(ภาค 2) การให้เกียรติ การได้รับเกียรติ สินสอด การสู่ขอ และพิธีแต่งงาน

ขอต่ออีกหน่อย กับกระทู้ภาคที่แล้วตามหัวข้อข้างบน
กระทู้ภาคที่แล้ว

https://ppantip.com/topic/37259798


         อ้อ...เพื่อให้ชัดเจนไปเลยว่า จขกท. มีความเห็นอย่างไร กับเรื่อง สินสอด การสู่ขอ และ พิธีแต่งงาน
ก็ขอย้ำจุดยืนอีกครั้งว่า จขกท. ให้ความสำคัญกับการให้เกียรติระหว่างคู่รัก  
ข้อสำคัญข้อหนึ่งของการให้เกียรติคือ การกล้าประกาศอย่างชัดเจนต่อญาติพี่น้องผองเพื่อนว่าเป็นอะไรกัน
และการแต่งงานก็เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการประกาศสถานภาพ


          ดังนั้น จขกท.จึงอยู่ทีมแต่งงาน (ซึ่งคำว่า แต่งงานอาจมีได้หลายรูป ตามที่ได้คุยในกระทู้ที่แล้ว)  
และหากสินสอด การสู่ขอ และพิธีแต่งงานประเภทต่าง ๆ ถือเป็นรูปแบบหนึ่งของการให้เกียรติ
จขกท. ก็ไม่ต่อต้าน ไม่คัดค้านค่ะ สนับสนุนด้วย

           ส่วนตัวดิฉันเชื่อว่า ทุกอย่างในชีวิตรวมถึงการแต่งงานก็เช่นกัน

           หากเราทำอย่าง “ประมาณตน” รู้ให้ รู้รับ รู้เกรงใจกันและกัน และทำอยู่ในขอบเขตของฐานะตัวเอง หรือจะพูดง่าย ๆ ตามภาษาสมัยนี้ก็ต้องบอกว่า ทำแบบพอเพียง  ไม่เฟค ไม่เสแสร้ง ไม่หลอกลวง ไม่มัวห่วงหน้าจนก่อหนี้ที่ไม่จำเป็น และเราทำอย่างตั้งใจ ทุ่มเท  ทุกสิ่งอย่างมันก็จะสวยงามได้ตามขนาดในรูปแบบของตนเอง




            หากคู่บ่าวสาวไม่วางแผนปรึกษา เกริ่นคุยเรื่องสินสอด รวมถึงดูทางลมของผู้ใหญ่ฝ่ายกันและกันก่อน
ดิฉันมีข้อสังเกต  จากที่ได้เคยได้เห็น  ได้ยินได้ฟัง ได้อ่านมา  (แหม...อยากเปิดโหวตว่าเพื่อนร่วมบอร์ดที่อยู่ทีมคัดค้าน คัดค้านเพราะอะไร  ?  แต่ทำไม่เป็น แหะ แหะ)  ว่าสิ่งที่จะเจอ และส่งผลให้คน (จำนวนหนึ่ง) ต่อต้านหรือมีปฏิกิริยาด้านลบกับ “สินสอด” คือ

        ผู้ใหญ่ฝ่ายหญิง

    - เรียกหนักเกินไป เกินกำลัง หรือเต็มกำลังจนหลังแอ่นแทบหัก
    - เรียกหนักก็เรื่องหนึ่ง แต่เรียกแล้วไม่คืน พ่อตาแม่ยายริบหมดเกลี้ยง (ซึ่งหากผู้ชายกู้เงินมาวางเป็นสินสอด แล้วเจอหมากเกมส์นี้ นี่คือ ตายสนิทเลยนะคับ)
    - ทำเหมือนเป็นของซื้อของขาย ต่อรองกันเหมือนผักปลา วางราคาโชว์หรา
    - หงายการ์ดผู้ชายจ่ายตลอดรวมซื้อบ้าน ซื้อรถ หรือซื้ออะไรต่อมิอะไรอีกมากมายในชื่อผู้หญิง(หรือบังคับให้เป็นชื่อร่วม)ในทุกสถานการณ์ (แล้วยังจะเรียกมาสินสอดอีกหรือ เฮ้อ...)


