เว็บไซต์ CES (Consumer Electronics Show) งานแสดงเทคโนโลยีที่จัดแสดงทุกปี ระบุข้อมูลบริษัทสตาร์ตอัพชื่อ DnaNudge ทำเทคโนโลยีพันธุกรรมเพื่อผู้บริโภคที่จะขึ้นเวทีในงาน CES 2018 วันที่ 10 มกราคม ข้อมูลระบุว่ามี ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีไทย เป็นผู้ร่วมก่อตั้งด้วย อย่างไรก็ตาม หลังจากตรวจสอบเว็บไซต์ CES อีกครั้งเมื่อวันที่ 1 มกราคม พบว่า ล่าสุดเว็บไซต์ลบข้อมูลของบริษัท DnaNudge ออกไปแล้ว
เดิมทีเว็บไซต์ CES ระบุข้อมูลการเสวนาในหัวข้อ The Genomics and Personalized Healthcare Revolution มีวิทยากรขึ้นพูด 5 คน และใน 5 คนนั้นมีตัวแทนจากบริษัท DnaNudge 3 คน ประกอบด้วย Dr.Maria Karvela, ดร.ทักษิณ ชินวัตร และ Christofer Toumazou ทั้งสามคนระบุตำแหน่งว่าเป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท DnaNudge แต่จากการเข้าไปตรวจสอบที่เว็บไซต์ต้นทางอีกครั้ง (
https://www.ces.tech/Conference/ConferenceProgram/Conference-Tracks/Digital-Health-Summit/The-Genomics-and-Precision-Medicine-Revolution ) พบว่าเหลือข้อมูลวิทยากร 2 คนเท่านั้น
หน้าเว็บก่อนข้อมูล DnaNudge โดนลบ
หน้าเว็บหลังโดนลบข้อมูล
จากการตรวจสอบข้อมูล DnaNudge จากเว็บไซต์บริษัท (
http://www.dnanudge.com/about.html ) ระบุว่าเป็นผู้พัฒนาบริการด้าน DNA โดยคำว่า "nudge" ที่แปลว่าผลักหรือดัน มาจากทฤษฎี nudgeomics สื่อความถึงเป็นบริการที่กระตุ้นพฤติกรรมการซื้อ การกินของผู้บริโภค ให้สอดคล้องกับพันธุกรรมของตนเอง
สำนักงานของบริษัท DnaNudge ตั้งอยู่ที่กรุงลอนดอน ใช้เทคโนโลยี DNA อันเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทควบคู่ไปกับการใช้ฐานข้อมูลโภชนาการในอาหาร เพื่อแนะนำผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับพันธุกรรม โดยโซลูชั่นของมาในรูปแบบแอพพลิเคชั่นและอุปกรณ์สวมใส่ ด้านข้อมูลผู้ก่อตั้งในเซ้บไซต์ตอนนี้ระบุว่ามีแค่ 2 คนคือ Christofer Toumazou และ Dr. Maria Karvela ส่วนข้อมูลที่ว่าทักษิณเป็นผู้ร่วมก่อตั้งด้วยนั้น ได้มาจากเว็บไซต์ CES ทางเดียว
ข้อมูลทักษิณจากเว็บไซต์ CES ก่อนที่จะถูกลบออก ระบุว่า ดร.ทักษิณ ชินวัตร นอกจากบทบาทการเมือง เขายังเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทเทคโนโลยี Medtekwiz, ลงทุนในบริษัท Owlstone Medical ที่ทำเทคโนโลยีการหายใจสำหรับการตรวจหามะเร็งในระยะเริ่มแรก และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท DnaNudge ด้วย
ข้อมูลผู้ก่อตั้งบริษัท DnaNudge ทั้ง 2 คน
Christofer Toumazou
เป็นผู้คิดค้นและผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยที่ได้รับรางวัลหลายรางวัล เขาสนใจในการผสมผสานกันระหว่างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และเทคนิคทางการแพทย์
ผลงานของ Toumazou ได้รับการจดสิทธิบัตรมากกว่า 80 ฉบับในสาขาเทคโนโลยีการดูแลสุขภาพ หนึ่งในผลงานเด่นคือ ทำชิปซิลิโคนฝังใน USB สามารถวิเคราะห์ข้อมูล DNA ได้ภายในไม่กี่นาทีและใช้ได้แม้ไม่อยู่ในห้องปฏิบัติการ ใช้ระบุโรคทางพันธุกรรม เช่น เบาหวาน หรือแนวโน้มการเกิดโรคทางพันธุกรรม ลดค่าใช้จ่ายในการทดสอบ DNA ผลงานนี้ได้รางวัล European inventor award
Toumazou เป็น Regius Professor (ตำแหน่งศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยที่ได้รับแต่งตั้งโดยสถาบันกษัตริย์ของสหราชอาณาจักร) คนแรกในสาขาวิศวกรรม และยังเป็นผู้ระดมทุนสร้างสถาบัน Institute of Biomedical Engineering ใน Imperial College London ด้วย
