ถ้ามองย้อนกลับไปสักห้าปีก่อน เชื่อว่าการเลือกซื้อที่อยู่อาศัยที่ใกล้กับสถานีรถไฟฟ้าสักสถานีคงเป็นโจทย์แรกของใครหลายๆ คน แต่สำหรับวันนี้วันที่เขตเมืองเริ่มมีการขยายตัว โปรเจกต์โครงการรถไฟฟ้าสีต่างๆ แล้วเสร็จหรือเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น มีสถานีที่เป็นจุดตัดสายรถไฟฟ้าหรือที่เรียกว่า อินเตอร์เชนจ์ (Interchange) เกิดขึ้น การเลือกซื้อที่อยู่อาศัยที่ใกล้กับสถานีอินเตอร์เชนจ์ก็ดูจะเป็นเรื่องน่าสนใจอยู่ไม่น้อย
แล้วทำไมการมาของสถานีอินเตอร์เชนจ์ถึงมีความน่าสนใจ? คำตอบอันดับหนึ่งของเรื่องนี้ก็คือ ความสะดวกสบายในการเดินทาง เพราะการเป็นจุดตัดของสายรถไฟฟ้าย่อมหมายความว่าเราสามารถเลือกการเดินทางได้หลายเส้นทางมากขึ้น ส่วนข้อที่สองก็คือเรื่องของความเจริญ เพราะเมื่อมีผู้คนหลั่งไหลเข้ามาใช้บริการสถานีที่เป็นจุดตัดร่วมเพื่อเดินทางต่อไปยังจุดอื่นๆ มากขึ้น ก็ส่งผลให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยในบริเวณนั้นเพิ่มมากขึ้นไปด้วย ซึ่งเหตุผลทั้งสองข้อนี้ก็พอจะเป็นคำตอบที่ใช่ที่สุดสำหรับคนที่กำลังมองหาคอนโดฯ ในปี 2018
และเมื่อทำเลสถานีอินเตอร์เชนจ์กำลังเป็นคำตอบที่น่าสนใจสำหรับคนที่กำลังมองหาคอนโดฯ วันนี้เราจะพาทุกคนมารู้จักและอัปเดตกับสถานี Interchange รอบกรุงเทพฯ ว่ามีที่ไหนบ้าง
1. สยาม (สีเขียวเข้มตัดกับสีเขียวอ่อน)
สยาม สถานีอินเตอร์เชนจ์แห่งแรกของไทยที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อการเดินทางระหว่างสายสีลมและสายสุขุมวิท ถนนที่ติดอันดับท็อปถนนที่รถติดที่สุดในไทยให้เป็นเรื่องที่สะดวก และปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์คนเมืองจากที่เคยต้องทนรถติดเป็นชั่วโมงเวลาจะไปไหนแต่ละครั้ง ก็ย่นระยะเวลาเหลือเพียงหลักนาทีเท่านั้น
ความสะดวกสบายของอินเตอร์เชนจ์สยามก็คือ การที่สามารถเปลี่ยนขบวนสายรถไฟฟ้าได้โดยที่ไม่ต้องออกจากตัวสถานีเพียงแค่เดินขึ้นลงระหว่างชั้น แต่แน่นอนว่าเมื่อมีความเป็นใจกลางเมืองสูง เป็นศูนย์กลางของห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ ราคาที่ดินก็ย่อมถีบตัวสูงตามไปด้วย
2. สีลม-ศาลาแดง (สีเขียวอ่อนตัดกับสีน้ำเงิน)
