สวัสดีครับ สมาชิกห้องเพลงทุกๆท่าน วันนี้วันเสาร์
MC แอ๊ด (WANG JIE) เข้าประจำการครับ
วันนี้ เป็นวันที่ 364 ของปีปกติสุรทิน อย่างเช่นปีนี้ (และวันที่ 365 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน และเมื่อถึงวันนี้ ก็จะเหลือวันอีกเพียงวันเดียวในปีนั้น ก็คือวันพรุ่งนี้
วันนี้หลายๆคนคงจะพักผ่อนสบายๆ ก่อนจะถึงวันกิจกรรมใหญ่ในวันพรุ่งนี้ ฉะนั้นวันนี้ MC ก็จะพูดคุยสบายๆ หาเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆมาฝากกัน แล้วค่อยเน้นๆกันวันพรุ่งนี้อีกวัน
เหตุการณ์สำคัญที่เคยเกิดขึ้นในวันนี้ ในอดีต
พ.ศ. 2396 (ค.ศ. 1853) - สหรัฐอเมริกาจ่ายเงิน 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐให้กับประเทศเม็กซิโก เพื่อซื้อที่ดิน 30,000 ตารางไมล์ ทางใต้ของแม่น้ำกิลาและตะวันตกของแม่น้ำริโอแกรนด์
พ.ศ. 2470 (ค.ศ. 1927) - ญี่ปุ่นเปิดการจราจรรถไฟใต้ดินสายกิงซะในกรุงโตเกียว ซึ่งเป็น
เส้นทางรถไฟใต้ดินสายแรกในทวีปเอเชีย
ทางรถไฟสายกินซะ เริ่มต้นเมื่อนักธุรกิจนามว่า
โนะริสึงุ ฮะยะกะวะ ได้เดินทางไปกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อปี ค.ศ. 1914 ได้เห็นกิจการรถไฟใต้ดินลอนดอน จึงเกิดความคิดว่า โตเกียวจะต้องมีรถไฟใต้ดินเป็นของตัวเอง เขาจึงก่อตั้งบริษัทรถไฟใต้ดินโตเกียว (ญี่ปุ่น: 東京地下鉄道 โทคิโย ชิกะ เท็ดสึโด้) ขึ้นในปี ค.ศ. 1920 และเริ่มก่อสร้างในอีก 5 ปีต่อมา, เส้นทางระหว่าง อุเอะโนะ และ อะซะกุซะ ได้ก่อสร้างแล้วเสร็จในวันที่ 30 ธันวาคม ค.ศ. 1927
ซึ่งถือเป็นเส้นทางรถไฟใต้ดินสายแรกในซีกโลกตะวันออก ทันทีที่เปิดให้บริการ ได้รับความนิยมจากผู้โดยสารมาก เพราะสามารถลดระยะเวลาในการรอรถไฟจาก 2 ชั่วโมง เหลือเพียงแค่ 5 นาที
ต่อมาในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1930 ได้ขยายเส้นทางออกไปอีก 1.7 กิโลเมตร จนถึงสถานีมันเซบะชิ ซึ่งต่อมาสถานีนี้ถูกยกเลิกในอีก 1 ปีต่อมา เมื่อขยายเส้นทางออกไปอีก 500 เมตร จนถึงสถานีคันดะ การก่อสร้างชะงักลงช่วงหนึ่งในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำ แต่สุดท้ายสามารถขยายเส้นทางได้จนถึงสถานีชิมบะชิตามแผนการที่วางไว้, ในปี 1938 บริษัทรถเร็วโตเกียวซึ่งต่อมาคือบริษัท
โตคิว ได้ก่อสร้างเส้นทางรถไฟใต้ดินจากสถานี
ชิบุยะ ถึงสถานี
โทะระโนะมอน และขยายจนไปเชื่อมต่อกับสถานี
ชินบะชิ ในปี ค.ศ. 1939 ทำให้เส้นทางทั้งสองสายเชื่อมต่อกันสำเร็จ และสุดท้ายจึงมีการควบรวมบริษัททั้งสองเป็นองค์การรถไฟเทโต (TRTA) ในปี ค.ศ. 1941
ในปี ค.ศ. 1953 เส้นทางสายนี้จึงเปลี่ยนชื่อนี้เป็นสาย
กินซะ เพื่อแยกออกจากสาย
มะรุโนะอุชิ ซึ่งสร้างขึ้นภายหลังจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจภายหลังสงคราม ทำให้สายกินซะมีจำนวนผู้ใช้บริการมากขึ้น ในทศวรรษที่ 1980 จึงมีการก่อสร้างเส้นทางสาย
ฮันโซมอน เพื่อแบ่งเบาผู้โดยสารจากสายกินซะ
ในปี ค.ศ. 2009 จากการสำรวจของเทศบาลนครโตเกียว พบว่าเส้นทางสายกินซะมีจำนวนผู้โดยสารมากเป็นอันดับที่ 7 ของเส้นทางรถไฟใต้ดินในโตเกียว
พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965) - เฟอร์ดินันด์ มาร์กอส ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งฟิลิปปินส์
เฟอร์ดินานด์ เอ็มมานูเอล เอดราลิน มาร์กอส (Ferdinand Emmanuel Edralin Marcos) (11 กันยายน ค.ศ. 1917 - 28 กันยายน ค.ศ. 1989) เป็นอดีตประธานาธิบดีคนที่ 10 ของฟิลิปปินส์ เคยดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี ค.ศ. 1965-ค.ศ. 1986 เป็นเวลาเกือบ 21 ปี
และพ้นจากตำแหน่งโดยการหลบหนีออกนอกประเทศ หลังการลุกฮือของประชาชน ในปี ค.ศ. 1986 ซึ่งนำโดยนางคอราซอน อากีโน ภริยาหม้ายของนายเบนิโญ อากีโน อดีตนักการเมืองฝ่ายค้าน โดยมีสาเหตุหลักมาจาก การปกครองแบบเผด็จการ รวมถึงการทุจริตคอรัปชั่นซึ่งเป็นเงินราวๆ 5-10 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ขึ้นชื่อว่าเป็นนักการเมืองที่โกงมากที่สุดรองจาก ซูฮาร์โต
มาร์กอส เป็นตัวอย่างอันดีที่แสดงให้เห็นว่า เผด็จการนั้นไม่มีวันอยู่ค้ำฟ้า ต่อให้มีอำนาจมากเพียงใดก็ตาม สุดท้ายก็ต้องถึงจุดจบและจบไม่สวย!
เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส ถึงแก่อสัญกรรมที่โฮโนลูลู ฮาวาย ขณะลี้ภัยอยู่ในสหรัฐอเมริกา แม้กระทั่งก่อนถึงแก่อสัญกรรม เขาก็ยังกำลังถูกทางการฟิลิปปินส์ ยื่นเรื่องขออายัดทรัพย์สิน และดำเนินคดีในข้อหาใช้อิทธิพลคอรัปชั่น ในระหว่างดำรงตำแหน่งทางการเมือง (ตามล้างตามเช็ดไม่เลิก!)
พ.ศ. 2509 (ค.ศ. 1966) - ชาติชาย เชี่ยวน้อย เอาชนะทีเคโอ วอลเตอร์ แม็คโกแวน นักมวยชาวอังกฤษ ในยกที่ 9 เป็นแชมป์โลกชาวไทย คนที่ 2
ชาติชาย นับได้ว่าเป็นแชมป์โลกคนหนึ่งที่อยู่ในความทรงจำของแฟนมวยและบุคคลร่วมสมัยตลอดกาลไม่แพ้ โผน กิ่งเพชร แชมป์โลกคนแรก หรือแชมป์โลกคนอื่น ๆ เลย
โดยชาติชายเป็นแชมป์ถึง 3 สมัย ครองแชมป์ทั้งสถาบันสภามวยโลก (WBC) และสมาคมมวยโลก (WBA) รวมถึงเดอะริง (The Ring) มีไฟท์ในความทรงจำหลายไฟท์ เช่น การป้องกันตำแหน่งกับ พันธุ์ทิพย์ แก้วสุริยะ เจ้าของฉายา "เสือหมัดซ้าย" นักมวยชาวไทยด้วยกันเอง ที่เรียกว่าเป็น "ศึกสายเลือด" ครั้งแรกของวงการมวยไทย การผลัดแพ้ - ชนะ แอฟเฟรน ทอร์เรส นักมวยชาวเม็กซิกัน ที่แฟนมวยชาวไทยตั้งฉายาให้ว่า "ไอ้แมงป่อง" หรือการชกกับ มาซาโอะ โอบะ นักมวยอันตรายชาวญี่ปุ่น รวมถึงการชกกับ เบิกฤกษ์ ชาติวันชัย นักมวยชาวไทยระดับแชมป์โลกอีกคน โดยชาติชายได้มีโอกาสชกต่อหน้าพระพักตร์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหลายต่อหลายครั้ง และมีพระกรุณาต่อชาติชายอย่างหาที่สุดมิได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ยังคงตรึงอยู่ในความทรงจำของชาติชายตราบจนตลอดชีวิต
เกียรติประวัติ
แชมป์ OPBF รุ่นฟลายเวท (2505 - 2506)
ชิง, 22 พ.ย. 2505 ชนะคะแนน ฟรีโม ฟามีโร่ (ธงของประเทศฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์) ที่ อลาเน็ตตาโคลอสเซียม กรุงมะนิลา
