ก่อนอื่น..ขอแจ้งให้ผู้อ่านกระทู้นี้ทราบว่า..กระทู้นี้ถ้าจะจัดประเภทเป็นเรื่องสั้น ก็คงเป็นเรื่องสั้นขนาดยาว.. จนต้องแบ่งเป็น 2 ตอน....
หากท่านใด..ไม่สามารถอ่านข้อความยาว ๆ ได้..ก็ต้องขอโทษด้วยครับ เพราะจำเป็นจริงๆ ที่ต้องอธิบายยืดยาว...
อาจจะยาวไกลยิ่งกว่าที่พี่ตูน วิ่งจากใต้จดเหนือเสียอีก...
สืบเนื่องจากกระทู้ว่าด้วยความเห็นต่างของพี่ๆ น้อง ๆ ชาวโบราณคดีต่อการไปเรียน ณ ดินแดนอันไกลโพ้น จนแทบตกขอบกรุงเทพฯ...
นามว่า ศูนย์สันสกฤตศึกษา (ส่วนใหญ่นิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า ศูนย์สัน).....
ที่ดูไม่น่าจะเหมาะเป็นสถานที่ศึกษา หรือไม่สะดวกด้วยประการทั้งปวง ในความเห็นของบางท่าน....
แต่สำหรับบางท่าน ที่แห่งนี้ก็ยังพอเป็นแหล่งพักพิงอิงแอบแนบชิดกันได้ ในยามที่วังท่าพระยังอยู่ระหว่างปรับปรุงแบบยกวัง.....
จขกท. ขอนำเสนอ "ปริศนา" ในภาษาไทย ที่มีรากศัพท์มาจากภาษาสันสกฤตว่า "ปฺรศฺนะ" แปลว่า คำถาม (และไม่ได้สื่อถึง อะไรที่ลึกลับ หรือลี้ลับหรอกนะครับ) ที่เกี่ยวเนื่องกับ ศูนย์สันฯ เช่น
ปริศนา 01 -
เมื่อไหร่วังท่าพระจะปรับปรุงเสร็จสักที..
ปริศนา 02 -
ทำไม ต้องมาเรียนที่ศูนย์สันสกฤตฯ ด้วย..ในเมื่อเรามีสถานที่ที่ วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม (ทับแก้ว)
หรือไม่ก็ไปที่วิทยาเขตชะอำ เพชรบุรี
ปริศนา 03 -
หากจะให้นักศึกษามาเรียนที่ศูนย์สันฯ ทำไม สิ่งอำนวยความสะดวกในอาคาร หรือการให้บริการต่าง ๆ จึงไม่สมกับค่าเทอมที่พวกเราจ่ายไปบ้างเลย ...ขออะไรสะดวก ๆ หน่อย เช่น รถรับส่ง โรงอาหารติดแอร์ สถานที่ทำกิจกรรม หรือที่นั่งพัก ฯลฯ หน่อยได้ไหม ?
เราจะร่วมกันไขปริศนาเหล่านี้กันในกระทู้ทั้ง 2 ตอนนี้นะครับ
แต่ก่อนจะไขปริศนาเหล่านี้ เรามารู้จักกับศูนย์สันฯ เจ้าปัญหา..กันก่อนดีไหมครับ เผื่อจะได้เป็นข้อมูลในการคิด วิเคราะห์ แยกแยะ
เรามาศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของศูนย์สันฯ กันก่อนเลยครับ
ท่านทราบไหมครับว่า ชื่อเต็มของ อาคารศูนย์สันฯ คือ อะไร ?
ตอบ...คือ “ศูนย์สันสกฤตศึกษา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 50 พรรษา”
"Rome wasn't built in a day" - กรุงโรมไม่ได้สร้างเสร็จภายในวันเดียว ฉันใด ศูนย์สันฯ ก็ไม่ได้สร้างเสร็จภาย 10 ปี ฉันนั้น..(2550-2560 ก็ยังไม่เสร็จเลย)...
ท่านเชื่อหรือไม่ว่า อาคารศูนย์สันสกฤตศึกษา ถ้าเปรียบเป็นมนุษย์คนหนึ่งแล้ว เขาจะต้องเป็นคนที่แกร่งมาก เพราะประสบการณ์สูง ผ่านเหตุการณ์ภัยพิบัติรุนแรงหลายครั้ง ทั้งน้ำท่วม ไฟไหม้ มาหมดแล้ว....อะไรจะขนาดน้าน...
