ผมมีโอกาสได้ไปรับฟังการอภิปรายในหัวข้อ “สู่ยุคหนังสือดิจิทัล นักเขียนและนักอ่านดิจิทัลในสังคมไทย” ซึ่งจัดขึ้นโดยสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย จัดที่ห้องเอนกประสงค์ ชั้นที่ 1 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เมื่อวันอาทิตย์ที่ 7 มกราคม 2561 ที่ผ่านมา ผมเห็นว่าเนื้อหาในการอภิปรายนั้นมีประโยชน์และน่าสนใจสำหรับผู้ที่ในแวดวงวรรณกรรม รวมทั้งผู้ที่ใช้อินเตอร์เน็ตในชีวิตประจำวันอย่างพวกเราทุกคนด้วย ผมจึงขอนำรายละเอียดมาเขียนเล่าให้ท่านฟังกันครับ
(รายละเอียดจากการอภิปราย ผมจดเป็นบันทึกช่วยจำย่อ (จดเลคเชอร์) แล้วจึงนำมาเรียบเรียงใหม่ ดังนั้นถ้ามีรายละเอียดประการใดที่ผิดพลาด หรือคาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง รวมทั้งคำทับศัพท์ต่างๆ ที่ผมไม่ได้เขียนเป็นคำภาษาอังกฤษกำกับไว้ให้ ผมก็ต้องกราบขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ ขอบคุณมากครับ)
ผู้ร่วมอภิปราย คือ อาจารย์อรรถพล ปะมะโข อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาอังกฤษและภาษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และคุณเปรมวิทย์ ศรีชาติวงศ์ คุณปิ๊ปโป้ เจ้าของและผู้ก่อตั้ง Storylog มีผู้ดำเนินการอภิปรายโดย อาจารย์ตรีศิลป์ บุญขจร นายกสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย ผู้เป็นเจ้าภาพในการจัดงานวันนี้
เริ่มจากอาจารย์ตรีศิลป์ บุญขจร
-เกริ่นถึงสถานการณ์เกี่ยวกับวงการสิ่งพิมพ์ที่กำลังประสบปัญหาอยู่ในปัจจุบัน การเข้ามาของสื่อดิจิทัลทำให้สื่อที่เป็นกระดาษทยอยปิดตัวกันไป ทั้งวารสาร นิตยสารและสำนักพิมพ์หนังสือ ฯลฯ
-ต้องยอมรับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกกาภิวัฒน์ ที่สื่อเทคโนโลยีต่างๆ จะมีอิทธิพลต่อการใช้ชิวิตของผู้คน การใช้อินเตอร์เน็ตจะอยู่ควบคู่กับชีวิตประจำวันของคนทั่วไป ทำให้เกิดการปรับตัวครั้งใหญ่ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนอ่านหนังสือ โดยต้องหันไปอ่านหนังสือในรูปแบบใหม่ ถือว่าเป็นปรากฎการณ์ใหม่ที่เกิดขึ้นในสังคมบ้านเรา
-การเขียนหนังสือในยุคดิจิทัลนี้ ส่วนใหญ่จะใช้ภาพในการดำเนินเรื่อง หรือใช้ภาพต่างๆ ในการเล่าเรื่องราว จึงเรียกว่าเป็นวัฒนธรรมการอ่านด้วยสายตาที่มาพร้อมกับสื่อสังคมโซเซียลมิเดีย
อาจารย์อรรถพล ปะมะโข
อาจารย์อรรถพล ปะมะโข