เสียแชมป์,7 ก.ค. 2506 แพ้คะแนน ทาเคชิ นากามูร่า (ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น) ที่ โอซาก้า
แชมป์โลกรุ่นฟลายเวท WBC (รวมถึงเดอะริง; 2510 - 2512)
ชิง 30 ธันวาคม 2509 ชนะน็อค ยก 9 วอลเตอร์ แม็คโกแวน (ธงของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร) ที่ อินดอร์ สเตเดียม หัวหมาก
ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 1, 26 กรกฎาคม 2510 ชนะน็อค ยก 3 พันธุ์ทิพย์ แก้วสุริยะ ที่ อินดอร์สเตเดียม หัวหมาก
ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 2, 19 ก.ย. 2510 ชนะน็อค ยก 7 วอลเตอร์ แม็คโกแวน (อังกฤษ) ที่ เอ็มไพร์พูล สนามกีฬาเว็มบลีย์ กรุงลอนดอน [remark 1]
ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 3, 28 มกราคม 2511 ชนะน็อค ยก 13 แอฟเฟรน ทอร์เรส (ธงของประเทศเม็กซิโก เม็กซิโก) ที่ เอลทอโร่ กรุงเม็กซิโก ซิตี
ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 4, 10 พฤศจิกายน 2511 ชนะคะแนน เบอร์นาเบ้ วิลลาแคมโป (ฟิลิปปินส์) ที่ สนามกีฬาจารุเสถียร
เสียแชมป์ 23 กุมภาพันธ์ 2512 แพ้น็อค ยก 8 แอฟเฟรน ทอร์เรส (เม็กซิโก) ที่ เอลทอโร่ กรุงเม็กซิโก ซิตี[3]
แชมป์โลกรุ่นฟลายเวท WBC (2513)
ชิง 20 มีนาคม 2513 ชนะคะแนน แอฟเฟรน ทอร์เรส (เม็กซิโก) ที่อินดอร์สเตเดียม หัวหมาก
เสียแชมป์ 7 ธันวาคม 2513 แพ้น็อค ยก 2 เออร์บิโต้ ซาลาวาเรีย (ฟิลิปปินส์) ที่ อินดอร์สเตเดียม หัวหมาก
แชมป์โลกรุ่นฟลายเวท WBA (2516 - 2517)
ชิงแชมป์ครั้งที่ 1, 2 มกราคม 2516 แพ้น็อค ยก 12 มิซาโอะ โอบะ (ญี่ปุ่น) ที่ หอประชุมมหาวิทยาลัยนิฮน
ชิงแชมป์ครั้งที่ 2, 17 พฤษภาคม 2516 ชนะน็อค ยก 5 ฟริต เซอร์เวต (ธงของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์) ที่ อินดอร์สเตเดียม หัวหมาก
ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 1, 27 ตุลาคม 2516 ชนะคะแนน ซูซูมุ ฮานากาตะ (ญี่ปุ่น) ที่ อินดอร์สเตเดียม หัวหมาก
ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 2, 27 เมษายน 2517 ชนะคะแนน ฟริต เซอร์เวต (สวิตเซอร์แลนด์) ที่ ฮาลเล็นส์สเตเดียม ซูริก
เสียแชมป์ 18 ตุลาคม 2517 แพ้น็อค ยก 6 ซูซูมุ ฮานากาต้า (ญี่ปุ่น) ที่ บุงก้ายิม โยโกฮามา จ.คันนากาวา (ชาติชายถูกปลดก่อนหน้านี้เพราะทำน้ำหนักไม่ผ่าน)
รางวัลเกียรติยศ (Hall of Fame) นักกีฬาทรงคุณค่าในอดีต: สยามกีฬาอวอร์ดส์ ครั้งที่ 3, 6 มีนาคม 2552 ที่ โรงละครอักษรา คิง เพาเวอร์[1]
พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) - ภราดร ศรีชาพันธุ์ คว้าแชมป์เทนนิส เอทีพีทัวร์ รายการที่สามในการเล่นอาชีพ รายการ เชนไน (ตาต้า)โอเพ่น ที่เชนไน ประเทศอินเดีย
ภราดร ศรีชาพันธุ์ (ชื่อเล่น
