PM 2.5 ตัวชี้วัดภาวะมลพิษในอากาศของกรุงเทพฯ

PM 2.5 (Fine particulate matter) 2.5 ไมครอน คืออนุภาคขนาดเล็ก ที่ล่องลอยอยู่ในอากาศได้นานกว่า อนุภาคขนาดใหญ่ PM 10 (ขนาด10 ไมครอน) สามารถจะเข้าสู่ส่วนลึกของถุงลมปอดได้ มักจะมีปัญหาในช่วงที่มีหมอกควันเกิดขึ้น (Haze) จากการเผาป่า หรือเตรียมพื้นที่ก่อนทำกสิกรรม สารไฮโดรคาร์บอน ในเขม่าควันที่ลงไปในถุงลมปอด มีหลักฐานว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับมะเร็งปอดครับ
PM 2.5 เป็นหนึ่งตัวแปรในการวัดคุณภาพของอากาศในหลายๆประเทศ (Air Quality Index) ในประเทศสิงคโปร์ ก็มีปํญหา จากหมอกควันของประเทศข้างเคียงที่ลอยเข้าไป มีการตรวจแล้วแจ้งเตือนประชาชนเป็นระยะๆ
ลองมาดูที่กรุงเทพครับ เข้าไปเช็คดูได้เลยตาม link
http://aqicn.org/city/bangkok/
ณ.เวลา13.00น. 25/1/2018
คุณภาพอากาศในกรุงเทพ พิจารณา จาก หลายตัวแปร อนุภาค PM 2.5 โซนสีแดง น่ากลัวกว่าเพื่อน PM 2.5 โซนสีแดง แสดงว่า มีอนุภาคเยอะมากเป็นอันตราย จริงๆ  (very poor)
ตัวแปรวัดคุณภาพอากาศอื่นๆ เช่น อนุภาคขนาดใหญ่ PM 10 ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ คาร์บอนมอนอกไซด์ ไนโตรเจนไดออกไซด์ ระดับโอโซน ระดับสารตะกั่ว ฯลฯ แล้วแต่ข้อกำหนด ของแต่ละประเทศแตกต่างกันไป
ต้องดูด้วยครับว่าเขาวัดที่สถานที่ใดในกรุงเทพ ในรายละเอียดผมยังไม่ได้ตรวจดู ถ้าอยู่ชานเมืองคงไม่มีปัญหาอะไรมั้งครับ แต่ถ้าในเมืองที่อยู่กันแออัด ชุมชนใต้รถไฟฟ้า โดยเฉพาะสถานีรถไฟฟ้าใหญ่ๆ อากาศมันถูกเก็บกักไว้ ระบายอากาศไม่ได้ดี อนุภาคฝุ่นควัน ก็จะฟุ้งอยู่ในบริเวณนั้นหนาแน่นขึ้นเรื่อยๆ อันตรายครับ คงต้องหา เครื่องดูดอากาศ ฟอกอากาศ ขนาดใหญ่จัดตั้งไว้ตามที่ต่างๆ ไม่รู้จะช่วยได้เยอะมากน้อยแค่ไหน ฝากให้อ่านเป็นความรู้ครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่