-อยากจะเล่าว่า สถานการณ์ที่อ.ตรีศิลป์เกริ่นมานั้น มันไม่ใช่ปรากฎการณ์การเปลี่ยนแปลงผ่านสื่อที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก จริงๆ แล้วมีการเปลี่ยนแปลงผ่านสื่อมาตั้งแต่ยุคโบราณแล้ว แต่เดิมจะเป็นการเล่าเรื่องด้วยปาก ที่เรียกว่า “มุขปาฐะ” คือการเล่าต่อๆ กันมาโดยมิได้เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร ต่อมามีการนำเอากระดาษมาใช้เขียนเพื่อบันทึกเรื่องราวต่างๆ แทน
-ตามประวัติศาสตร์ก็เคยระบุว่า โซเครตีสแอนตี้วัฒนธรรมการเขียน เพราะมองว่าจะทำให้ระบบความจำของสมองมนุษย์นั้นด้อยลง
-ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงจากสื่อสิ่งพิมพ์หรือที่เรียกว่า พรินต์เทค (print text) เปลี่ยนมาเป็นสื่อดิจิทัลในรูปแบบต่างๆ นั้น ถือว่าเป็นการปรับเปลี่ยนตามกระแส ตามยุคสมัย
-เมื่อมีการปิดตัวของสื่อสิ่งพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือหรือนิตยสารต่างๆ ก็มีแอฟลิเคชั่นในการอ่านรูปแบบใหม่เกิดขึ้นมาแทน เพื่อเป็นสื่อกลางของการเล่าเรื่องจากผู้เขียนไปสู่ผู้อ่าน อย่างเช่นแอฟปัจจุบันที่มีอยู่ในสื่อไทย เช่น จอยลดา , ธัญวลัย , นิยายเด็กดี , Storylog , ReadAWrite เป็นต้น
-หรืออย่าง The MATTER ที่เป็นเว็บไซต์ข่าวด้านวรรณกรรม ที่ย่อยข่าวออกเป็นข่าวสั้นๆ ให้คนเข้ามาอ่านด้วยภาษาที่ง่ายๆ ถือเป็นอีกรูปแบบใหม่ของการอ่านในยุคดิจิทัลนี้
-แต่เท่าที่ลองคลิกเข้าไปอ่านดู พวกที่เป็นนวนิยายออนไลน์ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องที่มีเนื้อหาล่อแหลม , หมิ่นเหม่ , อิโรติก หรือเป็นนิยายวาย ถือว่าไม่เป็นการปิดกั้นและเปิดเสรีในการอ่านอย่างมาก
-ที่ผ่านมาสื่อสิ่งพิมพ์จำพวกพรินต์เทค เราจำเป็นต้องซื้อมาถึงจะอ่านได้ บางเรื่องบางเล่มก็หาซื้อยากหรือหาซื้อไม่ได้ พอมีนวนิยายออนไลน์เกิดขึ้น เข้าก็สามารถเข้ามาอ่านในอินเตอร์เน็ตได้ ทำให้มีผู้เข้ามาอ่านนิยายได้เยอะขึ้น
-การเขียนนวนิยายออนไลน์เป็นการตัดระบบบรรณาธิการออก ข้อดีคือนักเขียนสามารถสื่อสารกับผู้อ่านได้โดยตรง สะดวกรวดเร็ว ชอบหรือไม่ชอบอะไรก็เขียนความคิดเห็น (คอมเม้นท์)บอกนักเขียนได้เลย ข้อเสียคือไม่มีการเซ็นเซอร์หรือกลั่นกรองจากบรรณาธิการเลย
-ปัจจุบันนี้ใครก็เป็นนักเขียนได้ อยากเขียนก็เขียนออนไลน์ลงไปในแอฟต่างๆ ทางอินเตอร์เน็ตได้ ไม่เหมือนสมัยก่อนที่คนอยากจะเป็นนักเขียนต้องส่งเรื่องไปให้สำนักพิมพ์พิจารณา กว่าจะผ่านหลักเกณฑ์ขั้นตอนต่างๆ กว่าจะได้ตีพิมพ์เป็นเล่มต้องใช้เวลานานมาก
-ดังนั้นจึงเกิดอาชีพนักเขียนออนไลน์ขึ้น เมื่อเขาเขียนเรื่องลงอินเตอร์เน็ตแล้วมีคนอ่าน เขาก็เขียนต่อไปได้เรื่อยๆ มีแฟนคลับมาอ่านเป็นประจำเยอะ ทำให้นักเขียนออนไลน์พวกนี้มีรายได้ด้วย
