ทุกเทศกาลวันหยุดยาว นอกจากแหล่งท่องเที่ยวแต่ละแห่งจะเผชิญกับนักท่องเที่ยวจำนวนมากที่หลั่งไหลเดินทางไปท่องเที่ยวกันอย่างคึกคัก คับคั่ง บางที่ท่องเที่ยวสุดฮิตเรียกว่าแออดัยัดทะนานกันเลยก็ว่าได้ ผลกระทบหนึ่งที่ตามมากก็ปัญหาขยะจากนักท่องเที่ยวที่ทิ้งไว้ ให้เจ้าของพื้นที่ต้องจัดเก็บ
ถ้าหลักสิบชิ้นอาจจะไม่ใช่ปัญหา แต่เพราะมันไม่ใช่แค่หลักสิบ บางพื้นที่รวมๆแล้วชั่งน้ำหนักก็ถึงหลักตันเอาเหมือนกัน นั่นจึงเป็นปัญหา ยิ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ ในป่าลึก บนเขาสูง หลังเทศกาลท่องเที่ยวต้องเผชิญภูเขาขยะทุกครั้ง ซึ่งการจัดเก็บยากลำบาก
ครั้งหนึ่ง หรือก็คงยังรณรงค์กันต่อเนื่อง ถึงการสร้างจิตสำนึก ให้นักท่องเที่ยวนำขยะกลับออกไปด้วย แต่ดูเหมือนก็ไม่ค่อยได้ผล แม้ว่าจะใช้มาตรการบังคับกลายๆ ไม่จัดภาชนะหรือจุดทิ้งขยะไว้ในแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆ เพื่อหวังให้นักท่องเที่ยวรวบรวมขยะของตัวเองกลับออกไป ก็กลายเป็นว่า พบเศษขยะกล่องโฟม ขวดน้ำอัดลม ยัดอยู่ในซอกระหว่างหิน บนภูหินร่องกล้า / พบเศษขวดแก้วถูกทุบละเอียดหวังให้กลายเป็นเนื้อเดียวกับดินบนเนินเขาค้อ ไปซะอย่างนั้น
นั่นเพราะ “สำนึก” ของคนไม่เท่ากัน บางทีรณรงค์จิตสำนึกอาจไม่พอ !!
“ยิ่งแหล่งท่องเที่ยว อุทยานแห่งชาติบนเขาสูงๆ ขึ้นไปว่ายากแล้ว ลงมายากกว่า เรียกได้ว่าแทบจะทิ้งทุกอย่างไว้ข้างบน เอาชีวิตลงมาให้รอดก็พอ” วีระศักดิ์ โค้วสุรัตน์ รัฐมนตรีท่องเที่ยวหมาดๆ บอกเล่าจากประสบการณ์จริงที่ครั้งหนึ่งเดินทางขึ้น อุทยานปห่งชาติเขาหลวง ให้บรรดาบล๊อกเอกร์ กลุ่มมีเดีย แอนด์ บล๊อกเกอร์ คลับ ฟัง ในโอกาสประชุมร่วมกัน
พร้อมบรรยายหัวข้อ ชวนเที่ยวไทยอย่างรู้คุณค่า สู่ความมั่งคั่งและยั่งยืนในแบบไทยแลนด์ 4.0 ที่ช่วงหนึ่งผุดแนวคิดแก้ปัญหาขยะแหล่งท่องเที่ยว เพื่อการท่องเที่ยวยั่งยืน จะหารือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม “เก็บค่ามัดจำขยะ” ที่เข้าไปในแหล่งท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติ
“อุทยานแห่งชาติทั้งหลาย ต่อไปนี้เราจะช่วยกันไม่ให้เอาขยะขึ้นไป ถ้าเอาขึ้นไปต้องจ่ายค่ามัดจำ สิ่งใดๆที่ตรวจสอบดูแล้วจะกลายเป็นขยะได้ จะต้องชั่งน้ำหนักไว้ เก็บค่ามัดจำ เอาขึ้นไป แล้วนำกลับลงมา มารับค่ามัดจำคืน และถ้าให้ดีเห็นขยะของคนอื่นทิ้งไว้ นำกลับลงมาด้วยก็จะขอบคุณมากๆ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวกล่าว
