อ่านข่าวการศึกษาของไต้หวันวันนี้ เห็นว่าน่าสนใจดี
และมีหลายอย่างคล้ายๆกับปัญหาการศึกษาบ้านเรา เลยเอามาแปลให้อ่านกันค่ะ
จำนวนผู้เข้าเรียนบัณฑิตศึกษา เอกภาษาและวรรณคดีจีน และเอกวรรณกรรมไต้หวันลดลง แนวคิดที่ว่าเรียนไปเพื่อใช้ทำงานกระทบสาขาวิชาทางสายศิลปศาสตร์อย่างมาก
--------------
กระทรวงศึกษาธิการไต้หวันประกาศจำนวนนักศึกษาใหม่ในระดับอุดมศึกษาประจำปีการศึกษา2017 พบว่า อัตราการเข้าเรียนป.โทเอกจีนเอกไต้หวันลดลงทุกมหาลัย โดยม.จี้หนานมีอัตรานศ.ใหม่ป.โทแค่ 9% ม.เฉิงต้ามีอัตรานศ.ใหม่ป.เอกเพียง30% และม.เอกชนหลายแห่งก็มีอัตรานศ.ใหม่ป.โทแค่ 20-30% เท่านั้น
รศ.เถาอวี้ผู หัวหน้าภาควิชาภาษาและวรรณคดีจีน ม.จี้หนานให้ความเห็นต่อเรื่องนี้ว่า
ไต้หวันจัดแบ่งสาขาเรียนในมหาลัยเป็นสาขาที่มีประโยชน์กับไร้ประโยชน์ สาขาที่จบแล้วหางานง่ายกับหางานยาก ทำให้กระทบสาขาวิชาสายศิลปศาสตร์(มนุษยศาสตร์ อักษรศาสตร์)เป็นอย่างมาก รัฐบาลไต้หวันต้องการให้มีการเชื่อมโยงกันระหว่างวิชาชีพและวิชาการ โดยทำให้มหาลัยกลายเป็นศูนย์ฝึกวิชาชีพ แต่มหาลัยควรจะเป็นฝ่ายนำผู้ประกอบการ ควรเป็นผู้ศึกษาวิจัยบุกเบิกก่อน "ไม่ควรใช้แนวคิดที่ว่าเรียนเพื่อนำไปใช้งาน(เรียนเพื่อป้อนตลาดแรงงาน)เพียงอย่างเดียว มาเป็นตัวกำหนดทิศทางการจัดการศึกษาของประเทศ"
มหาลัยในพื้นที่ห่างไกลเองก็ไม่มีแรงดึงดูดนักศึกษา ม.จี้หนานไม่ใช่มหาลัยในเมืองหลวง ลูกหลานคนเมืองหลวงก็อยากกลับไปอยู่เมืองหลวง ในรอบรัศมี50กม.ของม.จี้หนานนั้นไม่มีมหาลัยอื่นๆอีก หนังสือเอกสารวิชาการก็ไม่สามารถแชร์กันได้อย่างม.ในเมืองหลวง จึงทำให้ม.ในพื้นที่ห่างไกลถูกมองว่าขาดแคลนทรัพยากรทางการศึกษา ซึ่งก็เป็นปัญหาอย่างมาก นอกจากขาดแคลนนักศึกษาแล้ว ก็ยังขาดแคลนคนที่จะมาทำงานเป็นผู้ช่วยในสาขาด้วย คนที่เรียนจบไปแล้วก็ไม่อยากกลับมาทำงานที่นี่
นักศึกษาหลายคนเมื่อสอบติดที่ม.รัฐแห่งอื่น ก็ไม่อยากอยู่เรียนต่อป.โท ป.เอกที่ม.จี้หนาน เคยมีนักศึกษาเรียนดีคนหนึ่ง สอบติดทั้งม.จงซานและม.จี้หนาน ตัวนศ.เองตัดสินใจจะอยู่เรียนที่ม.จี้หนาน แต่กลับถูกแม่ตำหนิยกใหญ่ เพราะแม่อยากให้เรียนที่ม.จงซานซึ่งอยู่ใกล้บ้านมากกว่า
เอกจีนไม่ใช่ไม่มีประโยชน์ เพียงแต่ทุกคนมักคิดถึงเอกจีนโดยยึดเอาคำจำกัดความตายตัวมาตัดสิน ในโลกยุคAIในอนาคต สาขาวิชาทางศิลปศาสตร์จะเป็นสาขาที่โดดเด่น เอกจีนยังคงมีอยู่ต่อไปได้ ยกตัวอย่างเช่น มีคนจบเอกจีนตอนนี้ไปทำงานเป็นผู้ฝึกภาษาให้กับหุ่นยนต์