-นักเขียนออนไลน์บางคนเป็นนักศึกษาอยู่ เขียนไปด้วยเรียนไปด้วย เขียนดีจนถูกใจคนอ่านในออนไลน์ก็สามารถทำรายได้เป็นกอบเป็นกำได้
-ลักษณะพิเศษของนวนิยายออนไลน์ในยุคดิจิทัลคือ ตัดระบบบรรณาธิการออกไปเลย นักเขียนมีอิสระมากมายในการเขียน นวนิยายแต่ละบทต้องสั้น กระชับ และจบอย่างรวดเร็ว เพื่อเริ่มเขียนเรื่องใหม่ต่อไป
-เขียนให้แต่ละบทสั้น แต่ต้องเขียนให้สนุกทำให้ผู้อ่านอยากอ่านตอนต่อไปเร็วๆ เขียนอะไรสั้นๆ เพราะการอ่านในระบบออนไลน์จะไม่อ่านอะไรที่ยาวๆ เพราะในอินเตอร์เน็ตไม่มีลักษณะพิเศษที่ดึงดูดให้อ่านต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ ได้ จึงกลายเป็นการอ่านแบบ “ไฮเปอร์รีดดิ้ง” คืออ่านแบบสมาธิสั้น ไม่อ่านอะไรที่ยาวๆ อ่านเปลี่ยนแบบพลิกหน้าบราวเซอร์ไปเรื่อยๆ
-ลักษณะพิเศษของนวนิยายออนไลน์อย่างหนึ่งที่สื่อสิ่งพิมพ์ไม่มีคือ การมีระบบคอมเม้นท์เพื่อสื่อสารกับนักเขียนได้โดยตรงในทันทีที่อ่านจบ ชอบหรือไม่ชอบอะไรก็เขียนความคิดเห็น (คอมเม้นท์)บอกนักเขียนได้เลย ซึ่งพรินต์เทคไม่สามารถได้
-การอ่านในลักษณะที่โต้ตอบกับผู้เขียนได้โดยตรงแบบนี้ เป็นวัฒนธรรมการอ่านบนอินเตอร์เน็ตที่เรียกว่า “คอร์เลคตีบ เอ็กซ์พรีเรียน” คือแต่เดิมเราอ่านหนังสือเล่มเราก็อ่านคนเดียว อ่านในใจ แต่พอเป็นการอ่านบนอินเตอร์เน็ตจะเป็นการอ่านแบบร่วมกัน แต่ละคนอ่านแล้วมีความคิดเห็นอย่างไรก็มาแชร์กันในคอมเม้นท์ เป็นประสบการณ์ร่วมที่จะสนุกสนานกับเรื่องที่อ่านด้วยกัน
อาจารย์ตรีศิลป์
-มองว่าคนรุ่นใหม่มองโลกในแง่ดี มองว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องที่ดี ไม่ถือว่าเป็นการล่มสลายหรือเป็นการบ่อนทำลายที่เลวร้ายเลย
-การตัดตอนบรรณาธิการออก สิ่งที่เกิดขึ้นคือไม่มีการตรวจสอบเลยจริงหรือ? ไม่มีการกลั่นกรองเบื้องต้นเลยหรือ? จะเขียนอะไรก็เขียนได้เลยหรือ? จะโพสอะไรก็โพสได้เลยหรือ? ไม่เหลือข้อจำกัดอะไรเลยหรือ? หรือว่าบรรณาธิการจะเปลี่ยนรูปลักษณ์ไปแล้ว
-เสริมจากที่อาจารย์อรรถพลพูด มีประเด็นที่น่าสนใจคือ การอ่านแบบ “ไฮเปอร์รีดดิ้ง” หรืออ่านแบบ “สตรีมมิ่ง” คือการอ่านแบบเร็วๆ สั้นๆ นั้น อ่านแล้วอาจจะทำให้เกิดการเข้าใจผิด เกิดกระแสต่างๆ เนื่องจากตีความหมายผิดไป ไม่สามารถวิเคราะห์เนื้อหาที่แท้จริงได้ เนื่องจากอ่านน้อยจึงไม่มีข้อมูลมากเพียงพอสำหรับการวิเคราะห์ว่าเป็นความจริงหรือไม่? การอ่านในลักษณะแบบนี้ผู้อ่านควรจะต้องระมัดระวังด้วย