อินเตอร์เชนจ์หลักของเหล่ามนุษย์เงินเดือน จากเดิมที่มีรถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อนขนส่งคนที่เดินทางจากกรุงเทพฯ ตอนเหนือให้เข้ามาทำงานใจกลางเมืองได้ง่ายขึ้นแค่เพียงสายเดียว ต่อมาเมื่อรถไฟฟ้าใต้ดิน (สายสีน้ำเงิน) เปิดใช้ ก็ช่วยแบ่งเบาการเดินทางของผู้คนจากฝั่งตะวันออกให้เข้ามาทำงานสู่ใจกลางเมืองได้ง่ายด้วยเช่นกัน สำหรับสีลม น่าจะเป็นทำเลที่อยู่อาศัยในฝันของใครหลายคน เพราะจะได้ใช้เวลาเดินทางไปทำงานหรือไปที่อื่นๆ ได้สะดวก แต่เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นสำนักงานหรือบริษัทก็อาจจะทำให้ไม่เหมาะสำหรับเป็นที่อยู่อาศัย
3. อโศก-สุขุมวิท (สีเขียวเข้มตัดกับสีน้ำเงิน)
อโศก-สุขุมวิท ก็เป็นอีกหนึ่งสถานีอินเตอร์เชนจ์สำหรับเหล่ามนุษย์เงินเดือนด้วยเช่นกัน เพราะนอกจากสีลมที่เป็นศูนย์รวมบริษัทห้างร้านแล้ว ย่านสุขุมวิทก็ไม่ต่างกัน การมาของอินเตอร์เชนจ์นี้ทำให้ทำเลนี้จากเดิมที่มีความเป็นแหล่งเศรษฐกิจหลักอยู่แล้ว ยิ่งมีความเติบโตมากยิ่งขึ้น มีการเปิดตัวของห้างสรรพสินค้าใหม่ๆ และขนาดใหญ่ตามลำดับ
4. เพชรบุรี-มักกะสัน (สีน้ำเงินตัดกับ Airport Rail Link )
สถานีอินเตอร์เชนจ์ที่ทำให้การเดินทางไปยังสนามบินสุวรรณภูมิได้ง่ายขึ้น เพราะเชื่อมต่อโดยตรงกับ Airport Rail Link ที่วิ่งเข้าสู่สนามบินสุวรรณภูมิ ช่วงแรกของการใช้บริการสถานีนี้เพื่อเดินทางไปยังสนามบินสุวรรณภูมิอาจจะลำบากสักหน่อย เพราะตัวสถานีของทั้งสองโครงการไม่ได้มีการเชื่อมต่อกัน แต่เมื่อมีการเปิดใช้ Skywalk ที่เชื่อมต่อระหว่างสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินเพชรบุรี และสถานีมักกะสันเมื่อปี 2556 ก็ทำให้การเดินทางเป็นเรื่องง่ายขึ้นทันที
5. หมอชิต-สวนจตุจักร
สำหรับทำเลอินเตอร์เชนจ์นี้เชื่อว่าไม่ต้องอธิบายกันมาก เพราะเป็นการเชื่อมต่อกันระหว่างรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้มกับสีน้ำเงิน รถไฟฟ้าสายหลักของกรุงเทพฯ เป็นอีกทำเลที่เชื่อว่าหลายคนสนใจสำหรับใช้ชีวิต ถึงแม้จะครบถ้วนด้วยตลาดสด ตลาดนัด แต่ด้วยความที่รอบๆ บริเวณส่วนใหญ่เป็นพื้นที่สวนสาธารณะ การเลือกที่อยู่บริเวณนี้จึงอาจจะต้องขยับออกไป
6. บางซื่อ
ว่าที่สถานีหัวลำโพงแห่งใหม่ ที่จะเชื่อมต่อกับโปรเจกต์รถไฟฟ้าเกือบทุกสายในบ้านเรา สถานีนี้เปรียบได้กับสถานีโตเกียวของญี่ปุ่นเพราะเป็นจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าหลายสาย แต่ถึงแม้จะมีความสะดวกสบายในการเดินทาง แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าบางครั้งแอบรู้สึกได้ถึงการใช้ชีวิตที่ต้องเร่งรีบตลอดเวลา
7. เตาปูน Interchange Station
