ศิลปินดังเขียนจม.สารภาพ จ้างคนจีนวาดภาพโชว์นิทรรศการใหญ่ ผอ.หอศิลป์แถลง ‘ขอโทษสังคม’ ไม่คิดมีคนกล้าทำ
เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่ามีการเปิดเผยแถลงการณ์ของนาย
เอกชัย ลวดสูงเนิน ศิลปินชื่อดัง เขียนด้วยลายมือ เรื่องการขออภัยต่อสาธารณชนโดยมีเนื้อหายอมรับสารภาพในประเด็นที่เคยมีการถกเถียงในแวดวงศิลปะมานานถึง 2 ปีถึงผลงานซึ่งจัดแสดงในนิทรรศการใหญ่ชุดหนึ่งที่หอศิลป์ร่วมสมัยอาร์เดล เมื่อพ.ศ.2558 ว่าเจ้าตัวไม่ได้เขียนภาพด้วยตนเอง โดยยอมรับสารภาพว่าเป็นเรื่องจริงตามที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ และขอรับความผิดพลาดที่เป็นบทเรียนสำคัญที่สุดในชีวิต
ข้อความมีดังนี้
แถลงการณ์ขออภัยต่อสาธารณชน
เรียน ทุกท่าน สืบเนื่องจากเหตุการณ์ในนิทรรศการ…………. เมื่อปี 2558 ที่อาร์เดล แกลเลอรี่ ผมได้ส่งผลงานเข้าร่วมแสดงและเกิดการวิพากษณ์วิจารณ์ว่าผมไม่ได้เขียนเองนั้น ซึ่งเป็นความจริงตามนั้น ซึ่งเป็นข้อผิดพลาดที่สำคัญที่สุดของผม โดยที่ทางอาร์เดลแกลเลอรี่ไม่มีส่วนรู้เห็นและเกิดความเสียหาย
ผมต้องกราบขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยความบริสุทธิ์ใจและขอรับผิดชอบต่อผลงานอีกบางชิ้น (ประมาณ 5 ภาพ) ที่เกิดขึ้นในปี 2557 ความผิดพลาดครั้งนี้จะเป็นบทเรียนที่สำคัญที่สุดในชีวิตของผม
ด้วยความเคารพ
เอกชัย ลวดสูงเนิน
7 ธันวาคม 2560
ต่อมา ได้มีการออกแถลงการณ์จากหอศิลป์ร่วมสมัยอาร์เดล ลงชื่อนาย
ถาวร โกอุดมวิทย์ ผู้อำนวยการหอศิลป์และภัณฑารักษ์ของนิทรรศการดังกล่าว มีเนื้อหาแสดงความบริสุทธิ์โดยขออภัยต่อสาธารณชนที่ไม่รอบคอบกับการคัดกรองศิลปิน เนื่องจากไม่คาดคาดว่าจะมีศิลปินคนใดกล้าทำเช่นนี้ ทั้งนี้ ภาพดังกล่าวได้มีนักสะสมซื้อไปซึ่งตนได้ติดต่อซื้อคืนเพื่อแสดงความรับผิดชอบแต่นักสะสมไม่ประสงค์ขายคืน ส่วนผลประโยชน์ที่ได้จากภาพวาด ทางหอศิลป์จะมอบให้องค์กรการกุศล
ข้อความในจดหมายมีดังนี้
แถลงการณ์หอศิลป์ร่วมสมัยอาร์เดล
เรื่อง การแสดงความรับผิดชอบและความบริสุทธิ์ใจ กรณีการตั้งคำถามเกี่ยวกับกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานของคุณเอกชัย ลวดสูงเนิน ในนิทรรศการ……
สืบเนื่องจากการจัดนิทรรศการ ……. โดย 13 ศิลปินระหว่างวันที่ 2-19 เมษายน 2558 ณ หอศิลป์ร่วมสมัยอาร์เดล และภาพ ……… ผลงานจิตรกรรมสีน้ำมันบนผ้าลินิน ขนาด 120 คูณ 120 เซนติเมตร ที่สร้างสรรค์โดย คุณเอกชัย ลวดสูงเนิน ได้กลายเป็นประเด็นถกเถียงในแวดวงศิลปกรรมร่วมสมัยของไทยอย่างกว้างขวาง เนื่องจากมีศิลปินรวมถึงบุคลากรในวงการศิลปะจำนวนมาก ได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานของคุณเอกชัย โดยหยิบยกประเด็นในเรื่องรูปแบบการสร้างงานที่มีวิถีทางเปลี่ยนแปลงไปจากรูปแบบเก่าก่อนอย่างมาก อีกทั้งยังมีความเคลือบแคลงว่าคุณเอกชัยได้สร้างผลงานชิ้นนี้ขึ้นด้วยตนเอง จริงหรือไม่