สำหรับม.เจิ้งต้านั้น เมื่อปีที่แล้วมีนศ.ป.เอกเข้าเรียนเพียง50% ศ.ฟ่านหมิงหรู ผอ.บัณฑิตศึกษาเอกไต้หวันกล่าวว่า ในสองสามปีที่ผ่านมานี้เมื่อเริ่มมีการใช้อัตราการรับเข้าเรียนและอัตราผู้ลงทะเบียนเป็นนศ.ใหม่มาเป็นตัวชี้วัด ก็มักจะถูกตีความว่าที่มีคนมาเรียนน้อยลงนั้นเป็นเพราะไม่มีใครอยากมาเรียน แต่ไม่มีใครตีความว่ามหาลัยใช้เกณฑ์ในการคัดเลือกที่เข้มข้น จึงทำให้กลายเป็นว่ากระทรวงศึกษาธิการบังคับเราให้เรา"ต้องรับนักศึกษาให้เต็มอัตรา ไม่ใช่รับนักศึกษาที่มีคุณภาพ" แต่การรับนักศึกษาที่ไม่เหมาะสมมาต่างหาก ที่จะเป็นผลเสียต่ออนาคตนักศึกษาและเป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากรทางการศึกษาขั้นสูง
ศ.ถูเยี่ยนชิว หัวหน้าภาควิชาภาษาจีนม.เจิ้งต้ากล่าวว่า สาเหตุที่อัตราเข้าเรียนของนศ.ป.เอกเอกจีนม.เจิ้งต้าน้อยนั้น เป็นเพราะไม่มีระบบนศ.ตัวสำรอง บวกกับอัตรานศ.ตัวจริงของม.แห่งชาติไต้หวันก็สูงเกินไป ซึ่งปรากฎการณ์นี้เกิดขึ้นเกือบทุกปี แต่เพื่อรักษาระดับมาตรฐานของบัณฑิตวิทยาลัย ทางม.ก็ไม่เคยเปิดใช้ระบบนศ.ตัวสำรองมาหลายปีแล้ว
ปัญหาเด็กเอกจีนหางานยากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ น่าจะเกี่ยวกับการที่มีอัตราการเกิดน้อยลงและปัญหาเศรษฐกิจของประเทศร่วมด้วย ผลกระทบจากอัตราการเกิดที่น้อยลงนั้นทำให้มีการลดจำนวนชั้นเรียนระดับประถมและมัธยมลง จึงกระทบต่อการหางานทำของเด็กเอกจีนแน่นอน เพราะเด็กเอกจีนส่วนใหญ่เรียนจบไปก็ทำงานเป็นครูสอนภาษาจีน
ศ.เฉินอวี้เฟิง หัวหน้าภาควิชาวรรณกรรมไต้หวันกล่าวว่า ผลกระทบจากแนวโน้มสังคม ทำให้จากเดิมเมื่อสิบกว่าปีก่อนมีคนมาเรียนป.โทจำนวนมาก แต่ต่อมาจำนวนนศ.ป.โท ป.เอกก็ลดลง 15% ทุกปี เพราะทางฝ่ายผู้ประกอบการสะท้อนมาว่าความสามารถของเด็กป.โทก็ไม่ได้สูงเท่าไหร่ แต่กลับเรียกร้องเงินเดือนสูง นับวันจึงยิ่งไม่ค่อยชอบรับสมัครเด็กป.โทขึ้นเรื่อยๆ
อัตราการเข้าเรียนป.เอกเอกวรรณกรรมไต้หวันที่ต่ำนั้น เป็นเพราะได้รับแรงกดดันทั้งจากระบบและโลกความเป็นจริง การเรียนสายอักษรศาสตร์นั้น กว่าจะเรียนมาถึงระดับป.เอกได้ก็มักจะอายุมากแล้ว ซ้ำยังต้องรับมือจากข้อเรียกร้องของระบบที่"พยายามทำให้เหมือนกัน"อีกด้วย ปัจจุบันมหาลัยให้ความสำคัญต่อการเชื่อมโยงกับความเป็นสากล ทำให้เอกวรรณกรรมไต้หวันที่ให้ความสำคัญเฉพาะพื้นที่นั้นต้องแบกรับแรงกดดันที่สูงเกินไป แม้จะมีนศ.สอบเข้าได้แต่ก็ไม่มารายงานตัว เพราะแบกรับแรงกดดันไม่ไหว หรือเรียนได้ครึ่งทางก็ลาออกไป นอกจากนี้ การรับสมัครอาจารย์มหาลัยในแต่ละครั้งก็มีคนมาสมัครมากถึง 20-30 คน ตำแหน่งงานน้อยแต่มีคนต้องการมาก การจะหางานอาจารย์มหาลัยนั้นยากมาก
