สำหรับวันนี้อยากจะมาเล่าเรื่องเกี่ยวกับน้ำฝนกับมะยงชิดที่ออกช่อแล้ว โดยที่สวนมะยงชิดรัตนานิยมของเราเคยพบกับปัญหาฝนที่ตกลงมาขณะที่ต้นมะยงชิดกำลังออกช่อ ทำให้ช่อร่วง และก็ติดผลได้น้อยลง ซึ่งสันนิษฐานว่ามีสาเหตุมาจากน้ำฝน เพราะน้ำฝนจะมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ Ph (ความเป็นกรดเบส) ประมาณ 5-7 ซึ่งจะส่งผลให้ขั้วของมะปรางหลุดลงมา ในกรณีที่ฝนตกพรำๆ ช่อดอกของมะยงชิดก็จะไม่เป็นไร แต่ถ้าฝนตกหนักหรือใช้น้ำรดที่ช่อดอกแรงๆ ก็จะมีผลต่อการติดลูก เพราะก้านช่อดอกของมะยงชิดมีความบอบบางกว่าต้นอื่นๆ เช่น มะม่วง ถ้าโดนลมแรงๆที่ช่อดอก ช่อดอกก็จะร่วงหักหล่นลงมาได้ ไม่มีเหลือให้แมลงได้ผสมเกสร
ลองชมคลิปแนะนำเรื่องน้ำฝนส่งผลต่อช่อดอกมะยงชิด มะปรางหวานกันนะคะ
กรณีช่อมะม่วงจะต่างกัน ถ้าเกิดฝนตก เกิด “ฝนชะช่อมะม่วง” คือ น้ำฝนช่วยชะล้างหรือทำความสะอาดช่อมะม่วง นั่นเอง เป็นคำพูดของคนโบราณ ในความเป็นจริงนั้น น้ำฝนเป็นตัวช่วยชะล้างมูลหวานเพลี้ยจั๊กจั่น กับชะล้างคราบราดำ ทำให้ใบสะอาดสังเคราะห์สารอาหารได้ นั่นเอง
อยากเล่าเรื่อง "ฝนชะช่อมะม่วง จะติดผลดก" ซะเลยนะคะ เดือนที่มะม่วงออกดอกประจำปี ศัตรูพืชของดอกมะม่วงก็คือ "เพลี้ยจั๊กจั่น" เจ้าเพลี้ยตัวนี้เข้ามาดูดกินน้ำเลี้ยงที่ก้านช่อดอก เมื่อเข้ามาเกาะดูดกินแล้วจะถ่ายมูลออกมา ภาษาวิชาการเรียกว่า "มูลหวานเพลี้ยจั๊กจั่น" จากนั้น "เชื้อรา" ที่ล่องลอยอยู่ในอากาศก็จะเข้ามากินมูลหวานตัวนี้ต่อ แล้วแพร่ขยายพันธุ์ไปทั่วก้านดอกและใบมะม่วง ทั้งใบอ่อนใบแก่ เพลี่ยจั๊กจั่นเมื่อดูดกินน้ำเลี้ยงที่ช่อดอกแล้วทำให้ช่อดอกขาดสารอาหาร และราดำที่ขยายพันธุ์แผ่คลุมตามใบ ทำให้ใบไม่สามารถสังเคราะห็สารอาหารได้ ส่งผลให้ต้นผลิตสารอาหารไปเลี้ยงต้นโดยเฉพาะดอกไม่เพียงพอ จึงเป็นเหตุให้ดอกร่วงเหลือแต่ก้าน
การปฏิบัติ :
- เมื่อรู้ว่า "น้ำ" สามารถชะล้างมูลหวานเพลี้ยจั้กจั่นและราดำได้เช่นนี้แล้ว ก็ถ้าฝนไม่ตกเราก็ทำฝนตกเสียเองซี่ นั่นคือ ใช้น้ำฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่ม ฉีดโชกๆ ฉีดบ่อยๆ อย่างน้อย 2-3 วัน/ครั้ง.... การฉีดพ่นน้ำให้ได้ผลดี ไม่ควรฉีดพ่นตอนกลางวัน โดยเฉพาะช่วงเช้า-เที่ยง เพราะเป็นช่วงที่เกสรต้องการผสม หากฉีดน้ำอาจทำให้เกสรเปียกจนผสมไม่ติดได้ ดังนั้นจึงควรฉีดตอนหัวค่ำ....และไม่ควรฉีดพ่นสารเคมีทุกชนิด เพราะจะเป็นอันตรายต่อแมลงธรรมชาติที่จะเข้ามาช่วยผสมเกสร
