เราสามารถวัดระยะทาง จาก โลก ถึง ดาวบนท้องฟ้า ได้อย่างไร

กระทู้สนทนา
การที่จะใช้ยานเคลื่อนออกไปดวงดาวนั้นๆ ก็ทำได้ยากเพราะอยู่ห่างหลายปีแสง
คือ 1 วินาที แสงยังเดินทางได้ 3 แสนกิโลเมตร  แล้วใน 1 ปีแสงจะเดินทางได้ไกลแค่ไหน แล้ว มันเป็น 10 ปี 20 ปี 30 ปี หรือมากกว่านั้น ระยะทางที่ดวงดาวอยู่จะไกลแค่ไหน

ดังนั้นจึงมีวิธีการที่เรียกว่า แพรัลแลกซ์
คือ

http://www.lesacd.in.th/3/nature_ligth/star_properties/pararax.jpg

โลก จะอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ เขาเรียกว่า 1 หน่วยดาราศาสตร์ หรือ 1 A.U.

แล้วพอโลกเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ได้ครึ่งรอบ หรือใช้เวลาครึ่งปี โลกก็จะอยู่ตรงข้ามตำแหน่งเดิม  ลากเป็นรูปสามเหลี่ยม
เราก็จะทราบมุม แพรัลแลกซ์ P ได้  แต่ถ้ามีคนบอกมุมยอดทั้งหมด มันจะคือ 2p  เราต้องใช้ p เดียว
โดย p คือมุมในหน่วย ฟิลิปดา นะ

สูตร การหา tan  ปกติ    คือ tan(p) = 1 A.U./d  หรือ   tan(p) = 1/d  
โดย d คือระยะห่างระหว่างดาวที่จะหา กับดวงอาทิตย์  ซึ่งถ้าอยู่ไกลมาก ก็จะเสมือนว่าโลกกับดวงอาทิตย์ ก็เป็นจุดเดียวกัน ดังนั้น
ห่างดวงอาทิตย์ ก็เหมือนห่างโลก ใช้การประมาณเอา

โดยเมื่ออยู่ไกลมากมุม p ก็จะมีค่าน้อย  ดังนั้นจึงประมาณอีก ว่า tan (p) = p

ดังนั้นจะได้ว่า   p=1/d

หรือ d=1/p        หรือพูดง่ายๆว่า  เอา 1/ มุมที่เป็นฟิลิปดา     ก็จะได้ระยะทางเป็นหน่วย พาร์เซค    แต่ทว่า นิยามว่า 1 พาร์เซค = 3.26 ปีแสง

ดังนั้นต้องเอาค่าที่ได้ x ด้วย 3.26  หน่วยจึงเป็น ปีแสง

หรือเอารวบรัด  d=3.26/มุมแพรัลแลกซ์(ฟิลิปดา)    หน่วยปีแสง
หรือ ระยะทางปีแสง  d=3.26/p  

หลายคนคง งง ว่า ปีแสงคือเวลา    แต่ไม่ใช่ ปีแสงคือระยะทาง   ที่แสงเดินทางได้ในเวลา 1 ปี
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่