7 วันอันตราย ปีใหม่ 2561 (28ธค.60-3มค.61) มาตรการเพียบ รอลุ้นผลว่าจะเป็นอย่างไร


เริ่มวันที่หนึ่ง ของ เจ็ดวันอันตราย เทศกาลรื่นเริง แต่กลับเป็นวันเศร้าสลดของหลายร้อยครอบครัว จากอุบัติเหตุบนถนน เดินทางใกล้ไกลแค่ระมัดระวังตนเองยังไม่พอ ต้องคอยดูคอยระวังรถคันอื่นด้วย เราขับดีแต่คนอื่นอาจไม่ ?... รถเยอะ คนแยะ ขับช้าๆ ใจเย็นๆ เดินทางปลอดภัยทุกท่าน นะครับ
ปล. ข้อมูลจาก ศปถ. สามปี 2558-2560 โดยเฉลี่ย เกิดอุบัติเหตุวันละ 490 ครั้ง เสียชีวิตวันละ 57 ราย บาดเจ็บวันละ 512 คน และ มีตัวเลขสูงสุดใหม่ ทุกปี หวังว่า ปีนี้ จะลดลง ?
ปีใหม่ 2560 เกิดอุบัติเหตุ 3,919 ครั้ง ตาย 478 ราย เจ็บ 4,128 ราย
ปีใหม่ 2559 เกิดอุบัติเหตุ 3,379 ครั้ง ตาย 380 ราย เจ็บ 3,505 ราย
ปีใหม่ 2558 เกิดอุบัติเหตุ 2,997 ครั้ง ตาย 341 คน เจ็บ 3,117 คน

7 วันอันตราย ปีใหม่ 2561 (28ธค.60-3มค.61) มาตรการเพียบ รอลุ้นผลว่าจะเป็นอย่างไร    
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=26-12-2017&group=30&gblog=4

7 วันอันตราย ปีใหม่ไทยเทศตายเจ็บเพียบ T-T ( น่าจะต้องหาวิธีคิดแบบอื่นเพื่อแก้ไขปัญหา ? )    
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=22-04-2017&group=30&gblog=2

คนไทยตายจากอุบัติเหตุทางถนนปีละ 1.5 หมื่นราย กระทบเศรษฐกิจปีละ 2 แสนล้าน     
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=23-11-2017&group=30&gblog=1

ไทยชนะแล้ว ... ประเทศที่มีการตาย จากอุบัติเหตุบนถนน สูงที่สุดในโลก (ตำแหน่งนี้ไม่ได้มาเพราะโชคช่วย)    
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=15-12-2017&group=30&gblog=3

""""""""""""""""""""""""""""""""""""""


ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน เพิ่มมาตรการทางกฎหมายเข้ม 7 วันแห่งปลอดภัย 28 ธ.ค.60 – 3 ม.ค.61 เน้นลดปัจจัยเสี่ยงอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2561 ภายใต้แนวคิด "ขับรถมีน้ำใจ รักษาวินัยจราจร"

