จำเป็นต้องมี วศ.นำหน้า หรือไม่ หรือจะเป็นประโยชน์อย่างไรบ้างนั้น ไม่ขอพูดถึงนะครับ
เพราะการใช้คำนำหน้าชื่อ ก็มีการบอกกล่าวกันแล้วว่า ให้เป็นไปโดยสมัครใจ คือใครอยากใช้หรือไม่ใช้ก็ได้
และไม่ได้เป็นคำนำหน้าชื่อตามกฎหมายเสียด้วย คงไม่ต่างไปจากการใช้ นพ. หรือนายแพทย์ กระมังครับ
เพื่อนผมคนที่เป็นวิศกรยานยนต์ มันบอกว่า ถ้าทำนามบัตรครั้งต่อไป จะใส่ วศ.นำหน้าชื่อและนามสกุลด้วย
ถามมันไปว่า ทำไมล่ะ มันบอกว่า เท่ดีจะตายไป ใครจะได้รู้ว่าทำงานเป็นวิศวกรไง
เพื่อนผมอีกคนอ่านข่าวนี้แล้วเกิดข้อสงสัยว่า คำย่อหรือนำคำหน้าของอาชีพ นายแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร
ไม่ทราบว่ามีการตั้งกันมาตั้งแต่สมัยไหน ประวัติความเป็นมาอย่างไร ใช้กันเพื่อจุดประสงค์ใด
ใครทราบ รบกวนช่วยบอกกล่าวกันด้วยเน้อ
http://www.nationtv.tv/main/content/378589675/
ศ.ดร. อมร พิมานมาศ เลขาธิการสภาวิศวกร เปิดเผยว่าคณะกรรมการสภาวิศวกรได้มติเห็นชอบ ให้ใช้คำ วศ. นำหน้าชื่อวิศวกร เพื่อประโยชน์ในการสื่อสารการปฏิบัติงานระหว่างวิศวกรและเพื่อเป็นการเชิดชู ยกย่องและเสริมสร้างความภาคภูมิใจในวิชาชีพวิศวกรรม เช่น เดียวกับวิชาชีพอื่นๆ ที่มีการใช้คำนำหน้าชื่อ เช่น แพทย์ ทนายความ ทันตแพทย์ เป็นต้น
ผู้มีสิทธิ์ใช้คำนำหน้าชื่อ วศ. จะต้องเป็นผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมใน 7 สาขา (วิศวกรรมโยธา ไฟฟ้า เครื่องกล อุตสาหการ เคมี สิ่งแวดล้อม และเหมืองแร่) หรือ ได้รับใบรับรองความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมส่งเสริม (ไม่ควบคุม) ในอีก 17 สาขา คือ วิศวกรรมเกษตร คอมพิวเตอร์ ชายฝั่ง ชีวการแพทย์ ต่อเรือ บำรุงรักษาอาคาร ป้องกันอัคคีภัย ปิโตรเลียม พลังงาน เมคคาทรอนิคส์ ยานยนต์ ระบบราง สารสนเทศ สำรวจ แหล่งน้ำ อากาศยาน และอาหาร จากสภาวิศวกร โดยการใช้คำนำหน้าชื่อดังกล่าวให้เป็นไปโดยสมัครใจ และมิได้เป็นคำนำหน้าชื่อตามกฎหมาย
ในปัจจุบันสภาวิศวกรได้ออกใบอนุญาตให้แก่วิศวกรในสาขาวิศวกรรมควบคุม 7 สาขา จำนวนมากกว่า 220,000 ใบ และมีวิศวกรที่เป็นสมาชิกของสภาวิศวกรราว 160,000 คน ซึ่งถือว่าเป็นสภาวิชาชีพที่มีขนาดใหญ่เป็นลำดับต้นๆ
นอกจากนี้สภาวิศวกรยังกำลังพิจารณาออกใบรับรองความรู้ความชำนาญในสาขาวิศวกรรมส่งเสริม อีก 17 สาขา ซึ่งจะเป็นการเพิ่มจำนวนวิศวกรทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ
ศ.ดร. อมร เปิดเผยต่อว่า นับแต่นี้ไป สภาวิศวกร จะพยายามออกใบอนุญาตและใบรับรองให้แก่วิศวกรในสาขาต่างๆ ปีละ 10,000 ใบเป็นอย่างน้อย เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมด้านกำลังคนที่จะรองรับต่อการพัฒนาเทคโนโลยีและเศรษฐกิจของประเทศในยุคไทยแลนด์ 4.0 ต่อไป
