หากมีใครชวนไปอินเดีย หลายๆ คนอาจจะส่ายหน้า แล้วพูดว่า จะไปทำไม สกปรก เดินทางลำบาก เดี๋ยวเหยียบขี้นะ
แต่ไม่ว่าอินเดียในปัจจุบันจะเป็นอย่างไร ก็ยังนับว่าเป็นดินแดนที่สำคัญมากสำหรับชาวพุทธ
เพราะเป็นจุดเริ่มต้น แหล่งกำเนิดของศาสนาพุทธนั่นเอง
บางท่านอาจจะคิดว่า แล้วทำไมต้องลำบากไปแสวงบุญไกลถึงอินเดียด้วยล่ะ ทำบุญอยู่ไทยก็ได้บุญเหมือนกันนี่
อันนี้ก็ต้องบอกว่าเมื่อได้ "มาถึงที่" ความแช่มชื่นจิต ความยินดี ความปีติ ที่เกิดขึ้นนั้น "ถึงอกถึงใจ" มากกว่าที่ไหนๆ ในโลก
ทีนี้ เมื่อเอ่ยถึงคำว่า สังเวช หรือสังเวชนียสถาน หลายท่านอาจจะนึกถึงความสลดสังเวช ความหดหู่ใจ
แต่คำว่า สังเวชนะ ในภาษาบาลี หมายถึง ความกระตุ้นให้คิด
ความรู้สึกสลดใจที่ทำให้นึกถึงสิ่งที่ดีงาม เพื่อความไม่ประมาท และเพียรทำความดี
เพราะหากสลดใจ แล้วจิตหดหู่ จะเป็นอกุศลธรรมไป
แต่การมา"สังเวชนียสถาน" คือการมาประกอบกุศลธรรม ให้จิตใจเบิกบาน แช่มชื่น รู้สึกระลึกถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า นั่นเอง
สังเวชนียสถานทั้งสี่ตำบล อันเป็นสถานที่ "ประสูติ-ตรัสรู้-แสดงปฐมเทศนา-ปรินิพพาน"
พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ในมหาปรินิพพานสูตรว่า "ผู้ใดระลึกถึงพระองค์ พึงจาริกไปยังสังเวชนียสถานทั้งสี่นี้
หากมีจิตเลื่อมใส เมื่อทำกาละลง จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์"
แม้ว่าหนทางพ้นทุกข์คือพระนิพพาน จะไม่ใช่สวรรคภูมิ
แต่การได้มากราบไหว้บูชาสังเวชนียสถานสี่ตำบลด้วยดวงจิตที่เลื่อมใสศรัทธาในพระชินสีห์
ก็คงเปรียบเสมือนหลักประกันชีวิตในภพชาตินี้ ของชาวพุทธที่ยังไม่บรรลุธรรมขั้นใดๆ
ให้มีศรัทธาตั้งมั่นในพระรัตนตรัย เมื่อกลับมาแล้วก็เพียรทำความดี ปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระพุทธองค์
หากปฎิบัติดังนั้นแล้ว โอกาสที่ดวงจิตในขณะเวลาทำกาละนั้นจะไหลลงสู่ที่ต่ำ ตกสู่อบายภูมิ ก็คงเป็นไปได้น้อย
และอย่างน้อยถ้าเพียรปฏิบัติธรรมแล้ว แต่ยังไม่ได้คุณธรรมเป็นพระอริยบุคคล ได้ไปเที่ยวสวรรค์ก่อนก็ยังดีนะ
สังเวชนียสถานสี่ตำบล ณ อินเดีย-เนปาล ในปัจจุบัน
จึงเป็นสถานที่ที่ชาวพุทธควรได้มีโอกาสมาให้ "ถึงที่ถึงใจถึงหูถึงตา" สักครั้งหนึ่งในชีวิต
(Buddhist Review) ตามรอยบาทพระศาสดา อินเดีย-เนปาล
แต่ไม่ว่าอินเดียในปัจจุบันจะเป็นอย่างไร ก็ยังนับว่าเป็นดินแดนที่สำคัญมากสำหรับชาวพุทธ
เพราะเป็นจุดเริ่มต้น แหล่งกำเนิดของศาสนาพุทธนั่นเอง
บางท่านอาจจะคิดว่า แล้วทำไมต้องลำบากไปแสวงบุญไกลถึงอินเดียด้วยล่ะ ทำบุญอยู่ไทยก็ได้บุญเหมือนกันนี่
อันนี้ก็ต้องบอกว่าเมื่อได้ "มาถึงที่" ความแช่มชื่นจิต ความยินดี ความปีติ ที่เกิดขึ้นนั้น "ถึงอกถึงใจ" มากกว่าที่ไหนๆ ในโลก
ทีนี้ เมื่อเอ่ยถึงคำว่า สังเวช หรือสังเวชนียสถาน หลายท่านอาจจะนึกถึงความสลดสังเวช ความหดหู่ใจ
แต่คำว่า สังเวชนะ ในภาษาบาลี หมายถึง ความกระตุ้นให้คิด
ความรู้สึกสลดใจที่ทำให้นึกถึงสิ่งที่ดีงาม เพื่อความไม่ประมาท และเพียรทำความดี
เพราะหากสลดใจ แล้วจิตหดหู่ จะเป็นอกุศลธรรมไป
แต่การมา"สังเวชนียสถาน" คือการมาประกอบกุศลธรรม ให้จิตใจเบิกบาน แช่มชื่น รู้สึกระลึกถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า นั่นเอง
สังเวชนียสถานทั้งสี่ตำบล อันเป็นสถานที่ "ประสูติ-ตรัสรู้-แสดงปฐมเทศนา-ปรินิพพาน"
พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ในมหาปรินิพพานสูตรว่า "ผู้ใดระลึกถึงพระองค์ พึงจาริกไปยังสังเวชนียสถานทั้งสี่นี้
หากมีจิตเลื่อมใส เมื่อทำกาละลง จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์"
แม้ว่าหนทางพ้นทุกข์คือพระนิพพาน จะไม่ใช่สวรรคภูมิ
แต่การได้มากราบไหว้บูชาสังเวชนียสถานสี่ตำบลด้วยดวงจิตที่เลื่อมใสศรัทธาในพระชินสีห์
ก็คงเปรียบเสมือนหลักประกันชีวิตในภพชาตินี้ ของชาวพุทธที่ยังไม่บรรลุธรรมขั้นใดๆ
ให้มีศรัทธาตั้งมั่นในพระรัตนตรัย เมื่อกลับมาแล้วก็เพียรทำความดี ปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระพุทธองค์
หากปฎิบัติดังนั้นแล้ว โอกาสที่ดวงจิตในขณะเวลาทำกาละนั้นจะไหลลงสู่ที่ต่ำ ตกสู่อบายภูมิ ก็คงเป็นไปได้น้อย
และอย่างน้อยถ้าเพียรปฏิบัติธรรมแล้ว แต่ยังไม่ได้คุณธรรมเป็นพระอริยบุคคล ได้ไปเที่ยวสวรรค์ก่อนก็ยังดีนะ
สังเวชนียสถานสี่ตำบล ณ อินเดีย-เนปาล ในปัจจุบัน
จึงเป็นสถานที่ที่ชาวพุทธควรได้มีโอกาสมาให้ "ถึงที่ถึงใจถึงหูถึงตา" สักครั้งหนึ่งในชีวิต