บอล เกิด 14 มิถุนายน พ.ศ. 2522) ฉายา "ซูเปอร์บอล" เป็นนักเทนนิสชาวไทย และเป็นอดีตนักเทนนิสชายชาวเอเชียที่มีอันดับสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ด้วยอันดับ 9 ของโลกในปี พ.ศ. 2546, ภราดรเริ่มเล่นในระดับอาชีพเมื่อปี พ.ศ. 2540 และในรายการเอทีพี ปี พ.ศ. 2541 โดยจบปีด้วยอันดับท้ายๆ ของมือวางร้อยอันดับแรกของเอทีพีมาหลายปี จนกระทั่งปี พ.ศ. 2545 สามารถเป็นขึ้นมือวาง 30 อันดับแรก ภายหลังจากสามารถเอาชนะ อังเดร อากัสซี ในรายการวิมเบิลดัน และขึ้นเป็นอันดับ 9 ของโลกในปี 2546
ในปี 2547 ภราดรได้เป็นตัวแทนของประเทศไทยในการถือธงชาติในกีฬาโอลิมปิก ที่เอเธนส์ ประเทศกรีซ ผลงานในทีมชาติไทยคือ เหรียญทอง ชายเดี่ยว ซีเกมส์ ครั้งที่ 19 ที่อินโดนีเซีย, 3 เหรียญทอง ซีเกมส์ ครั้งที่ 20 ที่บรูไน, เหรียญทอง ชายคู่ เอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 ที่ประเทศไทย, เหรียญทอง ชายเดี่ยว เอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 14 เมืองปูซาน ประเทศเกาหลีใต้, ทีมชาติไทย ชุดแชมป์ เดวิส คัพ โซนเอเชีย
เดือนมีนาคม 2549 ภราดรสามารถเอาชนะมือวางถึง 4 คน จนเข้าสู่รอบรองฯ รายการแปซิฟิกไลฟ์โอเพน ทำให้อันดับโลกที่ตกลงไปที่ 61 ขึ้นมาอยู่ที่ 38 สูงกว่าสิ้นปี 2548 เล็กน้อย อย่างไรก็ตามภราดรประสบปัญหาเจ็บข้อมือเรื้อรัง มีนาคม 2550 อันดับโลกตกไปอยู่ที่ 83 กลายเป็นมืออันดับสองของไทยตามหลัง ดนัย อุดมโชค ซึ่งอยู่ที่อันดับ 79 และในปีนี้ภราดรแทบไม่ได้ลงแข่งเลย จนกระทั่งหล่นลงไปที่ 900 กว่าเพราะไม่มีคะแนนสะสม แต่ยังได้สิทธิ์ลงแข่งในรายการระดับ ATP 9 รายการ กลับมาเล่นอีกครั้ง, ตุลาคม 2552 ภราดรลงแข่งในรายการ PTT Thailand Open 2009 หลังจากห่างหายไป 2 ปี เล่นประเภทชายคู่กับ ดนัย อุดมโชค แพ้ตกรอบแรกอย่างหวุดหวิด 1-2 เซต ด้วยคะแนน 6-2, 1-6, 6-10, มกราคม 2553 ภราดรกลับมาแข่งอีกครั้ง 2 รายการ รายการแรกเป็นนัดพิเศษฉลองครบ 100 ปี หัวหิน Centenial Invitation ที่สนาม Centenial Park อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อ 2 มกราคม 2553 ประเภทคู่ผสม แข่งกันเพียงเซตเดียวโดยภราดร คู่กับ วีนัส วิลเลียมส์ ชนะคู่ของ ดนัย อุดมโชค กับ มาเรีย ชาราโปวา ด้วยคะแนน 7-6 ไทเบรก 8-6 รายการที่ 2 แข่งเทนนิสรายการพิเศษ "ฮ่องกง เทนนิส คลาสสิก 2010" ที่ Victoria Park Tennis Stadium ฮ่องกง เมื่อวันที่ 6-9 มกราคม 2552 เป็นการแข่งขันประเภททีมซึ่งประกอบด้วย 4 ทีมจาก 4 ทวีป คือ ทีมเอเชีย แปซิฟิก ประกอบด้วย เจีย เชง, อายูมิ โมริตะ และ ภราดร ทีมรัสเซีย ประกอบด้วย มาเรีย ชาราโปว่า เวร่า ซโวนาเรว่า และ เยฟเกนี่ คาเฟลนิคอฟ ทีมอเมริกา ประกอบด้วย วีนัส วิลเลี่ยมส์, จีเซล่า ดุลโก้ และ ไมเคิ่ล ชาง ทีมยุโรป ประกอบด้วย แคโรไลน์ วอซเนี้ยคกี้, วิคตอเรีย อซาเรนก้า และ สเตฟาน เอ็ดเบิร์ก ผลการแข่งขันทีมเอเชีย แปซิฟิกได้รองแชมป์กลุ่ม, 24 เมษายน 2553 ภราดรประสบอุบัติเหตุมอเตอร์ไซค์คว่ำแขนหักทั้ง 2 ข้าง และขาหัก 1 ข้าง ทำให้กระดูกข้อมือทั้ง 2 ข้างเคลื่อน และเท้าซ้ายฉีก จึงไม่พร้อมที่จะแข่งและประกาศแขวนแร็กเก็ตอย่างเป็นทางการในรายการ PTT Thailand Open
พบกันวันพรุ่งนี้ อีกวันครับ
