Crypto Currency : 3rd Gen

บทความอันนี้อยากเล่าเกี่ยวกับการจำแนก Crypto Currency/Token ว่านักพัฒนาในต่างประเทศนั้นเค้าจำแนกสกุลเงิน Digital กันอย่างไร (ขออนุญาตเรียก Token และ Platform รวมเข้าไปเป็นสกุลเงิน Digital เพื่อให้เข้าใจได้ง่าย)
ทุกวันนี้จริงๆแล้ว เรามี Crypto currency/token อยู่มากกว่า 1000 สกุลเงิน (ตามรายชื่อจากเว็บ coinmarketcap จริงๆแล้วมีรายชื่ออยู่กว่า 1,378 สกุลเงิน ณ วันที่ 24/12/2017)  ทั้งมีคนสนใจบ้างไม่มีคนสนใจบ้าง โดยหลักๆที่เราๆท่านๆในประเทศไทยรู้จักกันก็จะมี Bitcoin (BTC), Ethereum (ETH), Ripple (XRP), Bitcoin Cash (BTH), Omisego Token (OMG) ฯลฯ และล่าสุดที่เพิ่งขึ้น Top Chart Market Capitalization มาได้ไม่นาน Cardano (ADA) ซึ่งผมคงจะไม่ได้ลงรายละเอียดในบทความนี้ว่าจริงๆแล้วที่มาที่ไปของแต่ละสกุลเงินนี้เป็นมาอย่างไร แต่ผมจะมาเล่าถึงข้อแตกต่างสำคัญของแต่ Generation ที่นักพัฒนาในต่างประเทศได้ใช้จำแนกสกุลเงินเหล่านี้

1st Generation
สกุลเงินในยุคแรกของหลีกหนีไม่พ้นต้นตำรับอย่าง Bitcoin ซึ่งตัว Bitcoin นี้ถูกตั้งใจสร้างมาเพื่อใช้เป็นสกุลเงิน Digital โดยเฉพาะ หากแต่ผู้สร้าง (Satoshi Nakamoto) ไม่ได้จินตนาการภาพของ Bitcoin Economy อย่างในทุกวันนี้เอาไว้ล่วงหน้า จึงทำให้ตัว Bitcoin จริงๆแล้วมีปัญหาหลักๆที่สำคัญอยู่ 2 อย่างคือ
-    Scalability, เมื่อจำนวนธุรกรรมของ Bitcoin เพิ่มขึ้นสูงมากขึ้น ทำให้เกิดความล่าช้าของการประมวลผลในระบบ สืบเนื่องมาจาก ขนาดข้อมูลของ Block ที่ถูกกำหนดไว้สูงสุดที่ 1 Mb ทำให้เมื่อมีธุรกรรมเกิดขึ้นในเวลาเดียวกันมากๆ ธุรกรรมที่ยอมจ่ายค่าธรรมเนียมน้อยจะถูกเลือกประมวลผลทีหลังทำให้ต้องใช้เวลานาน ซึ่งอาจกินเวลานานเป็นวัน ซึ่งปัญหานี้ส่งผลให้ Bitcoin จากที่เคยเป็นเครื่องมือโอนเงินที่รวดเร็วและถูก กลับกลายเป็นเต่าเรียกพี่และค่าใช้จ่ายแพงกว่าโอนเงินผ่านธนาคารเสียอีก!! ซึ่งแนวทางในการแก้ไขในปัจจุบันที่มีการพูดคุยกัรนั้นผมขออนุญาตลงรายละเอียดในโอกาสถัดๆไป

-    ตัว Bitcoin ไม่สามารถทำอะไรนอกเหนือไปกว่าการโยกย้ายข้อมูลระหว่างกัน ได้เนื่องจากระบบไม่สามารถใส่อะไรลงไปเพิ่มได้ ทำให้การจ่ายเงินในรูปแบบที่มีเงื่อนไขต่างๆนั้นไม่สามารถทำได้บน Bitcoin Blockchain

จากปัญหาที่ยกตัวอย่างมาในข้างต้นนั้นจึงทำให้เกิดการพัฒนา Blockchain ขึ้นมาใหม่โดยอนุญาตให้ระบบ Blockchain ที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่นี้สามารถ เขียนชุดคำสั่งลงไปเพื่อใช้ต่อยอดได้กว้างขวางยิ่งขึ้น หากแต่ในขณะที่ 2nd Generation Blockchain ที่ถูกพัฒนาขึ้นมานี้ยังไม่ได้ขจัดปัญหาในเรื่องของการ Scalability (ในขณะนั้นยังไม่เป็นปัญหามากนักและยังไม่สามารถหาทางแก้โดยง่ายได้)

