นั่นคำถามครับ และน่าสนใจจริงๆ ก็โชคดีว่า CIES เปิดเอกสารกระบวนการวิจัยออกมา ก็เลยเอามาเขียนให้ดูกัน
CIES เป็นใคร?
CIES เป็น เป็นสถาบันวิจัยที่ก่อตั้งโดย FIFA และ มหาวิทยาลัย Neuchatel ในปี 1995 โดยใช้ข้อมูลอ้างอิงจาก Opta Pro เจตนาของ CIES คือต้องการค้นหาแนวโน้มและพยายามพยากรณ์ ราคาของการซื้อขายผู้เล่น
CIES ใช้ข้อมูลการย้ายตัวของลีกใหญ่ 5 ลีกตั้งแต่ ปี 2011 - 2017 เป็นพื้นฐานในการวิจัย โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่าง 1600 ชุดที่เกิดขึ้นจริง
ข้อมูลนี่จะถูกอัพเดตทุกๆหกเดือน (ก็คือทุกครั้งที่ปิดตลาด)
กระบวนการหาราคาถูกแบ่งเป็นสองขั้นตอน
1. หาระดับผู้ซื้อ(เรียกว่า club level)
CIES หาความสัมพันธ์ระหว่างคุณสมบัติของสโมสรที่เป็นผู้ซื้อ (ระดับในลีก/ผลงานในลีก/ผลงานในถ้วยยุโรป ฯลฯ CIES อ้างว่ามี 19 ตัวแปร แต่ไม่เปิดเผยรายละเอียด) กับคุณสมบัติของนักเตะ (ผลงานในทีมชาติ/U21 ผลงานในลีก ดู :
https://ppantip.com/topic/37263413 อายุ ตำแหน่ง และลีกที่เล่น) ด้วยวิธี multiple linear regression แล้วค่อยๆตัดตัวแปรที่ไม่มีนัยสำคัญ(p > 0.05) ออกไปเรื่อยๆ จนได้สมการที่พยากรณ์ระดับของสโมสรที่ซื้อ ดูกราฟด้านล่างที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างผลการพยากรณ์กับที่เกิดขึ้นจริงครับ
2.หาทีมซื้อได้แล้วก็หาราคา
CIES ยังคงใช้วิธีเดิมครับ ครั้งนี้บอกว่ามีตัวแปรทั้งหมด 30 ตัว โดยใช้ของเดิมและเพิ่มปัจจัยต่อไปนี้เข้าไปด้วย
- อายุสัญญาคงเหลือ
- ปีที่เกิดการย้ายทีม
- มูลค่าตามบัญชี(ต้นทุนในทีมเก่านั่นแหละครับ)
- loan status - ถูกยืมตัวหรือเปล่า
- ระดับของทีมที่ซื้อ(พยากรณ์มาจากข้อแรก)
เช่นเคย ตัวแปรที่ไม่มีนัยสำคัญจะโดนตัดออกไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้สมการพยากรณ์ ในสมการพยากรณ์ชุดนี้ CIES อ้างว่ามี R^2 สูงถึง81.5% เรียกได้ว่ามีความแม่นยำระดับสูงมาก
เดี๋ยวสิ แล้วทำไมไวนาดุม แพงกว่าโรนัลโด้?
