นิยายเล่าเรื่องราวของ "บรรจง สาครขนาน" ข้าราชการพลัดถิ่น คาดว่าผู้เขียนคือคุณอาจินต์ ปัญจพรรค นำชีวประวัติของบิดามาดัดแปลงคือขุนปัญจพรรคพิบูลย์
ปกนิยายเจ้าเมือง(ภาคสอง)เวอร์ชั่น ณ บ้านวรรณกรรมนำรูปขุนปัญจพรรคพิบูลย์มาใส่ในรูปหน้าปก
นิยายบรรยายบรรยากาศสมัยนั้นในเรื่องได้อย่างดีเยี่ยม ชนิดที่ว่าคนอ่านยังรู้สึกร่วมไปกับบรรยากาศนั้นๆ นิยายชุดนี้แบ่งเป็นสองภาค คือเจ้าพ่อ - เจ้าเมือง
นิยายเล่าเรื่องตั้งแต่ขุนบรรจงสอบบรรจุเข้าเป็นปลัดอำเภอใหม่ๆที่ทุ่งทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จนได้เป็นขุนบรรจงในบั้นปลายชีวิต บรรจงเป็นตัวแทนของฝ่ายกฎหมาย นายพรหมเป็นตัวแทนของผู้มีอิทธิพลในตำบลทุ่งทอง ทั้งคู่ต่างเป็นเขยของขุนเขียน แต่ต้องมาแตกหักกันเพราะอีกคนทำงานโดยยึดถือกฎหมายเป็นสำคัญ ส่วนอีกคนมีแนวคิดที่จะใช้อบายมุขเข้ามาทำให้ตลาดรุ่งเรือง ธีมเรื่องเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในจังหวัดสุพรรณบุรีและใกล้เคียงเป็นหลัก ช่วงเวลาประมาณรัชกาลที่ ๕ จนถึงต้นๆรัชกาลที่ ๙
เจ้าพ่อคือเรื่องราวการก่อร่างสร้างตัว และสร้างบารมีแห่งความเป็นเจ้าพ่อของนายพรหม ผสมผสานไปกับเรื่องราวการไต่เต้าระดับในราชการของบรรจง
เจ้าเมือง คือเรื่องราวการแตกหักระหว่างขุนบรรจงที่ทำงานรับใช้ราชการ กับนายพรหม ที่ชอบด้วยอบายมุข เขยของขุนเขียนต้องมาแตกหักกัน จนบั้นปลายชีวิตของแต่ละตัวละคร
ชีวิตขุนบรรจงต้องเข้ามาพัวพันผู้คนหลากหลายฐานะ หลากหลายอาชีพ ตั้งแต่
- แม่ปราย บุตรีขุนเขียนเจ้าเมืองนครปฐมคนเก่า เคยเป็นลูกศิษย์ขุนบรรจงตั้งแต่ยังเด็ก ภายหลังได้รับการตบแต่งมาเป็นภรรยา
- เสือป่าพรหม เจ้าพ่อแห่งหมู่บ้านทุ่งทอง แต่งงานกับแม่โปรยลูกสาวของขุนเขียน เสือป่าพรหมมักจะสร้างบุญคุณให้กับคนในตำบลจนเป็นที่รัก ผู้มีความต้องการพัฒนาหมู่บ้านเป็นย่านเจริญด้วยการเปิดบ่อนและโรงฝิ่น
- แม่ผาด ภรรยาลับๆของบรรจงทั้งคู่ได้เสียกันลับๆทั้งที่แม่ผาดมีอายุมากกว่าบรรจงหลายปี พี่สาวของนายพรหม ลูกสาวของกำนันผิน มีลูกกับบรรจงชื่อบรรเจิด โดยไม่มีใครรู้ว่าเปรมบัญชาเป็นลูกของบรรจง
และตัวละครอื่นๆ อาทิ เถ้าแก่แดง ขุนเขียน กำนันผิน เสือราด แม่โปรย บรรเจิด เปรมบัญชา(เราๆว่าคุณอาจินต์จะแทนตัวละครตัวนี้เป็นตัวเอง เรียนมหาวิทยาลัย โดนไทล์ และเอาดีทางเขียนหนังสือ) ประจวบขวัญ
ที่จริงนิยายเรื่องนี้มีสามภาค คือเจ้าพ่อ เจ้าเมือง และเจ้าแม่ แต่สำหรับผมเจ้าแม่เป็นเหมือนเรื่องที่แต่งขึ้นมาพิเศษ และไม่ได้มีความข้องเกี่ยวกับสองเล่มแรกมากนัก ดังนั้น จะอ่านหรือไม่อ่านก็ได้