สู่ยุคหนังสือดิจิทัล นักเขียนและนักอ่านดิจิทัลในสังคมไทย
ผมมีโอกาสได้ไปรับฟังการอภิปรายในหัวข้อ “สู่ยุคหนังสือดิจิทัล นักเขียนและนักอ่านดิจิทัลในสังคมไทย” ซึ่งจัดขึ้นโดยสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย จัดที่ห้องเอนกประสงค์ ชั้นที่ 1 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เมื่อวันอาทิตย์ที่ 7 มกราคม 2561 ที่ผ่านมา ผมเห็นว่าเนื้อหาในการอภิปรายนั้นมีประโยชน์และน่าสนใจสำหรับผู้ที่ในแวดวงวรรณกรรม รวมทั้งผู้ที่ใช้อินเตอร์เน็ตในชีวิตประจำวันอย่างพวกเราทุกคนด้วย ผมจึงขอนำรายละเอียดมาเขียนเล่าให้ท่านฟังกันครับ
(รายละเอียดจากการอภิปราย ผมจดเป็นบันทึกช่วยจำย่อ (จดเลคเชอร์) แล้วจึงนำมาเรียบเรียงใหม่ ดังนั้นถ้ามีรายละเอียดประการใดที่ผิดพลาด หรือคาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง รวมทั้งคำทับศัพท์ต่างๆ ที่ผมไม่ได้เขียนเป็นคำภาษาอังกฤษกำกับไว้ให้ ผมก็ต้องกราบขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ ขอบคุณมากครับ)
ผู้ร่วมอภิปราย คือ อาจารย์อรรถพล ปะมะโข อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาอังกฤษและภาษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และคุณเปรมวิทย์ ศรีชาติวงศ์ คุณปิ๊ปโป้ เจ้าของและผู้ก่อตั้ง Storylog มีผู้ดำเนินการอภิปรายโดย อาจารย์ตรีศิลป์ บุญขจร นายกสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย ผู้เป็นเจ้าภาพในการจัดงานวันนี้
เริ่มจากอาจารย์ตรีศิลป์ บุญขจร
-เกริ่นถึงสถานการณ์เกี่ยวกับวงการสิ่งพิมพ์ที่กำลังประสบปัญหาอยู่ในปัจจุบัน การเข้ามาของสื่อดิจิทัลทำให้สื่อที่เป็นกระดาษทยอยปิดตัวกันไป ทั้งวารสาร นิตยสารและสำนักพิมพ์หนังสือ ฯลฯ
-ต้องยอมรับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกกาภิวัฒน์ ที่สื่อเทคโนโลยีต่างๆ จะมีอิทธิพลต่อการใช้ชิวิตของผู้คน การใช้อินเตอร์เน็ตจะอยู่ควบคู่กับชีวิตประจำวันของคนทั่วไป ทำให้เกิดการปรับตัวครั้งใหญ่ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนอ่านหนังสือ โดยต้องหันไปอ่านหนังสือในรูปแบบใหม่ ถือว่าเป็นปรากฎการณ์ใหม่ที่เกิดขึ้นในสังคมบ้านเรา
-การเขียนหนังสือในยุคดิจิทัลนี้ ส่วนใหญ่จะใช้ภาพในการดำเนินเรื่อง หรือใช้ภาพต่างๆ ในการเล่าเรื่องราว จึงเรียกว่าเป็นวัฒนธรรมการอ่านด้วยสายตาที่มาพร้อมกับสื่อสังคมโซเซียลมิเดีย
อาจารย์อรรถพล ปะมะโข