แน่นอนว่าเราไม่มีคำตอบแน่ชัด แต่ถ้าดูจากระเบียบวิธี ผมคิดว่าคำตอบก็อยู่ในนั้นแหละ
- อายุ ไม่มีใครใน 50 อันดับแรกมีอายุสูงกว่าโรนัลโด้เลย อายุใช้งานของโรนัลโด้เหลือน้อยมาก เราน่าจะคาดหวังได้ว่าในเชิงสถิติแล้ว นักเตะอายุ 34-35 ที่เล่นได้ดีมีไม่มาก
- ต้นทุน - โรนัลโด้น่าจะไม่เหลือต้นทุนแล้วสำหรับรีลแมดริด เพราะซื้อมายาวนานมาก - ไวนัลดุม ยังเหลือต้นทุนทางบัญชีที่ยังตัดจำหน่ายไม่หมดอยู่
- ทีมที่จะซื้อ - ทีมที่จะซื้อสตาร์อายุมาก ระดับ 30 ปีขึ้นไป และยอมจ่ายๆแพงๆ น่าจะหายากกว่า ทีมที่จะซื้อนักเตะระดับกลางๆ อายุใช้งานเหลือยาว
ปัจจัยเรื่องต้นทุนยังทำให้ราคานักเตะจะพุ่งสูงขึ้นทันที เมื่อเกิดการย้ายตัวด้วย(เพราะคนพึ่งซื้อไป จะไม่ขายต่อถูกๆแน่ๆ) และนักเตะใกล้หมดสัญญา โดยมากก็จะหลุดออกไปจากผัง เพราะไม่มีใครซื้อ เขายอมรออีกหกเดือน
อีกปัจจัยที่ CIES ไม่บอก แต่ผมว่ามีผลทำให้แม่น คือ CIES มีธุรกิจรับจ้างประเมินราคานักเตะสำหรับสโมสร
ดังนั้นเฮียแม่นแน่นอน เฮียเป็นคนชักใยเบื้องหลัง
ความน่าสนใจคือ CIES ยอมรับเองว่าโดยปกติแล้วราคาประเมินของเขาตามเงินเฟ้อไม่ทัน (เนื่องจากเป็นข้อมูลอดีต) ดังนั้นปีหน้า เราอาจจะเห็นราคาบ้าคลั่งขึ้นอีกครับ
แล้วชัวร์หรือมั่วนิ่ม?
แน่นอนว่าราคาของนักเตะหลายๆคนของ CIES ค้านสายตา อย่างไรก็ดี นั่นเป็นราคาที่ "ถ้าเกิดการซื้อขาย" ซึ่งอาจจะไม่ได้เกิดขึ้นจริง จะรู้ว่าชัวร์หรือมั่วนิ่มก็ต้องดูว่าเมื่อมีบางชื่อในนั้นซื้อขายกันจริงๆแล้วราคาออกมาเป็นอย่างไร(จริงๆ CIES เคยออกเอกสารอีกฉบับทำนายโอกาสย้ายทีม ผมยังไม่เห็นของปีนี้เลย แล้วไม่รู้ด้วยว่าแม่นแค่ไหน)
แต่ CIES ออกรายงานสรุปผลทำนายตัวเองทุกปี ผมหาเอกสารปี 2015 ไม่เจอแล้ว ในนั้นบอกว่า colleration ประมาณ 71% แต่มีของสองปีล่าสุดที่น่าสนใจครับ ชุดแรกข้อมูลดูง่ายมาก สังเกตว่าราคาทำนายกับที่เกิดขึ้นจริงแทบจะเกาะกลุ่ม CIES อ้างว่า 34 ใน 49 เคส มีผลต่างของการโยกย้ายที่เกิดขึ้นจริง ต่ำกว่าสองล้านยูโร
ปีล่าสุดยังไม่มีสรุปสำหรับ 5 ลีคใหญ่ออกมา แต่มีตัวเลขรวมออกมาแล้วเหมือนกัน มี Correlation ดีขึ้นเล็กน้อย เป็น 77% จากกราฟน่าสนใจว่ายิ่งราคาสูงจะเห็นว่ายิ่งพล็อตใกล้เทรนด์ไลน์ แต่ที่ราคาต่ำๆกระจัดกระจายกว่ามาก
ส่วน correlation ประมาณ 70% ขึ้นไป จะทำให้พ้นข้อกล่าวหาว่า "มั่ว" "ความน่าเชื่อถือต่ำ" หรือไม่ก็แล้วแต่ท่านจะพิจารณา
ข้อมูลจาก
http://www.football-observatory.com/IMG/pdf/note01en.pdf
http://www.football-observatory.com/IMG/pdf/note02en.pdf
http://www.cies.ch/cies/news/news/article/transfer-window-analysis-over-and-under-paid-players/
http://www.football-observatory.com/IMG/sites/b5wp/2015/136/en/
http://www.football-observatory.com/IMG/pdf/mr27en.pdf
ราคา CIES มาจากไหน ทำไมไวนาดุม แพงกว่าโรนัลโด้?