ณ บัดนี้ คุณเอกชัยได้สารภาพว่าผลงานชิ้นดังกล่าว เขาไมได้วาดขึ้นด้วยตนเอง เพราะไม่สามารถวาดได้ตามที่ตั้งใจได้ จึงให้ศิลปินชาวจีน (ไม่ทราบชื่อ) มาช่วยวาดให้ และตัวเขาเองในตอนนี้ก็สำนึกผิดกับสิ่งผิดพลาดที่ทำลงไปแล้ว
กระผม ในฐานะผู้อำนวยการหอศิลป์ร่วมสมัยอาร์เดล ภัณฑารักษ์ของนิทรรศการดังกล่าว ต้องกราบขออภัยต่อสาธารณชน ในกรณีที่ไม่รอบคอบกับการคัดกรองศิลปิน เนื่องเพราะไม่เคยคาดคิดว่าจะมีศิลปินคนใดกล้าทำเช่นนี้ได้ โดยตลอดระยะเวลากว่า 10 ปีที่ผ่านมา ทางหอศิลป์ฯจะให้เกียรติและเคารพต่อการทำงานของศิลปินทุกคนที่แสดงผลงานกับเราเสมอมา
ทางเราไม่เคยเข้าไปตรวจสอบผลงานว่าศิลปินเป็นผู้สร้างสรรค์ผลงานเองหรือไม่ เพราะทางหอศิลป์ฯ เชื่อมั่นเสมอว่า ศิลปินทุกคนมีเกียรติและศักดิ์ศรีในวิชาชีพของตนมากพอ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ จึงนับเป็นบทเรียนครั้งสำคัญที่ทางเราจะพิจารณาอย่างเข้มงวดยิ่งๆขึ้นไปในอนาคต
ในการนี้ กระผมจึงใคร่ขอแสดงความรับผิดชอบและความบริสุทธิ์ใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ด้วยการติดต่อเพื่อขอซื้อภาพที่เป็นประเด็นคำถามนี้คืนจากนักสะสมงานศิลปะท่านหนึ่ง ซึ่งได้ซื้อผลงานจิตรกรรมชิ้นนี้ไป แต่นักสะสมงานศิลปะท่านนั้นไม่ประสงค์ที่จะขายงานคืน โดยยืนยันที่จะเก็บรักษาผลงานชิ้นนี้ไว้ ส่วนผลประโยชน์จากผลงานจิตรกรรมชิ้นนี้ที่ทางหอศิลป์ฯ ได้รับไว้นั้น ทางเราจะนำไปมอบให้องคืกรการกุศลเพื่อสาธารณประโยชน์ต่อไป
ด้วยความเคารพ
7 /12 / 2560
ถาวร โกอุดมวิทย์
ผู้อำนวยการหอศิลป์ร่วมสมัยอาร์เดล
ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวพยายามติดต่อนาย
เอกชัย ลวดสูงเนิน ศิลปินชื่อดัง แต่ไม่สามารถติดต่อได้ บุคคลใกล้ชิดกล่าวว่าเจ้าตัวยังไม่พร้อมให้สัมภาษณ์ โดยขอเวลาอีก 2-3 วัน
นาย
เอกชัย เกิดที่จังหวัดขอนแก่นเมื่อ พ.ศ.2504 จบการศึกษาจากคณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ถือเป็นศิลปินอิมเพรสชั่นนิสต์ที่มีชื่อเสียง มีผลงานจำนวนมาก อาทิ
นิทรรศการเดี่ยว :
2529 – การแสดงภาพเขียน โรงแรมอิมพีเรียล กรุงเทพฯ
2530 – ภาพเขียนจิตรกรรมสีน้ำมัน โรงแรมเมอริเดียน เพรสซิเด้นท์ กรุงเทพฯ
2533 – “ทางผ่านกับบ้านเก่า” ศูนย์สรรพสินค้าริเวอร์ซิตี้ กรุงเทพฯ
2546 – แสดงผลงานเดี่ยวครั้งที่ 10, Akko แกลเลอรี่ กรุงเทพฯ
2551 – “ลั่นโทม” หอศิลป์ร่วมสมัยอาร์เดล กรุงเทพฯ
2554 – “ความงามท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง” ดี โอ บี หัวลำโพง แกลเลอรี่ กรุงเทพฯ
นิทรรศการกลุ่ม :
2523-2527 – แสดงผลงานนักศึกษา คณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
– แสดงงานศิลปกรรมแห่งประเทศไทย