เพื่อนผมที่เป็นวิศวกร จะมีคำว่า "วศ." นำหน้าชื่อ-นามสกุลแล้วครับ
เพราะการใช้คำนำหน้าชื่อ ก็มีการบอกกล่าวกันแล้วว่า ให้เป็นไปโดยสมัครใจ คือใครอยากใช้หรือไม่ใช้ก็ได้
และไม่ได้เป็นคำนำหน้าชื่อตามกฎหมายเสียด้วย คงไม่ต่างไปจากการใช้ นพ. หรือนายแพทย์ กระมังครับ
เพื่อนผมคนที่เป็นวิศกรยานยนต์ มันบอกว่า ถ้าทำนามบัตรครั้งต่อไป จะใส่ วศ.นำหน้าชื่อและนามสกุลด้วย
ถามมันไปว่า ทำไมล่ะ มันบอกว่า เท่ดีจะตายไป ใครจะได้รู้ว่าทำงานเป็นวิศวกรไง
เพื่อนผมอีกคนอ่านข่าวนี้แล้วเกิดข้อสงสัยว่า คำย่อหรือนำคำหน้าของอาชีพ นายแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร
ไม่ทราบว่ามีการตั้งกันมาตั้งแต่สมัยไหน ประวัติความเป็นมาอย่างไร ใช้กันเพื่อจุดประสงค์ใด
ใครทราบ รบกวนช่วยบอกกล่าวกันด้วยเน้อ
http://www.nationtv.tv/main/content/378589675/
ศ.ดร. อมร พิมานมาศ เลขาธิการสภาวิศวกร เปิดเผยว่าคณะกรรมการสภาวิศวกรได้มติเห็นชอบ ให้ใช้คำ วศ. นำหน้าชื่อวิศวกร เพื่อประโยชน์ในการสื่อสารการปฏิบัติงานระหว่างวิศวกรและเพื่อเป็นการเชิดชู ยกย่องและเสริมสร้างความภาคภูมิใจในวิชาชีพวิศวกรรม เช่น เดียวกับวิชาชีพอื่นๆ ที่มีการใช้คำนำหน้าชื่อ เช่น แพทย์ ทนายความ ทันตแพทย์ เป็นต้น
ผู้มีสิทธิ์ใช้คำนำหน้าชื่อ วศ. จะต้องเป็นผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมใน 7 สาขา (วิศวกรรมโยธา ไฟฟ้า เครื่องกล อุตสาหการ เคมี สิ่งแวดล้อม และเหมืองแร่) หรือ ได้รับใบรับรองความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมส่งเสริม (ไม่ควบคุม) ในอีก 17 สาขา คือ วิศวกรรมเกษตร คอมพิวเตอร์ ชายฝั่ง ชีวการแพทย์ ต่อเรือ บำรุงรักษาอาคาร ป้องกันอัคคีภัย ปิโตรเลียม พลังงาน เมคคาทรอนิคส์ ยานยนต์ ระบบราง สารสนเทศ สำรวจ แหล่งน้ำ อากาศยาน และอาหาร จากสภาวิศวกร โดยการใช้คำนำหน้าชื่อดังกล่าวให้เป็นไปโดยสมัครใจ และมิได้เป็นคำนำหน้าชื่อตามกฎหมาย
ในปัจจุบันสภาวิศวกรได้ออกใบอนุญาตให้แก่วิศวกรในสาขาวิศวกรรมควบคุม 7 สาขา จำนวนมากกว่า 220,000 ใบ และมีวิศวกรที่เป็นสมาชิกของสภาวิศวกรราว 160,000 คน ซึ่งถือว่าเป็นสภาวิชาชีพที่มีขนาดใหญ่เป็นลำดับต้นๆ
นอกจากนี้สภาวิศวกรยังกำลังพิจารณาออกใบรับรองความรู้ความชำนาญในสาขาวิศวกรรมส่งเสริม อีก 17 สาขา ซึ่งจะเป็นการเพิ่มจำนวนวิศวกรทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ
ศ.ดร. อมร เปิดเผยต่อว่า นับแต่นี้ไป สภาวิศวกร จะพยายามออกใบอนุญาตและใบรับรองให้แก่วิศวกรในสาขาต่างๆ ปีละ 10,000 ใบเป็นอย่างน้อย เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมด้านกำลังคนที่จะรองรับต่อการพัฒนาเทคโนโลยีและเศรษฐกิจของประเทศในยุคไทยแลนด์ 4.0 ต่อไป