ระดับประเทศ!!! รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กล่าวชื่นชม BNK48

ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)

ได้แชร์บทความของเฌอปราง bnk48 ในเฟสบุ๊คส่วนตัว
พร้อมทั้งกล่าวชื่นชมว่าเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เยาวชนในด้านวิทยาศาสตร์


#เฌอปราง #BNK48 ร่วมตีพิมพ์งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ระดับนานายิ้มโมงนี้ไม่พูดถึง BNK48 เจ้าของเพลงฮิต "คุกกี้เสี่ยงทาย Koisuru Fortune Cookie" คงไม่ได้แล้วนะครับ โดยเฉพาะกัปตันวง BNK48 น้องเฌอปราง อารีย์กุล  นอกจากจะเป็นไอดอลในด้านศิลปินที่สร้างความบันเทิงให้กับเด็กๆและวัยรุ่นทั่วไปแล้ว น้องเฌอปรางยังมีความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้วยครับ!!

จากลิงค์ข่าวที่ผมนำมาแชร์เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของความสามารถของเด็กไทยแบบน้องเฌอปรางที่เป็นนักศึกษาจาก สาขาวิชาเคมี วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล  ซึ่งมีงานวิจัย การทดลองขวดสีน้ำเงิน (The Blue Bottle Experiment) เป็นการวิจัยเกี่ยวกับการใช้ทฤษฎีฟิสิกส์ขั้นสูงในการคำนวณสมบัติทางไฟฟ้าเคมีของสารชนิดหนึ่งที่เปลี่ยนสีไปมาได้ด้วยตัวเอง ซึ่งงานวิจัยชิ้นนี้ น้องเฌอปราง อารีย์กุล ได้ร่วมวิจัยกับอาจารย์ ดร. ทวีธรรม ลิมปานุภาพ และนักศึกษารุ่นพี่ ล่าสุดงานวิจัยชิ้นนี้ก็ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Royal Society Open Science ในประเทศอังกฤษด้วยครับ ลองไปติดตามผลงานของน้องได้ตามลิงค์นี้ครับ และหวังว่าน้องเฌอปรางจะเป็นไอดอลนักวิทยาศาสตร์สายศิลปินให้กับน้องๆคนอื่นด้วยนะครับ
#เฌอปราง #BNK

http://music.sanook.com/2394893/



คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ


ที่มา https://www.facebook.com/drsuvitpage/posts/1525246694448722
แก้ไขข้อความเมื่อ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 7
อธิบายคร่าวๆ


Cr. เพจ วิทย์ เหี้- เหี้-

สรุปงานน้องเฌอ #BNK48 รวบรัด ได้ใจความ
.
งานวิจัยนี้ตีพิมพ์ในวารสาร Royal Society Open Science ซึ่งเป็นวารสารสัญชาติอังกฤษ และเป็น peer-review journal คือจะต้องคัดกรองผลงานก่อนถึงจะลงได้
.
งานวิจัยนี้ทำร่วมกับอาจารย์ ดร. ทวีธรรม ลิมปานุภาพ กับภัคพงศ์ รุ่งเรืองศรีรุ่นพี่มหิดลอีกคนหนึ่ง น้องเฌอช่วยคำนวณและทดลอง
.
งานวิจัยนี้เกี่ยวกับการทดลองขวดสีน้ำเงิน (The blue bottle experiment) ซึ่งนิยมใช้โชว์เกี่ยวกับปฏิกิริยารีดอกซ์ โดยที่สารละลาย reducing agent เช่นน้ำตาลกลูโคสทำปฏิกิริยากับสีย้อม (methylene blue) แล้วทำให้สีน้ำเงินหายไป แต่เมื่อเขย่าขวดให้ออกซิเจนในอากาศทำปฏิกิริยากับสีย้อม สีน้ำเงินจะกลับมาอีกครั้ง แต่ถ้าทิ้งไว้สักพัก สีก็จะหายไปอีก ปฏิกิริยานี้เกิดขึ้นได้ซ้ำๆ หลายรอบ
.
ในงานชิ้นนี้นักวิจัยได้คัดเลือกสารเคมีหลายตัวที่มีคุณสมบัติคล้ายกับน้ำตาลกลูโคสและสีย้อมมา แล้วคำนวณค่าศักย์ไฟฟ้ามาตรฐานครึ่งเซลล์ (E0-half cell) โดยใช้เทคนิค DFT (density functional theory) เพื่อให้เข้าใจว่าสารแต่ละตัวทำปฏิกิริยากันอย่างไร ทั้งยังช่วยให้คัดเลือกสารเคมีที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาได้สมบูรณ์ขึ้น หรือว่าไม่มีปฏิกิริยาข้างเคียง
.
ไปอ่านงานวิจัยฉบับเต็มและ cite ต่อกันได้ที่
http://rsos.royalsocietypublishing.org/content/4/11/170708
https://www.youtube.com/watch?v=6sJbNRSCoMA