ศูนย์สันฯ 01 จุดกำเนิด...จากศรัทธา
ปี 2544 นางสาวจำปี ควรชม ซึ่งสนิทสนมคุ้นเคยกับ อ.ปราณี เทพาทิพย์ (ปัจจุบัน ทั้งสองท่านถึงแก่กรรมแล้ว) ศิษย์เก่า ป.โท สาขาวิชาภาษาสันสกฤต คณะโบราณคดี ได้ร่วมงานการจัดงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านสันสกฤตศึกษาแล้วมีจิตศรัทธามอบที่ดินในพื้นที่เขตทวีวัฒนา จำนวน 5 ไร่ มูลค่า 30 ล้านบาท (ขณะนั้น) ผ่านมูลนิธิชัยพัฒนา เพื่อมอบให้ศูนย์สันสกฤตศึกษา ใช้สร้างแหล่งเรียนรู้ เนื่องจากศูนย์สันฯ ยังไม่มีสำนักงานที่มั่นคงถาวร
นางสาวจำปี ควรชม (ในวงกลม) และ อ.ปราณี เทพาทิพย์ (ยืนติดกับด้านขวามือนางสาวจำปี)
กำนันสุชานุช ฉัตรจิ๋ว ผู้ใหญ่ปิ่น ฤทธิ์ดี สองสามีภรรยา และเป็นผู้นำชุมชนเขตทวีวัฒนา (ปัจจุบัน ทั้งสองท่านถึงแก่กรรมแล้ว)
ญาติ ๆ และ นายญาณเดช ทองสิมมา อดีตรองผู้ว่าฯ กทม.
รวมทั้งคณาจารย์จากศูนย์สันสกฤตศึกษา
เข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อถวายที่ดินดังกล่าว ณ อาคารชัยพัฒนา วังสวนจิตรลดา เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2545
จดหมายแสดงเจตจำนงมอบที่ดินให้ศูนย์สันฯ ของนางสาวจำปี ควรชม
ศูนย์สันฯ 02 รอ..งบประมาณ..5..ปี..จนมูลนิธิชัยพัฒนา..แจ้งให้ใช้ประโยชน์
จากปี 2545 ที่ศูนย์สันฯ ได้รับบริจาคที่ดิน..แต่..ทางมหาวิทยาลัยศิลปากร ยังไม่สามารถของบประมาณจากรัฐบาลไทย
เพื่อมาสร้างหรือทำประโยชน์กับที่ดินนี้ได้ถึง 5 ปี...
ในระหว่างนี้ ผศ.ดร.จิรพัฒน์ ประพันธวิทยา ผู้อำนวยการศูนย์สันฯ คนแรก ได้พยายามของบประมาณมาสร้างอาคารศูนย์สันฯ
เริ่มแรกตั้งเป้าเพียงอาคาร 3 ชั้น มูลค่าราว ๆ 30 ล้านบาท...จนกระทั่งมูลนิธิชัยพัฒนาได้ทำหนังสือแจ้งมาว่าให้ทางศูนย์สันฯ ใช้ประโยชน์ให้ได้...
ด้วยหนังสือฉบับนั้น...อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร (ในขณะนั้น คือ รศ.ดร.วิวัฒน์ชัย อัตกากร) รับทราบจึงได้ของบประมาณมาดำเนินการใช้ประโยชน์อย่างเร่งด่วน เมื่อปี 2549 เพื่อสร้างอาคารสูง 5 ชั้น พื้นที่ใช้สอย ราว ๆ 5000 ตารางเมตร งบประมาณทั้งสิ้นราว ๆ 100 ล้านบาท
แต่งบประมาณที่ได้รับก็ไม่เพียงพอ คือ ได้รับมาเพียงจำนวน 74 ล้านบาท เพราะเป็นงบเร่งด่วน
จนต้องตัดองค์ประกอบบางส่วนของอาคารออกไป คือ ระบบท่อร้อยสาย ลิฟต์โดยสาร ห้องประชุม รั้วรอบพื้นที่ทั้งหมด เ
พื่อให้การก่อสร้างอาคารเป็นไปได้...(ส่วนที่ตัดออกไปจะของบประมาณในปีต่อ ๆ ไป..)
