เป็นครั้งแรกที่โพสลงพันทิพย์อยากเล่าเรื่องการเดินทางไปเนปาลครั้งแรก กับการ Trekking เส้นทาง Poon Hill – Annapurna Base Camp
เรียงความ คราวนี้คงจะเป็นเรื่องราวที่ใช้เวลาเขียนนานที่สุดงานหนึ่ง แต่คิดว่าน่าจะมีงานอื่นที่นานกว่านี้เพราะว่าดองไว้เยอะ ที่เอากลับมาเขียน เพราะสงกรานต์ ปีนี้ทีมงานพวกเรากำลังจะมีภารกิจ EBC: Everest Base Camp กัน (ผมไม่ได้ไปนะ)
ก็เลยทำให้หวนนึกถึงวันเก่าที่พวกเราเที่ยวด้วยกันมาเลยอยากมาเล่าเรื่องคราวไป ABC ให้จบ
#ABCดีออก และ #โหดสัสเนปาล เป็น # ประจำทริปนี้เลยก็ว่าได้ ที่บอกแบบนั้นเพราะพิสูจน์แล้วว่ามันจริ๊งจริง สุดแสนจะจริง มันสาหัสมากกับการใช้เวลาแค่ 7 วัน (ขึ้น 5 วัน ลง 2 วัน) สำหรับการ Trekking ในเส้นทาง Poon Hill – Annapurna Base Camp ชนิดที่ว่าไกด์บอกว่าไม่เคยทำ อย่างไรก็ตามพวกเรา 14 คน (ไป 16 คนนะ แต่ยอมแค่ Poon Hill ไป 2 คน) ก็ยืนยันและทำมันจนได้ แต่กว่าพวกเราจะผ่านมาได้ก็สาหัสกันมากเลยทีเดียว สำหรับใครที่อยากจะไปเส้นทางนี้แนะนำว่าซัก 9 วันกำลังดี
การเดินทางครั้งนี้ต้องย้อนกลับไปเมื่อเดือนธันวาคม ปี 2015 (ก็สองปีผ่านมาแล้ว) เราออกเดินทางกันในคริสมาร์ส25 ธันวาคม 2015 และเดินทางกลับ วันที่ 3 มกราคม 2016
Outline Itineary
Day 01 (25 Dec 2015): Departed from Thailand, meet and greet in Kathmandu airport, transfer to hotel.
Day 02 (26 Dec 2015): Flight to Pokhara (800m), drive to Nayapul (1070 m), trek to Hile (1430 m)
Day 03 (27 Dec 2015): Trek to Ghorepani (2855m), overnight in lodge.
Day 04 (28 Dec 2015): Excursion Poon Hill (3210m), trek to Ghurjung (2050m), overnight in lodge.
Day 05 (29 Dec 2015): Trek to Himalaya (2855m), overnight in lodge.
Day 06 (30 Dec 2015): Trek to Annapurna Base Camp (4130m), overnight in lodge.
Day 07 (31 Dec 2015): Trek to S Sinuwa (2360m), overnight in lodge.
Day 08 (01 Jan 2016): Trek to Siwai, Drive to Pokhara (800m), Overnight in Pokhara
Day 09 (02 Jan 2016): Drive to Kathmandu, transfer to hotel, Overnight in Kathmandu.