2nd Generation
Blockchain Platform ที่สามารถเรียกได้อย่างเต็มภาคภูมิว่าคือ 2nd Gen ก็คือ Ethereum ซึ่งได้เพิ่มความสามารถการเขียนชุดคำสั่งเพื่อรองรับเงื่อนไขการจ่ายเงินต่างๆ ตลอดจนพัฒนา Decentralized App ขึ้นมาใช้ในระบบได้ ซึ่งเจ้า Ethereum นี้ยังสามารถยอมให้สร้าง Token ที่อยู่ภายใต้ Platform Ethereum ขึ้นมาได้เองอีกด้วยอีกทั้งได้มีการสร้างมาตรฐาน Token ที่เรียกว่า ERC20 โดย Tokenที่รองรับ ERC20 นี้ทำให้นักพัฒนา มีมาตรฐานเดียวกันในการพัฒนา Token และไม่จำเป็นต้องปวดหัวกับการที่จะต้องกลับมานั่งรื้อโปรแกรมบน Ethereum Platform ใหม่ เมื่อมี Token ตัวใหม่ๆถูกสร้างขึ้นมาบน Ethereum.

ชุดคำสั่งหรือที่เรียกว่า Smart Contract นี้ถูกนำไปปรับใช้ในการรับชำระเงินรูปแบบต่างๆ แม้กระทั่ง Monetary Authority of Singapore (MAS หรือ ธนาคารกลางของสิงคโปร์) ยังเลือก Ethereum platform ไปใช้ในการศึกษาทดลองทำระบบ Real-time Gross Settlement ระหว่างธนาคารพาณิชย์สิงคโปร์ ภายใต้ชื่อเรียกว่า Project Ubin

อย่างไรก็ดีในปัจจุบัน Ethereum ก็ประสบปัญหาเช่นเดียวกันกับ Bitcoin โดย Bitcoin สามารถประมวลผลได้ราว 5,000 ธุรกรรมต่อวินาที ในขณะที่ Ethereum สามารถประมวลผลได้ราว 15,000 ธุรกรรมต่อวินาที หากเทียบกับระบบการรับชำระเงินของ VISA ที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน สามารถประมวลผลได้ถึงกว่า 45,000 ธุรกรรมต่อวินาที ซึ่งความสามารถในการประมวลผลธุรกรรมของ Ethereum นั้นยังไม่สามารถเรียกได้ว่าเพียงพอต่อการนำไปใช้ในวงกว้างได้

3rd Generation
จริงๆแล้วมีสกุลเงินหลายเจ้ามากที่ประกาศว่าตัวเองเป็น Third generation ของ Crypto currency โดยมีการชูจุดเด่นใหม่ๆที่ต่างกันออกไป เช่นเพิ่มระบบการ Voting เพื่อใช้สำหรับการ Impliment สิ่งใหม่ๆในอนาคต หรือระบบ Treasury ที่ใช้ในการตัดสินใจให้เงินกับโปรเจคที่น่าสนใจ สำหรับสกุลเงินนั้นๆ (Dash) ซึ่งเมื่อมองลงไปจริงๆแล้วยังไม่ได้มีฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่เด่นมากพอที่เรียกตัวเองได้เต็มปากว่าเป็น 3rd Gen Crypto Currency
ในความเห็นส่วนตัวของผมแล้ว ผมมองว่า Third Gen จริงๆแล้วควรที่จะสามารถแก้ไขปัญหาในเรื่องของการรองรับผู้ใช้จำนวนมหาศาลได้ (Scalability) ซึ่งโดยส่วนตัวในปัจจุบันยังมองว่ายังไม่มีCrypto Currency สกุลใดที่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้จริงๆในปัจจุบัน (ส่วนมากอ้างผลจากการทดสอบ หรือ อยู่ในระหว่างการพัฒนา)
เพราะโดยพื้นฐานแล้ว Crypto currency ด้วยตัวมันเองคือการเข้ารหัส (Cryptography) ซึ่งหากเราต้องการความรวดเร็วเพิ่มขึ้นมาในระบบ มันก็จะกึ่งๆไปลดความปลอดภัยโดยรวมของการเข้ารหัส ก็คงต้องรอดูกันต่อไปครับว่า จะมีสกุลเงินไหนสามารถทำ Off-chain transaction ให้เป็นที่นิยมได้ก่อนกัน

ถ้าใครสนใจในเรื่องของ Technology Blockchain หรือ Crypto Currency ก็หลังไมค์มาคุยกันได้นะครับ แต่ผมขอสงวนการให้ความเห็นในแนวเชิงการเก็งกำไร Crypto Currency นะครับ
แสดงความคิดเห็น
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ  สกุลเงินดิจิตอล Fintech เทคโนโลยี การเงิน
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่