ตะลึง!!! กระทรวงกลาโหม USA (PENTAGON) เผยภาพ F-18 บินไล่ตาม UFO!!!

ตะลึง!!! กระทรวงกลาโหม USA (PENTAGON) เผยภาพ F-18 บินไล่ตาม UFO!!!

20 ธ.ค. 2560 โดย MGR Online

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

เดอะซัน - กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯเผยแพร่คลิปอันน่าขนลุก
เหตุการณ์ที่เครื่องบินขับไล่ของอเมริกา 2 ลำพยายามไล่ล่าวัตถุบินไม่ทราบเอกลักษณ์
บนท้องฟ้านอกชายฝั่งแซนดีเอโกเมื่อปี 2004
วิดีโอที่เท่ากับเพนตากอนยอมรับเป็นครั้งแรกว่าพวกเขามีโครงการต่อสู้กับภัยคุกคามจากต่างดาวจริง

ในวิดีโอดังกล่าวพบเห็นวัตถุบินรูปไข่ส่องแสงบินอยู่บนท้องฟ้า ในขณะที่ฝูงบิน F/A-18 ประจำเรือบรรทุกเครื่องบิน ถูกส่งขึ้นไล่ล่า

นิวยอร์กโพสต์รายงานอ้างเสียงในวิดีโอ ระบุนักบินคนหนึ่งพูดขึ้นว่า
"หรือมันจะเป็นโดรน พวก"
ส่วนอีกคนตอบว่า
"พระเจ้า มันกำลังบินสวนลม ลมพัดไปทางตะวันตก 120 ไมล์
ไม่รู้ว่ามันคืออะไร ดูซิ มันกำลังหมุน"

วิดีโอนี้เผยแพร่โดยโครงการระบุตัวตนภัยคุกคามจากอวกาศที่ก้าวล้ำ
(Advanced Aerospace Threat Identification Program) ของกระทรวงกลาโหม
ซึ่งใช้งบประมาณราว ประมาณ 22 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ระหว่างปี 2008 ถึง 2012
เพื่อตรวจสอบรายงานจากนักบินของกองทัพและนักบินพาณิชย์
ที่พบเห็นวัตถุบินซึ่งไม่สามารถระบุเอกลักษณ์ได้

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิจัย และสืบหาภัยคุกคามจากนอกโลก
โดยส่วนหนึ่งของงานถูกจัดอยู่ในขั้นลับสุดยอดและบางส่วนยังคงมีการตรวจสอบจนถึงตอนนี้

เดวิด ฟราเวอร์ นักบินที่อยู่ในเหตุการณ์ ให้สัมภาษณ์กับนิวยอร์กไทมส์
ว่าเรือบรรทุกเครื่องบินได้ติดตามวัตถุประหลาดเป็นเวลาราวๆ 2 สัปดาห์
จากนั้นจู่ๆมันก็ปรากฏตัวขึ้นที่ระดับ 80,000 ฟุต
ก่อนดิ่งลงสู่ทะเลและลอยกลับขึ้นไปอยู่ที่ระดับ 20,000 ฟุต
เดี๋ยวหายไปจากหน้าจอ เดี๋ยวพุ่งกลับมา

เมื่อตอนที่เขาพยายามเข้าไปใกล้วัตถุดังกล่าว มันกลับหายวับไปในชั่วพริบตา
"มันเร่งเครื่องเร็วจี๋อย่างที่ผมไม่เคยพบเห็นมาก่อนเลย
ผมบอกกับเพื่อนนักบินว่าไม่รู้ว่าที่ผมเห็นนั้นคืออะไร
มันไม่มีขน ปีกหรือใบพัด และบินเร็วกว่าเอฟ-18ของเรา"

เพนตากอนยืนยันว่าคลิปเสียงและวิดีโอถูกตรวจสอบ
ภายใต้โครงการ Advanced Aerospace Threat Identification Program
ซึ่งถูกก่อตั้งขึ้นภายใต้การบริหารงานโดยสำนักงานข่าวกรองกระทรวงกลาโหม
ตามคำร้องของของ แฮร์รีย์ รีด
วุฒิสมาชิกของพรรคเดโมแครต จากรัฐเนวาดา ซึ่งปัจจุบันเกษียณอายุไปแล้ว

https://mgronline.com/around/detail/9600000127770

https://www.thairath.co.th/content/1155677



เป็นทางการ!!! กระทรวงกลาโหม USA ยอมรับ!!! เทงบหลายสิบล้าน ทำโครงการติดตาม UFO!!!