ห้องเพลง**คนรากหญ้า**พักยกการเมือง มุมเสียงเพลง มุมนี้ไม่มีสีไม่มีกลุ่ม มีแต่เสียง 30/12/2560 - ก่อนวันส่งท้ายปีเก่า
สวัสดีครับ สมาชิกห้องเพลงทุกๆท่าน วันนี้วันเสาร์ MC แอ๊ด (WANG JIE) เข้าประจำการครับ
วันนี้ เป็นวันที่ 364 ของปีปกติสุรทิน อย่างเช่นปีนี้ (และวันที่ 365 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน และเมื่อถึงวันนี้ ก็จะเหลือวันอีกเพียงวันเดียวในปีนั้น ก็คือวันพรุ่งนี้
วันนี้หลายๆคนคงจะพักผ่อนสบายๆ ก่อนจะถึงวันกิจกรรมใหญ่ในวันพรุ่งนี้ ฉะนั้นวันนี้ MC ก็จะพูดคุยสบายๆ หาเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆมาฝากกัน แล้วค่อยเน้นๆกันวันพรุ่งนี้อีกวัน
เหตุการณ์สำคัญที่เคยเกิดขึ้นในวันนี้ ในอดีต
พ.ศ. 2396 (ค.ศ. 1853) - สหรัฐอเมริกาจ่ายเงิน 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐให้กับประเทศเม็กซิโก เพื่อซื้อที่ดิน 30,000 ตารางไมล์ ทางใต้ของแม่น้ำกิลาและตะวันตกของแม่น้ำริโอแกรนด์
พ.ศ. 2470 (ค.ศ. 1927) - ญี่ปุ่นเปิดการจราจรรถไฟใต้ดินสายกิงซะในกรุงโตเกียว ซึ่งเป็นเส้นทางรถไฟใต้ดินสายแรกในทวีปเอเชีย
ทางรถไฟสายกินซะ เริ่มต้นเมื่อนักธุรกิจนามว่า โนะริสึงุ ฮะยะกะวะ ได้เดินทางไปกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อปี ค.ศ. 1914 ได้เห็นกิจการรถไฟใต้ดินลอนดอน จึงเกิดความคิดว่า โตเกียวจะต้องมีรถไฟใต้ดินเป็นของตัวเอง เขาจึงก่อตั้งบริษัทรถไฟใต้ดินโตเกียว (ญี่ปุ่น: 東京地下鉄道 โทคิโย ชิกะ เท็ดสึโด้) ขึ้นในปี ค.ศ. 1920 และเริ่มก่อสร้างในอีก 5 ปีต่อมา, เส้นทางระหว่าง อุเอะโนะ และ อะซะกุซะ ได้ก่อสร้างแล้วเสร็จในวันที่ 30 ธันวาคม ค.ศ. 1927 ซึ่งถือเป็นเส้นทางรถไฟใต้ดินสายแรกในซีกโลกตะวันออก ทันทีที่เปิดให้บริการ ได้รับความนิยมจากผู้โดยสารมาก เพราะสามารถลดระยะเวลาในการรอรถไฟจาก 2 ชั่วโมง เหลือเพียงแค่ 5 นาที
ต่อมาในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1930 ได้ขยายเส้นทางออกไปอีก 1.7 กิโลเมตร จนถึงสถานีมันเซบะชิ ซึ่งต่อมาสถานีนี้ถูกยกเลิกในอีก 1 ปีต่อมา เมื่อขยายเส้นทางออกไปอีก 500 เมตร จนถึงสถานีคันดะ การก่อสร้างชะงักลงช่วงหนึ่งในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำ แต่สุดท้ายสามารถขยายเส้นทางได้จนถึงสถานีชิมบะชิตามแผนการที่วางไว้, ในปี 1938 บริษัทรถเร็วโตเกียวซึ่งต่อมาคือบริษัท โตคิว ได้ก่อสร้างเส้นทางรถไฟใต้ดินจากสถานี ชิบุยะ ถึงสถานี โทะระโนะมอน และขยายจนไปเชื่อมต่อกับสถานี ชินบะชิ ในปี ค.ศ. 1939 ทำให้เส้นทางทั้งสองสายเชื่อมต่อกันสำเร็จ และสุดท้ายจึงมีการควบรวมบริษัททั้งสองเป็นองค์การรถไฟเทโต (TRTA) ในปี ค.ศ. 1941
ในปี ค.ศ. 1953 เส้นทางสายนี้จึงเปลี่ยนชื่อนี้เป็นสาย กินซะ เพื่อแยกออกจากสาย มะรุโนะอุชิ ซึ่งสร้างขึ้นภายหลังจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจภายหลังสงคราม ทำให้สายกินซะมีจำนวนผู้ใช้บริการมากขึ้น ในทศวรรษที่ 1980 จึงมีการก่อสร้างเส้นทางสาย ฮันโซมอน เพื่อแบ่งเบาผู้โดยสารจากสายกินซะ