ทั้งนี้ ข้อมูลของ "ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน" มีสถิติการเกิดอุบัติเหตุการเสียชีวิต และบาดเจ็บ (Admit)ช่วงการควบคุมเข้มข้น (7 วัน) จำนวน 3 ปี ระหว่างปี 2558 - 2560 พบว่า มีอุบัติเหตุ เฉลี่ยวันละ 490 ครั้ง มีผู้เสียชีวิตเฉลี่ยวันละ 57 ราย มีผู้บาดเจ็บเฉลี่ย วันละ 512 คน "ปัจจัยเสี่ยง" พบว่ามีอยู่ 4 ด้าน ได้แก่
1. ด้าน "คน" พฤติกรรมเสี่ยงของผู้ใช้รถใช้ถนน อาทิ ความสามารถของผู้ขับขี่ลดลงเนื่องจากสภาพร่างกายไม่พร้อม/ การไม่ชำนาญเส้นทาง / การไม่เคารพกฎจราจร / ขาดวินัยในการใช้รถใช้ถนนร่วมกัน
2. ด้าน "ยานพาหนะ" ยานพาหนะไม่มีมาตรฐาน อาทิ ขาดความพร้อมด้านอุปกรณ์พื้นฐานในรถยนต์ / อุปกรณ์ความปลอดภัย / การปรับแต่งสภาพยานพาหนะ/ การบรรทุกที่ไม่ปลอดภัย
3. ด้าน "ถนน"ลักษณะทางกายภาพของถนนไม่สมบูรณ์อาทิ ถนนชำรุด ผิวถนนเป็นหลุม บ่อ /สภาพการจราจรที่หนาแน่น / อุปกรณ์การควบคุมการจราจร ป้ายเตือน ป้ายสัญลักษณ์ต่างๆ มีสภาพไม่สมบูรณ์ และติดตั้งในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม ไม่ชัดเจน /จุดเสี่ยงจุดอันตราย จุดที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยและจุดตัดทางรถไฟยังไม่ได้รับการแก้ไข
4. ด้าน "สิ่งแวดล้อม" ไฟฟ้าส่องสว่างชำรุดและไม่เพียงพอ / อุปสรรคทางธรรมชาติและลักษณะภูมิอากาศ / สิ่งกีดขวางตกหล่นบนช่องทางจราจร /วัตถุอันตรายขวางทาง / สิ่งกีดขวางทัศนวิสัย

ในส่วนของ มาตรการการลดปัจจัยเสี่ยงด้านคน ประกอบด้วย
1. มาตรการการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด จริงจังและต่อเนื่อง
2. มาตรการด้านสังคมและชุมชม ใช้กลไก "สถาบันครอบครัว" ในการควบคุมปัจจัยเสี่ยง โดยให้สมาชิกในครอบครัวคอยตักเตือน และเฝ้าระวังคนในครอบครัวของตนเอง เพื่อป้องกันความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น ขอความร่วมมือให้ผู้นำในพื้นที่เช่น นายอำเภอ นายกเทศมนตรี นายกองค์การบริหารส่วนตำบล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ประชาสัมพันธ์โดยใช้รูปแบบ "เคาะประตูบ้าน" เพื่อสร้างความตื่นตัวให้แก่ประชาชนในการปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัดเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ
3. การจัดกิจกรรมทางศาสนา "1 อำเภอ 1 กิจกรรม" เพื่อดึงประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมและลดความเสี่ยงในการก่อให้เกิดอุบัติเหตุในการใช้รถใช้ถนนของคนในพื้นที่รวมทั้งการจัดกิจกรรม "สวดมนต์ข้ามปีทำดีเพื่อพ่อ" หรือกิจกรรมตามแต่ละศาสนาเพื่อดึงประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมและลดความเสี่ยงในการก่อให้เกิดอุบัติเหตุในการใช้รถใช้ถนนของคนในพื้นที่
4. การจัดทำ "ประชาคมชุมชน / หมู่บ้าน" กำหนดข้อปฏิบัติด้านความปลอดภัยทางถนนให้ประชาชนถือปฏิบัติ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงและพฤติกรรมเสี่ยงของผู้ใช้รถใช้ถนนในพื้นที่
5. การจัดตั้ง "ด่านชุมชน" เพื่อสกัดกลุ่มเสี่ยง และลดพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุในการใช้รถใช้ถนนของคนในพื้นที่ อาทิ เมาแล้วขับ ขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด และไม่สวมหมวกนิรภัย เป็นต้น โดยขอความร่วมมืออาสาสมัครในพื้นที่ เช่น อาสาสมัครรักษาดินแดน อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน(อปพร.) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อาสาสมัครทางหลวงชนบท(อส.ทช.) ฯลฯ เข้าร่วมประจำด่านชุมชนด้วย
6. เชิญชวนจิตอาสาร่วมทำความดีด้วยหัวใจ ซึ่งมาจากสมาชิกของชุมชน เพื่อสอดส่องเฝ้าระวังผู้มีพฤติกรรมเสี่ยง เช่นมีพฤติกรรมเมาแล้วขับ พฤติกรรมที่อาจจะก่อให้เกิดความรุนแรง หรืออุบัติเหตุโดยให้กลุ่มจิตอาสาเข้าไปตักเตือนผู้ที่มีพฤติกรรมดังกล่าว เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่อาจจะนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุที่ร้ายแรงก่อให้เกิดการสูญเสียชีวิต รวมทั้งร่วมรณรงค์ให้คนในหมู่บ้านตนเอง ตระหนักถึงความสำคัญของการปฏิบัติตามกฎจราจรและรักษาวินัยจราจรอย่างเคร่งครัด เป็นต้น