17 ธ.ค. 2560 โดย MGR Online

รอยเตอร์/บีบีซีนิวส์ - กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ (เพนตากอน) แถลงยอมรับในวันเสาร์ (16 ธ.ค.) ว่า ทางกระทรวงจัดทำโครงการติดตามสอบสวนเรื่อง ยูเอฟโอ หรือ “จานบิน” โดยใช้เงินไปหลายสิบล้านดอลลาร์ ทว่า ขณะที่เพนตากอนบอกว่าโปรแกรมนี้ยุติลงในปี 2012 มันกลับไม่มีความชัดเจนแน่นอนว่ากระทรวงยังมีการติดตามยูเอฟโอต่อไปอีกหรือไม่ โดยใช้งบประมาณจากที่อื่นๆ

หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ รายงานในวันเสาร์ (17) ว่า โปรแกรมที่มีภารกิจในการติดตามสอบสวนการพบเห็น ยูเอฟโอ (UFOs ย่อมาจาก unidentified flying objects วัตถุบินที่ไม่สามารถระบุที่มาได้ หรือเรียกขานกันทั่วไปในภาษาไทยว่า จานบิน) นี้ เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 2007 และยุติลงในปี 2012 โดยได้รับเงินรวม 22 ล้านดอลลาร์ จากงบประมาณประจำปี ซึ่งแฝงเร้นอยู่อย่างลับๆ ในงบประมาณรวมของเพนตากอนที่มีมูลค่าระดับปีละหลายแสนล้านดอลลาร์

ตามข่าวของนิวยอร์กไทมส์ เอกสารต่างๆ จากการดำเนินการในโครงการนี้
พูดถึงการพบเห็นเครื่องบินและวัตถุลอยตัวได้ต่างๆ ซึ่งมีอัตราความเร็วที่แปลกประหลาด

ทว่า พวกนักวิทยาศาสตร์แสดงความสงสัยข้องใจ และยังคงเห็นย้ำว่า
ปรากฏการณ์ที่ไม่สามารถอธิบายได้ทั้งหลาย ไม่จำเป็นว่าจะต้องกลายเป็นหลักฐาน
พิสูจน์ให้เห็นว่ามีสิ่งมีชีวิตนอกโลกจริงๆ

มีเจ้าหน้าที่กระทรวงเพียงจำนวนน้อยซึ่งทราบเรื่องโปรแกรมที่ใช้ชื่อว่า “โครงการเพื่อการระบุภัยคุกคามทางการบินอวกาศระดับก้าวหน้า (Advanced Aerospace Threat Identification Programme) นี้ โดยตอนเริ่มแรกทีเดียว การจัดสรรเงินให้แก่โครงการนี้ ที่สำคัญแล้ว เนื่องมาจากคำขอของ แฮร์รี รีด ซึ่งเวลานั้นเป็น วุฒิสมาชิกจากรัฐเนวาดา และก็เป็นผู้นำของ ส.ว. พรรคเดโมแครต รวมทั้งเป็นที่ทราบกันมานานแล้วว่าเขามีความกระตือรือร้นสนใจเกี่ยวกับปรากฏการณ์ต่างๆ ในอวกาศ รายงานของนิวยอร์กไทมส์ ระบุ

หนังสือพิมพ์นี้รายงานว่า ตามคำบอกเล่าของพวกที่สนับสนุนโครงการ
จนกระทั่งถึงตอนนี้โปรแกรมนี้ยังคงมีอยู่
และพวกเจ้าหน้าที่ยังคงคอยติดตามสอบสวนกรณีต่างๆ
เกี่ยวกับการพบเห็นปรากฏการณ์ทางอากาศที่ผิดปกติและวัตถุต้องสงสัยต่างๆ
เคียงคู่ไปกับการปฏิบัติหน้าที่ประจำวันของพวกเขา

ทางด้านกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯเอง กล่าวยอมรับอย่างเปิดเผย
เกี่ยวกับความเป็นไปของโปรแกรมนี้ เมื่อสำนักข่าวรอยเตอร์สอบถามไป