Day 10 (03 Jan 2016): Arrived Thailand
การเดินทางครั้งนี้สำหรับตัวผมเป็นการเดินทางที่ ไร้ซึ่งการศึกษาข้อมูล ไร้ซึ่งการอ่านรีวิว (ปกติเป็นคนจริงจังกับการท่องเที่ยวมาก การวางแผนเที่ยวเป็นงานประจำ หาตั๋วเครื่องบินเป็นงานอดิเรก งานวิจัยปริญญาเอกเป็นงานที่ทำเวลาว่าง) เอาตรงๆ ก่อนไปยังไม่รู้ เลยว่า ABC (Annapurna Base Camp) ย่อมาจากอะไร รู้แค่ว่าอยู่เนปาล เทือกเขาหิมาลัย ต้อง Trekking มันสวย เดี๋ยวนี้คนไทยชอบไป ท้าทายด้วย ได้เห็นรูปนิดหน่อยเท่าที่เพื่อนๆแชร์กันในกรุ๊ปไลน์
เพราะทีแรกไม่ได้ตั้งใจจะไป เนื่องจากปีนี้เป็นฤดูหนาวปีสุดท้ายที่จะได้อยู่ที่ญี่ปุ่นในฐานะนักเรียน (ในความเป็นจริงนั้น เที่ยวเยอะไปหน่อยเลย ได้อยู่ฤดูหนาวอีกปี) อยากฉลองคริสมาร์ส ปีใหม่ และเล่นสกีที่ญี่ปุ่นมากกว่า ตอนที่เพื่อนชวนก็เลยไม่ได้สนใจมากนัก จนมาเพื่อนสาวเจ้าของเพจ I see You see เอ่ยมาว่าจะไปด้วย และการบินไทย มีตั๋วโปร 12000 บาทซึ่งราคาพอๆกับแก๊งตั้งต้นที่ต้องบิน แอร์เอเชีย ไปต่อเครื่องที่มาเลเซีย เท่านั้นแหละ ความอยากไปจึงบังเกิด ประกอบกับ มานั่งๆคิดดูแล้วว่า ถ้าไม่ไปคราวนี้เมื่อไหร่จะได้ไป จะมีโอกาสไหนที่สมาชิกจะเยอะแบบนี้
สรุปก็เลยใจง่าย จองตั๋วเครื่องบิน BKK-KTM สายการบินไทย ราคา 12,780.00 THB ตั้งแต่ วันที่ 25 ธันวาคม ถึง 3 มกราคม ตามที่เพื่อนๆ บอกตารางเวลาไปกลับให้ พูดง่ายๆ งานนี้ฉลองคริสมาร์ส และปีใหม่ที่เนปาลไปในคราวเดียว
พอจองตั๋วแล้วทีนี้เพื่อนก็ดึงเข้ากรุ๊ปไลน์ที่จะไปร่วมทริป ในกรุ๊ปเค้าก็คุยกันสนุกสนาน ผมเองก็อ่านตลอดแต่ลิ้งรีวิวหรืออะไรเทือกนั้นไม่ได้กดไปดูต่อ ดูแต่รูป นิดหน่อย และก็ฟังๆ ถามๆเอาว่า ต้องเตรียมใช้ของอะไรบ้าง ผมโชคดีกว่าเพื่อนๆที่ไทยอย่างหนึ่ง เพราะต้นทุนของพวกเสื้อผ้า รองเท้า จะถูกกว่า เพราะของส่วนใหญ่พวก กระเป๋า ไฟฉาย เสื้อผ้า มีอยู่แล้วจากทริปปีนฟูจิ, ทริปยุโรป และอีกอย่างคือเราอยู่เมืองหนาว เล่นสกี เสื้อผ้าเราพร้อมกว่า ของที่ซื้อเพิ่มก็จะมีชุดที่คล่องตัวหน่อย รองเท้า กระเป๋ากันน้ำและนาฬิกา ซึ่งผมใช้บริการร้านมือสอง และส่องหาของดีราคาถูกจาก อเมซอนเจแปน ส่วนตัวผมตั้งใจจะเตรียมไปให้พร้อมไม่ได้จะไปหาซื้อเพิ่มที่เมืองไทย หรือที่เนปาล เพราะไม่อยากไปวุ่นวายอีก (แต่มีเพื่อนสมาชิกไปซื้อเอาที่เนปาล ของก๊อปเกรดเอ ใช้งานได้กับ ABC (Annapurna Base Camp) ราคาถูกและประหยัดกว่าเยอะ) ที่เหลือก็เป็นของจิปาถะฟังๆ จากที่เพื่อนๆพี่ๆลิสไว้
