มีปัจจัยใดบ้างที่เป็นตัวแปรในการกำหนดราคาปาล์มน้ำมัน (น้ำมิตร)

จากการติดตามการถกประเด็นเรื่องราคาปาล์มน้ำมันของเพื่อนสมาชิก ทำให้อยากทราบข้อมูลเพิ่มเติม ว่ามีปัจจัยใดบ้างที่เป็นตัวแปรในการกำหนดราคาปาล์มน้ำมัน มีแหล่งข้อมูลที่น่าสนใจมากมายในกูเกิ้ลที่สามารถหยิบมาพิจารณาประกอบได้

จขกท สนใจงานวิจัย ฉบับนี้ (เห็นว่ามีประโยชน์ดี จึงขออนุญาตนำมาเผยแพร่ต่อเพื่อนสมาชิก)
........................................................................................................................................


รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการ "กลไกในการวิเคราะห์สถานการณ์ของราคาปาล์มน้ำมัน"

โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชัย รุ่งเรืองอนันต์และคณะ เมษายน 2558
คณะผู้วิจัย
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชัย รุ่งเรืองอนันต์     มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมภพ ตลับแก้ว        มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
3. นางสาวสุกัญญา เชิดชูงาม                        มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
(ความเห็นในรายงานนี้เป็นของผู้วิจัย สกว.ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป)

อ้างอิง ข้อมูลเปิดเผยจากอินเตอร์เนต
file:///C:/Documents%20and%20Settings/Administrator/My%20Documents/Downloads/RDG5720006%20(2).pdf


จขกท ขอตัดส่วนที่ จขกท สนใจมานำเสนอดังนี้ (รายละเอียดอื่นๆ อ่านเพิ่มเติมจากลิงค์ค่ะ)

บทสรุปจากผู้บริหาร หน้า 3

ผลจากการวิจัยพบว่าปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อราคาทะลายปาล์มในลักษณะเพิ่มขึ้น ประกอบด้วย

* ราคา น้ํามันปาล์มดิบเฉลี่ยในตลาดกระบี่ สุราษฏร์ธานีและชุมพร ราคาน้ำมันปาล์มดิบในตลาด กทม
   โดยถ้าราคา เหล่านี้มีแนวโน้มสูงขึ้นจะส่งผลให้ราคาทะลายปาล์มเพิ่มขึ้น

* ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงราคาทะลาย ปาล์มในลักษณะลดลงนั้นมาจากปริมาณผลผลิตปาล์ม
   โดยถ้ามีปริมาณผลผลิตปาล์มออกมามากจะทําให้ราคา ทะลายปาล์มลดลง

* ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง ราคาน้ำมันปาล์มดิบในลักษณะเพิ่มนั้นมาจากราคายางแผ่นดิบรมควันชั้น 3 ราคาน้ำมันปาล์มดิบตลาดโลก และราคาน้ำมันไบโอดีเซล
   โดยถ้าราคาเหล่านี้สูงขึ้น จะทําให้ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สูงขึ้น

* ส่วนการปัจจัยที่ทําให้การเปลี่ยนแปลงราคาน้ำมันปาล์มดิบในลักษณะ ลดลง มาจากปริมาณผลผลิตปาล์ม
   โดยถ้าปริมาณผลผลิตปาล์มมากจะทําให้ราคาน้ำมันปาล์มดิบไทยลดลง

* ส่วนมาตรการที่มีผลต่อกลไกการขึ้นลงต่อราคาทะลายปาล์มน้ำมัน (FFB) ราคาน้ำมันปาล์มดิบ (CPO)
   ประกอบด้วย มาตรการด้านการควบคุมและเพิ่มผลผลิตทะลายปาล์ม เช่น มาตรการจัดโซนนิ่ง พื้นท ี่ปลูก ปาล์ม

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้


บทที่ 3 การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาปาล์มน้ำมัน (เริ่มที่เอกสารหน้า 24)

จขกท ตัดส่วนแรกของหัวข้อมา อ่านความเห็นของท่านอื่นๆ เพิ่มเติมจากเอกสาร)