สถานีอินเตอร์เชนจ์น้องใหม่ล่าสุดที่เพิ่งเปิดให้บริการ การมาของเตาปูนอินเตอร์เชนจ์ทำให้การเดินทางระหว่างสายสีม่วงและสีน้ำเงินเป็นเรื่องสะดวกสบายมากขึ้น ข้อดีของเตาปูนที่แตกต่างจากอินเตอร์เชนจ์อื่นก็คือ เป็นสถานีอินเตอร์เชนจ์ที่คล้ายกับสยาม เพียงแค่เดินเปลี่ยนชั้นเท่านั้นก็สามารถเดินทางต่อไปยังสายรถไฟฟ้าสีม่วงหรือสีน้ำเงิน ต่างจากสถานีอินเตอร์เชนจ์อื่นๆ ที่จะต้องใช้วิธีออกจากตัวสถานีเพื่อเปลี่ยนขบวนไปยังรถไฟสายอื่น
เป็นที่น่าสังเกตว่าสถานีเตาปูนอินเตอร์เชนจ์ นอกจากจะเป็นจุดตัดของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสายสีม่วงแล้ว สายสีน้ำเงินนี้ยังเป็นสถานีตั้งต้นและวกกลับจุดเดิมเป็นวงกลม ซึ่งในอนาคตจะเชื่อมต่อแทบทุกสายเหมือนรถไฟฟ้าสายยามาโนเตะ (Yamanote Line) ของประเทศญี่ปุ่น
นอกจากเป็นสถานีอินเตอร์เชนจ์ที่ไม่ต้องออกจากตัวสถานีแล้ว ความน่าสนใจของย่านนี้คือการเป็นชุมชนเก่าแก่ที่มีการค้าขาย ครบถ้วนทั้งห้างร้าน ร้านค้า รวมถึงยังเป็นที่ตั้งของรัฐสภาแห่งใหม่ และมีโครงการขยายถนนเพิ่มขึ้น ทั้งหมดนี้ส่งผลให้เวลานี้ เตาปูนเป็นทำเลที่น่าสนใจสำหรับใครที่กำลังมองหาคอนโดฯ เพื่ออยู่อาศัยเองและสะดวกสำหรับการทำงาน มีความเจริญแต่ในขณะเดียวกันก็เหมาะสำหรับการเป็นที่อยู่อาศัย
สำหรับข้อมูลสถานีอินเตอร์เชนจ์ที่นำเสนอ คงพอจะช่วยให้ทุกคนตัดสินใจเลือกทำเลที่อยู่อาศัยที่ตอบโจทย์ตัวเองได้มากที่สุด แต่สำหรับใครที่กำลังเริ่มสนใจทำเลเตาปูนอินเตอร์เชนจ์ ลองแวะดูโครงการ Niche Pride Taopoon Interchange คอนโดฯ ระดับพรีเมี่ยมติดรถไฟฟ้า เพียง 1 ก้าวถึงรถไฟฟ้า 2 สาย (สีม่วงและสีน้ำเงิน) แห่งแรกย่านเตาปูน-บางซื่อ ทั้งยังใกล้ทางด่วน 5 นาที ใกล้โรงเรียน/มหาวิทยาลัยชั้นนำ รวมถึงบางซื่อคอมเพลกซ์, Tesco Lotus, Big C, ศูนย์การค้า, ร้านค้า, สำนักงาน, โรงแรม และเป็นศูนย์กลางของการเดินทาง
Niche Pride Taopoon Interchange คอนโดฯ ที่มาพร้อมแนวคิด GEO Fit + My Select ที่สามารถปรับเปลี่ยนฟังก์ชันการใช้สอยภายในห้องให้ตรงความต้องการและไลฟ์สไตล์ของผู้อยู่อาศัยมากที่สุด และเป็นคอนโดฯ แห่งแรก กับพื้นที่ส่วนกลาง 30 ชั้น 7 Villages Facallity และพื้นที่ส่วนกลางลอยฟ้าพร้อมวิว Bangkok Scenic แบบ 180 องศา เริ่ม 3.2 ล้านบาท
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร 1775#39 หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
https://goo.gl/QqMQca
[Advertorial]