ส่วนเรื่องร่างกายผมไม่ได้เตรียมตัวอะไรเป็นพิเศษ เพราะปกติวิ่งทุกวันอยู่แล้ว เคยปีนภูเขาไฟฟูจิ (3,776 เมตร)มาแล้ว ไม่ได้มีปัญหา Altitude Sickness แต่อย่างใด มีแอบปรึกษาเพื่อนที่เป็นหมอ เพื่อนบอกสบายๆ ผมก็ว่าตามนั้นครับ อีกอย่างเห็นเพื่อนผู้หญิงไปเยอะ คิดเล่นๆว่าถ้าจะมีใครไม่ไหวก็คงจะหลายคนแหละกว่าจะถึงเรา ที่สำคัญคือ ทำประกันการเดินทางไปให้พร้อม เอาแบบที่ ครอบคลุมการขนส่งเพื่อรักษาพยาบาล เป็นอะไรจะได้ไม่เป็นภาระคนที่บ้านด้วย (เรื่องนี้ซีเรียสนะ เห็นในข่าวก็หลายรายหลังจากกลับมา ทั้งที่ไปเที่ยวญี่ปุ่น เกาหลี แล้วป่วย หมดเงินกันคนละหลายล้าน ไม่ควรเสี่ยงนาจา)
พอใกล้ๆ วันเดินทางกลุ่มไลน์ก็ยิ่งครึกครื้นตื่นเต้นกันใหญ่ ทุกอย่างดำเนินไปเหมือนปกติ มีการสอบถามเรื่องค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่าย รูปแบบการเดินทางต่างๆ พูดคุยตกลงกันไปมา สรุปมาที่ ทริป 10 วัน เดิน 7 วัน ไกด์ 1 คน ลูกหาบ 5 คน ขาไปจากกาฐมันฑุ ไปโพคารา นั่งเครื่องบินเล็ก ขากลับนั่งบัส ค่าเสียหายทั้งหมด 270 USD (จ่ายก่อน 50 USD) ทุกอย่างฟังดูคล้ายๆ เดิมที่เพิ่มเติมคิอ ไป Poon Hill ด้วยไม่รู้เพราะเหตุผลอะไร เห็นเค้าว่าว่าสวย ไหนไหนก็ไปแล้ว จารออะไรล่ะ ไปซิ ต้องเดินเพิ่มนะ แล้วยังไง กลัวหรอ ก็ไปอยู่ดี ในที่สุดพวกเราก็ได้เส้นทาง Poon Hill เพิ่มขึ้นมาในระยะเวลาเท่าเดิม โดยไม่มีใครทันยั้งคิด หรือห้ามปรามกันได้
"ตารางการเดินที่เพื่อนส่งให้ดู (วันไหนเข้าเป้าบ้าง)"
อีกสองวันจะเดินทางผมก็จัดการเตรียมของที่จำเป็นทั้งหมด ชุดสุดท้ายคือของกิน (เห็นเค้าว่าอาหารซ้ำๆ ไม่ค่อยดี อาจจะเบื่อ) และแลกเงิน ผมแลกเงินติดไป 500 USD ( 18000 บาท) เพราะต้องจ่ายของที่เหลือ 220 USD และค่าทำวีซ่าอีก 25 USD ที่เหลือก็ติดไปอุ่นใจ ไปถ่ายรูปเตรียมทำวีซ่า on arrival อ่อจำได้ว่าก่อนหน้านี้ส่งหน้าแรกพาสปอร์ตให้ไกด์ไป น่าจะเอาไปทำใบอนุญาติเข้าไป Trekking ขั้นสุดท้ายคือเตรียมเสื้อผ้าเท่าที่จำเป็น ชุดข้างในใส่เดินหนึ่งชุด ชุดนอนหนึ่งชุด แต่ดูไปดูมาแล้วผมนี่น่าจะเอาของไปเยอะสุด ไหนจะกับข้าว ทิชชู่เปียก แผ่นแปะร้อน กล้อง 4 ตัว ไอแพด มือถือสามเครื่อง รวมๆแล้วเกิน 20 กิโลกรัมแน่นอน คิดๆอยู่ในใจว่า จะไหวไหมลูกหาบก็ช่วยได้แค่ 7-8 กิโลกรัม แต่ไหนไหนก็ไหนแล้วเอาไปเกินดีกว่าขาด เนี่ยแหละผลของการไม่อ่านรีวิว หรือศึกษาข้อมูลเบื้องต้นอย่างเพียงพอ (บอกเลยว่าผมเป็นคนเดียวที่ได้อาบน้ำทุกวัน เว้นวันเดียวคือวันที่นอนบน ABC เทคนิคไม่ยาก เดินให้ไว ถึงก่อนคนอื่น และถึงก่อนจะมืด ปล. ทิชชู่เปียก สำคัญมาก แบบผสมน้ำยาฆ่าเชื้อจะช่วยให้รู้สึกสะอาดยิ่งขึ้น )]
25/12/2015