ศูนย์สันฯ 03 อินเดียมอบเงินร่วมสร้างอาคารศูนย์สันฯ อีก 10 ล้านบาท ในปี 2550
ที่ปรึกษาศูนย์สันฯ (ผศ.ดร.จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา) ได้ของบประมาณจากอินเดียเพื่อร่วมสร้างส่วนที่เหลือ (บางส่วน) คือ รั้วรอบพื้นที่และระบบท่อร้อยสาย ด้วยความร่วมมือที่ดีระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลอินเดีย ..
พลเอกสรยุทธ์ จุลานนท์ เดินทางไปเชื่อมความสัมพันธ์กับประเทศอินเดียเมื่อเดือนมิถุนายน 2550 และรัฐบาลอินเดียได้มอบเงินร่วมสร้างอาคารศูนย์สันฯ จำนวน 10 ล้านบาท
การก่อสร้างอาคารศูนย์สันฯ ผ่านการ E Auction และได้ผู้รับเหมามาเริ่มก่อสร้างเมื่อปลายปี 2550
เริ่มลงเสาเข็ม ในตอนเริ่มสร้างอาคารฯ
ภาพวาดลายเส้นอาคารศูนย์สันฯ
ภาพตอนเริ่มสร้างอาคาร ก่อนจะมีการวางศิลาฤกษ์
ศูนย์สันฯ 04 วางศิลาฤกษ์ 9 มีนาคม 2551 โดย ศ.ดร.ประเสริฐ ณ นคร และ H.E. (Ms.) Lata Reddy เอกอัครราชทูตอินเดีย ประจำประเทศไทย
แผ่นศิลาฤกษ์ของอาคารศูนย์สันฯ คำนวณโดย ศ.ดร.ประเสริฐ ณ นคร
ศูนย์สันฯ 05 สร้างเสร็จบางส่วน เฉพาะตัวอาคาร เมื่อต้นปี 2553
แต่...ไม่มีรั้วรอบ ไม่ลิฟต์โดยสาร ไม่มีห้องประชุม ไม่มีอุปกรณ์สำหรับการเรียนการสอน
เพราะยังไม่ได้งบประมาณจัดซื้อโต๊ะ เก้าอี้ กระดาน White Board ติดตั้งในห้องเรียน...รวมถึงไม่มีเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ฯ...
ศูนย์สันสกฤตศึกษา ที่สร้างเสร็จแล้วบางส่วน ต้นปี 2553
ต้นปี 2553 ทั่วทั้งอาคารมีแอร์ไม่กี่เครื่อง เพราะถูกตัดออกไป เหตุจากงบไม่พอ..
นักศึกษา ป.ตรี โท และเอก รุ่นแรกที่มาเรียนที่อาคารใหม่แห่งนี้...แต่ต้องมาทำความสะอาดกันเองนะ เพราะไม่มีเจ้าหน้าที่ แม้แต่ รปภ....
