ผมอยากรู้ว่าการจับคู่ อาหารกับไวน์ ใช้อะไรเป็นตัวตัดสินบ้างครับ (ไวน์แดง)

พอดีผมได้โปรเจคมาเป็นการจับคู่ไวน์แดงกับอาหารต่างๆ ตอนนี้ก็กำลังหาข้อมูล  (วิชา data mining)
เท่าที่สะสมข้อมูลได้มา ผมพยายามจะหา Attribute ที่มันเหมือน ๆ กัน
ตอนนี้ที่เห็นเลย ก็คือ กรด กับ แทนนิน และ Alcohol by Volume

แต่พอลองอ่านจากเว็บนี้ https://www.bbcgoodfood.com/howto/guide/match-red-wine-food
คู่กับ เว็บนี้ http://winefolly.com/review/what-is-malbec-wine/
               http://winefolly.com/review/guide-to-cabernet-sauvignon-red-wine/

อย่างตัว Cabernet Sauvignon พอไปลอง อ่านๆ ดู สรุปได้ว่า กรด-ปานกลาง แทนนิน-ปานกลาง แอลกอฮอล์-ปานกลาง
กับ Malbec กรด-ปานกลาง แทนนิน-ปานกลาง แอลกอฮอล์-ปานกลาง
แต่มันดันจับคู่กับอาหารคนละชนิดกัน ผมก็เลยคิดว่ามันน่าจะมี attribute ตัวอื่นเพิ่มเข้ามาด้วย แต่ไม่รู้จริงๆ ว่าตัวไหน

ผมขอคำแนะนำจากผู้รู้ด้วยครับ
ผมไม่มีความรู้เรื่องนี้เลย
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
ผมมีบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้มาให้   ซึ่งเขียนโดยตรงจากเว๊ปไซต์  Wein.de   

ทุกวันนี้คำถามที่ว่า "ไวน์ชนิดไหนเหมาะสมถูกต้องที่สุดสำหรับอาหารแต่ละชนิด"  ทำให้หลายๆ คนเกิดความไม่แน่ใจขึ้นมา    ทั้งๆ ที่โดยความเป็นจริงแล้วกฏเกณฑ์ตายตัวต่างๆ ที่เคยเชื่อถือยึดตามกันมาในอดีตนั้น   ไม่เข้ากับยุคสมัยอีกต่อไป    ปัจจุบันผู้นิยมดื่มไวน์ได้ปรับเปลี่ยนแนวคิดของการเลือกดื่มไวน์ไปที่ "ความกลมกลืน" ของรสชาติไวน์และอาหารเป็นหลัก   ใครที่ต้องการความ "แตกต่างแบบตรงกันข้าม" ระหว่างรสชาติไวน์และรสชาติอาหารก็ย่อมลอง "เสียง" ทดลองดูได้โดยไม่ต้องมานั่งพะวักพะวงถึงกฏเกณฑ์ตายตัวแต่อย่างใด    แต่อย่างไรก็ตามสำหรับผู้เชียวชาญไวน์ก็ได้ให้แนวทางในการตัดสินใจไว้เป็นหลัก  7  หัวข้อดังนี้ :-

กฏเกณฑ์ข้อที่ 1 :   จงเชื่อมั่นในรสชาติที่ตนเองชื่นชอบเป็นหลัก

ใครก็ตามที่ชอบดื่มไวน์ขาวกับอาหารซึ่งได้จินตนาการเอาไว้แล้วอย่างเลอเลิศ     ก็ไม่ต้องมาพะวักพะวงกับคำถามที่ว่า  "แล้วจะถูกต้องตามกฏเกณฑ์ตามที่เชื่อกันหรือไม่?"  ที่สำคัญที่สุดคือ  "ความเพลิดเพลินพอใจ" กับรสชาติที่ถูกปากของตนต่างหาก   ที่ควรต้องระมัดระวังในข้อนี้คือ   ถ้าคุณมีแขกมาร่วมด้วยก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องถามไถ่  "รสนิยม" ของแขกด้วย    ไม่ใช่เอาลิ้นนิยมของตนเองเป็นที่ตั้ง  