#CherprangBNK48



คำแนะนำ: เปิดเพลงคุกกี้เสี่ยงทายคลอไปด้วยระหว่างอ่านบทความนี้จะช่วยเพิ่มอรรถรสในการรับชมมากยิ่งขึ้น

หลังจากที่เพจ วิทย์ เหี้- เหี้- ได้เล่าสรุปผลงานวิจัยที่น้องเฌอปราง BNK48 เข้าไปมีส่วนร่วมจนได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร Royal Society Open Science ไปนั้น รู้สึกว่าบรรดาโอตะที่ติดตามน้องเฌอปรางหลายคนก็เริ่มอยากรู้รายละเอียดงานวิจัยของเธอแบบเจาะลึกเข้าไปอีก ผมก็เลยไปนั่งทำการบ้านมาให้ว่าไอ้เจ้า DFT Investigation ที่น้องเฌอปรางหยิบเอามาใช้ในงานวิจัยมันคืออะไร แฟนคลับแคปเฌอจะได้นอนตายตาหลับเสียที

ย้อนความไปนิดนึงก่อนว่างานวิจัยที่น้องเฌอปรางเข้าไปมีส่วนร่วมภายใต้คำปรึกษาของอาจารย์ ดร.ทวีธรรม ลิมปานุภาพ (พาร์ทเนอร์แล็บสุดรักของผมสมัยเรียน ป.ตรี) เป็นการใช้ทฤษฎีทางฟิสิกส์ขั้นสูงมาช่วยคำนวณสมบัติทางไฟฟ้าเคมีของสารกลุ่มหนึ่งที่เปลี่ยนสีไปมาได้ขณะเกิดปฏิกิริยาทางเคมีโดยไม่ต้องเสียเวลาทดลองให้เปลืองสาร ทฤษฎีที่น้องเฌอปรางนำมาใช้ในงานวิจัยนี้มีชื่อเรียกในวงการเคมีว่า DFT Investigation

DFT นั้นย่อมาจากคำว่า Density Functional Theory ซึ่งเป็นทฤษฎีที่เลื่องลือไปทั่วโลกจนทำให้ศาสตราจารย์วอลเตอร์ คอห์น (Walter Kohn) ผู้คิดค้นทฤษฎีนี้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีมาแล้วในปี 1998

แล้วทฤษฎีที่ว่านี้มันคืออะไรล่ะ...?

หนึ่งในสารเคมีที่น้องเฉอปรางต้องการคำนวณสมบัติทางไฟฟ้าเคมีของมันก็คือ Methylene blue ที่มีสูตรทางเคมี C16H18ClN3S ซึ่งนับว่ามีโครงสร้างที่วุ่นวายมากเลยทีเดียว การที่เราจะทำนายว่าสารเคมีตัวนี้เข้าทำปฏิกิริยาได้ดีขนาดไหนจะต้องเข้าใจโครงสร้างทางเคมีของมันอย่างถ่องแท้ ต้องเข้าใจจนถึงขั้นมองออกว่าอิเล็กตรอนตัวไหนกำลังถูกใช้งาน และถ้าเปลี่ยนโครงสร้างเคมีไปเป็นสารที่มีหน้าตาคล้ายๆ กันล่ะ อิเล็กตรอนตัวนั้นยังทำงานได้ดีอยู่หรือเปล่า