วันแรกของการเดินทาง @สุวรรณภูมิ กระเป๋าสะพายหลัง 1 ใบ 75 ลิตร ถุงนอน 1 ใบ และ กระเป๋ากันน้ำ 20 ลิตรอีกหนึ่งใบ (ของจะเยอะไปไหน) เชคอินกระเป๋าสะพายหลังกับถุงนอน รวมแล้วเกือบ 16 กิโลกรัม ส่วนกระเป๋ากันน้ำก็ถือขึ้นเครื่องไปตามระเบียบ ทีมแรกที่ไปกับการบินไทยมี 7 คน ก่อนลงที่ Tribhuvan International Airport เครื่องบินบินวนอยู่สองรอบ กาฐมัณฑุ เมืองหลวงของเนปาลถูกล้อมรอบด้วยเขาสนามบินมีช่องขึ้นลงได้ทางเดียวจำเป็นต้องบินวนรอคิวในการขึ้นลง จากที่สังเกตเทือกเขาหิมาลัยจะอยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของกาฐมัณฑุ ฉะนั้นขาไป นั่งฝั่งขวาจะได้เห็นแนวเทือกเขา ประกอบกับคราวนี้ ที่บินวนรอสองรอบในทิศทวนเข็มนาฬิกาทำให้บางช่วงด้านขวาของเครื่องบินจะเห็นเทือกเขาเป็นแนวยาวขนานกับเครื่องบิน
"แบกอะไรไปหนักหนา"
เครื่องลงประมาณ บ่ายโมง ลงเครื่องมา สภาพสนามบินเหมือนสนามภายในประเทศของไทยสมัยก่อน ก็ตรงดิ่งมาทำวีซ่า on arrival เลยไม่มีอะไรมาก จ่ายเงินครบจบแน่นอน จากนั้นก็ไปผ่านพิธีการตรวจคนเข้าเมือง มายืนรอกระเป๋าซึ่งนานมากกว่ากระเป๋าจะมา เดินออกชิวๆแบบไม่มีใครตรวจ แม้แต่จะยื่นใบ Declare สัมภาระ ก็ไม่มีคนรับ พอเดินออกจากสนามบิน ไกด์ก็มาถือธงชาติ กับป้ายชื่อรอรับอยู่แล้ว แล้วความประทับใจแรกก็บังเกิด เพราะการขนของไปขึ้นรถตู้ที่ไกด์เตรียมไว้มีคนอยากจะช่วยเยอะแยะมาก ทีแรกพวกเราก็นึกว่าเป็นลูกน้องไกด์ แต่ความจริงแล้วเป็นใครก็ไม่รู้มาช่วยเพื่อขอเงิน ยังดีที่พวกเรายังไม่หลวมตัวเสียเงินไป ไกด์ต้อนรับเราด้วยพวงมาลัยดอกดาวเรือง และพาพวกเราเดินทางด้วยรถตู้ไปยังโรงแรมที่พัก
"หน้าโรงแรม ทีมการบินไทย และไกด์"
ระหว่างทางไปโรงแรมความประทับใจที่สองก็บังเกิดแน่นอนเราได้เห็นสภาพเมือง กาฐมัณฑุ สองข้างทางซึ่งไม่ได้ต่างจากที่จินตนาการไว้มากนะ แต่ที่ตื่นเต้นคือการจราจร และการขับรถของคนที่ดีขอใช้คำว่าไม่โหดจริงขับรถที่นี่ไม่ได้ #โหดสัดเนปาล ถนนมีสองเลนแคบๆสวนกัน บีบแตรกันตลอด ขับใกล้กันจนหวาดเสียว แถมสี่แยกไม่มีสัญญาณไฟเรียกได้ว่า วัดใจกันตลอดเวลา กว่าจะถึงโรงแรมเรียกได้ว่าลุ้นกันตลอด
คืนแรกเราจะพักกันที่ Hotel Thamel Kathmandu ส่วนตัวผมว่าโรงแรมที่เนปาลค่อนข้างดีนะ เมื่อเทียบกับสภาพนอกโรงแรม และราคาคืนละ 5-600 บาท ก็ควรต้องเป็นอย่างนั้นเพราะดูๆแล้วรายได้หลักของเนปาลน่าจะมาจากการท่องเที่ยว ถ้าที่พักไม่ดี ทุกอย่างคงจบ
"ห้องพักคืนแรก"
(Dec 2015) Count on me like ABC: ภารกิจ Trekking ข้ามปี 100++ km in 7 Days
เรียงความ คราวนี้คงจะเป็นเรื่องราวที่ใช้เวลาเขียนนานที่สุดงานหนึ่ง แต่คิดว่าน่าจะมีงานอื่นที่นานกว่านี้เพราะว่าดองไว้เยอะ ที่เอากลับมาเขียน เพราะสงกรานต์ ปีนี้ทีมงานพวกเรากำลังจะมีภารกิจ EBC: Everest Base Camp กัน (ผมไม่ได้ไปนะ)