จากศรัทธา...คุณสถิต กุมาร ผู้สนับสนุนกิจกรรมของศูนย์สันฯ และอดีตประธานสมาคมฮินดูสมาช ประเทศไทย มอบทุนจำนวน 5 แสนบาทในการจัดสร้างพระคเณศ องค์ขนาดหน้าตักกว้าง 1 เมตร ไว้ประจำศูนย์สันฯ ผ่าน อ.ดร.อุทัย ดุลยเกษม อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อ เดือนมิถุนายน 2553
ช่างปั้นรูปพระคเณศ เพื่อหล่อด้วยทองเหลืองแล้วนำมาประจำไว้ที่อาคารศูนย์สันฯ
นักศึกษาโครงการอบรมภาษาฮินดี ดำเนินการโดย รศ.ดร. ปรมัตถ์ คำเอก และ อ.กิตติพงษ์ บุญเกิด จัดเป็นกลุ่มแรกที่จัด ณ อาคารศูนย์สันฯ
ศูนย์สันฯ 06 นักศึกษากลุ่มใหญ่ กลุ่มแรก ที่บุกเบิก เดินทางมาศึกษาไกลถึงอาคารใหม่ของศูนย์สันฯ
เมื่อกลางปี 2553 คือ ป.ตรี เอกภาษาตะวันออก ภาควิชาภาษาตะวันออก มาเรียนและซ้อมละครเวที บทสนทนาด้วยภาษาสันสกฤต ควบคุมการแสดงโดย ผศ.ดร.ชัยณรงค์ กลิ่นน้อย และ Prof. Prativa Manjari Rath อาจารย์อาคันตุกะ คนที่ 6 ของศูนย์สันสกฤตศึกษา
โครงการพิเศษ การฉลองเทศกาล วันสันสกฤตและฮินดี ครั้งแรกในประเทศไทย มีการสาธิตการสวดมันตระและพิธีอัคนิโหตระ (บูชาพระอัคนี) ณ อาคารศูนย์สันฯ
กลุ่มชาวฮินดูจาก อารยสมาช ประเทศไทย ให้เกียรติมาสาธิต พิธีอัคนิโหตระ
นักศึกษา ทั้ง ป.ตรี และโท ร่วมกันจัดทำศิลปะผงสี หรือ รังโคลี อย่างสวยงาม
พิธีทำบุญเปิดอาคารและงานต้อนรับปีใหม่ 2554 โดยคณาจารย์และนักศึกษา เมื่อ 24 ธันวาคม 2553
มีตึก แต่ขาดรั้วรอบ รัฐบาลอินเดียจึงมอบเงินร่วมสร้างส่วนนี้และส่วนอื่น ๆ จำนวนรวม 10 ล้านบาท
ก่อนจะสร้างรั้ว ต้องสำรวจพื้นที่และรังวัดให้แม่นยำและตรงตามที่ระบุในโฉนด
กลุ่มนักศึกษาภาษาฮินดี ยังคงมาเปิดสอนที่ศูนย์สันฯ อย่างต่อเนื่องเป็นปีที่สอง
(กรุณาติดตามต่อ ตอนที่ 2 ตอนจบ)
ปัญหา-ปริศนา-ศูนย์สันสกฤตศึกษา คณะโบราณคดี ม ศิลปากร บางเรื่องที่คุณอาจไม่รู้..(ตอนที่ 1)
ก่อนอื่น..ขอแจ้งให้ผู้อ่านกระทู้นี้ทราบว่า..กระทู้นี้ถ้าจะจัดประเภทเป็นเรื่องสั้น ก็คงเป็นเรื่องสั้นขนาดยาว.. จนต้องแบ่งเป็น 2 ตอน....
หากท่านใด..ไม่สามารถอ่านข้อความยาว ๆ ได้..ก็ต้องขอโทษด้วยครับ เพราะจำเป็นจริงๆ ที่ต้องอธิบายยืดยาว...
อาจจะยาวไกลยิ่งกว่าที่พี่ตูน วิ่งจากใต้จดเหนือเสียอีก...
สืบเนื่องจากกระทู้ว่าด้วยความเห็นต่างของพี่ๆ น้อง ๆ ชาวโบราณคดีต่อการไปเรียน ณ ดินแดนอันไกลโพ้น จนแทบตกขอบกรุงเทพฯ...
นามว่า ศูนย์สันสกฤตศึกษา (ส่วนใหญ่นิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า ศูนย์สัน).....
ที่ดูไม่น่าจะเหมาะเป็นสถานที่ศึกษา หรือไม่สะดวกด้วยประการทั้งปวง ในความเห็นของบางท่าน....
แต่สำหรับบางท่าน ที่แห่งนี้ก็ยังพอเป็นแหล่งพักพิงอิงแอบแนบชิดกันได้ ในยามที่วังท่าพระยังอยู่ระหว่างปรับปรุงแบบยกวัง.....
จขกท. ขอนำเสนอ "ปริศนา" ในภาษาไทย ที่มีรากศัพท์มาจากภาษาสันสกฤตว่า "ปฺรศฺนะ" แปลว่า คำถาม (และไม่ได้สื่อถึง อะไรที่ลึกลับ หรือลี้ลับหรอกนะครับ) ที่เกี่ยวเนื่องกับ ศูนย์สันฯ เช่น
ปริศนา 01 -
เมื่อไหร่วังท่าพระจะปรับปรุงเสร็จสักที..