ในปี ค.ศ. 2009 จากการสำรวจของเทศบาลนครโตเกียว พบว่าเส้นทางสายกินซะมีจำนวนผู้โดยสารมากเป็นอันดับที่ 7 ของเส้นทางรถไฟใต้ดินในโตเกียว
พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965) - เฟอร์ดินันด์ มาร์กอส ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งฟิลิปปินส์
เฟอร์ดินานด์ เอ็มมานูเอล เอดราลิน มาร์กอส (Ferdinand Emmanuel Edralin Marcos) (11 กันยายน ค.ศ. 1917 - 28 กันยายน ค.ศ. 1989) เป็นอดีตประธานาธิบดีคนที่ 10 ของฟิลิปปินส์ เคยดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี ค.ศ. 1965-ค.ศ. 1986 เป็นเวลาเกือบ 21 ปี และพ้นจากตำแหน่งโดยการหลบหนีออกนอกประเทศ หลังการลุกฮือของประชาชน ในปี ค.ศ. 1986 ซึ่งนำโดยนางคอราซอน อากีโน ภริยาหม้ายของนายเบนิโญ อากีโน อดีตนักการเมืองฝ่ายค้าน โดยมีสาเหตุหลักมาจาก การปกครองแบบเผด็จการ รวมถึงการทุจริตคอรัปชั่นซึ่งเป็นเงินราวๆ 5-10 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ขึ้นชื่อว่าเป็นนักการเมืองที่โกงมากที่สุดรองจาก ซูฮาร์โต
มาร์กอส เป็นตัวอย่างอันดีที่แสดงให้เห็นว่า เผด็จการนั้นไม่มีวันอยู่ค้ำฟ้า ต่อให้มีอำนาจมากเพียงใดก็ตาม สุดท้ายก็ต้องถึงจุดจบและจบไม่สวย!
เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส ถึงแก่อสัญกรรมที่โฮโนลูลู ฮาวาย ขณะลี้ภัยอยู่ในสหรัฐอเมริกา แม้กระทั่งก่อนถึงแก่อสัญกรรม เขาก็ยังกำลังถูกทางการฟิลิปปินส์ ยื่นเรื่องขออายัดทรัพย์สิน และดำเนินคดีในข้อหาใช้อิทธิพลคอรัปชั่น ในระหว่างดำรงตำแหน่งทางการเมือง (ตามล้างตามเช็ดไม่เลิก!)
พ.ศ. 2509 (ค.ศ. 1966) - ชาติชาย เชี่ยวน้อย เอาชนะทีเคโอ วอลเตอร์ แม็คโกแวน นักมวยชาวอังกฤษ ในยกที่ 9 เป็นแชมป์โลกชาวไทย คนที่ 2
ชาติชาย นับได้ว่าเป็นแชมป์โลกคนหนึ่งที่อยู่ในความทรงจำของแฟนมวยและบุคคลร่วมสมัยตลอดกาลไม่แพ้ โผน กิ่งเพชร แชมป์โลกคนแรก หรือแชมป์โลกคนอื่น ๆ เลย โดยชาติชายเป็นแชมป์ถึง 3 สมัย ครองแชมป์ทั้งสถาบันสภามวยโลก (WBC) และสมาคมมวยโลก (WBA) รวมถึงเดอะริง (The Ring) มีไฟท์ในความทรงจำหลายไฟท์ เช่น การป้องกันตำแหน่งกับ พันธุ์ทิพย์ แก้วสุริยะ เจ้าของฉายา "เสือหมัดซ้าย" นักมวยชาวไทยด้วยกันเอง ที่เรียกว่าเป็น "ศึกสายเลือด" ครั้งแรกของวงการมวยไทย การผลัดแพ้ - ชนะ แอฟเฟรน ทอร์เรส นักมวยชาวเม็กซิกัน ที่แฟนมวยชาวไทยตั้งฉายาให้ว่า "ไอ้แมงป่อง" หรือการชกกับ มาซาโอะ โอบะ นักมวยอันตรายชาวญี่ปุ่น รวมถึงการชกกับ เบิกฤกษ์ ชาติวันชัย นักมวยชาวไทยระดับแชมป์โลกอีกคน โดยชาติชายได้มีโอกาสชกต่อหน้าพระพักตร์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหลายต่อหลายครั้ง และมีพระกรุณาต่อชาติชายอย่างหาที่สุดมิได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ยังคงตรึงอยู่ในความทรงจำของชาติชายตราบจนตลอดชีวิต
เกียรติประวัติ
แชมป์ OPBF รุ่นฟลายเวท (2505 - 2506)
ชิง, 22 พ.ย. 2505 ชนะคะแนน ฟรีโม ฟามีโร่ (ธงของประเทศฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์) ที่ อลาเน็ตตาโคลอสเซียม กรุงมะนิลา
