่อปี ส่วนหนี้สถาบันการเงินคือ 18-24% ดังนั้น คำตอบคือ ขาย LTF ที่ครบกำหนดออกมาเพื่อชำระหนี้
3. กรณีของประกัน ผมมองต่างกัน.. ประกันไม่ใช่การออมทรัพย์ แต่มีเพื่อป้องกันเหตุสุดวิสัย.. เจ็บป่วย ทุพลภาพ ดังนั้น แม้ผลตอบแทนต่ำก็ต้องมีไว้ เพราะถ้าร่างกายเราแข็งแรง หนี้นั้นกำจัดออกได้ในท้ายที่สุด แต่ถ้าเราเจ็บป่วยและไม่มีประกัน เราก็จำเป็นต้องสร้างหนี้เพื่อรักษาตัวไม่จบสิ้น
4. ท้ายสุด ประเมินอัตราผ่อนชำระของหนี้ พยายามหาทางเลือกการชำระหนี้ที่เราจัดการไหว ย้ายหนี้นอกระบบเข้าสู่หนี้ในระบบ ส่วนหนี้ในระบบที่มีอยู่ก็พยายามย้ายไปยังสถาบันการเงินที่อัตราต่ำที่สุด เช่น ผมเคยเห็นของ SCB อัตราดอกเบี้ย re-finance แค่ 9% ต่อปี (12 เดือนแรก) เท่านั้น..
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่