ก็เลยทำให้หวนนึกถึงวันเก่าที่พวกเราเที่ยวด้วยกันมาเลยอยากมาเล่าเรื่องคราวไป ABC ให้จบ
#ABCดีออก และ #โหดสัสเนปาล เป็น # ประจำทริปนี้เลยก็ว่าได้ ที่บอกแบบนั้นเพราะพิสูจน์แล้วว่ามันจริ๊งจริง สุดแสนจะจริง มันสาหัสมากกับการใช้เวลาแค่ 7 วัน (ขึ้น 5 วัน ลง 2 วัน) สำหรับการ Trekking ในเส้นทาง Poon Hill – Annapurna Base Camp ชนิดที่ว่าไกด์บอกว่าไม่เคยทำ อย่างไรก็ตามพวกเรา 14 คน (ไป 16 คนนะ แต่ยอมแค่ Poon Hill ไป 2 คน) ก็ยืนยันและทำมันจนได้ แต่กว่าพวกเราจะผ่านมาได้ก็สาหัสกันมากเลยทีเดียว สำหรับใครที่อยากจะไปเส้นทางนี้แนะนำว่าซัก 9 วันกำลังดี
การเดินทางครั้งนี้ต้องย้อนกลับไปเมื่อเดือนธันวาคม ปี 2015 (ก็สองปีผ่านมาแล้ว) เราออกเดินทางกันในคริสมาร์ส25 ธันวาคม 2015 และเดินทางกลับ วันที่ 3 มกราคม 2016
Day 01 (25 Dec 2015): Departed from Thailand, meet and greet in Kathmandu airport, transfer to hotel.
Day 02 (26 Dec 2015): Flight to Pokhara (800m), drive to Nayapul (1070 m), trek to Hile (1430 m)
Day 03 (27 Dec 2015): Trek to Ghorepani (2855m), overnight in lodge.
Day 04 (28 Dec 2015): Excursion Poon Hill (3210m), trek to Ghurjung (2050m), overnight in lodge.
Day 05 (29 Dec 2015): Trek to Himalaya (2855m), overnight in lodge.
Day 06 (30 Dec 2015): Trek to Annapurna Base Camp (4130m), overnight in lodge.
Day 07 (31 Dec 2015): Trek to S Sinuwa (2360m), overnight in lodge.
Day 08 (01 Jan 2016): Trek to Siwai, Drive to Pokhara (800m), Overnight in Pokhara
Day 09 (02 Jan 2016): Drive to Kathmandu, transfer to hotel, Overnight in Kathmandu.
Day 10 (03 Jan 2016): Arrived Thailand
เพราะทีแรกไม่ได้ตั้งใจจะไป เนื่องจากปีนี้เป็นฤดูหนาวปีสุดท้ายที่จะได้อยู่ที่ญี่ปุ่นในฐานะนักเรียน (ในความเป็นจริงนั้น เที่ยวเยอะไปหน่อยเลย ได้อยู่ฤดูหนาวอีกปี) อยากฉลองคริสมาร์ส ปีใหม่ และเล่นสกีที่ญี่ปุ่นมากกว่า ตอนที่เพื่อนชวนก็เลยไม่ได้สนใจมากนัก จนมาเพื่อนสาวเจ้าของเพจ I see You see เอ่ยมาว่าจะไปด้วย และการบินไทย มีตั๋วโปร 12000 บาทซึ่งราคาพอๆกับแก๊งตั้งต้นที่ต้องบิน แอร์เอเชีย ไปต่อเครื่องที่มาเลเซีย เท่านั้นแหละ ความอยากไปจึงบังเกิด ประกอบกับ มานั่งๆคิดดูแล้วว่า ถ้าไม่ไปคราวนี้เมื่อไหร่จะได้ไป จะมีโอกาสไหนที่สมาชิกจะเยอะแบบนี้