นอกจากงานในภาคการศึกษาแล้ว Toumazou ยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับนวัตกรรมในอุตสาหกรรมอื่น เช่น ทำวิจัยลดขนาดโทรศัพท์ดาวเทียม ซึ่ง ดร.ทักษิณ ชินวัตร ที่ขณะนั้นทำธุรกิจผู้ให้บริการเครือข่ายอยู่ได้ติดต่อ Toumazou เพื่อขอให้เขาสร้างโทรศัพท์มือถือระบบดิจิทัลและอนาล็อก และนำไปสู่การจัดตั้ง บริษัท Toumaz Technology ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำธุรกิจเชิงพาณิชย์
Dr. Maria Karvela
นักวิจัยด้านชีววิทยา และนักพันธุศาสตร์โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว เป็นผู้สร้างฐานข้อมูลลักษณะทางพันธุกรรมเชื่อมโยงกับส่วนผสมในผลิตภัณฑ์อาหารแต่ละชนิด ฐานข้อมูลนี้ใช้อัลกอริธึมที่เป็นกรรมสิทธิ์ของ DnaNudge ช่วยให้ผู้ใช้ตัดสินใจเลือกอาหารที่สอดคล้องกับ DNA ของตนเอง
ที่มาข้อมูลผู้ก่อตั้งบริษัท DnaNudge
https://www.theguardian.com/business/2014/jul/27/christopher-toumazou-lab-chip-dna-european-inventor-award
https://www.imperial.ac.uk/people/c.toumazou
ลิงก์ URL ที่ใช้อ้างอิง เคยเข้าไปดูได้แต่ตอนนี้ถูกลบออกไปแล้ว
https://www.ces.tech/Conference/ConferenceProgram/Conference-Tracks/Digital-Health-Summit/The-Genomics-and-Precision-Medicine-Revolution/Dr-Thaksin-Shinawatra
https://www.ces.tech/Conference/ConferenceProgram/Conference-Tracks/Digital-Health-Summit/The-Genomics-and-Precision-Medicine-Revolution/Dr-Maria-Karvela
https://www.ces.tech/Conference/ConferenceProgram/Conference-Tracks/Digital-Health-Summit/The-Genomics-and-Precision-Medicine-Revolution/Professor-Christofer-Toumazou
ที่มา :
https://www.blognone.com/node/98786
ทักษิณเตรียมเปิดตัวบริษัทใหม่เกี่ยวกับ DNA ที่งาน CES 2018 แต่ข้อมูลถูกลบออกไป
เดิมทีเว็บไซต์ CES ระบุข้อมูลการเสวนาในหัวข้อ The Genomics and Personalized Healthcare Revolution มีวิทยากรขึ้นพูด 5 คน และใน 5 คนนั้นมีตัวแทนจากบริษัท DnaNudge 3 คน ประกอบด้วย Dr.Maria Karvela, ดร.ทักษิณ ชินวัตร และ Christofer Toumazou ทั้งสามคนระบุตำแหน่งว่าเป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท DnaNudge แต่จากการเข้าไปตรวจสอบที่เว็บไซต์ต้นทางอีกครั้ง ( https://www.ces.tech/Conference/ConferenceProgram/Conference-Tracks/Digital-Health-Summit/The-Genomics-and-Precision-Medicine-Revolution ) พบว่าเหลือข้อมูลวิทยากร 2 คนเท่านั้น
หน้าเว็บก่อนข้อมูล DnaNudge โดนลบ
หน้าเว็บหลังโดนลบข้อมูล
จากการตรวจสอบข้อมูล DnaNudge จากเว็บไซต์บริษัท ( http://www.dnanudge.com/about.html ) ระบุว่าเป็นผู้พัฒนาบริการด้าน DNA โดยคำว่า "nudge" ที่แปลว่าผลักหรือดัน มาจากทฤษฎี nudgeomics สื่อความถึงเป็นบริการที่กระตุ้นพฤติกรรมการซื้อ การกินของผู้บริโภค ให้สอดคล้องกับพันธุกรรมของตนเอง
สำนักงานของบริษัท DnaNudge ตั้งอยู่ที่กรุงลอนดอน ใช้เทคโนโลยี DNA อันเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทควบคู่ไปกับการใช้ฐานข้อมูลโภชนาการในอาหาร เพื่อแนะนำผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับพันธุกรรม โดยโซลูชั่นของมาในรูปแบบแอพพลิเคชั่นและอุปกรณ์สวมใส่ ด้านข้อมูลผู้ก่อตั้งในเซ้บไซต์ตอนนี้ระบุว่ามีแค่ 2 คนคือ Christofer Toumazou และ Dr. Maria Karvela ส่วนข้อมูลที่ว่าทักษิณเป็นผู้ร่วมก่อตั้งด้วยนั้น ได้มาจากเว็บไซต์ CES ทางเดียว