CIES เป็นใคร?
CIES เป็น เป็นสถาบันวิจัยที่ก่อตั้งโดย FIFA และ มหาวิทยาลัย Neuchatel ในปี 1995 โดยใช้ข้อมูลอ้างอิงจาก Opta Pro เจตนาของ CIES คือต้องการค้นหาแนวโน้มและพยายามพยากรณ์ ราคาของการซื้อขายผู้เล่น
CIES ใช้ข้อมูลการย้ายตัวของลีกใหญ่ 5 ลีกตั้งแต่ ปี 2011 - 2017 เป็นพื้นฐานในการวิจัย โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่าง 1600 ชุดที่เกิดขึ้นจริง
ข้อมูลนี่จะถูกอัพเดตทุกๆหกเดือน (ก็คือทุกครั้งที่ปิดตลาด)
กระบวนการหาราคาถูกแบ่งเป็นสองขั้นตอน
1. หาระดับผู้ซื้อ(เรียกว่า club level)
CIES หาความสัมพันธ์ระหว่างคุณสมบัติของสโมสรที่เป็นผู้ซื้อ (ระดับในลีก/ผลงานในลีก/ผลงานในถ้วยยุโรป ฯลฯ CIES อ้างว่ามี 19 ตัวแปร แต่ไม่เปิดเผยรายละเอียด) กับคุณสมบัติของนักเตะ (ผลงานในทีมชาติ/U21 ผลงานในลีก ดู : https://ppantip.com/topic/37263413 อายุ ตำแหน่ง และลีกที่เล่น) ด้วยวิธี multiple linear regression แล้วค่อยๆตัดตัวแปรที่ไม่มีนัยสำคัญ(p > 0.05) ออกไปเรื่อยๆ จนได้สมการที่พยากรณ์ระดับของสโมสรที่ซื้อ ดูกราฟด้านล่างที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างผลการพยากรณ์กับที่เกิดขึ้นจริงครับ
2.หาทีมซื้อได้แล้วก็หาราคา
CIES ยังคงใช้วิธีเดิมครับ ครั้งนี้บอกว่ามีตัวแปรทั้งหมด 30 ตัว โดยใช้ของเดิมและเพิ่มปัจจัยต่อไปนี้เข้าไปด้วย
- อายุสัญญาคงเหลือ
- ปีที่เกิดการย้ายทีม
- มูลค่าตามบัญชี(ต้นทุนในทีมเก่านั่นแหละครับ)
- loan status - ถูกยืมตัวหรือเปล่า
- ระดับของทีมที่ซื้อ(พยากรณ์มาจากข้อแรก)
เช่นเคย ตัวแปรที่ไม่มีนัยสำคัญจะโดนตัดออกไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้สมการพยากรณ์ ในสมการพยากรณ์ชุดนี้ CIES อ้างว่ามี R^2 สูงถึง81.5% เรียกได้ว่ามีความแม่นยำระดับสูงมาก
เดี๋ยวสิ แล้วทำไมไวนาดุม แพงกว่าโรนัลโด้?