ส่อง 7 ทำเลสถานี Interchange รอบกรุงเทพฯ ปี 2018 ที่ไหนน่าอยู่บ้าง
ถ้ามองย้อนกลับไปสักห้าปีก่อน เชื่อว่าการเลือกซื้อที่อยู่อาศัยที่ใกล้กับสถานีรถไฟฟ้าสักสถานีคงเป็นโจทย์แรกของใครหลายๆ คน แต่สำหรับวันนี้วันที่เขตเมืองเริ่มมีการขยายตัว โปรเจกต์โครงการรถไฟฟ้าสีต่างๆ แล้วเสร็จหรือเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น มีสถานีที่เป็นจุดตัดสายรถไฟฟ้าหรือที่เรียกว่า อินเตอร์เชนจ์ (Interchange) เกิดขึ้น การเลือกซื้อที่อยู่อาศัยที่ใกล้กับสถานีอินเตอร์เชนจ์ก็ดูจะเป็นเรื่องน่าสนใจอยู่ไม่น้อย
แล้วทำไมการมาของสถานีอินเตอร์เชนจ์ถึงมีความน่าสนใจ? คำตอบอันดับหนึ่งของเรื่องนี้ก็คือ ความสะดวกสบายในการเดินทาง เพราะการเป็นจุดตัดของสายรถไฟฟ้าย่อมหมายความว่าเราสามารถเลือกการเดินทางได้หลายเส้นทางมากขึ้น ส่วนข้อที่สองก็คือเรื่องของความเจริญ เพราะเมื่อมีผู้คนหลั่งไหลเข้ามาใช้บริการสถานีที่เป็นจุดตัดร่วมเพื่อเดินทางต่อไปยังจุดอื่นๆ มากขึ้น ก็ส่งผลให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยในบริเวณนั้นเพิ่มมากขึ้นไปด้วย ซึ่งเหตุผลทั้งสองข้อนี้ก็พอจะเป็นคำตอบที่ใช่ที่สุดสำหรับคนที่กำลังมองหาคอนโดฯ ในปี 2018
และเมื่อทำเลสถานีอินเตอร์เชนจ์กำลังเป็นคำตอบที่น่าสนใจสำหรับคนที่กำลังมองหาคอนโดฯ วันนี้เราจะพาทุกคนมารู้จักและอัปเดตกับสถานี Interchange รอบกรุงเทพฯ ว่ามีที่ไหนบ้าง
1. สยาม (สีเขียวเข้มตัดกับสีเขียวอ่อน)
สยาม สถานีอินเตอร์เชนจ์แห่งแรกของไทยที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อการเดินทางระหว่างสายสีลมและสายสุขุมวิท ถนนที่ติดอันดับท็อปถนนที่รถติดที่สุดในไทยให้เป็นเรื่องที่สะดวก และปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์คนเมืองจากที่เคยต้องทนรถติดเป็นชั่วโมงเวลาจะไปไหนแต่ละครั้ง ก็ย่นระยะเวลาเหลือเพียงหลักนาทีเท่านั้น
ความสะดวกสบายของอินเตอร์เชนจ์สยามก็คือ การที่สามารถเปลี่ยนขบวนสายรถไฟฟ้าได้โดยที่ไม่ต้องออกจากตัวสถานีเพียงแค่เดินขึ้นลงระหว่างชั้น แต่แน่นอนว่าเมื่อมีความเป็นใจกลางเมืองสูง เป็นศูนย์กลางของห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ ราคาที่ดินก็ย่อมถีบตัวสูงตามไปด้วย
2. สีลม-ศาลาแดง (สีเขียวอ่อนตัดกับสีน้ำเงิน)