รศ.จางเสวี่ยโหรว หัวหน้าภาควิชาภาษาจีนม.ซื่อซินกล่าวว่า เด็กที่เขารักเรียนมากจริงๆก็แน่นอนว่าต้องไปสอบเข้าเรียนต่อบัณฑิตศึกษาของม.รัฐ มีน้อยมากที่จะอยู่เรียนต่อที่นี่ มีประมาณ 2-3 คนเท่านั้น นศ.ที่จบป.ตรีจากม.รัฐก็ไม่มีทางที่จะมาเรียนป.โทเอกจีนที่ม.ซื่อซิน แหล่งนักศึกษาของเราจึงมีจำกัดมาก
ที่มา :
https://udn.com/news/story/6925/2941575
-----------------
ข้อมูลเพิ่มเติมจากการแปลข่าว
1.อัตราการเข้าเรียนในที่นี้คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ เช่น มหาลัยตั้งเป้าไว้ว่าจะรับนศ.100คน แต่มีนศ.ใหม่มารายงานตัวแค่20คน แบบนี้คือ 20% (สอบติด แต่ไม่มารายงานตัวก็ไม่นับ)
2.การรับนักศึกษาที่ไต้หวันบางแห่งจะมีระบบตัวจริงกับตัวสำรอง ถ้าตัวจริงไม่มารายงานตัว ตัวสำรองก็ได้เข้าเรียนแทนตามลำดับ นศ.ตัวสำรองคืออาจจะไม่ผ่านมาตรฐานบางเกณฑ์หรือคะแนนเกือบผ่านแล้ว พอจะอะลุ่มอล่วยให้ได้ ม.บางแห่งก็ไม่ใช้ระบบนี้ ถ้านศ.ไม่ถึงมาตรฐานคือไม่รับเลย ยอมมีนศ.น้อยดีกว่าลดมาตรฐานตัวเองลง
แก้ไขคำผิดค่ะ
[ข่าวการศึกษา] คนเรียนเอกจีนน้อยลง แนวคิดที่ว่าเรียนเพื่อเอาไปใช้ทำงานกระทบต่ออัตราการเข้าเรียนศิลปศาสตร์/มนุษยศาสตร์
และมีหลายอย่างคล้ายๆกับปัญหาการศึกษาบ้านเรา เลยเอามาแปลให้อ่านกันค่ะ
จำนวนผู้เข้าเรียนบัณฑิตศึกษา เอกภาษาและวรรณคดีจีน และเอกวรรณกรรมไต้หวันลดลง แนวคิดที่ว่าเรียนไปเพื่อใช้ทำงานกระทบสาขาวิชาทางสายศิลปศาสตร์อย่างมาก
--------------
กระทรวงศึกษาธิการไต้หวันประกาศจำนวนนักศึกษาใหม่ในระดับอุดมศึกษาประจำปีการศึกษา2017 พบว่า อัตราการเข้าเรียนป.โทเอกจีนเอกไต้หวันลดลงทุกมหาลัย โดยม.จี้หนานมีอัตรานศ.ใหม่ป.โทแค่ 9% ม.เฉิงต้ามีอัตรานศ.ใหม่ป.เอกเพียง30% และม.เอกชนหลายแห่งก็มีอัตรานศ.ใหม่ป.โทแค่ 20-30% เท่านั้น
รศ.เถาอวี้ผู หัวหน้าภาควิชาภาษาและวรรณคดีจีน ม.จี้หนานให้ความเห็นต่อเรื่องนี้ว่า
ไต้หวันจัดแบ่งสาขาเรียนในมหาลัยเป็นสาขาที่มีประโยชน์กับไร้ประโยชน์ สาขาที่จบแล้วหางานง่ายกับหางานยาก ทำให้กระทบสาขาวิชาสายศิลปศาสตร์(มนุษยศาสตร์ อักษรศาสตร์)เป็นอย่างมาก รัฐบาลไต้หวันต้องการให้มีการเชื่อมโยงกันระหว่างวิชาชีพและวิชาการ โดยทำให้มหาลัยกลายเป็นศูนย์ฝึกวิชาชีพ แต่มหาลัยควรจะเป็นฝ่ายนำผู้ประกอบการ ควรเป็นผู้ศึกษาวิจัยบุกเบิกก่อน "ไม่ควรใช้แนวคิดที่ว่าเรียนเพื่อนำไปใช้งาน(เรียนเพื่อป้อนตลาดแรงงาน)เพียงอย่างเดียว มาเป็นตัวกำหนดทิศทางการจัดการศึกษาของประเทศ"
