ถามเกี่ยวกับอินเดีย, ปากีสถาน, บังกลาเทศ

อยากทราบว่า อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้อินเดีย, ปากีสถานและบังกลาเทศ มีพัฒนาการทางการเมืองที่ต่างกัน แม้ว่าทั้งสามเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณานิคมอินเดียของอังกฤษเหมือนกัน ซึ่งน่าจะมีส่วนสำคัญในการวางรากฐานทางการเมือง (ในรูปแบบประชาธิปไตย) ให้ทั้งสามประเทศมีรูปแบบและพัฒนาการทางการเมืองออกมาคล้ายๆกันตามไปด้วย ทว่าในความเป็นจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น

ปัจจุบันทั้งสามมีการปกครองในรูปแบบสาธารณรัฐแบบรัฐสภา (Parliamentary Republic) ที่อำนาจส่วนใหญ่อยู่ที่รัฐสภา ประธานาธิบดีที่เป็นประมุขนั้นมักมีบทบาทในเชิงพิธีการ (Ceremonial Role) มากกว่า (อินเดียและปากีสถานเป็นสหพันธรัฐ ส่วนบังกลาเทศเป็นรัฐเดี่ยว) นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร

รูปแบบการปกครองเหมือนกัน ทว่าพัฒนาการทางการเมืองของทั้งสามประเทศนั้นค่อนข้างต่างกัน โดยอาจจะเหมือนกันบ้างในกรณีของปากีสถานและบังกลาเทศ กล่าวคืออินเดียนั้นค่อนข้างเป็นประชาธิปไตยที่มีเสถียรภาพ และมีความต่อเนื่องมาโดยตลอด รัฐธรรมนูญของอินเดียนั้นเป็นฉบับเดียวที่ใช้มาโดยตลอดโดยไม่มีการยกเลิก มีเพียงการแก้ไขเพิ่มเติม ในขณะที่ปากีสถานและบังกลาเทศนั้นเคยมีการปกครองด้วยรัฐบาลทหารอยู่หลายช่วง กรณีของบังกลาเทศอาจจะพอเข้าใจได้ เนื่องจากการได้เอกราชนั้นเป็นไปโดยความรุนแรง มีการทำสงครามประกาศอิสรภาพ ทำให้ทหารยังคงมีบทบาทค่อนข้างมากในทางการเมือง แต่กรณีปากีสถานซึ่งได้เอกราชไล่เลี่ยกับอินเดียนั้นน่าสนใจว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้ทหารเข้ามามีบทบาททางการเมือง ถ้าจะเป็นเพราะสงครามกับอินเดีย ก็น่าสังเกตว่าทำไมทหารจึงไม่มีบทบาททางการเมืองของอินเดียเหมือนในกรณีปากีสถาน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่