อินเตอร์เชนจ์หลักของเหล่ามนุษย์เงินเดือน จากเดิมที่มีรถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อนขนส่งคนที่เดินทางจากกรุงเทพฯ ตอนเหนือให้เข้ามาทำงานใจกลางเมืองได้ง่ายขึ้นแค่เพียงสายเดียว ต่อมาเมื่อรถไฟฟ้าใต้ดิน (สายสีน้ำเงิน) เปิดใช้ ก็ช่วยแบ่งเบาการเดินทางของผู้คนจากฝั่งตะวันออกให้เข้ามาทำงานสู่ใจกลางเมืองได้ง่ายด้วยเช่นกัน สำหรับสีลม น่าจะเป็นทำเลที่อยู่อาศัยในฝันของใครหลายคน เพราะจะได้ใช้เวลาเดินทางไปทำงานหรือไปที่อื่นๆ ได้สะดวก แต่เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นสำนักงานหรือบริษัทก็อาจจะทำให้ไม่เหมาะสำหรับเป็นที่อยู่อาศัย
3. อโศก-สุขุมวิท (สีเขียวเข้มตัดกับสีน้ำเงิน)
อโศก-สุขุมวิท ก็เป็นอีกหนึ่งสถานีอินเตอร์เชนจ์สำหรับเหล่ามนุษย์เงินเดือนด้วยเช่นกัน เพราะนอกจากสีลมที่เป็นศูนย์รวมบริษัทห้างร้านแล้ว ย่านสุขุมวิทก็ไม่ต่างกัน การมาของอินเตอร์เชนจ์นี้ทำให้ทำเลนี้จากเดิมที่มีความเป็นแหล่งเศรษฐกิจหลักอยู่แล้ว ยิ่งมีความเติบโตมากยิ่งขึ้น มีการเปิดตัวของห้างสรรพสินค้าใหม่ๆ และขนาดใหญ่ตามลำดับ
4. เพชรบุรี-มักกะสัน (สีน้ำเงินตัดกับ Airport Rail Link )
สถานีอินเตอร์เชนจ์ที่ทำให้การเดินทางไปยังสนามบินสุวรรณภูมิได้ง่ายขึ้น เพราะเชื่อมต่อโดยตรงกับ Airport Rail Link ที่วิ่งเข้าสู่สนามบินสุวรรณภูมิ ช่วงแรกของการใช้บริการสถานีนี้เพื่อเดินทางไปยังสนามบินสุวรรณภูมิอาจจะลำบากสักหน่อย เพราะตัวสถานีของทั้งสองโครงการไม่ได้มีการเชื่อมต่อกัน แต่เมื่อมีการเปิดใช้ Skywalk ที่เชื่อมต่อระหว่างสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินเพชรบุรี และสถานีมักกะสันเมื่อปี 2556 ก็ทำให้การเดินทางเป็นเรื่องง่ายขึ้นทันที
5. หมอชิต-สวนจตุจักร
สำหรับทำเลอินเตอร์เชนจ์นี้เชื่อว่าไม่ต้องอธิบายกันมาก เพราะเป็นการเชื่อมต่อกันระหว่างรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้มกับสีน้ำเงิน รถไฟฟ้าสายหลักของกรุงเทพฯ เป็นอีกทำเลที่เชื่อว่าหลายคนสนใจสำหรับใช้ชีวิต ถึงแม้จะครบถ้วนด้วยตลาดสด ตลาดนัด แต่ด้วยความที่รอบๆ บริเวณส่วนใหญ่เป็นพื้นที่สวนสาธารณะ การเลือกที่อยู่บริเวณนี้จึงอาจจะต้องขยับออกไป
6. บางซื่อ
ว่าที่สถานีหัวลำโพงแห่งใหม่ ที่จะเชื่อมต่อกับโปรเจกต์รถไฟฟ้าเกือบทุกสายในบ้านเรา สถานีนี้เปรียบได้กับสถานีโตเกียวของญี่ปุ่นเพราะเป็นจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าหลายสาย แต่ถึงแม้จะมีความสะดวกสบายในการเดินทาง แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าบางครั้งแอบรู้สึกได้ถึงการใช้ชีวิตที่ต้องเร่งรีบตลอดเวลา
7. เตาปูน Interchange Station
