++ สาระน่ารู้ ++ หน่วยประมวลผลสมาร์ทโฟน ที่ไม่ได้มีแค่ CPU !!! มีอะไรบ้างมาดูกัน


TechHangOut
กลับมาอีกรอบหลังจาก คุยเรื่อง E-SIM โดยในครั้งนี้ผมกลับมาพูดถึงเรื่องของหน่วยประมวลผลบนสมาร์ทโฟน ที่หลายคนต่างเชื่อว่า CPU ที่ยิ่ง Core มาก สัญญาณนาฬิกามาก ยิ่งทำให้เร็วแรงมากยิ่งขึ้น หรือแม้กระทั่ง GPU ที่หลายคนต่างเชื่อว่ายิ่งสัญญาณนาฬิกาสูง กราฟฟิคยิ่งดีขึ้น…… แบบนั้นจริงหรือปล่าว ? เดี๋ยวผมจะพามารู้จักกับหน่วยประมวลผลให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นแบบ เข้าใจกันง่ายๆกันไปนะครับ ว่าความสำคัญของหน่วยประมวลผลนั้นไม่ได้มีแค่ ความเร็วของ CPU และ GPU. (ขอย้ำ!!! เวอร์ชั่นเข้าใจง่าย ไม่ลงลึก.)

******** CELLULAR MODEM

Cellular Modem เรียกง่ายๆก็คือหนึ่งในตัว รับ-ส่ง สัญญาณความเร็วอินเตอร์เน็ตผ่านซิมการ์ดที่เราใช้กันในชีวิตประจำวันนั่นเอง โดยมีการพัฒนาในด้านของการใช้งาน 3G, 4G-LTE, 5G ที่กำลังจะมาในเร็วๆนี้เช่นกัน. และบางคนอาจสงสัยว่า สมาร์ทโฟนโดยทั่วไปแล้วนั้นรองรับการใช้งาน 4G LTE กันหมดแล้วมันคงไม่ต่างอะไรกันมากหรอกครับ. ซึ่งในโมเด็มที่รองรับ 4G นั้นยังมีข้อแตกต่างภายในย่อยอีกคือ ความเร็วการรับ-ส่ง สัญญาณที่เร็วมาก-น้อย ต่างกันไปในแต่ละโมเด็ม โดยมีการแบ่งอัตราความเร็วแยกออกจากกันที่ทุกคนเรียกกันติดปากว่า Cat.

Cat n (n ย่อมาจาก number.) โดยคำว่า LTE Cat ที่เราคุ้นเคยนี้มาจากคำว่า LTE Categories ที่หมายถึง การแบ่งอัตราความความเร็ว การรับ-ส่ง สัญญาณเป็นลำดับชั้น ยกตัวอย่างง่ายๆนั้นก็คือ หน่วยประมวลผล Kirin 960 ที่เลือกใช้ Cat 12 ที่มีความเร็ว 600 Mbps ในการรับข้อมูล และ Kirin 970 ที่หันมาเลือกใช้ Cat 18 ที่มีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลมากถึง 1.2 Gbps ในการรับข้อมูล. ซึ่งยิ่งค่า Cat ยิ่งมากการรับ-ส่งก็จะยิ่งรวดเร็วขึ้นตาม. (โดยความอินเตอร์เน็ตที่ใช้นั้นต้องเป็นโปรโมชั่นที่มีความในระดับนั้นๆ ถึงสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ.)


VoLTE ที่คนส่วนใหญ่จะเรียกขานลูกเล่นนี้กันว่า การคุยแบบ HD ซึ่งมันก็ถูกตามที่เรียกกันถูกต้องแล้วครับ. โดย VoLTE จะทำการใช้งานการรับสัญญาณเสียงในความเร็วระดับ LTE ทำให้เสียงที่ถูกส่งมานั้นสามารถส่งมาได้รวดเร็วขึ้น ซึ่งทำให้เกิดคุณภาพที่ได้รับมาต่อวินาที มีคุณภาพที่ดีมากยิ่งขึ้น จึงทำให้เกิดเป็นคุณภาพเสียงระดับ HD และ Ultra HD ตามความสามารถของ Cat n. ที่อยู่ในสมาร์ทโฟนเครื่องนั้นและทางผู้ให้บริการเปิดระบบการใช้งานให้กับสมาร์ทโฟนเครื่องนั้นๆด้วยเช่นกัน.

