บทสรุป 11 ปีของการแข่งขันรายการ BWF Super Series (ค.ศ.2007-2017)

กระทู้สนทนา
ยุคของการแข่งขันแบดมินตันระดับสุดยอดของโลก รายการ BWF Super Series ซึ่งจัด 12+1 รายการต่อฤดูกาล ได้สิ้นสุดลงแล้ว, ปีหน้า 2018 BWF จะแบ่งกลุ่มรายการใหม่เป็น Grade X Level Y ถ้าไม่ตั้งชื่อใหม่ให้จำง่ายๆ แฟนแบดมินตันและคนทั่วไปคงจะงงกันบ้างล่ะ ว่ารายการไหนใหญ่รายการไหนเล็ก (Level 1,2,3 ดันใหญ่กว่า 4,5,6 ซะงั้น) ก่อนที่ชื่อ Super Series จะหายไป, เรามาบันทึกสถิติที่น่าสนใจของรายการนี้กันดีกว่าครับ

ตารางที่ 1 - ทำเนียบนักแบดมินตันไทยที่ได้แชมป์ Super Series (รวมทั้งหมด 15 แชมป์)

- ก่อนยุคของ "เมย์ รัชนก" มีนักแบดมินตันไทยได้แชมป์ Super Series มาแล้วครบทุกประเภท เริ่มจาก MS (ชายเดี่ยว) XD (คู่ผสม) WD (หญิงคู่) WS (หญิงเดี่ยว) และ MD (ชายคู่)

ตารางที่ 2 - จำนวนแชมป์ Super Series แยกตามรายชื่อนักกีฬา (รวมทั้งหมด 11 คน)

- ขอแสดงความชื่นชมและยกย่องในความสามารถและผลงานของ "นักแบดมินตันไทยฝีมือระดับโลก" ทั้ง 11 คนด้วยครับ

ตารางที่ 3 - จำนวนแชมป์ Super Series แยกตามประเภทการแข่งขัน

- จากตารางนี้แสดงให้เห็นว่า ทีมแบดมินตันไทยแข็งแกร่งในประเภท หญิงเดี่ยว ชายเดี่ยว และคู่ผสม ครับ

ตารางที่ 4 - จำนวนแชมป์ Super Series แยกตามประเทศ

- นับเฉพาะครึ่งแรก (ปี 2007-2012) ไทยได้ 8 แชมป์, ไต้หวัน 7 แชมป์, อินเดีย 6 แชมป์, ญี่ปุ่น 4 แชมป์
- นับเฉพาะครึ่งหลัง (ปี 2013-2017) ญี่ปุ่นได้ 29 แชมป์, อินเดีย 14 แชมป์, ไต้หวัน 13 แชมป์, ไทย 7 แชมป์
- ทำไมอันดับมันสลับกันหมดเลยครับ?, ตารางนี้บอกอะไร .. บอกว่าญี่ปุ่นพัฒนาขึ้น 7.25 เท่า (29 หาร 4) อินเดียพัฒนาขึ้น 2.33 เท่า  ไต้หวันพัฒนาขึ้น 1.86 เท่า และไทยพัฒนาลง 0.88 เท่า
- หลังปี 2013 มีนักแบดไทย 2 คนเท่านั้นที่ได้แชมป์ คือ รัชนก และ ทนงศักดิ์.. เทียบกับก่อนปี 2013 มีนักแบดไทยถึง 9 คน ที่ได้แชมป์.. OMG! บริหารกันยังไงผลงานถึงถดถอย จนชาติอื่นที่เคยสูสีกับเรา เค้าแซงกันหมดแล้ว!!
- ตารางนี้บอกอีกว่า แบดมินตันไทย อยู่อันดับที่ 9 ซึ่งหลุดจากประเทศมือวาง 8 อันดับแรกไปแล้ว ดังนั้นโทมัสคัพ/อูเบอร์คัพ 2018 ก็ไม่ต้องตั้งความหวังมาก อย่าบ่นนักกีฬาเยอะ ไม่เข้ารอบ QF ก็ไม่แปลกครับ
- ตั้งแต่คุณหญิงปัทมาเป็นนายกสมาคม (ปี 2013) ไม่มีนักแบดมินตันสังกัดสมาคมได้แชมป์ Super Series แม้แต่คนเดียว! อันนี้พูดกันตามสถิติ ไม่ได้อคติ (เพราะรัชนกและทนงศักดิ์ก็ไม่ได้ซ้อมกับสมาคม) นักแบดสมาคมยุคนี้ ผลงานสู้นักแบดสมาคมยุคก่อนไม่ได้เลย
- ปี 2018 มีรายการเพิ่มขึ้น จาก 12+1 เป็น 15+1 รายการ (Level 1,2,3,4) ถ้าสมาคมยังหาแชมป์ไม่เจออีก สิ้นปีก็ควรจะโละให้หมด ทั้งนักกีฬาและโค้ชทีม A.. นักแบดในแค้มป์ส่วนใหญ่ เหมือนมีคนออกเงินให้ไปเที่ยวเมืองนอกไปกินไปช้อปไม่ได้ผลงานที่ดีกลับมา ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำจริงๆ .. ควรเน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณครับ คนไหน drop คนไหนเข็นไม่ขึ้นก็ควรตัดออกได้แล้ว ถ้าจะพูดตรงๆ ฝีมือบางคนเป็นได้แค่ knocker มีหน้าที่เป็นคู่ซ้อมให้นักกีฬา ถึงออกแข่งขันอะไรก็ไม่เข้ารอบลึกๆ
- ปี 2019 ถ้าผลงานไม่กระเตื้อง ผู้บริหารก็ควรหลีกทางให้คนอื่นมาแสดงฝีมือบ้าง มิฉะนั้นโอลิมปิค 2020 คนไทยคงจะหวังเหรียญรางวัลจากเด็กบ้านทองหยอด และเด็ก SCG เท่านั้น
- รางวัลสมาคมกีฬายอดเยี่ยมที่ได้ปีนี้ ได้มาตามเกณฑ์ของ กกท. อย่าดีใจจนเกินไป ถ้าเอาเกณฑ์ระดับโลกมาวัด BAT (Badminton Association of Thailand) คงจะโดนกาชื่อออกเป็นชื่อแรกๆ  (ตามผลงานในตารางที่ 4) บริหารมา 4 ปี โดนญี่ปุ่น อินเดีย ไต้หวันแซง .. ถ้ายังบริหารแบบเดิมๆ ก็อาจจะหลุด Top10 ได้ครับ

ตารางที่ 5 - รายชื่อนักกีฬาที่ได้แชมป์ Super Series มากที่สุด 5 อันดับแรก (ซึ่งจุดประกายให้ผมตั้งกระทู้นี้ cr. Badmintalk)

- ที่สุดของนักแบดมินตันแต่ละประเภท เก่งจริง เก่งนาน ไม่วูบวาบ.. อีก 10 ปี่ข้างหน้า จะมีใครได้แชมป์เท่ากับ 5 คนในรูปบ้างรึเปล่าก็ไม่รู้
- เห็นรูป หวังอี้หาน แล้วก็คิดถึง, อีก 2-3 ปี ต่ายจะแซงอี้หานได้มั๊ย, เมย์จะได้ถึง 10 แชมป์รึเปล่า น่าติดตามจริงๆ.. ปี 2018 การแข่งขันแบดมินตันยุคใหม่กำลังจะเริ่มขึ้น.. Welcome to BWF World Tour ครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่