สถานีอินเตอร์เชนจ์น้องใหม่ล่าสุดที่เพิ่งเปิดให้บริการ การมาของเตาปูนอินเตอร์เชนจ์ทำให้การเดินทางระหว่างสายสีม่วงและสีน้ำเงินเป็นเรื่องสะดวกสบายมากขึ้น ข้อดีของเตาปูนที่แตกต่างจากอินเตอร์เชนจ์อื่นก็คือ เป็นสถานีอินเตอร์เชนจ์ที่คล้ายกับสยาม เพียงแค่เดินเปลี่ยนชั้นเท่านั้นก็สามารถเดินทางต่อไปยังสายรถไฟฟ้าสีม่วงหรือสีน้ำเงิน ต่างจากสถานีอินเตอร์เชนจ์อื่นๆ ที่จะต้องใช้วิธีออกจากตัวสถานีเพื่อเปลี่ยนขบวนไปยังรถไฟสายอื่น
เป็นที่น่าสังเกตว่าสถานีเตาปูนอินเตอร์เชนจ์ นอกจากจะเป็นจุดตัดของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสายสีม่วงแล้ว สายสีน้ำเงินนี้ยังเป็นสถานีตั้งต้นและวกกลับจุดเดิมเป็นวงกลม ซึ่งในอนาคตจะเชื่อมต่อแทบทุกสายเหมือนรถไฟฟ้าสายยามาโนเตะ (Yamanote Line) ของประเทศญี่ปุ่น
นอกจากเป็นสถานีอินเตอร์เชนจ์ที่ไม่ต้องออกจากตัวสถานีแล้ว ความน่าสนใจของย่านนี้คือการเป็นชุมชนเก่าแก่ที่มีการค้าขาย ครบถ้วนทั้งห้างร้าน ร้านค้า รวมถึงยังเป็นที่ตั้งของรัฐสภาแห่งใหม่ และมีโครงการขยายถนนเพิ่มขึ้น ทั้งหมดนี้ส่งผลให้เวลานี้ เตาปูนเป็นทำเลที่น่าสนใจสำหรับใครที่กำลังมองหาคอนโดฯ เพื่ออยู่อาศัยเองและสะดวกสำหรับการทำงาน มีความเจริญแต่ในขณะเดียวกันก็เหมาะสำหรับการเป็นที่อยู่อาศัย
สำหรับข้อมูลสถานีอินเตอร์เชนจ์ที่นำเสนอ คงพอจะช่วยให้ทุกคนตัดสินใจเลือกทำเลที่อยู่อาศัยที่ตอบโจทย์ตัวเองได้มากที่สุด แต่สำหรับใครที่กำลังเริ่มสนใจทำเลเตาปูนอินเตอร์เชนจ์ ลองแวะดูโครงการ Niche Pride Taopoon Interchange คอนโดฯ ระดับพรีเมี่ยมติดรถไฟฟ้า เพียง 1 ก้าวถึงรถไฟฟ้า 2 สาย (สีม่วงและสีน้ำเงิน) แห่งแรกย่านเตาปูน-บางซื่อ ทั้งยังใกล้ทางด่วน 5 นาที ใกล้โรงเรียน/มหาวิทยาลัยชั้นนำ รวมถึงบางซื่อคอมเพลกซ์, Tesco Lotus, Big C, ศูนย์การค้า, ร้านค้า, สำนักงาน, โรงแรม และเป็นศูนย์กลางของการเดินทาง
Niche Pride Taopoon Interchange คอนโดฯ ที่มาพร้อมแนวคิด GEO Fit + My Select ที่สามารถปรับเปลี่ยนฟังก์ชันการใช้สอยภายในห้องให้ตรงความต้องการและไลฟ์สไตล์ของผู้อยู่อาศัยมากที่สุด และเป็นคอนโดฯ แห่งแรก กับพื้นที่ส่วนกลาง 30 ชั้น 7 Villages Facallity และพื้นที่ส่วนกลางลอยฟ้าพร้อมวิว Bangkok Scenic แบบ 180 องศา เริ่ม 3.2 ล้านบาท
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร 1775#39 หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://goo.gl/QqMQca
[Advertorial]