********CPU

CPU ที่เพื่อนๆหลายคนต่างเรียกกันจนติดปาก จริงๆแล้วคำย่อของ CPU มาจากคำว่า Central Processing Unit ที่มีความหมายตามตัวว่า หน่วยประมวลผลกลาง. โดยหน้าที่หลักของ CPU นั้นคือ การควบคุมการทำงานของของสมาร์ทโฟนทั้งระบบ ทั้งในส่วนของการประมวลผลประสิทธิภาพและความเร็วในการทำงาน โดยความเร็วและประสิทธิภาพของ CPU นั้นจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลักพื้นฐานมีดังนี้.

-------- รุ่นของสถาปัตยกรรม CPU


โดยทั่วไปแล้ว การเลือกซื้อสมาร์ทโฟนของคนส่วนใหญ่ต่างไม่มีใครให้ความสำคัญกับชนิดของ CPU ที่เลือกนำมาใส่กันสักเท่าไหร่ โดย Arm-Cortex ผู้ออกแบบสถาปัตยกรรม CPU นั้นได้มีการแบ่ง สถาปัตออกแบบแต่ละระดับเพื่อให้ผู้ผลิตต่างเลือกนำมาใช้ในการผลิตให้เข้ากับการใช้งานตามที่ต้องการได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นต้นกำเนิดก่อนจะมาเป็น Apple A Chips, Qualcomm Snapdragon, MTK Helio, Samsung Exynos และ Huawei Kirin กันทุกวันนี้ให้เราได้ใช้งานกันอย่างสบายใจนั่นเอง. จากการดูกราฟการออกแบบแล้วนั้นจะทำให้เราได้ทราบว่า ตัวเลขที่ระบุความสามารถของ CPU แต่ละตัวนั้นก็คือ ซีรี่ย์เลขด้านหน้าเช่น Arm-Cortex A7… นั้นคือชิพประมวลผลระดับบน, Arm-Cortex A5… คือชิพประมวลผลระดับกลาง และ Arm-Coretex A3.. ชิพประมวลผลระดับล่าง.

-------- ขนาดของ CPU

ที่มาของคำว่า “ตัวเล็ก แต่ต่อยหนัก” เมื่อเราพูดถึงขนาดของการผลิตหน่วยประมวลผล บางคนอาจเข้าใจว่า ยิ่งเล็กมันยิ่งช้าหรือปล่าว ? เพราะยิ่งใหญ่ยิ่งมีพื้นที่การวางสิ่งของได้เพิ่มมากขึ้นสิ เหมือนพื้นที่ภายในบ้านอะไรทำนองนี้!!!!

แต่ในความเป็นจริงแล้วมีอยู่ว่า การที่ชิพประมวลผลนั้นมีขนาดที่เล็กลงเรื่อยๆนั้นหมายความว่า

เทคโนโลยีในการผลิตที่เล็กมากเท่าไหร่ก็ยิ่งใส่จำนวนของชิพได้มากขึ้นในพื้นที่เท่าเดิม ทำให้การใช้พลังงานและความร้อนนั้นลดลง แถมยังได้ประสิทธิภาพการทำงานที่ดีมากขึ้น  (โดยประสิทธิภาพจะดีก็ต้องขึ้นอยู่กับ รุ่นของสถาปัตยกรรมในการผลิตด้วยเช่นกันนะ) ยกตัวอย่างเช่น Qualcomm Snapdragon 652 (Arm-Cortex A72) และ Qualcomm Snapdragon 630 (Arm Cortex A53) ที่เห็นภาพได้ง่ายสุดในปัจจุบันนี้เนื่องจากมีบางแบรนด์เลือกนำชิพเก่ามาใช้. โดยผลที่จะได้มานั้นคือ Qualcomm Snapdragon 652 นั้นสามารถทำงานในส่วนการใช้งานจำพวกประสิทธิภาพที่หนักกว่าได้รวดเร็วกว่า Snapdragon 630 แต่ต้องแลกมาด้วยการบริโภคพลังงานที่มากกว่าเนื่องจาก ขนาดของหน่วยประมวลผลที่ใหญ่กว่านั่นเอง เรียกได้ว่า “ได้อย่าง ก็ต้องเสียอย่าง“