กฏเกณฑ์ข้อที่ 2 :   จงคำนึงระลึกถึง "ช่วงเวลาของฤดูกาล" เสมอ

เช่นเดียวกับอาหารที่แต่ละชนิดมีรสชาติโดยเฉพาะ - ไวน์ก็เช่นเดียวกัน   ไวน์บางชนิดเหมาะสมกับบางฤดูในขณะที่ชนิดอื่นก็เหมาะสมกับฤดูอื่นได้เช่นกัน    ตัวอย่างเช่น  ไวน์แดงที่มีรสชาติหนักด้วยสัดส่วนของ Tannin สูงจะเหมาะสำหรับดื่มใน "ฤดูหนาว"    ในทางกลับกันไวน์ที่ให้รสชาติเบาและสัมผัสได้ถึงน้ำผลไม้ก็จะเหมาะสำหรับดื่มใน "ฤดูร้อน"

แต่....เป็นไปได้อีกในทางกลับกัน ไวน์แดงรสหนักแทนนินก็เหมาะกับอาหารประเภท "ปิ้งย่างหรือกริล" ในฤดูร้อน   ในขณะที่ไวน์ออกแนวรสผลไม้ประเภท Riesling  กลับเหมาะที่จะกินกับ Brussels sprout ซึ่งมีรสออกขมปะแล่มได้ดีเช่นเดียวกัน

กฏเกณฑ์ข้อที่ 3 :   ความเปรี้ยว (จากกรดในไวน์) +  ความเปรี้ยว (ของรสอาหาร)  =  ความเปรี้ยวยกกำลังสอง

กฏเกณฑ์ข้อนี้ของนักดื่มไวน์ต้องระวัง  - มีกฏเกณฑ์ตายตัวอยู่ 2 ประการคือ  1)  ถ้ารสอาหารออกเปรี้ยวเช่นสลัดเมื่อกินคู่กับไวน์ที่ออกรสเปรี้ยวจะยิ่งทำให้รสชาติเปรี้ยวหนักเป็นทวีคูณ   ฉะนั้นต้องหลีกเลี่ยงที่จะเสริฟไวน์รสเปรี้ยวแต่เหมาะกับไวน์ที่ออกรสผลไม้เป็นหรือเป็นกลาง    และ  2)   อาหารที่ออกรสหวานเช่น ขนม   กลับต้องการไวน์ที่ออกรสชาติหวานมาเสริม   ได้แก่ไวน์ประเภท  Beerenauslese หรือ Eiswein

ไวน์ชนิด Halfdry wein ไม่เหมาะสำหรับอาหารหวานเพราะจะทำให้รสชาติขนมหวานเฝื่อน

กฏเกณฑ์ข้อที่  4  :    อาหารรสจัด -  เหมาะสำหรับไวน์รสที่มีกลิ่นและรสของผลไม้

โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฏเกณฑ์ข้อนี้เกี่ยวข้องกับอาหารเอเชียนที่มีรสจัด   เผ็ด   ซึ่งการหาไวน์ที่ให้เข้ากับอาหารภูมิภาคนี้เป็นไปอย่างลำบาก (เนื่องจากเป็นเครื่องดื่มและอาหารที่มาจากวัฒนธรรมตรงกันข้ามของซีกโลก)     ไวน์ที่จะเหมาะกับรสจัดจ้านของขิง ข่า และความเผ็ดของพริกมีอยู่ 2 ทางเลือกเท่านั้นคือ   Gewürztraminer   หรือ  Riesling  เท่านั้น

Gewürztraminer's sweetness may offset the spice in Asian cuisine.[2] It goes well with Maroilles, Livarot, or Munster cheese,[3] and fleshy, fatty (oily) wild game.