แน่นอนว่าเราไม่มีคำตอบแน่ชัด แต่ถ้าดูจากระเบียบวิธี ผมคิดว่าคำตอบก็อยู่ในนั้นแหละ
- อายุ ไม่มีใครใน 50 อันดับแรกมีอายุสูงกว่าโรนัลโด้เลย อายุใช้งานของโรนัลโด้เหลือน้อยมาก เราน่าจะคาดหวังได้ว่าในเชิงสถิติแล้ว นักเตะอายุ 34-35 ที่เล่นได้ดีมีไม่มาก
- ต้นทุน - โรนัลโด้น่าจะไม่เหลือต้นทุนแล้วสำหรับรีลแมดริด เพราะซื้อมายาวนานมาก - ไวนัลดุม ยังเหลือต้นทุนทางบัญชีที่ยังตัดจำหน่ายไม่หมดอยู่
- ทีมที่จะซื้อ - ทีมที่จะซื้อสตาร์อายุมาก ระดับ 30 ปีขึ้นไป และยอมจ่ายๆแพงๆ น่าจะหายากกว่า ทีมที่จะซื้อนักเตะระดับกลางๆ อายุใช้งานเหลือยาว
ปัจจัยเรื่องต้นทุนยังทำให้ราคานักเตะจะพุ่งสูงขึ้นทันที เมื่อเกิดการย้ายตัวด้วย(เพราะคนพึ่งซื้อไป จะไม่ขายต่อถูกๆแน่ๆ) และนักเตะใกล้หมดสัญญา โดยมากก็จะหลุดออกไปจากผัง เพราะไม่มีใครซื้อ เขายอมรออีกหกเดือน
อีกปัจจัยที่ CIES ไม่บอก แต่ผมว่ามีผลทำให้แม่น คือ CIES มีธุรกิจรับจ้างประเมินราคานักเตะสำหรับสโมสร
ดังนั้นเฮียแม่นแน่นอน เฮียเป็นคนชักใยเบื้องหลัง
ความน่าสนใจคือ CIES ยอมรับเองว่าโดยปกติแล้วราคาประเมินของเขาตามเงินเฟ้อไม่ทัน (เนื่องจากเป็นข้อมูลอดีต) ดังนั้นปีหน้า เราอาจจะเห็นราคาบ้าคลั่งขึ้นอีกครับ
แล้วชัวร์หรือมั่วนิ่ม?
แน่นอนว่าราคาของนักเตะหลายๆคนของ CIES ค้านสายตา อย่างไรก็ดี นั่นเป็นราคาที่ "ถ้าเกิดการซื้อขาย" ซึ่งอาจจะไม่ได้เกิดขึ้นจริง จะรู้ว่าชัวร์หรือมั่วนิ่มก็ต้องดูว่าเมื่อมีบางชื่อในนั้นซื้อขายกันจริงๆแล้วราคาออกมาเป็นอย่างไร(จริงๆ CIES เคยออกเอกสารอีกฉบับทำนายโอกาสย้ายทีม ผมยังไม่เห็นของปีนี้เลย แล้วไม่รู้ด้วยว่าแม่นแค่ไหน)
แต่ CIES ออกรายงานสรุปผลทำนายตัวเองทุกปี ผมหาเอกสารปี 2015 ไม่เจอแล้ว ในนั้นบอกว่า colleration ประมาณ 71% แต่มีของสองปีล่าสุดที่น่าสนใจครับ ชุดแรกข้อมูลดูง่ายมาก สังเกตว่าราคาทำนายกับที่เกิดขึ้นจริงแทบจะเกาะกลุ่ม CIES อ้างว่า 34 ใน 49 เคส มีผลต่างของการโยกย้ายที่เกิดขึ้นจริง ต่ำกว่าสองล้านยูโร
ปีล่าสุดยังไม่มีสรุปสำหรับ 5 ลีคใหญ่ออกมา แต่มีตัวเลขรวมออกมาแล้วเหมือนกัน มี Correlation ดีขึ้นเล็กน้อย เป็น 77% จากกราฟน่าสนใจว่ายิ่งราคาสูงจะเห็นว่ายิ่งพล็อตใกล้เทรนด์ไลน์ แต่ที่ราคาต่ำๆกระจัดกระจายกว่ามาก
ส่วน correlation ประมาณ 70% ขึ้นไป จะทำให้พ้นข้อกล่าวหาว่า "มั่ว" "ความน่าเชื่อถือต่ำ" หรือไม่ก็แล้วแต่ท่านจะพิจารณา
ข้อมูลจาก http://www.football-observatory.com/IMG/pdf/note01en.pdf
http://www.football-observatory.com/IMG/pdf/note02en.pdf
http://www.cies.ch/cies/news/news/article/transfer-window-analysis-over-and-under-paid-players/
http://www.football-observatory.com/IMG/sites/b5wp/2015/136/en/
http://www.football-observatory.com/IMG/pdf/mr27en.pdf