ข้อมูลทักษิณจากเว็บไซต์ CES ก่อนที่จะถูกลบออก ระบุว่า ดร.ทักษิณ ชินวัตร นอกจากบทบาทการเมือง เขายังเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทเทคโนโลยี Medtekwiz, ลงทุนในบริษัท Owlstone Medical ที่ทำเทคโนโลยีการหายใจสำหรับการตรวจหามะเร็งในระยะเริ่มแรก และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท DnaNudge ด้วย
ข้อมูลผู้ก่อตั้งบริษัท DnaNudge ทั้ง 2 คน
Christofer Toumazou
เป็นผู้คิดค้นและผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยที่ได้รับรางวัลหลายรางวัล เขาสนใจในการผสมผสานกันระหว่างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และเทคนิคทางการแพทย์
ผลงานของ Toumazou ได้รับการจดสิทธิบัตรมากกว่า 80 ฉบับในสาขาเทคโนโลยีการดูแลสุขภาพ หนึ่งในผลงานเด่นคือ ทำชิปซิลิโคนฝังใน USB สามารถวิเคราะห์ข้อมูล DNA ได้ภายในไม่กี่นาทีและใช้ได้แม้ไม่อยู่ในห้องปฏิบัติการ ใช้ระบุโรคทางพันธุกรรม เช่น เบาหวาน หรือแนวโน้มการเกิดโรคทางพันธุกรรม ลดค่าใช้จ่ายในการทดสอบ DNA ผลงานนี้ได้รางวัล European inventor award
Toumazou เป็น Regius Professor (ตำแหน่งศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยที่ได้รับแต่งตั้งโดยสถาบันกษัตริย์ของสหราชอาณาจักร) คนแรกในสาขาวิศวกรรม และยังเป็นผู้ระดมทุนสร้างสถาบัน Institute of Biomedical Engineering ใน Imperial College London ด้วย
นอกจากงานในภาคการศึกษาแล้ว Toumazou ยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับนวัตกรรมในอุตสาหกรรมอื่น เช่น ทำวิจัยลดขนาดโทรศัพท์ดาวเทียม ซึ่ง ดร.ทักษิณ ชินวัตร ที่ขณะนั้นทำธุรกิจผู้ให้บริการเครือข่ายอยู่ได้ติดต่อ Toumazou เพื่อขอให้เขาสร้างโทรศัพท์มือถือระบบดิจิทัลและอนาล็อก และนำไปสู่การจัดตั้ง บริษัท Toumaz Technology ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำธุรกิจเชิงพาณิชย์
Dr. Maria Karvela
นักวิจัยด้านชีววิทยา และนักพันธุศาสตร์โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว เป็นผู้สร้างฐานข้อมูลลักษณะทางพันธุกรรมเชื่อมโยงกับส่วนผสมในผลิตภัณฑ์อาหารแต่ละชนิด ฐานข้อมูลนี้ใช้อัลกอริธึมที่เป็นกรรมสิทธิ์ของ DnaNudge ช่วยให้ผู้ใช้ตัดสินใจเลือกอาหารที่สอดคล้องกับ DNA ของตนเอง
ที่มาข้อมูลผู้ก่อตั้งบริษัท DnaNudge
https://www.theguardian.com/business/2014/jul/27/christopher-toumazou-lab-chip-dna-european-inventor-award
https://www.imperial.ac.uk/people/c.toumazou
ลิงก์ URL ที่ใช้อ้างอิง เคยเข้าไปดูได้แต่ตอนนี้ถูกลบออกไปแล้ว
https://www.ces.tech/Conference/ConferenceProgram/Conference-Tracks/Digital-Health-Summit/The-Genomics-and-Precision-Medicine-Revolution/Dr-Thaksin-Shinawatra
https://www.ces.tech/Conference/ConferenceProgram/Conference-Tracks/Digital-Health-Summit/The-Genomics-and-Precision-Medicine-Revolution/Dr-Maria-Karvela
https://www.ces.tech/Conference/ConferenceProgram/Conference-Tracks/Digital-Health-Summit/The-Genomics-and-Precision-Medicine-Revolution/Professor-Christofer-Toumazou
ที่มา : https://www.blognone.com/node/98786