กฏเกณฑ์ข้อที่  5  :  -   สำหรับเนื้อสัตว์ไม่ว่าจะเนื้อแดงหรือเนื้อขาวเหมาะกับการดื่มไวน์  "เกือบ" ทุกชนิด

หลักการเบื้องต้นที่เคยยึดถือกันว่า  "เนื่อสัตว์ที่มีสีแดงหรืออาหารเนื้อแดงทอดเหมาะกับไวน์แดง   เนื้อสัตว์สีขาวประเภทสัตว์ปีกและปลาเหมาะกับไวน์ขาว"   ปัจจุบันหลักเกณฑ์นี้มีการผ่อนคลายและสามารถปรับเปลี่ยนได้    ถึงแม้ว่าโดยทั่วไปแล้วกฏเบื้องต้นนี้จะยังใช้กันอยู่ก็จริง

แต่ในแง่ของหลักวิขาการแล้ว    อาหารปลานั้นเหมาะกับแทนนินของไวน์แดง และ อาหารเนื้อหมูนั้นไปกันได้ดีกับความเปรี้ยวจากกรดของไวน์ขาว

กฏเกณฑ์ข้อที่  6  : -    โปรด   "อย่าใช้ cooking wein สำหรับทำอาหาร" อย่างเด็ดขาด

ไม่เป็นการผิดที่ระหว่างทำอาหารที่ต้องใส่ไวน์ในสูตรเครื่องปรุง   จะเปิดไวน์ดีๆ ชิมไปก่อนสักแก้วหนึ่งก่อน   แล้วใช้ไวน์คุณภาพดีนั้นในการปรุงอาหาร    ผลลัพธ์ที่ตามมาจะเห็นผลคุ้มค่าเมื่อได้กินน้ำเกรวี่อร่อยจากไวน์ชั้นดี   แทนที่จะเอาไวน์ราคาถูกมาปรุงอาหาร

กฏเกณฑ์ข้อที่  7  :  -   ข้อนี้เป็นข้อที่สำคัญที่สุดที่น่าจะให้คำตอบที่ จขกท ต้องการได้   เป็นข้อที่ให้แนวทางแนะนำจาก  สถาบันไวน์ของเยอรมนี  สำหรับผู้ศึกษาไวน์และนักดิ่มไวน์มืออาชีพ

7.1)   ไวน์ที่มี Alcohol by Volume สูง เหมาะสำหรับการเสริมรสชาติหวานหรือรสชาติของเครื่องปรุงรสในอาหาร   
7.2)   ไวน์ที่มีแทนนิน และ แอลกอฮอล์ สูง   จะข่วยให้อาหารที่ออกรสชาติขมกลมกล่อมมากขึ้น   ในทางกลับกันไว้น์ที่ออกรสชาติหวานจะช่วยบรรเทาความขมในอาหารบางประเภทได้ดีเช่นกัน
7.3)    ไวน์ที่มี  กรด   แทนนิน  และแอลกอฮอล์สูง    จะเหมาะสำหรับอาหารมันได้ดีที่สุด
7.4)    สำหรับอาหารที่มีรสเค็มต้องพึงระลึกไว้ด้วยว่า   จะไปช่วยทำให้รับรสชาติขมและกลิ่นหอมของไวน์เพิ่มขึ้น
7.5)   Sparkling wein  ที่มีรสซ่าจัดเมื่อดื่มกับอาหารจะทำให้รู้สึกว่ารสไวน์หวานกว่าความเป็นจริง

ที่ จขกท บอกว่าตัวแปรสำคัญของการเลือกไว้นให้เหมาะสมกับอาหารได้แก่   "กรด กับ แทนนิน และ Alcohol by Volume"   นั้นถูกต้องแล้ว   จะมีเพิ่มค่าให้อีกตัวที่จะต้องพิจารณาคือ  Residual sugar   ตามรูปที่ลงข้างล่างนี้

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่