สรุปก็เลยใจง่าย จองตั๋วเครื่องบิน BKK-KTM สายการบินไทย ราคา 12,780.00 THB ตั้งแต่ วันที่ 25 ธันวาคม ถึง 3 มกราคม ตามที่เพื่อนๆ บอกตารางเวลาไปกลับให้ พูดง่ายๆ งานนี้ฉลองคริสมาร์ส และปีใหม่ที่เนปาลไปในคราวเดียว
พอจองตั๋วแล้วทีนี้เพื่อนก็ดึงเข้ากรุ๊ปไลน์ที่จะไปร่วมทริป ในกรุ๊ปเค้าก็คุยกันสนุกสนาน ผมเองก็อ่านตลอดแต่ลิ้งรีวิวหรืออะไรเทือกนั้นไม่ได้กดไปดูต่อ ดูแต่รูป นิดหน่อย และก็ฟังๆ ถามๆเอาว่า ต้องเตรียมใช้ของอะไรบ้าง ผมโชคดีกว่าเพื่อนๆที่ไทยอย่างหนึ่ง เพราะต้นทุนของพวกเสื้อผ้า รองเท้า จะถูกกว่า เพราะของส่วนใหญ่พวก กระเป๋า ไฟฉาย เสื้อผ้า มีอยู่แล้วจากทริปปีนฟูจิ, ทริปยุโรป และอีกอย่างคือเราอยู่เมืองหนาว เล่นสกี เสื้อผ้าเราพร้อมกว่า ของที่ซื้อเพิ่มก็จะมีชุดที่คล่องตัวหน่อย รองเท้า กระเป๋ากันน้ำและนาฬิกา ซึ่งผมใช้บริการร้านมือสอง และส่องหาของดีราคาถูกจาก อเมซอนเจแปน ส่วนตัวผมตั้งใจจะเตรียมไปให้พร้อมไม่ได้จะไปหาซื้อเพิ่มที่เมืองไทย หรือที่เนปาล เพราะไม่อยากไปวุ่นวายอีก (แต่มีเพื่อนสมาชิกไปซื้อเอาที่เนปาล ของก๊อปเกรดเอ ใช้งานได้กับ ABC (Annapurna Base Camp) ราคาถูกและประหยัดกว่าเยอะ) ที่เหลือก็เป็นของจิปาถะฟังๆ จากที่เพื่อนๆพี่ๆลิสไว้
ส่วนเรื่องร่างกายผมไม่ได้เตรียมตัวอะไรเป็นพิเศษ เพราะปกติวิ่งทุกวันอยู่แล้ว เคยปีนภูเขาไฟฟูจิ (3,776 เมตร)มาแล้ว ไม่ได้มีปัญหา Altitude Sickness แต่อย่างใด มีแอบปรึกษาเพื่อนที่เป็นหมอ เพื่อนบอกสบายๆ ผมก็ว่าตามนั้นครับ อีกอย่างเห็นเพื่อนผู้หญิงไปเยอะ คิดเล่นๆว่าถ้าจะมีใครไม่ไหวก็คงจะหลายคนแหละกว่าจะถึงเรา ที่สำคัญคือ ทำประกันการเดินทางไปให้พร้อม เอาแบบที่ ครอบคลุมการขนส่งเพื่อรักษาพยาบาล เป็นอะไรจะได้ไม่เป็นภาระคนที่บ้านด้วย (เรื่องนี้ซีเรียสนะ เห็นในข่าวก็หลายรายหลังจากกลับมา ทั้งที่ไปเที่ยวญี่ปุ่น เกาหลี แล้วป่วย หมดเงินกันคนละหลายล้าน ไม่ควรเสี่ยงนาจา)
พอใกล้ๆ วันเดินทางกลุ่มไลน์ก็ยิ่งครึกครื้นตื่นเต้นกันใหญ่ ทุกอย่างดำเนินไปเหมือนปกติ มีการสอบถามเรื่องค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่าย รูปแบบการเดินทางต่างๆ พูดคุยตกลงกันไปมา สรุปมาที่ ทริป 10 วัน เดิน 7 วัน ไกด์ 1 คน ลูกหาบ 5 คน ขาไปจากกาฐมันฑุ ไปโพคารา นั่งเครื่องบินเล็ก ขากลับนั่งบัส ค่าเสียหายทั้งหมด 270 USD (จ่ายก่อน 50 USD) ทุกอย่างฟังดูคล้ายๆ เดิมที่เพิ่มเติมคิอ ไป Poon Hill ด้วยไม่รู้เพราะเหตุผลอะไร เห็นเค้าว่าว่าสวย ไหนไหนก็ไปแล้ว จารออะไรล่ะ ไปซิ ต้องเดินเพิ่มนะ แล้วยังไง กลัวหรอ ก็ไปอยู่ดี ในที่สุดพวกเราก็ได้เส้นทาง Poon Hill เพิ่มขึ้นมาในระยะเวลาเท่าเดิม โดยไม่มีใครทันยั้งคิด หรือห้ามปรามกันได้