งานเข้า

สิ่งที่จะตามมาหลังเหตุการณ์ด้านบน คือ

         -การวิจารณ์ถึงความคู่ควร ไม่คู่ควรของเจ้าสาวกับตัวเงินที่ต้องจ่าย
ตอนนี้เป็นตอนที่ดราม่ายิ่งกว่าละครหลังข่าว ไดอะล็อกประมาณ “จบแค่นี้ งานการแค่นี้ ดูซิ สวยก็ไม่สวย  ยังมาเรียกร้องตั้งขนาดนี้”

         -ขุดประวัติเจ้าสาวด้านลบมา เพื่อสร้างความชอบธรรมในการไม่ให้สินสอดที่ถูกเรียกร้อง “โอ๊ย...คนนี้น่ะ มีแฟนมาแล้วเจ็ดคน ลูกชั้นเป็นคนที่แปด เรียกสินสอด ราวกับเป็นนางฟ้าผ่องผุดพิสุทธิ์ใสมาจากไหน” (ตอนนี้ จะมีประเด็นเรื่องบริสุทธิ์ไม่บริสุทธิ์ตามมาอีก)

มึนตึ๊บ

        -เหมาเอาเลยว่า ครอบครัวฝ่ายหญิงเห็นแก่เงินขายลูกสาวกิน (โดยอาจไม่ทันได้ฉุกคิดถึงเหตุผลว่า ทำไมครอบครัวฝ่ายหญิงถึงเรียกสินสอดจำนวนนั้น) ในพันทิป เราก็จะคุ้น ๆ กับความคิดเห็นประเภท “คร้าบบบบ...ค่าน้ำนมผู้หญิง ผู้ชายก็ไม่ใช่ตุ๊ดตู่ เกิดจากรูกระบอกไม้ไผ่นะครับ  กินนมมาเหมือนกัน”


        ถ้ารอดจากขั้นตอนนี้ไปจนได้แต่งงานกัน  ก็จะเป็นการเริ่มต้นชีวิตที่มีรอยร้าวรอยใหญ่ระหว่างสองครอบครัว อาจจะมีการตั้งแง่รังเกียจลูกสะใภ้ จนถึงการหมายใจเอาไว้ว่า “เอาเถอะ สมบัติที่เหลืออยู่ ก็อย่าหวังเลยว่าจะให้ กลัวจริง ๆ ลูกชายแต่งกับบ้านปลิง”
ผมจะไม่ยุ่ง

         น่าสงสารและน่าเห็นใจนะคะ ที่คู่บ่าวสาวจะต้องเริ่มชีวิตแต่งงานแบบนี้
พาพันเศร้า

          แต่ชีวิตคู่คือ สมองคู่ดูโอค่ะ สองหัวดีกว่าหัวเดียว  หากคู่บ่าวสาวคุย ปรึกษา เกริ่น และวางแผนการคุยกันก่อน และคุยกับผู้ใหญ่ก่อน คุยให้ละเอียดทุกข้อ ทุกปม  ปัญหาพวกนี้ ก็จะไม่มี  

        ถามว่าคุย ควรคุยอะไรบ้าง
       - ค่าใช้จ่ายในงานแต่งงานใครออก ?
       - ต้องการสินสอดไหม ต้องการเท่าไร และจะคืนไหม ? อันนี้ ฝ่ายเจ้าสาวควรเป็นคนเกริ่นถามกับทางบ้านของตัวเอง  ถ้าให้ผู้ชายถาม เดี๋ยวเค้าถามทื่อ ๆ ผู้ใหญ่จะมองว่า “เจ้านี่มันงก ใจไม่ถึงนี่หว่า” แล้วจะเสียความรู้สึกกันไป


         เพื่อนดิฉันคนหนึ่ง ตอนจะแต่งกับสามี (รู้สึกตอนจะแต่งนั้นก็ท้องได้สามสี่เดือนแล้วมั้ง) ฝ่ายผู้ใหญ่ผู้ชายไปสู่ขอ โดนเรียกสินสอดไปเจ็ดหลัก มีการต่อรองกันด้วยว่า “หากผู้ใหญ่ฝ่ายหญิง อยากได้หน้า จะเอามาวางโชว์ให้ แต่จบงานแล้วขอคืนจ้ะ”

          ฟังแล้วอาจจะพิพักพิพ่วนนิดนึง  แต่ข้อดีคือ การสื่อสารและตกลงกันอย่างตรงไปตรงมาแบบนี้ ทำให้ไม่ผิดใจกันในภายหลัง  



         เพื่อนดิฉันคนนี้แต่งงานมาได้สิบสี่ปีแล้วค่ะ ยังรักกันเหนียวแน่นกับสามีซึ่งหลังแต่งงานก็ดูแลทุกกอย่างจริง ๆ (ทั้งเงินใช้จ่ายส่วนตัว และทริปไปเที่ยวแบบโรงแรมห้าดาวกับครอบครัวปีละสามสี่ครั้ง) และครอบครัวก็ยังไปมาหาสู่กันดีทั้งสองฝ่าย

           -งานแต่งใครเก็บซอง ? เก็บแล้วจะใช้อย่างไร ?
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่