--------ความเร็วของ CPU


“ยิ่งวิ่งเร็ว ยิ่งร้อนแรง“

Clock Speed คือ ความเร็วของสัญญาณนาฬิกาที่สามารถวิ่งไปถึงได้ ซึ่งยิ่งมีค่า Clock Speed ที่สูงมากเท่าไหร่ การทำงานของระบบนั้นก็จะรวดเร็วตามไปด้วยเช่นกัน แต่ต้องแรกมากับความร้อนแฝงข้างใน CPU. โดยทั่วไปแล้ว CPU ทุกรุ่นที่มีการนำมาใช้กับสมาร์ทโฟนนั้น ทางค่ายผู้ผลิตหน่วยประมวลได้ทำการทดสอบก่อนจัดส่งถึงมือผู้ใช้แล้วว่า CPU ตัวนั้นๆ สามารถใช้งาน Clock Speed ได้สูงสุดที่เท่าใด ที่จะไม่ทำให้ CPU เกิดการ Overheat ระหว่างการใช้งาน. แต่เราสามารถวิ่งเร็วได้มากกว่าค่าที่ถูกตั้งไว้ โดยเรียกวิธีนี้ว่า OC ที่จะทำให้การประมวลผลนั้นเร็วยิ่งขึ้น แต่ต้องแรกมาด้วยกับความร้อนที่ตามมาเช่นกัน. (ทางผู้ผลิตส่วนใหญ่จึงเลือกที่จะทำให้ Clock Speed นั้นแปรผันไปกับขนาดของ CPU เพื่อลดความร้อนที่มาจากการทำงานหนักและ เพื่อให้เกิดการทำงานได้ดีที่สุดนั่นเอง.)

********GPU

GPU (Graphics Processing Unit) หรือที่เรารู้จักกันว่า การ์ดจอ. โดยทั่วไปแล้วค่ายผู้ผลิตเลือกที่จะนำเสนอ การ์ดจอของตนเองด้วย ความเร็วของสัญญาณของนาฬิกาที่สูงกว่าค่ายอื่นๆ เป็นปัจจัยหลักเพื่อให้ผู้บริโภคให้ความสนใจ (อารมณ์เดียวกับ CPU เลยก็ว่าได้.) แต่การเลือกหาการ์ดจอนั้นไม่ได้มีแค่การดูความเร็วอย่างเดียว โดยการ์ดจอจะมีปัจจัยหลักพื้นฐานในการเลือกซื้อดังนี้. ขนาดของ GPU และ ความเร็วของ GPU นั้นใช้การคิดในรูปแบบเดียวกับของ CPU ครับ. สามารถเลื่อนขึ้นไปอ่านด้านบนได้ครับ แต่ถ้าใครยังไม่ได้อ่าน กายพร้อม ใจพร้อม เราทำได้ ไปกันเลย…..

----------สมรรถนะของ GPU ต่อวินาที (GFLOPS)

"ยิ่งมากยิ่งดี แต่ต้องนิ่งเสถียร”

GFLOPS ( Giga FLoating point Operations Per Second) คือหน่วยวัดสมรรถนะความแรงของการ์ดจอในเวลา 1 วินาที. โดยการทำงานของ GFLOPS นั้นจะทำงานเป็นหน่วยวัดสมรรถนะในการทำงานของตัวการ์ดจอ ฟล็อปส์จะนับจำนวนชุดคำสั่งในการประมวลผลจำนวนจุดลอยตัว (Floating Point)  ที่สามารถทำได้ใน 1 วินาที.

----------API ที่รองรับ

การรองรับ API มาตรฐานของเทคโนโลยีกราฟฟิคที่มีประสิทธิภาพในปัจจุบันนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญอีกอย่างหนึ่งในการใช้งานด้านกราฟฟิคให้ลื่นไหลเลยก็ว่าได้ (สำหรับมือถือมีผลตอนเล่นเกมเป็นอย่างมาก.) และยิ่งมีการพัฒนาเวอร์ชั่นใหม่ขึ้นเรื่อยๆนั้นยิ่งทำให้ข้อจำกัดของการทำงานในส่วนที่ด้อยของแต่ละ API นั้นลดลง และผลที่ได้คือ การทำงานของกราฟฟิคที่ลื่นไหลมากขึ้นกว่าเวอร์ชั่นเก่า.

-----------DSP

Digital Signal Processor คือหน่วยประมวลสำหรับการประมวลผลคลื่นความถี่เพื่อแปลสภาพคลื่นที่ได้รับมาผ่านการคำนวณจนออกมาเป็นเสียง. โดยเสียงมี 3 ส่วนประกอบหลักๆ ที่ว่านี้คือ ความถี่ เวลา ปริมาณของเสียง. DSP จะคอยทำหน้าที่ในการดูแลการปรุงเสียงให้ออกมาสมบูรณ์โดยมี “ความถี่+เวลา+ปริมาณ” เป็นวัตถุดิบหลัก ซึ่งมันสามารถดึงศักยภาพของเครื่องเสียงออกมาได้อย่างน่าฟัง บางครั้งถึงกับเคลิบเคลิ้มทีเดียว. (DSP และ DAC หลักการทำงานนั้นแยกส่วนกัน ไม่ได้เป็นแบบเดียวกัน อย่าเข้าใจผิดนะ.)