จากเอกสารหน้า 32

       (9) การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC (ASEAN Economic Community) ใน ปลายปี 2558
        การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ทําให้เกิดการเคลื่อนย้ายสินค้าได้อย่างเสรีนั่น หมายถึง โรงกลั่นน้ํามันปาล์มบริสุทธิ์อาจจะได้รับประโยชน์ในแง่ที่ทําให้มีวัตถุดิบน้ํามันปาล์มดิบที่ราคา ถูกกว่าป้อนโรงงาน
        ในปีพ.ศ. 2556 บริษัท ชุมพรอุตสาหกรรมน้ํามันปาล์ม จํากัด (มหาชน) ได้กล่าวถึง การเข้าสู่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ว่า หากมองในระยะยาวว่าการ นําเข้าเสรีของผลิตภัณฑ์น้ํามันปาล์มเกิดขึ้นจริงในอนาคต โรงกลั่นน้ํามันปาล์มอาจจะได้รับประโยชน์ เพราะจะทําให้ได้วัตถุดิบ CPO ที่ราคาถูกป้อนโรงงาน อย่างไรก็ตาม การเพิ่มประสิทธิภาพในด้านการผลิต การตลาด การเงิน และการจัดการยังเป็นสิ่งที่ต้องดําเนินควบคู่กันไปอย่างเข้มข้น เพราะความเสี่ยงอีกด้าน หนึ่งของการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) สําหรับโรงกลั่น คือ คู่แข่งขนาดใหญ่จากประเทศ มาเลเซียและอินโดนีเซีย อาจเข้ามาทําตลาดแข่งขันกับผู้ประกอบการในประเทศได้ด้วยเช่นกัน

จากเอกสาร หน้า 33

3.3 การสัมภาษณ์สถานประกอบการเชิงลึก
        นอกจากปัจจัยพื้นฐานที่มีผลต่อราคาปาล์มทะลาย (FFB) และราคาน้ํามันปาล์มดิบ (CPO) แล้ว ยังมีปัจจัยรองที่ส่งผลต่อปัจจัยหลักทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญใน อุตสาหกรรมได้ผลดังนี้

        วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2556 ทีมวิจัยได้เข้าสัมภาษณ์คุณบุญโชค ขนาบแก้ว อุตสาหกรรมจังหวัด ชุมพร ถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อราคาปาล์มทะลายและราคาน้ํามันปาล์มในมุมมองของภาคอุตสาหกรรม โดย คุณบุญโชค ขนาบแก้ว กล่าวว่า ปัจจุบันโรงงานกลั่นน้ํามันปาล์มดิบ แบ่งเป็น โรงกลั่นมีที่รับซื้อ ปาล์มทะลาย ซึ่งจะสามารถผลิตได้น้ํามันปาล์มดิบเกรด A จากกระบวนการกลั่นแบบแยกเมล็ดในปาล์ม ทําให้สามารถขายเพื่อทําน้ํามันปาล์มเมล็ดในด้วย ในขณะที่โรงกลั่นที่รับซื้อผลปาล์มร่วง ทําให้น้ํามัน ปาล์มดิบที่ผลิตได้เป็นเกรด B เนื่องจากมีน้ํามันจากเมล็ดในปาล์มรวมอยู่ด้วย

        ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการตั้งราคารับซื้อปาล์มทะลาย คือคุณภาพของปาล์มทะลาย สาเหตุที่ คุณภาพปาล์มทะลายต่ํา เนื่องจาก มีการเก็บเกี่ยวปาล์มที่ไม่ได้มาตรฐาน โดยโรงงานอาศัยพนักงานที่มี ประสบการณ์ในการประเมินคุณภาพเท่านั้น



        วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2556 ทีมวิจัยได้เข้าสัมภาษณ์คุณชยศ สุวรรณพหูผู้จัดการโรงงาน บริษัท วิจิตรภัณฑ์ปาล์มออยล์จํากัด และคุณจงกล เยี่ยมยิ่งพานิช เจ้าของและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ภู พาณิชย์ปาล์มน้ํามัน จํากัด ถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อราคาปาล์มทะลายและราคาน้ํามันปาล์มในมุมมอง ของภาคอุตสาหกรรม

        โดยคุณชยศ สุวรรณพหูกล่าวว่า โรงงานจะรับซื้อเฉพาะปาล์มทะลายเท่านั้น โดยมีแหล่งวัตถุดิบ คือ เกษตรกรของโรงงาน พ่อค้าคนกลาง (ลานเท) และเกษตรกรที่เป็นเจ้าของสวน (รายใหญ่ และราย ย่อย) โดยการกําหนดราคารับซื้อปาล์มทะลายของโรงงานจะพิจารณาที่ราคา CPO ของตลาดโลก (ตลาด มาเลเซีย) คุณภาพของปาล์มทะลาย โดยการกําหนดคุณภาพของปาล์มทะลายจะพิจารณาที่ความสุก ความสด และสิ่งเจือปน (น้ํา หิน และทราย) โรงงานจะรับซื้อปาล์มทะลายที่ได้คุณภาพตามเกณฑ์ที่โรงงาน กําหนดเท่านั้น และจะคัดปาล์มทะลายที่ไม่ได้คุณภาพคืน