ปริศนา 02 -
ทำไม ต้องมาเรียนที่ศูนย์สันสกฤตฯ ด้วย..ในเมื่อเรามีสถานที่ที่ วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม (ทับแก้ว)
หรือไม่ก็ไปที่วิทยาเขตชะอำ เพชรบุรี
ปริศนา 03 -
หากจะให้นักศึกษามาเรียนที่ศูนย์สันฯ ทำไม สิ่งอำนวยความสะดวกในอาคาร หรือการให้บริการต่าง ๆ จึงไม่สมกับค่าเทอมที่พวกเราจ่ายไปบ้างเลย ...ขออะไรสะดวก ๆ หน่อย เช่น รถรับส่ง โรงอาหารติดแอร์ สถานที่ทำกิจกรรม หรือที่นั่งพัก ฯลฯ หน่อยได้ไหม ?
เราจะร่วมกันไขปริศนาเหล่านี้กันในกระทู้ทั้ง 2 ตอนนี้นะครับ
แต่ก่อนจะไขปริศนาเหล่านี้ เรามารู้จักกับศูนย์สันฯ เจ้าปัญหา..กันก่อนดีไหมครับ เผื่อจะได้เป็นข้อมูลในการคิด วิเคราะห์ แยกแยะ
เรามาศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของศูนย์สันฯ กันก่อนเลยครับ
ท่านทราบไหมครับว่า ชื่อเต็มของ อาคารศูนย์สันฯ คือ อะไร ?
ตอบ...คือ “ศูนย์สันสกฤตศึกษา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 50 พรรษา”
"Rome wasn't built in a day" - กรุงโรมไม่ได้สร้างเสร็จภายในวันเดียว ฉันใด ศูนย์สันฯ ก็ไม่ได้สร้างเสร็จภาย 10 ปี ฉันนั้น..(2550-2560 ก็ยังไม่เสร็จเลย)...
ท่านเชื่อหรือไม่ว่า อาคารศูนย์สันสกฤตศึกษา ถ้าเปรียบเป็นมนุษย์คนหนึ่งแล้ว เขาจะต้องเป็นคนที่แกร่งมาก เพราะประสบการณ์สูง ผ่านเหตุการณ์ภัยพิบัติรุนแรงหลายครั้ง ทั้งน้ำท่วม ไฟไหม้ มาหมดแล้ว....อะไรจะขนาดน้าน...
ศูนย์สันฯ 01 จุดกำเนิด...จากศรัทธา
ปี 2544 นางสาวจำปี ควรชม ซึ่งสนิทสนมคุ้นเคยกับ อ.ปราณี เทพาทิพย์ (ปัจจุบัน ทั้งสองท่านถึงแก่กรรมแล้ว) ศิษย์เก่า ป.โท สาขาวิชาภาษาสันสกฤต คณะโบราณคดี ได้ร่วมงานการจัดงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านสันสกฤตศึกษาแล้วมีจิตศรัทธามอบที่ดินในพื้นที่เขตทวีวัฒนา จำนวน 5 ไร่ มูลค่า 30 ล้านบาท (ขณะนั้น) ผ่านมูลนิธิชัยพัฒนา เพื่อมอบให้ศูนย์สันสกฤตศึกษา ใช้สร้างแหล่งเรียนรู้ เนื่องจากศูนย์สันฯ ยังไม่มีสำนักงานที่มั่นคงถาวร
นางสาวจำปี ควรชม (ในวงกลม) และ อ.ปราณี เทพาทิพย์ (ยืนติดกับด้านขวามือนางสาวจำปี)
กำนันสุชานุช ฉัตรจิ๋ว ผู้ใหญ่ปิ่น ฤทธิ์ดี สองสามีภรรยา และเป็นผู้นำชุมชนเขตทวีวัฒนา (ปัจจุบัน ทั้งสองท่านถึงแก่กรรมแล้ว)
ญาติ ๆ และ นายญาณเดช ทองสิมมา อดีตรองผู้ว่าฯ กทม.