นายสราวุธ ทรงศิวิไล ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม และโฆษกกระทรวงคมนาคม ฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปลอดภัยคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมเตรียมความพร้อมรองรับการเดินทางช่วงเทศกาลปีใหม่ร่วมกับหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงคมนาคมว่า ที่ประชุมหารือถึงมาตรการรณรงค์ความปลอดภัยช่วงเทศกาลปีใหม่ 2561 ซึ่งเห็นชอบรณรงค์ภายใต้หัวข้อ”ขับช้า เปิดไฟหน้า คาดเข็มขัด” ซึ่งจะเริ่มคิกออฟตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค.นี้ โดยตั้ง 5 เป้าหมายสำคัญ คือ
1. ลดจำนวนผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจากอุบัติเหตุลงร้อยละ5 จากช่วง 7 วันอันตรายระหว่างวันที่ 28 ธ.ค.-3 ม.ค. ของเทศกาลปีใหม่ 2560 ที่เกิดอุบัติเหตุ 1,835 ครั้ง มียอดผู้เสียชีวิต 306 คน ผู้บาดเจ็บ 1,857 คน  
2. ต้องไม่มีผู้เสียชีวิตจากระบบขนส่งสาธารณในทุกโหมด
3. ผู้ขับรถสาธารณทุกโหมดต้องมีระดับแอลกอฮอล์เป็นศูนย์
4. ต้องไม่มีผู้เสียชีวิตจากการเดินทางบนทางด่วนและมอเตอร์เวย์  
5. ต้องไม่มีผู้โดยสารตกค้างจากบริการรถสาธารณะ

นายสราวุธ กล่าวต่อว่า ขณะเดียวกันยังได้กำหนดมาตรการเข้มข้นยกกำลังสองช่วง 777 คือ 7 วันก่อนเทศกาล ระหว่างวันที่ 21-27 ธ.ค.,7วันระหว่างเทศกาล คือ ระหว่างวันที่ 28 ธ.ค.60-3 ม.ค. 2561 และ7 วันหลังเทศกาล คือ ระหว่างวันที่ 4-10 ม.ค. 2561 โดยจะใช้กับเส้นทางข้อมูลอุบัติเหตุในรอบปีจากเทศกาลต่างๆ เช่น การทำป้ายระยะมองเห็นชัดเจน ผิวถนนต้องเรียบไม่เป็นหลุมเป็นบ่อ รวมถึงการควบคุมความเร็วให้ช้าลง เช่น ตั้งด่านร่วมกับตำรวจ การติดตั้งจีพีเอส ตรวจจับความเร็วและส่งต่อข้อมูลข้ามจังหวัด ให้ตั้งด่านสกัด เบรกให้หยุดชั่วคราวและตักเตือน จากที่ผ่านมาปล่อยให้ถึงจุดหมายแล้วจึงออกใบสั่ง เพื่อป้องกันไม่ใช่การจับ