เก็บค่า “มัดจำขยะ” แนวคิดแก้ปัญหาขยะล้นอทุยานแห่งชาติ
ทุกเทศกาลวันหยุดยาว นอกจากแหล่งท่องเที่ยวแต่ละแห่งจะเผชิญกับนักท่องเที่ยวจำนวนมากที่หลั่งไหลเดินทางไปท่องเที่ยวกันอย่างคึกคัก คับคั่ง บางที่ท่องเที่ยวสุดฮิตเรียกว่าแออดัยัดทะนานกันเลยก็ว่าได้ ผลกระทบหนึ่งที่ตามมากก็ปัญหาขยะจากนักท่องเที่ยวที่ทิ้งไว้ ให้เจ้าของพื้นที่ต้องจัดเก็บ
ถ้าหลักสิบชิ้นอาจจะไม่ใช่ปัญหา แต่เพราะมันไม่ใช่แค่หลักสิบ บางพื้นที่รวมๆแล้วชั่งน้ำหนักก็ถึงหลักตันเอาเหมือนกัน นั่นจึงเป็นปัญหา ยิ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ ในป่าลึก บนเขาสูง หลังเทศกาลท่องเที่ยวต้องเผชิญภูเขาขยะทุกครั้ง ซึ่งการจัดเก็บยากลำบาก
ครั้งหนึ่ง หรือก็คงยังรณรงค์กันต่อเนื่อง ถึงการสร้างจิตสำนึก ให้นักท่องเที่ยวนำขยะกลับออกไปด้วย แต่ดูเหมือนก็ไม่ค่อยได้ผล แม้ว่าจะใช้มาตรการบังคับกลายๆ ไม่จัดภาชนะหรือจุดทิ้งขยะไว้ในแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆ เพื่อหวังให้นักท่องเที่ยวรวบรวมขยะของตัวเองกลับออกไป ก็กลายเป็นว่า พบเศษขยะกล่องโฟม ขวดน้ำอัดลม ยัดอยู่ในซอกระหว่างหิน บนภูหินร่องกล้า / พบเศษขวดแก้วถูกทุบละเอียดหวังให้กลายเป็นเนื้อเดียวกับดินบนเนินเขาค้อ ไปซะอย่างนั้น
นั่นเพราะ “สำนึก” ของคนไม่เท่ากัน บางทีรณรงค์จิตสำนึกอาจไม่พอ !!
“ยิ่งแหล่งท่องเที่ยว อุทยานแห่งชาติบนเขาสูงๆ ขึ้นไปว่ายากแล้ว ลงมายากกว่า เรียกได้ว่าแทบจะทิ้งทุกอย่างไว้ข้างบน เอาชีวิตลงมาให้รอดก็พอ” วีระศักดิ์ โค้วสุรัตน์ รัฐมนตรีท่องเที่ยวหมาดๆ บอกเล่าจากประสบการณ์จริงที่ครั้งหนึ่งเดินทางขึ้น อุทยานปห่งชาติเขาหลวง ให้บรรดาบล๊อกเอกร์ กลุ่มมีเดีย แอนด์ บล๊อกเกอร์ คลับ ฟัง ในโอกาสประชุมร่วมกัน
พร้อมบรรยายหัวข้อ ชวนเที่ยวไทยอย่างรู้คุณค่า สู่ความมั่งคั่งและยั่งยืนในแบบไทยแลนด์ 4.0 ที่ช่วงหนึ่งผุดแนวคิดแก้ปัญหาขยะแหล่งท่องเที่ยว เพื่อการท่องเที่ยวยั่งยืน จะหารือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม “เก็บค่ามัดจำขยะ” ที่เข้าไปในแหล่งท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติ
“อุทยานแห่งชาติทั้งหลาย ต่อไปนี้เราจะช่วยกันไม่ให้เอาขยะขึ้นไป ถ้าเอาขึ้นไปต้องจ่ายค่ามัดจำ สิ่งใดๆที่ตรวจสอบดูแล้วจะกลายเป็นขยะได้ จะต้องชั่งน้ำหนักไว้ เก็บค่ามัดจำ เอาขึ้นไป แล้วนำกลับลงมา มารับค่ามัดจำคืน และถ้าให้ดีเห็นขยะของคนอื่นทิ้งไว้ นำกลับลงมาด้วยก็จะขอบคุณมากๆ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวกล่าว