รวมทั้งคณาจารย์จากศูนย์สันสกฤตศึกษา
เข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อถวายที่ดินดังกล่าว ณ อาคารชัยพัฒนา วังสวนจิตรลดา เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2545
จดหมายแสดงเจตจำนงมอบที่ดินให้ศูนย์สันฯ ของนางสาวจำปี ควรชม
ศูนย์สันฯ 02 รอ..งบประมาณ..5..ปี..จนมูลนิธิชัยพัฒนา..แจ้งให้ใช้ประโยชน์
จากปี 2545 ที่ศูนย์สันฯ ได้รับบริจาคที่ดิน..แต่..ทางมหาวิทยาลัยศิลปากร ยังไม่สามารถของบประมาณจากรัฐบาลไทย
เพื่อมาสร้างหรือทำประโยชน์กับที่ดินนี้ได้ถึง 5 ปี...
ในระหว่างนี้ ผศ.ดร.จิรพัฒน์ ประพันธวิทยา ผู้อำนวยการศูนย์สันฯ คนแรก ได้พยายามของบประมาณมาสร้างอาคารศูนย์สันฯ
เริ่มแรกตั้งเป้าเพียงอาคาร 3 ชั้น มูลค่าราว ๆ 30 ล้านบาท...จนกระทั่งมูลนิธิชัยพัฒนาได้ทำหนังสือแจ้งมาว่าให้ทางศูนย์สันฯ ใช้ประโยชน์ให้ได้...
ด้วยหนังสือฉบับนั้น...อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร (ในขณะนั้น คือ รศ.ดร.วิวัฒน์ชัย อัตกากร) รับทราบจึงได้ของบประมาณมาดำเนินการใช้ประโยชน์อย่างเร่งด่วน เมื่อปี 2549 เพื่อสร้างอาคารสูง 5 ชั้น พื้นที่ใช้สอย ราว ๆ 5000 ตารางเมตร งบประมาณทั้งสิ้นราว ๆ 100 ล้านบาท
แต่งบประมาณที่ได้รับก็ไม่เพียงพอ คือ ได้รับมาเพียงจำนวน 74 ล้านบาท เพราะเป็นงบเร่งด่วน
จนต้องตัดองค์ประกอบบางส่วนของอาคารออกไป คือ ระบบท่อร้อยสาย ลิฟต์โดยสาร ห้องประชุม รั้วรอบพื้นที่ทั้งหมด เ
พื่อให้การก่อสร้างอาคารเป็นไปได้...(ส่วนที่ตัดออกไปจะของบประมาณในปีต่อ ๆ ไป..)
ศูนย์สันฯ 03 อินเดียมอบเงินร่วมสร้างอาคารศูนย์สันฯ อีก 10 ล้านบาท ในปี 2550
ที่ปรึกษาศูนย์สันฯ (ผศ.ดร.จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา) ได้ของบประมาณจากอินเดียเพื่อร่วมสร้างส่วนที่เหลือ (บางส่วน) คือ รั้วรอบพื้นที่และระบบท่อร้อยสาย ด้วยความร่วมมือที่ดีระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลอินเดีย ..
พลเอกสรยุทธ์ จุลานนท์ เดินทางไปเชื่อมความสัมพันธ์กับประเทศอินเดียเมื่อเดือนมิถุนายน 2550 และรัฐบาลอินเดียได้มอบเงินร่วมสร้างอาคารศูนย์สันฯ จำนวน 10 ล้านบาท
การก่อสร้างอาคารศูนย์สันฯ ผ่านการ E Auction และได้ผู้รับเหมามาเริ่มก่อสร้างเมื่อปลายปี 2550
เริ่มลงเสาเข็ม ในตอนเริ่มสร้างอาคารฯ
ภาพวาดลายเส้นอาคารศูนย์สันฯ
ภาพตอนเริ่มสร้างอาคาร ก่อนจะมีการวางศิลาฤกษ์
ศูนย์สันฯ 04 วางศิลาฤกษ์ 9 มีนาคม 2551 โดย ศ.ดร.ประเสริฐ ณ นคร และ H.E. (Ms.) Lata Reddy เอกอัครราชทูตอินเดีย ประจำประเทศไทย
แผ่นศิลาฤกษ์ของอาคารศูนย์สันฯ คำนวณโดย ศ.ดร.ประเสริฐ ณ นคร
ศูนย์สันฯ 05 สร้างเสร็จบางส่วน เฉพาะตัวอาคาร เมื่อต้นปี 2553
แต่...ไม่มีรั้วรอบ ไม่ลิฟต์โดยสาร ไม่มีห้องประชุม ไม่มีอุปกรณ์สำหรับการเรียนการสอน
เพราะยังไม่ได้งบประมาณจัดซื้อโต๊ะ เก้าอี้ กระดาน White Board ติดตั้งในห้องเรียน...รวมถึงไม่มีเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ฯ...
