คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 11
ลองอธิบายทางวิชาการก็แล้วกันครับ
1.ตด ประกอบด้วยแก๊สหลัก2ตัวคือ มีเทน และ ไฮโดรเจนซัลไฟด์(แก๊สไข่เน่า) เนื่องจากเป็นผลผลิตจากการย่อยสลายสารอินทรีย์(กากอาหารในลำไส้)แบบไม่ใช้ออกซิเจน
2.แก๊สไข่เน่า มีกลิ่นเหม็นมาก แต่แก๊สมีเทนไม่มีกลิ่น แต่จะติดไฟได้
https://video.postjung.com/33638.html
ดังนั้น กลิ่นของตดจึงขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของแก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์(แก๊สไข่เน่า)ครับ
3.ความสามารถในการละลายน้ำ
แก๊สมีเทน คือ 3.5 mg/100 mL (17 °C)
แก๊สไฮโดรเจนซัลไฟลด์(แก๊สไข่เน่า) คือ 0.4 g/100 mL (20 °C)
4 มวลโมเลกุล
มีเทน มวลต่อหนึ่งโมล 16.042 g/mol
ไฮโดรเจนซัลไฟด์(แก๊สไข่เน่า)
มวลต่อหนึ่งโมล 34.082 g/mol
สรุป
1.ความเหม็นของตดขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของแก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์(แก๊สไข่เน่า)
2 ในอุณหภูมิที่สูงขึ้นจะทำให้ มีเทนมีค่าการละลายลดลง และด้วย มวลต่อโมลที่ต่ำกว่า ทำให้มีแรงดันที่สูงกว่าในอุณหภูมิเดียวกัน จึงคาดว่า
ตดที่รู้สึกแรงดันมากและตดเป็นลูกใหญ่ จะมีแนวโน้มว่ากลิ่นจะน้อยกว่าเนื่องจากมีจำนวนแก๊สมีเทนมากกว่า
3ในอุณหถูมิที่สูงขึ้น ค่าการละลายของไฮโดรเจนซัลไฟด์(แก๊สไข่เน่า)จะลดลงและแรงดันแก๊สจะเพิ่มขึ้นแต่น้อยกว่ามีเทน
ตดที่ค่อยๆปล่อยออกมาเป็นช่วงๆ มีแรงดันต่ำ มีแนวโน้มว่าตอนท้ายๆ จะมีกลิ่นรุนแรงกว่า เพราะมีความเข้มข้นของไฮโดรเจนซัลไฟด์(แก๊สไข่เน่า)สูงในตอนท้าย ครับ
ตดในฤดูหนาวมีแนวโน้มจะเหม็นมากกว่าตดในฤดูร้อนเช่นกันครับ
ปล.แก๊สเหล่านี้จะเกิดมากถ้าอาหารที่กินเป็นพวกสารอาหารที่ย่อยยากเช่น พวกโปรตีนจากเนื้อสัตว์หรือเมล็ดถ่วครับ เพราะร่างกายย่อยได้ไม่ทันหมดก็ผ่านมาถึงลำไส้ใหญ่ที่จุลินทรีย์จะย่อยแทนและได้แก๊ส 2ตัวนี้เป็นผลพลอยได้ครับ
1.ตด ประกอบด้วยแก๊สหลัก2ตัวคือ มีเทน และ ไฮโดรเจนซัลไฟด์(แก๊สไข่เน่า) เนื่องจากเป็นผลผลิตจากการย่อยสลายสารอินทรีย์(กากอาหารในลำไส้)แบบไม่ใช้ออกซิเจน
2.แก๊สไข่เน่า มีกลิ่นเหม็นมาก แต่แก๊สมีเทนไม่มีกลิ่น แต่จะติดไฟได้
https://video.postjung.com/33638.html
ดังนั้น กลิ่นของตดจึงขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของแก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์(แก๊สไข่เน่า)ครับ
3.ความสามารถในการละลายน้ำ
แก๊สมีเทน คือ 3.5 mg/100 mL (17 °C)
แก๊สไฮโดรเจนซัลไฟลด์(แก๊สไข่เน่า) คือ 0.4 g/100 mL (20 °C)
4 มวลโมเลกุล
มีเทน มวลต่อหนึ่งโมล 16.042 g/mol
ไฮโดรเจนซัลไฟด์(แก๊สไข่เน่า)
มวลต่อหนึ่งโมล 34.082 g/mol
สรุป
1.ความเหม็นของตดขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของแก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์(แก๊สไข่เน่า)
2 ในอุณหภูมิที่สูงขึ้นจะทำให้ มีเทนมีค่าการละลายลดลง และด้วย มวลต่อโมลที่ต่ำกว่า ทำให้มีแรงดันที่สูงกว่าในอุณหภูมิเดียวกัน จึงคาดว่า
ตดที่รู้สึกแรงดันมากและตดเป็นลูกใหญ่ จะมีแนวโน้มว่ากลิ่นจะน้อยกว่าเนื่องจากมีจำนวนแก๊สมีเทนมากกว่า
3ในอุณหถูมิที่สูงขึ้น ค่าการละลายของไฮโดรเจนซัลไฟด์(แก๊สไข่เน่า)จะลดลงและแรงดันแก๊สจะเพิ่มขึ้นแต่น้อยกว่ามีเทน
ตดที่ค่อยๆปล่อยออกมาเป็นช่วงๆ มีแรงดันต่ำ มีแนวโน้มว่าตอนท้ายๆ จะมีกลิ่นรุนแรงกว่า เพราะมีความเข้มข้นของไฮโดรเจนซัลไฟด์(แก๊สไข่เน่า)สูงในตอนท้าย ครับ
ตดในฤดูหนาวมีแนวโน้มจะเหม็นมากกว่าตดในฤดูร้อนเช่นกันครับ
ปล.แก๊สเหล่านี้จะเกิดมากถ้าอาหารที่กินเป็นพวกสารอาหารที่ย่อยยากเช่น พวกโปรตีนจากเนื้อสัตว์หรือเมล็ดถ่วครับ เพราะร่างกายย่อยได้ไม่ทันหมดก็ผ่านมาถึงลำไส้ใหญ่ที่จุลินทรีย์จะย่อยแทนและได้แก๊ส 2ตัวนี้เป็นผลพลอยได้ครับ
แสดงความคิดเห็น
ตดที่กำลังจะออกมาจะเหม็นหรือไม่เหม็น ประเมินล่วงหน้าได้ยังไงบ้าง?
(ภาพประกอบจากอินเตอร์เนต)