เสียแชมป์,7 ก.ค. 2506 แพ้คะแนน ทาเคชิ นากามูร่า (ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น) ที่ โอซาก้า
แชมป์โลกรุ่นฟลายเวท WBC (รวมถึงเดอะริง; 2510 - 2512)
ชิง 30 ธันวาคม 2509 ชนะน็อค ยก 9 วอลเตอร์ แม็คโกแวน (ธงของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร) ที่ อินดอร์ สเตเดียม หัวหมาก
ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 1, 26 กรกฎาคม 2510 ชนะน็อค ยก 3 พันธุ์ทิพย์ แก้วสุริยะ ที่ อินดอร์สเตเดียม หัวหมาก
ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 2, 19 ก.ย. 2510 ชนะน็อค ยก 7 วอลเตอร์ แม็คโกแวน (อังกฤษ) ที่ เอ็มไพร์พูล สนามกีฬาเว็มบลีย์ กรุงลอนดอน [remark 1]
ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 3, 28 มกราคม 2511 ชนะน็อค ยก 13 แอฟเฟรน ทอร์เรส (ธงของประเทศเม็กซิโก เม็กซิโก) ที่ เอลทอโร่ กรุงเม็กซิโก ซิตี
ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 4, 10 พฤศจิกายน 2511 ชนะคะแนน เบอร์นาเบ้ วิลลาแคมโป (ฟิลิปปินส์) ที่ สนามกีฬาจารุเสถียร
เสียแชมป์ 23 กุมภาพันธ์ 2512 แพ้น็อค ยก 8 แอฟเฟรน ทอร์เรส (เม็กซิโก) ที่ เอลทอโร่ กรุงเม็กซิโก ซิตี[3]
แชมป์โลกรุ่นฟลายเวท WBC (2513)
ชิง 20 มีนาคม 2513 ชนะคะแนน แอฟเฟรน ทอร์เรส (เม็กซิโก) ที่อินดอร์สเตเดียม หัวหมาก
เสียแชมป์ 7 ธันวาคม 2513 แพ้น็อค ยก 2 เออร์บิโต้ ซาลาวาเรีย (ฟิลิปปินส์) ที่ อินดอร์สเตเดียม หัวหมาก
แชมป์โลกรุ่นฟลายเวท WBA (2516 - 2517)
ชิงแชมป์ครั้งที่ 1, 2 มกราคม 2516 แพ้น็อค ยก 12 มิซาโอะ โอบะ (ญี่ปุ่น) ที่ หอประชุมมหาวิทยาลัยนิฮน
ชิงแชมป์ครั้งที่ 2, 17 พฤษภาคม 2516 ชนะน็อค ยก 5 ฟริต เซอร์เวต (ธงของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์) ที่ อินดอร์สเตเดียม หัวหมาก
ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 1, 27 ตุลาคม 2516 ชนะคะแนน ซูซูมุ ฮานากาตะ (ญี่ปุ่น) ที่ อินดอร์สเตเดียม หัวหมาก
ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 2, 27 เมษายน 2517 ชนะคะแนน ฟริต เซอร์เวต (สวิตเซอร์แลนด์) ที่ ฮาลเล็นส์สเตเดียม ซูริก
เสียแชมป์ 18 ตุลาคม 2517 แพ้น็อค ยก 6 ซูซูมุ ฮานากาต้า (ญี่ปุ่น) ที่ บุงก้ายิม โยโกฮามา จ.คันนากาวา (ชาติชายถูกปลดก่อนหน้านี้เพราะทำน้ำหนักไม่ผ่าน)
รางวัลเกียรติยศ (Hall of Fame) นักกีฬาทรงคุณค่าในอดีต: สยามกีฬาอวอร์ดส์ ครั้งที่ 3, 6 มีนาคม 2552 ที่ โรงละครอักษรา คิง เพาเวอร์[1]
พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) - ภราดร ศรีชาพันธุ์ คว้าแชมป์เทนนิส เอทีพีทัวร์ รายการที่สามในการเล่นอาชีพ รายการ เชนไน (ตาต้า)โอเพ่น ที่เชนไน ประเทศอินเดีย
