งานเนื่องจากแรงโน้มถ่วงต้องคิดหรือไม่? ฟิสิกส์ ม.ปลาย

ที่ผม งง เรื่องนี้ก็เพราะว่ามีโจทย์ข้อนึงถามหางานที่เกิดขึ้นกับมวล m
ซึ่งมวล m กำลังถูกดันด้วยแรง F ขึ้นพื้นเอียง โดยพื้นเอียงมีแรงเสียดทาน f ด้วยความเร็วคงที่ ด้วยระยะ S
ซึ่งเฉลยตอบ = 0 J

ซึ่งที่ผมเข้าใจคือคิดแค่ งานเนื่องจาก F และ แรงเสียดทาน f  ไม่คิด mg sin(มุม)
แต่การจะตอบ 0 ได้ ของการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่นั้น คือการเคลื่อนที่ในแนวราบเท่านั้น
ดังนั้นการขึ้นพื้นเอียง กับ ยกของเลยไม่คิดงานเนื่องจากแรงโน้มถ่วง

เลยอยากจะถามผู้รู้ทุกท่านครับ
1. งานที่เกิดขึ้นของมวลนี้ หรือ งานลัพธ์ หรือ งานเนื่องจากแรงลัพธ์ นั้นต้องคิดงานเนื่องจากแรงโน้มถ่วงหรือไม่ครับ?
   แล้วงานทั้งสามตัวคือตัวเดียวกันใช้ไหมครับ? แต่เรียกคนละแบบเปล่าครับ?

  - ส่วนตัวผมเข้าใจว่าไม่ต้องคิด
    เพราะว่าตอนพิสูจน์ พลังงานศักย์ทั้งสปริง และ แรงโน้มถ่วง  เราพิสูจน์จากงาน
    เลยคิดว่า พลังงานศักย์ Ep มันก็คืองานตรงส่วนนั้นไปแล้วอะครับ



2. งาน(W)ที่แทนในสมการอนุรักษ์พลังงาน W + E1 = E2 คืองานลัพธ์ที่ผมถามข้อแรกหรือเปล่าครับ?

   - ที่ผมเข้าใจ คิดว่าตัวเดียวกันครับ เพราะว่า สมการนี้ผมมัก เจอบ่อยว่า
       ซิกมาW + ซิกมาEเริ่มต้น = ซิกมาEสุดท้าย

ขอบคุณมากครับ ยิ้ม
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่