        ส่วนคุณจงกล เยี่ยมยิ่งพานิช กล่าวว่า โรงงานจะรับซื้อเฉพาะปาล์มทะลายเท่านั้น โดยมีแหล่ง วัตถุดิบคือ พ่อค้าคนกลาง (ลานเท) และเกษตรกรที่เป็นเจ้าของสวน (รายใหญ่ และรายย่อย) โดยการ กําหนดราคารับซื้อปาล์มทะลายของโรงงานจะพิจารณาที่ราคาของโรงงานกลั่นน้ํามันพืชในพื้นที่ท้องถิ่น คุณภาพของปาล์มทะลาย โดยการกําหนดคุณภาพของปาล์มทะลาย จะพิจารณาที่ความสุก ความสด และ สิ่งเจือปน (น้ํา หิน และทราย) โรงงานต้องรับซื้อปาล์มทะลายที่นํามาขายทั้งหมดเนื่องจากการแข่งขันและ โรงกลั่นที่รับซื้อผลปาล์มร่วงมีเพิ่มขึ้นคุณภาพของปาล์มทะลายต่ําลง โรงงานที่มีทางเลือกมากนัก จึงต้อง รับซื้อทั้งที่คุณภาพต่ํา หากพบปาล์มทะลายที่ไม่ได้คุณภาพจะทําการตัดราคาจากที่โรงงานตั้งไว้
        ส่วนราคาขายน้ํามันปาล์มดิบของทั้งสองรายถูกกําหนดโดยลูกค้า ซึ่งลูกค้าจะตั้งราคารับซื้อโดย อ้างอิงราคาตลาดโลก ทําให้ราคาขายน้ํามันปาล์มดิบให้ลูกค้าแต่ละรายไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับการตกลงราคา ระหว่างผู้ซื้อ-ผู้ขาย

        โดยสุดท้าย คุณจงกล เยี่ยมยิ่งพานิช กล่าวว่า โรงกลั่นที่รับซื้อผลปาล์มร่วงมีเพิ่มขึ้นทั้งมีผลผลิต ปาล์มของเกษตรกรที่มีอยู่ไม่เพียงพอส่งผลคุณภาพของปาล์มทะลายที่ป้อนเข้าโรงงานต่ําลงในขณะที่ราคา ซื้อที่สูงขึ้น ทั้งนี้หากมีการเกณฑ์ของคุณภาพปาล์มทะลายเข้ามาควบคุมมาตรฐานของพ่อค้าคนกลาง (ลานเท) จะทําให้โรงงานได้วัตถุที่มีคุณภาพมากกว่านี้และควรมีการจํากัดการตั้งโรงกลั่นน้ํามันปาล์มดิบ จากผลร่วง แม้การผลิตของโรงงานประเภทนี้จะไม่มีน้ําเสียจากกระบวนการผลิต แต่การผลิตลักษณะ ดังกล่าวทําให้ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากปาล์มน้ํามันได้สูงสุด และยังเสนอให้นําการบริหารจัดการปาล์ม น้ํามันของมาเลเซียเป็นตัวอย่างที่ไม่มีการส่งเสริมให้มีการซื้อ-ขายผลปาล์มร่วง


บทที่ 4 การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาปาล์มน้ํามัน

        จากการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อราคาปาล์มน้ํามันในบทที่ 3 นําข้อมูลปัจจัยที่ได้จากการศึกษามา วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยหลักคือราคาผลปาล์มทะลายที่เกษตรกรขายได้ราคาผลปาล์ม ทะลายของไทย และราคาน้ํามันปาล์มดิบของไทย (ซื้อขาย กทม.) กับปัจจัยหรือตัวแปรที่ได้ทําการศึกษา มาว่ามีความสัมพันธ์กันหรือไม่และมีความสัมพันธ์กันในทิศทางใด ผ่านการทดสอบด้วย Scatter plot และ Regression ร่วมทั้งการพิจารณาค่าสหสัมพันธ์ (Correlations) ระหว่างปัจจัย เพื่อคัดเลือกปัจจัยที่มี ผลกับราคาที่ต้องการพิจารณาอย่างแท้จริง โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

อ่านเพิ่มเติมจากเอกสาร เริ่มที่หน้า 35


อ้างอิงข้อมูล (อีกครั้ง)
file:///C:/Documents%20and%20Settings/Administrator/My%20Documents/Downloads/RDG5720006%20(2).pdf
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่