2526 – ศิลปกรรมร่วมสมัย ธนาคารกสิกรไทย
2527 – ศิลปเยาวชนอาเซียน
– จิตรกรรมกลุ่มธันวา ครั้งที่ 1 สถาบันวัฒนธรรมเยอรมัน กรุงเทพฯ
2528 – จิตรกรรมกลุ่มธันวา ครั้งที่ 2 ศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพ กรุงเทพฯ
2530 – “นิทรรศการภาพทิวทัศน์” หอศิลป์ มาสเตอร์พีซ กรุงเทพฯ
2543 – นิทรรศการคู่ James Bud Bottom ซานตาบาร์บาร่า สหรัฐอเมริกา
2544 – “3 อิมเพรสชั่นนิสต์” หอศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เชียงใหม่
2545 – “อลังการแม่น้ำโขง” เอส ซี บี พาร์ค กรุงเทพฯ
2546 – “สี” หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กรุงเทพฯ
2547 – “น้ำ ฟ้า ป่า ภู ศิลปะสู่มหาชน” เขื่อนศรีนครินทร์ กาญจนบุรี
2550 – “ลาว” เวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาชนลาว
– “ซากุระ” นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
255 – “กรุงเทพฯ 226” หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร กรุงเทพฯ
2553 – นิทรรศการศิลปะเพื่อมูลนิธิกุมาร โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า, หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
– “Asian Art 2010” โตเกียว ญี่ปุ่น
– “20/20 20 ปี 20 ศิลปิน ครอบรอบ Akko แกลเลอรี่ ” Akko แกลเลอรี่ กรุงเทพฯ
(ข้อมูลจากเวปไซต์มูลนิธิหอศิลปะแห่งรัชกาลที่ 9)
JJNY : คนดีย์ศรีนกหวีด...ศิลปินดังเขียนจม.สารภาพ จ้างคนจีนวาดภาพโชว์นิทรรศการใหญ่ ผอ.หอศิลป์แถลง ‘ขอโทษสังคม’ ฯ
เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่ามีการเปิดเผยแถลงการณ์ของนายเอกชัย ลวดสูงเนิน ศิลปินชื่อดัง เขียนด้วยลายมือ เรื่องการขออภัยต่อสาธารณชนโดยมีเนื้อหายอมรับสารภาพในประเด็นที่เคยมีการถกเถียงในแวดวงศิลปะมานานถึง 2 ปีถึงผลงานซึ่งจัดแสดงในนิทรรศการใหญ่ชุดหนึ่งที่หอศิลป์ร่วมสมัยอาร์เดล เมื่อพ.ศ.2558 ว่าเจ้าตัวไม่ได้เขียนภาพด้วยตนเอง โดยยอมรับสารภาพว่าเป็นเรื่องจริงตามที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ และขอรับความผิดพลาดที่เป็นบทเรียนสำคัญที่สุดในชีวิต
ข้อความมีดังนี้
แถลงการณ์ขออภัยต่อสาธารณชน
เรียน ทุกท่าน สืบเนื่องจากเหตุการณ์ในนิทรรศการ…………. เมื่อปี 2558 ที่อาร์เดล แกลเลอรี่ ผมได้ส่งผลงานเข้าร่วมแสดงและเกิดการวิพากษณ์วิจารณ์ว่าผมไม่ได้เขียนเองนั้น ซึ่งเป็นความจริงตามนั้น ซึ่งเป็นข้อผิดพลาดที่สำคัญที่สุดของผม โดยที่ทางอาร์เดลแกลเลอรี่ไม่มีส่วนรู้เห็นและเกิดความเสียหาย
ผมต้องกราบขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยความบริสุทธิ์ใจและขอรับผิดชอบต่อผลงานอีกบางชิ้น (ประมาณ 5 ภาพ) ที่เกิดขึ้นในปี 2557 ความผิดพลาดครั้งนี้จะเป็นบทเรียนที่สำคัญที่สุดในชีวิตของผม
ด้วยความเคารพ
