ถ้าเรามีโรงไฟฟ้า Nuclear ก็เท่ากับว่า เรามีอาวุธ Nuclear ไว้ในครอบครองใช่มั้ยครับ

ถ้าเรามีโรงไฟฟ้า Nuclear ก็เท่ากับว่า เรามีอาวุธ Nuclear ไว้ในครอบครองใช่มั้ยครับ  เพราะว่า

1. เรามีตัวจุดชนวนระเบิด
2. เรามีธาตุวัตถุดิบ

แค่เราคัดลอกแบบทั้งหมดของระบบจุดชนวนระเบิด เอาตัวควบคุมปฏิกิริยาออก เราก็จะได้หัวรบนิวเคลียร์ แบบนี้ใช่มั้ยครับ..... ถ้าเป็นแบบนี้ ก็แสดงว่า ประเทศที่มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ก็มีวิทยาการที่จะสร้างหัวรบนิวเคลียรได้ใช่มั้ยครับ ..... แล้วถ้าไทยมี มันจะอารมนั้นมิยครับ หรือว่า ระบบทุกอย่างมันต่างกันสิ้นเชิง

ถ้าเรามีโรงไฟฟ้า Nuclear ก็เท่ากับว่า เรามีอาวุธ Nuclear ไว้ในครอบครองใช่มั้ยครับ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
ถ้าเรามีโรงไฟฟ้า Nuclear ก็เท่ากับว่า เรามีอาวุธ Nuclear ไว้ในครอบครองใช่มั้ยครับ  เพราะว่า
1. เรามีตัวจุดชนวนระเบิด
2. เรามีธาตุวัตถุดิบ
แค่เราคัดลอกแบบทั้งหมดของระบบจุดชนวนระเบิด เอาตัวควบคุมปฏิกิริยาออก เราก็จะได้หัวรบนิวเคลียร์ แบบนี้ใช่มั้ยครับ.....

พลังงานจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ สามารถมาทำอาวุธนิวเคลียร์ได้รึไม่

ขอกล่าวย้อนความเป็นมาของเรื่อง ธาตุกัมมันตรังสี หน่อยนะครับ
คือว่า  ธาตุ Uranium ที่พบในธรรมชาติ นั้น  จะมีความบริสุทธิ์ของ U-235 เพียง 0.2 - 0.4%  เท่านั้น
ซึ่งนำไปใช้งานอะไรไม่ได้เลย  ดังนั้นเราจะต้องทำกระบวนการหนึ่งเพื่อเพิ่มความบริสุทธ์  หรือ  เพิ่มสัดส่วนของ U-235
ให้มากกว่า 0.2 - 0.4%   เราเรียกว่าขั้นตอนการทำ ยูเรเนียมเสริมสมรรถนะ (Enriched uranium)  เพื่อเพิ่มความเข้มขันของ U-235
ซึ่ง Uranium ที่ใช้ในระบบปฏิกรณ์ Nuclear (ในโรงไฟฟ้า) นั้น จะมีค่าความเข้มข้นของ U-235 =  4 - 5%  และในเรือดำน้ำ
พลังงาน Nuclear จะมีความเข้มข้นอาจถึง 10% ..... ส่วนอาวุธ Nuclear จะต้องการความเข้มขันถึง 90% ++


ดังนั้น  ที่กล่าวไปในวรรคบน  ก็อธิบายได้ว่าเชื้อเพลิง U-235 ในระบบปฏิกรณ์ Nuclear ของโรงไฟฟ้า  
ไม่สามารถนำมาทำอาวุธนิวเคลียร์ได้ครับ  เพราะเชื้อเพลิงยูเรเนี่ยมที่มีความความเข้มข้นต่ำเกินไป
มันจะไม่สามารถสร้างปฏิกิริยาลูกโซ่ได้รุนแรงเหมือนอาวุธนิวเคลียร์ครับ   ระบบในโรงไฟฟ้านั้นหากเกิดความเสียหายมาก
จนโครงสร้างเตาปฏิกรณ์เสียหายฉีกขาด ..... พวกเชื้อเพลิง U-253 เหล่านั้นก็จะขาดการควบคุมปฏิกิริยา  ทำให้เกิดความร้อน
ที่คุมไม่ได้  เรียกว่า  " Melt down "  ซึ่งการ melt down ของ U-235 นี้  จะทำให้เกิดการรั่วของกัมมันตภาพรังสี
อย่างมากมายเหมือนที่เราเห็นตามข่าวเก่า ๆ นั่นเองโดยมันจะไม่  " ระเบิด "  แต่อย่างใดเลยครับ


ถ้าเป็นแบบนี้ ก็แสดงว่า ประเทศที่มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ก็มีวิทยาการที่จะสร้างหัวรบนิวเคลียรได้ใช่มั้ยครับ .....
แล้วถ้าไทยมี มันจะอารมนั้นมิยครับ หรือว่า ระบบทุกอย่างมันต่างกันสิ้นเชิง