ภราดร ศรีชาพันธุ์ (ชื่อเล่น บอล เกิด 14 มิถุนายน พ.ศ. 2522) ฉายา "ซูเปอร์บอล" เป็นนักเทนนิสชาวไทย และเป็นอดีตนักเทนนิสชายชาวเอเชียที่มีอันดับสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ด้วยอันดับ 9 ของโลกในปี พ.ศ. 2546, ภราดรเริ่มเล่นในระดับอาชีพเมื่อปี พ.ศ. 2540 และในรายการเอทีพี ปี พ.ศ. 2541 โดยจบปีด้วยอันดับท้ายๆ ของมือวางร้อยอันดับแรกของเอทีพีมาหลายปี จนกระทั่งปี พ.ศ. 2545 สามารถเป็นขึ้นมือวาง 30 อันดับแรก ภายหลังจากสามารถเอาชนะ อังเดร อากัสซี ในรายการวิมเบิลดัน และขึ้นเป็นอันดับ 9 ของโลกในปี 2546
ในปี 2547 ภราดรได้เป็นตัวแทนของประเทศไทยในการถือธงชาติในกีฬาโอลิมปิก ที่เอเธนส์ ประเทศกรีซ ผลงานในทีมชาติไทยคือ เหรียญทอง ชายเดี่ยว ซีเกมส์ ครั้งที่ 19 ที่อินโดนีเซีย, 3 เหรียญทอง ซีเกมส์ ครั้งที่ 20 ที่บรูไน, เหรียญทอง ชายคู่ เอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 ที่ประเทศไทย, เหรียญทอง ชายเดี่ยว เอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 14 เมืองปูซาน ประเทศเกาหลีใต้, ทีมชาติไทย ชุดแชมป์ เดวิส คัพ โซนเอเชีย
เดือนมีนาคม 2549 ภราดรสามารถเอาชนะมือวางถึง 4 คน จนเข้าสู่รอบรองฯ รายการแปซิฟิกไลฟ์โอเพน ทำให้อันดับโลกที่ตกลงไปที่ 61 ขึ้นมาอยู่ที่ 38 สูงกว่าสิ้นปี 2548 เล็กน้อย อย่างไรก็ตามภราดรประสบปัญหาเจ็บข้อมือเรื้อรัง มีนาคม 2550 อันดับโลกตกไปอยู่ที่ 83 กลายเป็นมืออันดับสองของไทยตามหลัง ดนัย อุดมโชค ซึ่งอยู่ที่อันดับ 79 และในปีนี้ภราดรแทบไม่ได้ลงแข่งเลย จนกระทั่งหล่นลงไปที่ 900 กว่าเพราะไม่มีคะแนนสะสม แต่ยังได้สิทธิ์ลงแข่งในรายการระดับ ATP 9 รายการ กลับมาเล่นอีกครั้ง, ตุลาคม 2552 ภราดรลงแข่งในรายการ PTT Thailand Open 2009 หลังจากห่างหายไป 2 ปี เล่นประเภทชายคู่กับ ดนัย อุดมโชค แพ้ตกรอบแรกอย่างหวุดหวิด 1-2 เซต ด้วยคะแนน 6-2, 1-6, 6-10, มกราคม 2553 ภราดรกลับมาแข่งอีกครั้ง 2 รายการ รายการแรกเป็นนัดพิเศษฉลองครบ 100 ปี หัวหิน Centenial Invitation ที่สนาม Centenial Park อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อ 2 มกราคม 2553 ประเภทคู่ผสม แข่งกันเพียงเซตเดียวโดยภราดร คู่กับ วีนัส วิลเลียมส์ ชนะคู่ของ ดนัย อุดมโชค กับ มาเรีย ชาราโปวา ด้วยคะแนน 7-6 ไทเบรก 8-6 รายการที่ 2 แข่งเทนนิสรายการพิเศษ "ฮ่องกง เทนนิส คลาสสิก 2010" ที่ Victoria Park Tennis Stadium ฮ่องกง เมื่อวันที่ 6-9 มกราคม 2552 เป็นการแข่งขันประเภททีมซึ่งประกอบด้วย 4 ทีมจาก 4 ทวีป คือ ทีมเอเชีย แปซิฟิก ประกอบด้วย เจีย เชง, อายูมิ โมริตะ และ ภราดร ทีมรัสเซีย ประกอบด้วย มาเรีย ชาราโปว่า เวร่า ซโวนาเรว่า และ เยฟเกนี่ คาเฟลนิคอฟ ทีมอเมริกา ประกอบด้วย วีนัส วิลเลี่ยมส์, จีเซล่า ดุลโก้ และ ไมเคิ่ล ชาง ทีมยุโรป ประกอบด้วย แคโรไลน์ วอซเนี้ยคกี้, วิคตอเรีย อซาเรนก้า และ สเตฟาน เอ็ดเบิร์ก ผลการแข่งขันทีมเอเชีย แปซิฟิกได้รองแชมป์กลุ่ม, 24 เมษายน 2553 ภราดรประสบอุบัติเหตุมอเตอร์ไซค์คว่ำแขนหักทั้ง 2 ข้าง และขาหัก 1 ข้าง ทำให้กระดูกข้อมือทั้ง 2 ข้างเคลื่อน และเท้าซ้ายฉีก จึงไม่พร้อมที่จะแข่งและประกาศแขวนแร็กเก็ตอย่างเป็นทางการในรายการ PTT Thailand Open
พบกันวันพรุ่งนี้ อีกวันครับ