อยากเห็นนิยายชุดเจ้าพ่อ-เจ้าเมือง เป็นละครโทรทัศน์
นิยายเล่าเรื่องราวของ "บรรจง สาครขนาน" ข้าราชการพลัดถิ่น คาดว่าผู้เขียนคือคุณอาจินต์ ปัญจพรรค นำชีวประวัติของบิดามาดัดแปลงคือขุนปัญจพรรคพิบูลย์
ปกนิยายเจ้าเมือง(ภาคสอง)เวอร์ชั่น ณ บ้านวรรณกรรมนำรูปขุนปัญจพรรคพิบูลย์มาใส่ในรูปหน้าปก
นิยายบรรยายบรรยากาศสมัยนั้นในเรื่องได้อย่างดีเยี่ยม ชนิดที่ว่าคนอ่านยังรู้สึกร่วมไปกับบรรยากาศนั้นๆ นิยายชุดนี้แบ่งเป็นสองภาค คือเจ้าพ่อ - เจ้าเมือง
นิยายเล่าเรื่องตั้งแต่ขุนบรรจงสอบบรรจุเข้าเป็นปลัดอำเภอใหม่ๆที่ทุ่งทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จนได้เป็นขุนบรรจงในบั้นปลายชีวิต บรรจงเป็นตัวแทนของฝ่ายกฎหมาย นายพรหมเป็นตัวแทนของผู้มีอิทธิพลในตำบลทุ่งทอง ทั้งคู่ต่างเป็นเขยของขุนเขียน แต่ต้องมาแตกหักกันเพราะอีกคนทำงานโดยยึดถือกฎหมายเป็นสำคัญ ส่วนอีกคนมีแนวคิดที่จะใช้อบายมุขเข้ามาทำให้ตลาดรุ่งเรือง ธีมเรื่องเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในจังหวัดสุพรรณบุรีและใกล้เคียงเป็นหลัก ช่วงเวลาประมาณรัชกาลที่ ๕ จนถึงต้นๆรัชกาลที่ ๙
เจ้าพ่อคือเรื่องราวการก่อร่างสร้างตัว และสร้างบารมีแห่งความเป็นเจ้าพ่อของนายพรหม ผสมผสานไปกับเรื่องราวการไต่เต้าระดับในราชการของบรรจง
เจ้าเมือง คือเรื่องราวการแตกหักระหว่างขุนบรรจงที่ทำงานรับใช้ราชการ กับนายพรหม ที่ชอบด้วยอบายมุข เขยของขุนเขียนต้องมาแตกหักกัน จนบั้นปลายชีวิตของแต่ละตัวละคร
ชีวิตขุนบรรจงต้องเข้ามาพัวพันผู้คนหลากหลายฐานะ หลากหลายอาชีพ ตั้งแต่
- แม่ปราย บุตรีขุนเขียนเจ้าเมืองนครปฐมคนเก่า เคยเป็นลูกศิษย์ขุนบรรจงตั้งแต่ยังเด็ก ภายหลังได้รับการตบแต่งมาเป็นภรรยา
- เสือป่าพรหม เจ้าพ่อแห่งหมู่บ้านทุ่งทอง แต่งงานกับแม่โปรยลูกสาวของขุนเขียน เสือป่าพรหมมักจะสร้างบุญคุณให้กับคนในตำบลจนเป็นที่รัก ผู้มีความต้องการพัฒนาหมู่บ้านเป็นย่านเจริญด้วยการเปิดบ่อนและโรงฝิ่น
- แม่ผาด ภรรยาลับๆของบรรจงทั้งคู่ได้เสียกันลับๆทั้งที่แม่ผาดมีอายุมากกว่าบรรจงหลายปี พี่สาวของนายพรหม ลูกสาวของกำนันผิน มีลูกกับบรรจงชื่อบรรเจิด โดยไม่มีใครรู้ว่าเปรมบัญชาเป็นลูกของบรรจง
และตัวละครอื่นๆ อาทิ เถ้าแก่แดง ขุนเขียน กำนันผิน เสือราด แม่โปรย บรรเจิด เปรมบัญชา(เราๆว่าคุณอาจินต์จะแทนตัวละครตัวนี้เป็นตัวเอง เรียนมหาวิทยาลัย โดนไทล์ และเอาดีทางเขียนหนังสือ) ประจวบขวัญ
ที่จริงนิยายเรื่องนี้มีสามภาค คือเจ้าพ่อ เจ้าเมือง และเจ้าแม่ แต่สำหรับผมเจ้าแม่เป็นเหมือนเรื่องที่แต่งขึ้นมาพิเศษ และไม่ได้มีความข้องเกี่ยวกับสองเล่มแรกมากนัก ดังนั้น จะอ่านหรือไม่อ่านก็ได้