มหาลัยในพื้นที่ห่างไกลเองก็ไม่มีแรงดึงดูดนักศึกษา ม.จี้หนานไม่ใช่มหาลัยในเมืองหลวง ลูกหลานคนเมืองหลวงก็อยากกลับไปอยู่เมืองหลวง ในรอบรัศมี50กม.ของม.จี้หนานนั้นไม่มีมหาลัยอื่นๆอีก หนังสือเอกสารวิชาการก็ไม่สามารถแชร์กันได้อย่างม.ในเมืองหลวง จึงทำให้ม.ในพื้นที่ห่างไกลถูกมองว่าขาดแคลนทรัพยากรทางการศึกษา ซึ่งก็เป็นปัญหาอย่างมาก นอกจากขาดแคลนนักศึกษาแล้ว ก็ยังขาดแคลนคนที่จะมาทำงานเป็นผู้ช่วยในสาขาด้วย คนที่เรียนจบไปแล้วก็ไม่อยากกลับมาทำงานที่นี่
นักศึกษาหลายคนเมื่อสอบติดที่ม.รัฐแห่งอื่น ก็ไม่อยากอยู่เรียนต่อป.โท ป.เอกที่ม.จี้หนาน เคยมีนักศึกษาเรียนดีคนหนึ่ง สอบติดทั้งม.จงซานและม.จี้หนาน ตัวนศ.เองตัดสินใจจะอยู่เรียนที่ม.จี้หนาน แต่กลับถูกแม่ตำหนิยกใหญ่ เพราะแม่อยากให้เรียนที่ม.จงซานซึ่งอยู่ใกล้บ้านมากกว่า
เอกจีนไม่ใช่ไม่มีประโยชน์ เพียงแต่ทุกคนมักคิดถึงเอกจีนโดยยึดเอาคำจำกัดความตายตัวมาตัดสิน ในโลกยุคAIในอนาคต สาขาวิชาทางศิลปศาสตร์จะเป็นสาขาที่โดดเด่น เอกจีนยังคงมีอยู่ต่อไปได้ ยกตัวอย่างเช่น มีคนจบเอกจีนตอนนี้ไปทำงานเป็นผู้ฝึกภาษาให้กับหุ่นยนต์
สำหรับม.เจิ้งต้านั้น เมื่อปีที่แล้วมีนศ.ป.เอกเข้าเรียนเพียง50% ศ.ฟ่านหมิงหรู ผอ.บัณฑิตศึกษาเอกไต้หวันกล่าวว่า ในสองสามปีที่ผ่านมานี้เมื่อเริ่มมีการใช้อัตราการรับเข้าเรียนและอัตราผู้ลงทะเบียนเป็นนศ.ใหม่มาเป็นตัวชี้วัด ก็มักจะถูกตีความว่าที่มีคนมาเรียนน้อยลงนั้นเป็นเพราะไม่มีใครอยากมาเรียน แต่ไม่มีใครตีความว่ามหาลัยใช้เกณฑ์ในการคัดเลือกที่เข้มข้น จึงทำให้กลายเป็นว่ากระทรวงศึกษาธิการบังคับเราให้เรา"ต้องรับนักศึกษาให้เต็มอัตรา ไม่ใช่รับนักศึกษาที่มีคุณภาพ" แต่การรับนักศึกษาที่ไม่เหมาะสมมาต่างหาก ที่จะเป็นผลเสียต่ออนาคตนักศึกษาและเป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากรทางการศึกษาขั้นสูง
ศ.ถูเยี่ยนชิว หัวหน้าภาควิชาภาษาจีนม.เจิ้งต้ากล่าวว่า สาเหตุที่อัตราเข้าเรียนของนศ.ป.เอกเอกจีนม.เจิ้งต้าน้อยนั้น เป็นเพราะไม่มีระบบนศ.ตัวสำรอง บวกกับอัตรานศ.ตัวจริงของม.แห่งชาติไต้หวันก็สูงเกินไป ซึ่งปรากฎการณ์นี้เกิดขึ้นเกือบทุกปี แต่เพื่อรักษาระดับมาตรฐานของบัณฑิตวิทยาลัย ทางม.ก็ไม่เคยเปิดใช้ระบบนศ.ตัวสำรองมาหลายปีแล้ว