ศูนย์สันสกฤตศึกษา ที่สร้างเสร็จแล้วบางส่วน ต้นปี 2553
ต้นปี 2553 ทั่วทั้งอาคารมีแอร์ไม่กี่เครื่อง เพราะถูกตัดออกไป เหตุจากงบไม่พอ..
นักศึกษา ป.ตรี โท และเอก รุ่นแรกที่มาเรียนที่อาคารใหม่แห่งนี้...แต่ต้องมาทำความสะอาดกันเองนะ เพราะไม่มีเจ้าหน้าที่ แม้แต่ รปภ....
จากศรัทธา...คุณสถิต กุมาร ผู้สนับสนุนกิจกรรมของศูนย์สันฯ และอดีตประธานสมาคมฮินดูสมาช ประเทศไทย มอบทุนจำนวน 5 แสนบาทในการจัดสร้างพระคเณศ องค์ขนาดหน้าตักกว้าง 1 เมตร ไว้ประจำศูนย์สันฯ ผ่าน อ.ดร.อุทัย ดุลยเกษม อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อ เดือนมิถุนายน 2553
ช่างปั้นรูปพระคเณศ เพื่อหล่อด้วยทองเหลืองแล้วนำมาประจำไว้ที่อาคารศูนย์สันฯ
นักศึกษาโครงการอบรมภาษาฮินดี ดำเนินการโดย รศ.ดร. ปรมัตถ์ คำเอก และ อ.กิตติพงษ์ บุญเกิด จัดเป็นกลุ่มแรกที่จัด ณ อาคารศูนย์สันฯ
ศูนย์สันฯ 06 นักศึกษากลุ่มใหญ่ กลุ่มแรก ที่บุกเบิก เดินทางมาศึกษาไกลถึงอาคารใหม่ของศูนย์สันฯ
เมื่อกลางปี 2553 คือ ป.ตรี เอกภาษาตะวันออก ภาควิชาภาษาตะวันออก มาเรียนและซ้อมละครเวที บทสนทนาด้วยภาษาสันสกฤต ควบคุมการแสดงโดย ผศ.ดร.ชัยณรงค์ กลิ่นน้อย และ Prof. Prativa Manjari Rath อาจารย์อาคันตุกะ คนที่ 6 ของศูนย์สันสกฤตศึกษา
โครงการพิเศษ การฉลองเทศกาล วันสันสกฤตและฮินดี ครั้งแรกในประเทศไทย มีการสาธิตการสวดมันตระและพิธีอัคนิโหตระ (บูชาพระอัคนี) ณ อาคารศูนย์สันฯ
กลุ่มชาวฮินดูจาก อารยสมาช ประเทศไทย ให้เกียรติมาสาธิต พิธีอัคนิโหตระ
นักศึกษา ทั้ง ป.ตรี และโท ร่วมกันจัดทำศิลปะผงสี หรือ รังโคลี อย่างสวยงาม
พิธีทำบุญเปิดอาคารและงานต้อนรับปีใหม่ 2554 โดยคณาจารย์และนักศึกษา เมื่อ 24 ธันวาคม 2553
มีตึก แต่ขาดรั้วรอบ รัฐบาลอินเดียจึงมอบเงินร่วมสร้างส่วนนี้และส่วนอื่น ๆ จำนวนรวม 10 ล้านบาท
ก่อนจะสร้างรั้ว ต้องสำรวจพื้นที่และรังวัดให้แม่นยำและตรงตามที่ระบุในโฉนด
กลุ่มนักศึกษาภาษาฮินดี ยังคงมาเปิดสอนที่ศูนย์สันฯ อย่างต่อเนื่องเป็นปีที่สอง
(กรุณาติดตามต่อ ตอนที่ 2 ตอนจบ)