ก็ตามที่อธิบายในข้อบนน่ะครับ  ไม่สามารถนำไปสร้างหัวรบนิวเคลียร์ได้เลย
การสร้างหัวรบนิวเคลียร์  ประเทศนั้น ๆ จะต้องมีวิทยาการที่จะทำ ยูเรเนียมเสริมสมรรถนะ ให้ได้เสียก่อน
ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ยากมากอย่างหนึ่ง   แต่อย่างประเทศที่มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์  ก็ไม่ได้หมายความว่า
ประเทศนั้นมี Know how ที่จะทำนะครับ  อย่างประเทศ Armenia  และ  Slovenia ก็มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์  
แต่ออกแบบสร้างโดย Russia

ผมขอยกกระบวนการทำ ยูเรเนียมเสริมสมรรถนะ มาให้ชมเลยนะครับ (ยาวหน่อยนะ)

Uranium   ตามธรรมชาติที่พบนั้น  จะพบในรูปแบบสินแร่ปะปนกับธาตุอื่น ๆ
โดยตัวมันเองแบบ  "ดิบ ๆ"  จากเหมืองที่ขุดเอามาจากใต้ดินนั้น  จะมีลักษณะขาวเงิน มันวาว
แต่มันจะปนอยู่กับก้อนแร่อื่นด้วย  อย่างใน 2 ภาพนี้  เป็นก้อนแร่ที่มี Uranium ปนอยู่  แต่จะมีปนอยู่แค่
0.1 - 1% ของน้ำหนักเท่านั้น

ภาพของ Uranium  ดิบ ๆ จากเหมือง  แบบที่ยังไม่ผ่านกระบวนการใดเลย

ภาพนี้  ในก้อนสีเหลือง ๆ เขียว ๆ คือสายแร่ Uranium


กระบวนการต่อไปจากที่เอาก้อนสินแร่ Uranium มาแล้ว  คือ  จะทำการบดสินแร่พวกนั้นจนเป็นผงละเอียด
แล้วใช้กรด หรือ ด่างเข้มข้นเพื่อชะให้ Uranium ละลายแยกออกมา (เรียกว่าขั้นตอน Leaching)
จากนั้นจึงนำสารละลายที่ได้มาสกัด Uranium  แล้วทำให้มันตะกอนออกมาในรูปของ Uranium Peroxide
ซึ่งมีลักษณะเป็นผงสีเหลือง เรียกกันว่า  " Yellow cake "  โดยที่จุดนี้จะมีความเข้มข้นสูงถึง 70% โดยน้ำหนักทีเดียว

ภาพของ Yellow cake (Uranium Peroxide)  ที่ผ่านกระบวนการ Leaching ด้วยกรดมาแล้ว


ต่อไป .... จาก yellow cake ก็จะผ่านกระบวนการต่อไปที่จะแปลง yellow cake ให้กลายเป็น
Uranium hexafluoride (UF-6)  โดยการใช้ธาตุ fluorine มาผ่านกระบวนซับซ้อนระดับหนึ่งครับ  
โดยคร่าว ๆ คือจะมีกระบวนการใช้ธาตุ fluorine กับ Uranium ให้เกิดเป็นแก้ส UF-6
ซึ่ง UF-6 นี้  จะมีความหนัก หรือ เบา ไม่เท่ากันครับ  ที่ไม่เท่ากันนี้เพราะขึ้นกับ Isotope ของ Uranium ด้วย
ซึ่ง Isotope ของ Uranium จะมี 3 อย่าง คือ  U-234   U-235  และ  U-238   และการแยก gas UF-6
ที่หนักไม่เท่ากันนี้  ทำให้เราได้ Uranium ที่มีความเข้มข้นไม่เท่ากัน คือ  U-235  และ  U-238
โดยกระบวนการแยก 235 กับ 238 นี้  จะใช้กระบวนการหมุนเหวี่ยง (Centrifuge) เพื่อให้ UF-6
ที่มีโมเลกุลหนักกว่า  แยกไปสู่อีกส่วนหนึ่งของเครื่องมือ

ในที่สุด .... เราก็จะได้ U-235 จากกระบวนการ centrifuge นี้ครับ
โดยจะนำผง U-235 นี้  ไปเข้ากระบวนการ  " อัดเม็ด "  และเมื่อมาถึงจุดนี้แล้ว
เราจึงเห็นผง U-235 ที่ผ่านกระบวนการ centrifuge มาหลายชั้นจนเป็นเม็ดสีดำ ๆ  
เรียกว่า Fuel pellet  ตามภาพล่างนี้ครับ


กระบวนการสุดท้าย  ก็คือเอา fuel pellet  มาห่อหุ้มบรรจุในท่อที่ทนทานต่อแรงอัด
อุณหภูมิ และ  การสึกกร่อน เรียกว่า แท่งเชื้อเพลิง (Fuel rod) จากนั้นก็เอา Fuel rod  หลายแท่ง
มาประกอบเป็นมัดเชื้อเพลิง (Fuel assembly)  เพื่อนำไปใช้ในเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ต่อไปครับ

ภาพแสดงถึงการนำ fuel pellet มาใส่ใน Fuel rod  และเอามามัดรวมกันเป็น Fuel assembly


ที่กล่าวไปทั้งหมด  เป็นแค่ความเข้มข้นระดับที่ใช้ในโรงไฟฟ้าเท่านั้น
ส่วนที่เข้มข้นแบบ Weapon grade ผมยังไม่เห็นมีเปิดเผยที่ใหนเลยครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่