“โครงการเพื่อการระบุภัยคุกคามทางการบินอวกาศระดับก้าวหน้า
ยุติลงในกรอบเวลาปี 2012” ลอรา โอชัว โฆษกหญิงของเพนตากอนตอบกลับมาทางอีเมล

“มีการวินิจฉัยตัดสินว่า มีประเด็นปัญหาอื่นๆ ที่มีลำดับความสำคัญสูงกว่า
ซึ่งสมควรที่จะได้รับเงินงบประมาณ และมันเป็นผลประโยชน์ดีที่สุด
สำหรับทางกระทรวง ที่จะดำเนินการเปลี่ยนแปลง” เธออธิบาย

ทว่าเพนตากอนพูดชัดเจนน้อยลง ต่อคำถามที่ว่าโปรแกรมยูเอฟโอนี้
ยังคงถูกแปะเอาไว้ที่ไหนสักแห่งหนึ่งในจักรวาลอันกว้างใหญ่ไพศาล
ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯหรือเปล่า

“กระทรวงถือเป็นเรื่องจริงจัง สำหรับภัยคุกคามทั้งหลายทั้งปวง
หรือสิ่งที่มีศักยภาพจะกลายเป็นภัยคุกคามทั้งหลายทั้งปวง
ต่อประชาชนของเรา ทรัพย์สินของเรา และภารกิจของเรา
และลงมือกระทำการในเมื่อเกิดมีข้อมูลข่าวสารซึ่งน่าเชื่อถือปรากฏขึ้นมา”
โอชัว กล่าวแบบรวมๆ

สิ่งที่น่าสงสัยข้องใจน้อยกว่านั้นก็คือ อดีตวุฒิสมาชิกรีด เป็นผู้ที่มีความกระตือรือร้นเรื่องยูเอฟโอ

“ถ้าคุณได้พูดจากับ แฮร์รี รีด แม้สัก 60 วินาทีแล้ว คุณจะพบว่า
เรื่องน่าประหลาดใจน้อยที่สุดทีเดียวคือเรื่องที่เขารักชอบยูเอฟโอ
และเขาเป็นผู้ที่มีบทบาทคนหนึ่งในการศึกษาเรื่องนี้”
คริสเทน ออร์ธมาน อดีตโฆษกของรีด กล่าวในข้อความที่โพสต์ขึ้นทวิตเตอร์

ขณะที่ตัวรีดเองบอกกับนิวยอร์กไทมส์ ว่า
“ผมไม่ได้รู้สึกเก้อเขินหรือละอายหรือเสียใจอะไรเลย สำหรับการที่ผมผลักดันเรื่องนี้
ผมน่ะได้ทำบางสิ่งบางอย่างซึ่งไม่เคยมีคนอื่นได้ทำมาก่อน”

ขณะเดียวกัน มีอดีตเจ้าหน้าที่รัฐสภาสหรัฐฯผู้หนึ่ง บอกกับเว็บไซต์ข่าว “โพลิติโค” ว่า
โปรแกรมนี้อาจจะจัดทำขึ้นมาเพื่อเฝ้าติดตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
ของพวกมหาอำนาจต่างประเทศที่เป็นคู่แข่งของสหรัฐฯ

ปรากฏการณ์แปลกประหลาดที่พบเห็นกัน
“คือ การที่จีนหรือรัสเซียกำลังพยายามทำบางสิ่งบางอย่างอยู่
หรือมีระบบขับดันบางอย่าง ซึ่งเราเองยังไม่มีความคุ้นเคยหรือเปล่า”
เจ้าหน้าที่เหล่านี้ยกตัวอย่าง

ก่อนหน้านี้ ในปีนี้ สำนักงานข่าวกรองกลางของสหรัฐฯ (ซีไอเอ)
ได้นำเอาเอกสารที่ถูกลดชั้นความลับแล้วเป็นจำนวนหลายล้านหน้าออกมาเผยแพร่ทางออนไลน์

ในจำนวนนี้มีเอกสารซึ่งรายงานการพบเห็นยูเอฟโอ และแฟ้มรวบรวมรายงานเกี่ยวกับจานบิน

https://mgronline.com/around/detail/9600000126779







https://ppantip.com/topic/36916347/comment2
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่