เอกชัย ลวดสูงเนิน
7 ธันวาคม 2560
ต่อมา ได้มีการออกแถลงการณ์จากหอศิลป์ร่วมสมัยอาร์เดล ลงชื่อนายถาวร โกอุดมวิทย์ ผู้อำนวยการหอศิลป์และภัณฑารักษ์ของนิทรรศการดังกล่าว มีเนื้อหาแสดงความบริสุทธิ์โดยขออภัยต่อสาธารณชนที่ไม่รอบคอบกับการคัดกรองศิลปิน เนื่องจากไม่คาดคาดว่าจะมีศิลปินคนใดกล้าทำเช่นนี้ ทั้งนี้ ภาพดังกล่าวได้มีนักสะสมซื้อไปซึ่งตนได้ติดต่อซื้อคืนเพื่อแสดงความรับผิดชอบแต่นักสะสมไม่ประสงค์ขายคืน ส่วนผลประโยชน์ที่ได้จากภาพวาด ทางหอศิลป์จะมอบให้องค์กรการกุศล
ข้อความในจดหมายมีดังนี้
เรื่อง การแสดงความรับผิดชอบและความบริสุทธิ์ใจ กรณีการตั้งคำถามเกี่ยวกับกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานของคุณเอกชัย ลวดสูงเนิน ในนิทรรศการ……
สืบเนื่องจากการจัดนิทรรศการ ……. โดย 13 ศิลปินระหว่างวันที่ 2-19 เมษายน 2558 ณ หอศิลป์ร่วมสมัยอาร์เดล และภาพ ……… ผลงานจิตรกรรมสีน้ำมันบนผ้าลินิน ขนาด 120 คูณ 120 เซนติเมตร ที่สร้างสรรค์โดย คุณเอกชัย ลวดสูงเนิน ได้กลายเป็นประเด็นถกเถียงในแวดวงศิลปกรรมร่วมสมัยของไทยอย่างกว้างขวาง เนื่องจากมีศิลปินรวมถึงบุคลากรในวงการศิลปะจำนวนมาก ได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานของคุณเอกชัย โดยหยิบยกประเด็นในเรื่องรูปแบบการสร้างงานที่มีวิถีทางเปลี่ยนแปลงไปจากรูปแบบเก่าก่อนอย่างมาก อีกทั้งยังมีความเคลือบแคลงว่าคุณเอกชัยได้สร้างผลงานชิ้นนี้ขึ้นด้วยตนเอง จริงหรือไม่
ณ บัดนี้ คุณเอกชัยได้สารภาพว่าผลงานชิ้นดังกล่าว เขาไมได้วาดขึ้นด้วยตนเอง เพราะไม่สามารถวาดได้ตามที่ตั้งใจได้ จึงให้ศิลปินชาวจีน (ไม่ทราบชื่อ) มาช่วยวาดให้ และตัวเขาเองในตอนนี้ก็สำนึกผิดกับสิ่งผิดพลาดที่ทำลงไปแล้ว
กระผม ในฐานะผู้อำนวยการหอศิลป์ร่วมสมัยอาร์เดล ภัณฑารักษ์ของนิทรรศการดังกล่าว ต้องกราบขออภัยต่อสาธารณชน ในกรณีที่ไม่รอบคอบกับการคัดกรองศิลปิน เนื่องเพราะไม่เคยคาดคิดว่าจะมีศิลปินคนใดกล้าทำเช่นนี้ได้ โดยตลอดระยะเวลากว่า 10 ปีที่ผ่านมา ทางหอศิลป์ฯจะให้เกียรติและเคารพต่อการทำงานของศิลปินทุกคนที่แสดงผลงานกับเราเสมอมา
ทางเราไม่เคยเข้าไปตรวจสอบผลงานว่าศิลปินเป็นผู้สร้างสรรค์ผลงานเองหรือไม่ เพราะทางหอศิลป์ฯ เชื่อมั่นเสมอว่า ศิลปินทุกคนมีเกียรติและศักดิ์ศรีในวิชาชีพของตนมากพอ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ จึงนับเป็นบทเรียนครั้งสำคัญที่ทางเราจะพิจารณาอย่างเข้มงวดยิ่งๆขึ้นไปในอนาคต
ในการนี้ กระผมจึงใคร่ขอแสดงความรับผิดชอบและความบริสุทธิ์ใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ด้วยการติดต่อเพื่อขอซื้อภาพที่เป็นประเด็นคำถามนี้คืนจากนักสะสมงานศิลปะท่านหนึ่ง ซึ่งได้ซื้อผลงานจิตรกรรมชิ้นนี้ไป แต่นักสะสมงานศิลปะท่านนั้นไม่ประสงค์ที่จะขายงานคืน โดยยืนยันที่จะเก็บรักษาผลงานชิ้นนี้ไว้ ส่วนผลประโยชน์จากผลงานจิตรกรรมชิ้นนี้ที่ทางหอศิลป์ฯ ได้รับไว้นั้น ทางเราจะนำไปมอบให้องคืกรการกุศลเพื่อสาธารณประโยชน์ต่อไป