-อยากจะเล่าว่า สถานการณ์ที่อ.ตรีศิลป์เกริ่นมานั้น มันไม่ใช่ปรากฎการณ์การเปลี่ยนแปลงผ่านสื่อที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก จริงๆ แล้วมีการเปลี่ยนแปลงผ่านสื่อมาตั้งแต่ยุคโบราณแล้ว แต่เดิมจะเป็นการเล่าเรื่องด้วยปาก ที่เรียกว่า “มุขปาฐะ” คือการเล่าต่อๆ กันมาโดยมิได้เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร ต่อมามีการนำเอากระดาษมาใช้เขียนเพื่อบันทึกเรื่องราวต่างๆ แทน
-ตามประวัติศาสตร์ก็เคยระบุว่า โซเครตีสแอนตี้วัฒนธรรมการเขียน เพราะมองว่าจะทำให้ระบบความจำของสมองมนุษย์นั้นด้อยลง
-ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงจากสื่อสิ่งพิมพ์หรือที่เรียกว่า พรินต์เทค (print text) เปลี่ยนมาเป็นสื่อดิจิทัลในรูปแบบต่างๆ นั้น ถือว่าเป็นการปรับเปลี่ยนตามกระแส ตามยุคสมัย
-เมื่อมีการปิดตัวของสื่อสิ่งพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือหรือนิตยสารต่างๆ ก็มีแอฟลิเคชั่นในการอ่านรูปแบบใหม่เกิดขึ้นมาแทน เพื่อเป็นสื่อกลางของการเล่าเรื่องจากผู้เขียนไปสู่ผู้อ่าน อย่างเช่นแอฟปัจจุบันที่มีอยู่ในสื่อไทย เช่น จอยลดา , ธัญวลัย , นิยายเด็กดี , Storylog , ReadAWrite เป็นต้น
-หรืออย่าง The MATTER ที่เป็นเว็บไซต์ข่าวด้านวรรณกรรม ที่ย่อยข่าวออกเป็นข่าวสั้นๆ ให้คนเข้ามาอ่านด้วยภาษาที่ง่ายๆ ถือเป็นอีกรูปแบบใหม่ของการอ่านในยุคดิจิทัลนี้
-แต่เท่าที่ลองคลิกเข้าไปอ่านดู พวกที่เป็นนวนิยายออนไลน์ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องที่มีเนื้อหาล่อแหลม , หมิ่นเหม่ , อิโรติก หรือเป็นนิยายวาย ถือว่าไม่เป็นการปิดกั้นและเปิดเสรีในการอ่านอย่างมาก
-ที่ผ่านมาสื่อสิ่งพิมพ์จำพวกพรินต์เทค เราจำเป็นต้องซื้อมาถึงจะอ่านได้ บางเรื่องบางเล่มก็หาซื้อยากหรือหาซื้อไม่ได้ พอมีนวนิยายออนไลน์เกิดขึ้น เข้าก็สามารถเข้ามาอ่านในอินเตอร์เน็ตได้ ทำให้มีผู้เข้ามาอ่านนิยายได้เยอะขึ้น
-การเขียนนวนิยายออนไลน์เป็นการตัดระบบบรรณาธิการออก ข้อดีคือนักเขียนสามารถสื่อสารกับผู้อ่านได้โดยตรง สะดวกรวดเร็ว ชอบหรือไม่ชอบอะไรก็เขียนความคิดเห็น (คอมเม้นท์)บอกนักเขียนได้เลย ข้อเสียคือไม่มีการเซ็นเซอร์หรือกลั่นกรองจากบรรณาธิการเลย
-ปัจจุบันนี้ใครก็เป็นนักเขียนได้ อยากเขียนก็เขียนออนไลน์ลงไปในแอฟต่างๆ ทางอินเตอร์เน็ตได้ ไม่เหมือนสมัยก่อนที่คนอยากจะเป็นนักเขียนต้องส่งเรื่องไปให้สำนักพิมพ์พิจารณา กว่าจะผ่านหลักเกณฑ์ขั้นตอนต่างๆ กว่าจะได้ตีพิมพ์เป็นเล่มต้องใช้เวลานานมาก
-ดังนั้นจึงเกิดอาชีพนักเขียนออนไลน์ขึ้น เมื่อเขาเขียนเรื่องลงอินเตอร์เน็ตแล้วมีคนอ่าน เขาก็เขียนต่อไปได้เรื่อยๆ มีแฟนคลับมาอ่านเป็นประจำเยอะ ทำให้นักเขียนออนไลน์พวกนี้มีรายได้ด้วย