นายสราวุธ กล่าวอีกว่า ที่สำคัญในปีนี้ยังเป็นปีแรกที่คมนาคมได้ประกาศเส้นทางเสี่ยงอันตรายเป็นปีแรกและตั้งเป้าว่าต้องไม่เกิดอุบัติเหตุเลยแม้แต่ครั้งเดียวในช่วงเทศกาลปีใหม่ โดยจะใช้มาตรการเข้มข้นยกกำลังสอง ซึ่งในเบื้องต้นยังได้กำหนดสายทางที่เกิดอุบัติเหตุ 50 ช่วงสายทาง ดังนี้
1. พื้นที่นำร่อง ภายใต้ความร่วมมือระหว่างกระทรวงคมนาคม และกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งและการท่องเที่ยวญี่ปุ่น (MLIT) จำนวน 12 ช่วงสายทาง อาทิ สายทาง จ.ขอนแก่น จ.สุพรรณบุรี จ.อุตรดิตถ์ จ.เพชรบูรณ์  
2. สายทางที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ช่วงเทศกาลปีใหม่ 2560 จำนวน 10 ช่วงสายทาง อาทิ สายทางหนองหมู-ห้วยยอง จ.ประจวบคีรีขันธ์ สายทางร้องกวาง-ห้วยแก๊ต จ.แพร่ ถ้ำพรรณนา-ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช ถนนสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี จ.เชียงใหม่
3. สายทางที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ช่วงเทศกาลสงกรานต์ 60 จำนวน 10 ช่วงสายทาง อาทิ สายทางประตูน้ำพระอินทร์-หนองแค จ.พระนครศรีอยุธยา สายทางดอนขวาง-โพธิ์กลาง จ.นครราชสีมา สายทางหมากปรก-เมืองภูเก็ต จ.ภูเก็ต สายทางห้วยบง-แม่สถิตหลวง จ.ตาก
4. สายที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุดในปีงบประมาณ 60 จำนวน 18 ช่วงสายทาง อาทิทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 338 ตอนควบคุม0101 อรุณอัมรินทร์ –พุทธมณฑลสาย 4 กรุงเทพฯ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข340 ตอนควบคุม0301 สาลี-สุพรรณบุรี จ.สุพรรณบุรีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข3214 ตอนควบคุม0100 บ้านพร้าว-คลองห้า จ.ปทุมธานี

ทั้งนี้จะมีการซ้อมมาตรการเข้มข้นในเส้นทางดังกล่าวก่อนถึงช่วงเทศกาลด้วย สำหรับเส้นทางเสี่ยงที่กำหนดขึ้นเป็นเพียงเบื้องต้นเท่านั้น ซึ่งขณะนี้ยังมีการสำรวจข้อมูลเพิ่มเติมและอาจจะมีการประกาศเส้นทางเสี่ยงเพิ่มขึ้นมากกว่า 100 เส้นทาง เช่น เส้นทางที่เคยเกิดอุบัติเหตุร้ายแรง เส้นทางสู่แหล่งท่องเที่ยว เส้นทางสายหลัก เป็นต้น

https://news.thaipbs.or.th/content/268747
https://www.dailynews.co.th/economic/612039
https://www.msn.com/th-th/money/other/คมนาคมเปิดแผนลดอุบัติเหตุเดินทางปีใหม่-61/ar-BBFzk60?li=AAuelE8
http://www.thaihealth.or.th/Content/39866-'สคอ.-ศปถ.' จับมือคุมเข้ม '7 วันอันตราย' กำหนดแผนลดอุบัติเหตุช่วงเทศกาลปีใหม่ 2561.html

********************************************

7 วันอันตราย ปีใหม่ 2561 (28ธค.60-3มค.61) มาตรการเพียบ รอลุ้นผลว่าจะเป็นอย่างไร    
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=26-12-2017&group=30&gblog=4

7 วันอันตราย ปีใหม่ไทยเทศตายเจ็บเพียบ T-T ( น่าจะต้องหาวิธีคิดแบบอื่นเพื่อแก้ไขปัญหา ? )    
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=22-04-2017&group=30&gblog=2

คนไทยตายจากอุบัติเหตุทางถนนปีละ 1.5 หมื่นราย กระทบเศรษฐกิจปีละ 2 แสนล้าน     
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=23-11-2017&group=30&gblog=1

ไทยชนะแล้ว ... ประเทศที่มีการตาย จากอุบัติเหตุบนถนน สูงที่สุดในโลก (ตำแหน่งนี้ไม่ได้มาเพราะโชคช่วย)    
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=15-12-2017&group=30&gblog=3
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่