- การกำจัดเพลี้ยจั๊กจั่น แนะนำให้ใช้ "ควันรม" เข้าทรงพุ่ม ช่วงหัวค่ำ ในควันนั้นอาจใส่ "ยาฉุน" ร่วมเข้าไปด้วยจะเป็นการเพิ่มกลิ่นช่วยไล่เพลี้ยจั๊กจั่นให้ได้ผลยิ่งขึ้น
สวนมะยงชิดรัตนานิยม
089-9393382
ถ้าฝนตกจะเกิดอะไรขึ้นกับช่อดอกมะยงชิด มะปรางหวาน?..มาดูกัน
กรณีช่อมะม่วงจะต่างกัน ถ้าเกิดฝนตก เกิด “ฝนชะช่อมะม่วง” คือ น้ำฝนช่วยชะล้างหรือทำความสะอาดช่อมะม่วง นั่นเอง เป็นคำพูดของคนโบราณ ในความเป็นจริงนั้น น้ำฝนเป็นตัวช่วยชะล้างมูลหวานเพลี้ยจั๊กจั่น กับชะล้างคราบราดำ ทำให้ใบสะอาดสังเคราะห์สารอาหารได้ นั่นเอง
อยากเล่าเรื่อง "ฝนชะช่อมะม่วง จะติดผลดก" ซะเลยนะคะ เดือนที่มะม่วงออกดอกประจำปี ศัตรูพืชของดอกมะม่วงก็คือ "เพลี้ยจั๊กจั่น" เจ้าเพลี้ยตัวนี้เข้ามาดูดกินน้ำเลี้ยงที่ก้านช่อดอก เมื่อเข้ามาเกาะดูดกินแล้วจะถ่ายมูลออกมา ภาษาวิชาการเรียกว่า "มูลหวานเพลี้ยจั๊กจั่น" จากนั้น "เชื้อรา" ที่ล่องลอยอยู่ในอากาศก็จะเข้ามากินมูลหวานตัวนี้ต่อ แล้วแพร่ขยายพันธุ์ไปทั่วก้านดอกและใบมะม่วง ทั้งใบอ่อนใบแก่ เพลี่ยจั๊กจั่นเมื่อดูดกินน้ำเลี้ยงที่ช่อดอกแล้วทำให้ช่อดอกขาดสารอาหาร และราดำที่ขยายพันธุ์แผ่คลุมตามใบ ทำให้ใบไม่สามารถสังเคราะห็สารอาหารได้ ส่งผลให้ต้นผลิตสารอาหารไปเลี้ยงต้นโดยเฉพาะดอกไม่เพียงพอ จึงเป็นเหตุให้ดอกร่วงเหลือแต่ก้าน
การปฏิบัติ :
- เมื่อรู้ว่า "น้ำ" สามารถชะล้างมูลหวานเพลี้ยจั้กจั่นและราดำได้เช่นนี้แล้ว ก็ถ้าฝนไม่ตกเราก็ทำฝนตกเสียเองซี่ นั่นคือ ใช้น้ำฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่ม ฉีดโชกๆ ฉีดบ่อยๆ อย่างน้อย 2-3 วัน/ครั้ง.... การฉีดพ่นน้ำให้ได้ผลดี ไม่ควรฉีดพ่นตอนกลางวัน โดยเฉพาะช่วงเช้า-เที่ยง เพราะเป็นช่วงที่เกสรต้องการผสม หากฉีดน้ำอาจทำให้เกสรเปียกจนผสมไม่ติดได้ ดังนั้นจึงควรฉีดตอนหัวค่ำ....และไม่ควรฉีดพ่นสารเคมีทุกชนิด เพราะจะเป็นอันตรายต่อแมลงธรรมชาติที่จะเข้ามาช่วยผสมเกสร
- การกำจัดเพลี้ยจั๊กจั่น แนะนำให้ใช้ "ควันรม" เข้าทรงพุ่ม ช่วงหัวค่ำ ในควันนั้นอาจใส่ "ยาฉุน" ร่วมเข้าไปด้วยจะเป็นการเพิ่มกลิ่นช่วยไล่เพลี้ยจั๊กจั่นให้ได้ผลยิ่งขึ้น
สวนมะยงชิดรัตนานิยม
089-9393382