ความยากอยู่ตรงที่ Methylene blue นั้นมีอิเล็กตรอนในโมเลกุลอยู่ราวๆ 320 ตัว อิเล็กตรอนที่วิ่งไปมาภายในโมเลกุลแต่ละตัวนั้นก็จะมีสมการทางฟิสิกส์สมการหนึ่งที่คอยบอกสถานะและตำแหน่งของมันอยู่ หลายคนคงจะเคยได้ยินชื่อของมันมาแล้วว่าสมการชโรดิงเจอร์  

แต่จะเอาสมการชโรดิงเจอร์ 320 สมการของอิเล็กตรอนทุกตัวมาคำนวณพร้อมๆ กันเพื่อทำนายสมบัติของโมเลกุลเนี่ยนะ บ้าไปแล้วหรือเปล่า ต่อให้ถึกขนาดไหนก็ไม่มีทางทำได้ง่ายๆ หรอก วอลเตอร์ คอห์น จึงคิดค้นทฤษฎีขึ้นมาอันหนึ่งเพื่อลดความยุ่งยากตรงนั้น ถ้าเปรียบอิเล็กตรอนเป็นเหมือนเมล็ดดข้าวที่วางเรียงรายอยู่ในถ้วย ทฤษฎีของเขาได้เปลี่ยนเมล็ดข้าวเหล่านั้นให้กลายเป็นกาวแป้งเปียกหนืดๆ แทน

แทนที่จะคำนวณพฤติกรรมของข้าวทีละเมล็ด เขาใช้วิธีการเหมารวมข้าวทั้ง 320 เม็ดเป็นกาวแป้งเปียกเพียงก้อนเดียว จากนั้นก็ใช้ฟังก์ชั่นทางคณิตศาสตร์ระบุหน้าตาของแป้งเปียกก้อนนั้นว่า ตรงไหนที่หนาแน่นมากก็แสดงว่าเมล็ดข้าวกระจุกตัวอยู่มากโดยไม่ต้องสนใจการเคลื่อนที่ของมัน นั่นคือที่มาของ Density Functional Theory นี่เอง

จากการที่ต้องใช้สมการชโรดิงเจอร์ของอิเล็กตรอนทั้ง 320 ตัวมาคำนวณแบบละเอียดยิบ น้องเฌอปรางเลยมองอิเล็กตรอนทุกตัวในโมเลกุลของ Methylene blue เป็นก้อนเดียวกันทั้งหมดแล้วใช้ฟังก์ชั่นทางคณิตศาสตร์เป็นตัวแทนความหนาแน่นของอิเล็กตรอนในโมเลกุลแทน (ทั้งหมดนี้ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เขียนขึ้นมาโดยเฉพาะเข้าช่วย) ผลที่ได้ก็คือเขาสามารถคำนวณสมบัติทางไฟฟ้าเคมีของสารต่างๆ ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนสีของปฏิกิริยา Blue bottle experiment ซึ่งเป็นปฏิกิริยาสำคัญที่ใช้ในการเรียนการสอนวิชาเคมี และถือเป็นทีมวิจัยทีมแรกในโลกที่นำการคำนวณด้วยทฤษฎี DFT มาใช้อธิบายกลไกการเกิดปฏิกิริยาไฟฟ้าเคมีปฏิกิริยานี้

นอกจากน้องจะน่ารัก เต้นเก่ง ร้องเพลงเพราะแล้ว ด้านการเรียนและงานวิจัยของน้องเฌอปรางนี่ถือว่าไม่ธรรมดาเลยนะครับ ใครต้องการกำลังใจในการทำงานเพิ่มเติมนอกจากจะฟังและแอบเต้นเพลงคุกกี้เสี่ยงทางกันพอแล้ว ก็โหลดงานวิจัยของน้องไปอ่านกันต่อได้นะครับ

http://rsos.royalsocietypublishing.org/content/4/11/170708

#อ่านเปเปอร์อยู่นะจ๊ะ #เธอไม่รู้บ้างเลย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่