----------ISP

Image Signal Processor คือการประมวลผลภาพดิจิทัล เกี่ยวข้องกับการแปลงข้อมูลรูปที่เป็นสัญญาณแอนะล็อกให้อยู่ในรูปของสัญญาณดิจิทัล เพื่อใช้ในการประมวลผลผ่าน CPU และ ยังนำมาใช้ในการลดปัญหาสัญญาณรบกวนภายในภาพ. ในการแปลงภาพให้เป็นสัญญาณดิจิทัลนั้น ระบบจะนำรูปที่รับเข้ามาไปคำนวณ โดยกระบวนการ Sampling และ Quantization และส่งข้อมูลออกมาในรูปแบบดิจิทัล คอมพิวเตอร์จะเก็บข้อมูลภาพลงหน่วยความจำ โดยการจองหน่วยความจำภายในเครื่องในรูปแบบของอาร์เรย์ โดยค่าในแต่ละช่องของ อาร์เรย์แสดงถึงคุณสมบัติต่างๆของรูปที่จุด พิกเซล นั้นๆ และตำแหน่งของช่อง อาร์เรย์ก็เป็นตัวกำหนดตำแหน่งของจุด พิกเซล ภายในภาพด้วย


โดยมีการนำมาใช้เป็นหน่วยประมวลภาพหลักครั้งแรกในสมาร์ทโฟนอย่าง hTc One ที่มีชื่อเรียกว่า hTc ImageChips และหลังจากนั้นถูกพัฒนาต่อมาเรื่อยๆจาก Qualcomm และ hTc อีกครั้ง จนปัจจุบันนี้กลายเป็น Visual Core สุดอัศฉริยะใน Google Pixel 2/2XL และ Qualcomm Spectra ยอดนิยมของเหล่าผู้ใช้สมาร์ทโฟนในยุคปัจจุบันนี้.

********ETC…..

รวมไปถึงโมเด็มสำหรับการเชื่อมต่อต่างๆที่มีประโยชน์กับผู้ใช้งานเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น Wifi ที่มีการพัฒนาเรื่อยมาในอุปกรณ์พกพา จนในปัจจุบันนั้นสามารถรองรับได้ถึง 2.4 GHz, 5 GHz and 60 GHz และ Bluetooth ที่ตอนนี้มีการพัฒนามาไกลกันถึงรุ่นที่ 5 ที่ช่วยในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างชนิดที่มีระยะไกลมากยิ่งขึ้น รวมถึงจับคู่กับหลากหลายอุปกณ์ได้พร้อมกัน. หรือแม้กระทั่งการรับสัญญาณจากดาวเทียม เพื่อการตรวจหาเป้าหมายที่มีการพัฒนาให้กินพลังงานน้อยลงและรองรับคลื่นสัญญาณได้มากกว่าเดิมเช่นการรองรับ GPS, GLONASS, Beidou, Galileo, QZSS, SBASsatesate.


ขอขอบคุณ ภาพและข้อมูลจาก Qualcomm, Arm, nVidia, Hisilicon, MobileConcepts, hTc เป็นอย่างมากกับข้อมูลช่วยเหลือในครั้งนี้. โดยสาระในครั้งนี้TechHangOut เกริ่นคร่าวๆไว้ก่อนนะครับ เอาพอให้รู้ว่าอะไรที่ควรดูก่อนตัดสินใจเลือกใช้งาน จะได้เป็นประโยชน์ต่อการเลือกช็อปของเพื่อนๆชาว PANTIP กันนะครับ.  

ถูกใจ ติดตามบทความอื่นๆก็ ติดตามพวกเราได้ที่   FACEBOOK เราด้วยนะครับ >>>>>>>>> https://www.facebook.com/Techhangout/


E-SIM สำคัญจริงดิ !
https://ppantip.com/topic/36984303

Review สมาร์ทโฟน

Oneplus 5t
https://ppantip.com/topic/37259802

LG V30+
https://ppantip.com/topic/37186785

LG V30+ VS U11 ทดสอบกล้อง
https://ppantip.com/topic/37159655

Google Pixel 2
https://ppantip.com/topic/37105553
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่