-นักเขียนออนไลน์บางคนเป็นนักศึกษาอยู่ เขียนไปด้วยเรียนไปด้วย เขียนดีจนถูกใจคนอ่านในออนไลน์ก็สามารถทำรายได้เป็นกอบเป็นกำได้
-ลักษณะพิเศษของนวนิยายออนไลน์ในยุคดิจิทัลคือ ตัดระบบบรรณาธิการออกไปเลย นักเขียนมีอิสระมากมายในการเขียน นวนิยายแต่ละบทต้องสั้น กระชับ และจบอย่างรวดเร็ว เพื่อเริ่มเขียนเรื่องใหม่ต่อไป
-เขียนให้แต่ละบทสั้น แต่ต้องเขียนให้สนุกทำให้ผู้อ่านอยากอ่านตอนต่อไปเร็วๆ เขียนอะไรสั้นๆ เพราะการอ่านในระบบออนไลน์จะไม่อ่านอะไรที่ยาวๆ เพราะในอินเตอร์เน็ตไม่มีลักษณะพิเศษที่ดึงดูดให้อ่านต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ ได้ จึงกลายเป็นการอ่านแบบ “ไฮเปอร์รีดดิ้ง” คืออ่านแบบสมาธิสั้น ไม่อ่านอะไรที่ยาวๆ อ่านเปลี่ยนแบบพลิกหน้าบราวเซอร์ไปเรื่อยๆ
-ลักษณะพิเศษของนวนิยายออนไลน์อย่างหนึ่งที่สื่อสิ่งพิมพ์ไม่มีคือ การมีระบบคอมเม้นท์เพื่อสื่อสารกับนักเขียนได้โดยตรงในทันทีที่อ่านจบ ชอบหรือไม่ชอบอะไรก็เขียนความคิดเห็น (คอมเม้นท์)บอกนักเขียนได้เลย ซึ่งพรินต์เทคไม่สามารถได้
-การอ่านในลักษณะที่โต้ตอบกับผู้เขียนได้โดยตรงแบบนี้ เป็นวัฒนธรรมการอ่านบนอินเตอร์เน็ตที่เรียกว่า “คอร์เลคตีบ เอ็กซ์พรีเรียน” คือแต่เดิมเราอ่านหนังสือเล่มเราก็อ่านคนเดียว อ่านในใจ แต่พอเป็นการอ่านบนอินเตอร์เน็ตจะเป็นการอ่านแบบร่วมกัน แต่ละคนอ่านแล้วมีความคิดเห็นอย่างไรก็มาแชร์กันในคอมเม้นท์ เป็นประสบการณ์ร่วมที่จะสนุกสนานกับเรื่องที่อ่านด้วยกัน
อาจารย์ตรีศิลป์
-มองว่าคนรุ่นใหม่มองโลกในแง่ดี มองว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องที่ดี ไม่ถือว่าเป็นการล่มสลายหรือเป็นการบ่อนทำลายที่เลวร้ายเลย
-การตัดตอนบรรณาธิการออก สิ่งที่เกิดขึ้นคือไม่มีการตรวจสอบเลยจริงหรือ? ไม่มีการกลั่นกรองเบื้องต้นเลยหรือ? จะเขียนอะไรก็เขียนได้เลยหรือ? จะโพสอะไรก็โพสได้เลยหรือ? ไม่เหลือข้อจำกัดอะไรเลยหรือ? หรือว่าบรรณาธิการจะเปลี่ยนรูปลักษณ์ไปแล้ว
-เสริมจากที่อาจารย์อรรถพลพูด มีประเด็นที่น่าสนใจคือ การอ่านแบบ “ไฮเปอร์รีดดิ้ง” หรืออ่านแบบ “สตรีมมิ่ง” คือการอ่านแบบเร็วๆ สั้นๆ นั้น อ่านแล้วอาจจะทำให้เกิดการเข้าใจผิด เกิดกระแสต่างๆ เนื่องจากตีความหมายผิดไป ไม่สามารถวิเคราะห์เนื้อหาที่แท้จริงได้ เนื่องจากอ่านน้อยจึงไม่มีข้อมูลมากเพียงพอสำหรับการวิเคราะห์ว่าเป็นความจริงหรือไม่? การอ่านในลักษณะแบบนี้ผู้อ่านควรจะต้องระมัดระวังด้วย