ด้วยความเคารพ
7 /12 / 2560
ถาวร โกอุดมวิทย์
ผู้อำนวยการหอศิลป์ร่วมสมัยอาร์เดล
ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวพยายามติดต่อนายเอกชัย ลวดสูงเนิน ศิลปินชื่อดัง แต่ไม่สามารถติดต่อได้ บุคคลใกล้ชิดกล่าวว่าเจ้าตัวยังไม่พร้อมให้สัมภาษณ์ โดยขอเวลาอีก 2-3 วัน
นายเอกชัย เกิดที่จังหวัดขอนแก่นเมื่อ พ.ศ.2504 จบการศึกษาจากคณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ถือเป็นศิลปินอิมเพรสชั่นนิสต์ที่มีชื่อเสียง มีผลงานจำนวนมาก อาทิ
นิทรรศการเดี่ยว :
2529 – การแสดงภาพเขียน โรงแรมอิมพีเรียล กรุงเทพฯ
2530 – ภาพเขียนจิตรกรรมสีน้ำมัน โรงแรมเมอริเดียน เพรสซิเด้นท์ กรุงเทพฯ
2533 – “ทางผ่านกับบ้านเก่า” ศูนย์สรรพสินค้าริเวอร์ซิตี้ กรุงเทพฯ
2546 – แสดงผลงานเดี่ยวครั้งที่ 10, Akko แกลเลอรี่ กรุงเทพฯ
2551 – “ลั่นโทม” หอศิลป์ร่วมสมัยอาร์เดล กรุงเทพฯ
2554 – “ความงามท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง” ดี โอ บี หัวลำโพง แกลเลอรี่ กรุงเทพฯ
นิทรรศการกลุ่ม :
2523-2527 – แสดงผลงานนักศึกษา คณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
– แสดงงานศิลปกรรมแห่งประเทศไทย
2526 – ศิลปกรรมร่วมสมัย ธนาคารกสิกรไทย
2527 – ศิลปเยาวชนอาเซียน
– จิตรกรรมกลุ่มธันวา ครั้งที่ 1 สถาบันวัฒนธรรมเยอรมัน กรุงเทพฯ
2528 – จิตรกรรมกลุ่มธันวา ครั้งที่ 2 ศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพ กรุงเทพฯ
2530 – “นิทรรศการภาพทิวทัศน์” หอศิลป์ มาสเตอร์พีซ กรุงเทพฯ
2543 – นิทรรศการคู่ James Bud Bottom ซานตาบาร์บาร่า สหรัฐอเมริกา
2544 – “3 อิมเพรสชั่นนิสต์” หอศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เชียงใหม่
2545 – “อลังการแม่น้ำโขง” เอส ซี บี พาร์ค กรุงเทพฯ
2546 – “สี” หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กรุงเทพฯ
2547 – “น้ำ ฟ้า ป่า ภู ศิลปะสู่มหาชน” เขื่อนศรีนครินทร์ กาญจนบุรี
2550 – “ลาว” เวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาชนลาว
– “ซากุระ” นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
255 – “กรุงเทพฯ 226” หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร กรุงเทพฯ
2553 – นิทรรศการศิลปะเพื่อมูลนิธิกุมาร โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า, หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
– “Asian Art 2010” โตเกียว ญี่ปุ่น
– “20/20 20 ปี 20 ศิลปิน ครอบรอบ Akko แกลเลอรี่ ” Akko แกลเลอรี่ กรุงเทพฯ
(ข้อมูลจากเวปไซต์มูลนิธิหอศิลปะแห่งรัชกาลที่ 9)