ปัญหาเด็กเอกจีนหางานยากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ น่าจะเกี่ยวกับการที่มีอัตราการเกิดน้อยลงและปัญหาเศรษฐกิจของประเทศร่วมด้วย ผลกระทบจากอัตราการเกิดที่น้อยลงนั้นทำให้มีการลดจำนวนชั้นเรียนระดับประถมและมัธยมลง จึงกระทบต่อการหางานทำของเด็กเอกจีนแน่นอน เพราะเด็กเอกจีนส่วนใหญ่เรียนจบไปก็ทำงานเป็นครูสอนภาษาจีน
ศ.เฉินอวี้เฟิง หัวหน้าภาควิชาวรรณกรรมไต้หวันกล่าวว่า ผลกระทบจากแนวโน้มสังคม ทำให้จากเดิมเมื่อสิบกว่าปีก่อนมีคนมาเรียนป.โทจำนวนมาก แต่ต่อมาจำนวนนศ.ป.โท ป.เอกก็ลดลง 15% ทุกปี เพราะทางฝ่ายผู้ประกอบการสะท้อนมาว่าความสามารถของเด็กป.โทก็ไม่ได้สูงเท่าไหร่ แต่กลับเรียกร้องเงินเดือนสูง นับวันจึงยิ่งไม่ค่อยชอบรับสมัครเด็กป.โทขึ้นเรื่อยๆ
อัตราการเข้าเรียนป.เอกเอกวรรณกรรมไต้หวันที่ต่ำนั้น เป็นเพราะได้รับแรงกดดันทั้งจากระบบและโลกความเป็นจริง การเรียนสายอักษรศาสตร์นั้น กว่าจะเรียนมาถึงระดับป.เอกได้ก็มักจะอายุมากแล้ว ซ้ำยังต้องรับมือจากข้อเรียกร้องของระบบที่"พยายามทำให้เหมือนกัน"อีกด้วย ปัจจุบันมหาลัยให้ความสำคัญต่อการเชื่อมโยงกับความเป็นสากล ทำให้เอกวรรณกรรมไต้หวันที่ให้ความสำคัญเฉพาะพื้นที่นั้นต้องแบกรับแรงกดดันที่สูงเกินไป แม้จะมีนศ.สอบเข้าได้แต่ก็ไม่มารายงานตัว เพราะแบกรับแรงกดดันไม่ไหว หรือเรียนได้ครึ่งทางก็ลาออกไป นอกจากนี้ การรับสมัครอาจารย์มหาลัยในแต่ละครั้งก็มีคนมาสมัครมากถึง 20-30 คน ตำแหน่งงานน้อยแต่มีคนต้องการมาก การจะหางานอาจารย์มหาลัยนั้นยากมาก
รศ.จางเสวี่ยโหรว หัวหน้าภาควิชาภาษาจีนม.ซื่อซินกล่าวว่า เด็กที่เขารักเรียนมากจริงๆก็แน่นอนว่าต้องไปสอบเข้าเรียนต่อบัณฑิตศึกษาของม.รัฐ มีน้อยมากที่จะอยู่เรียนต่อที่นี่ มีประมาณ 2-3 คนเท่านั้น นศ.ที่จบป.ตรีจากม.รัฐก็ไม่มีทางที่จะมาเรียนป.โทเอกจีนที่ม.ซื่อซิน แหล่งนักศึกษาของเราจึงมีจำกัดมาก
ที่มา : https://udn.com/news/story/6925/2941575
-----------------
ข้อมูลเพิ่มเติมจากการแปลข่าว
1.อัตราการเข้าเรียนในที่นี้คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ เช่น มหาลัยตั้งเป้าไว้ว่าจะรับนศ.100คน แต่มีนศ.ใหม่มารายงานตัวแค่20คน แบบนี้คือ 20% (สอบติด แต่ไม่มารายงานตัวก็ไม่นับ)
2.การรับนักศึกษาที่ไต้หวันบางแห่งจะมีระบบตัวจริงกับตัวสำรอง ถ้าตัวจริงไม่มารายงานตัว ตัวสำรองก็ได้เข้าเรียนแทนตามลำดับ นศ.ตัวสำรองคืออาจจะไม่ผ่านมาตรฐานบางเกณฑ์หรือคะแนนเกือบผ่านแล้ว พอจะอะลุ่มอล่วยให้ได้ ม.บางแห่งก็ไม่ใช้ระบบนี้ ถ้านศ.ไม่ถึงมาตรฐานคือไม่รับเลย ยอมมีนศ.น้อยดีกว่าลดมาตรฐานตัวเองลง
แก้ไขคำผิดค่ะ