ก่อนที่จะเป็นเจ้าของและมานั่งเหลาเรื่องราวเกี่ยวกับหมวกกันน็อคใบนี้ หากจะถามว่าก่อนหน้านี้เคยใช้หมวกอะไรมาบ้างก็คงต้องบอกว่า นอกจากหมวกราคาถูกๆ ที่ใช้กันตำรวจทั่ว ๆ ไปตามท้องตลาด ก็คงจะเป็น Shark RSR2 รุ่นแรก ๆ ที่ผลิตในไทย Arai Tour cross III และ Shoei Hornet Adventure ซึ่งนอกจากใบแรกที่มีโอกาสใช้จนคุ้มโดยการเอาไปไถถนนมา 2 รอบเมื่อกว่า 10 ปีที่แล้ว อีก 2 ใบหลังได้มีโอกาสครอบครองอยู่ใบละปีกว่า ๆ โดยที่แทบไม่ได้ใช้เลย เนื่องจากมีปัญหาเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เมื่อใส่แล้วทำให้รู้สึกว่าเป็นอุปสรรคต่อการขับขี่ของตัวเอง ก็เลยต้องปล่อยไปในราคาของมือสองทั้ง ๆ ที่เก็บอยู่ในกล่องเกือบตลอดเวลา ดังนั้นก็พอจะเอ่ยอ้างได้ว่ามีประสบการณ์เจ็บตัวกับหมวกกันน็อคมาไม่ใช่น้อยเลยทีเดียว
จนเมื่อถึงคราวต้องหาหมวกใบใหม่เลยต้องมองนอกกรอบจากยี่ห้อเดิม ๆ จากค่ายญี่ปุ่นที่คุ้นเคย โดยประเด็นหลักที่มองคือ ว่าจะหาหมวกที่เปิดคางได้ และบอกตรง ๆ ว่าก่อนที่จะซื้อ ได้รีวิวไว้แต่ Caberg Driod ด้วยราคาที่เป็นมิตร และตรงตามความต้องการที่ว่าสามารถเปิดคางได้ แต่เมื่อถึงวันที่ไปซื้อจริงนอกจากจะได้มีโอกาสได้ทดลองลูบ ๆ คลำ ๆ สวมหัว เปรียบเทียบกับ Schuberth E1 ใบนี้แล้ว ยังโดนราด (คงต้องใช้มากกว่าป้าย) ด้วยยาอะไรไม่รู้จาก อ.สมัญฯ แห่งโรงรถพันทิป จนจ่ายแพงกว่างบประมาณที่ตั้งไว้ถึง 3 เท่า หิ้วใบนี้ออกจากร้านมาแบบงง ๆ แม้กระทั่งว่าเมื่อถึงบ้านก็ยังรู้สึกหวิว ๆ แอบเสียดายเงินเกือบ 3 หมื่น อยู่ดี
และแล้วโอกาสที่จะได้ใช้งานจริงก็มาถึงหลังจากวันที่ซื้อมาเกือบเดือน เมื่อทริปใหญ่ที่สุดในชีวิตการขี่มอเตอร์ไซค์ได้ถูกกำหนดและวางแผนกันลงตัว สัตหีบ-หนองคาย-เวียงจันทร์-วังเวียง-สะหวันเขต-หลวงพระบาง-วังเวียง-ขอนแก่น-สัตหีบ ด้วยระยะทางรวมกว่า 2700 กม. ทำให้ได้รับรู้บุคลิก ข้อดี-ข้อด้อยมาพอสมควร ซึ่งคงจะเอาไปสรุปไว้ในตอนท้ายนะครับ ก่อนอื่นมาดูที่ตัวหมวกกันก่อนดีกว่า
สำหรับ Schuberth E1 น่าจะจัดอยู่ในจำพวกของหมวก Touring Adventure คือนอกจากจะมีแก๊ปบังแดดขนาดใหญ่ด้านบนที่สามารถปรับตำแหน่งขึ้นลงได้แล้ว ยังสามารถยกคางขึ้นได้ ทำให้มีความสะดวกมากขึ้นในกรณีของการเดินทางแล้วต้องการแค่แวะพักจิบน้ำโดยไม่ต้องถอดหมวกทั้งใบ หรือยกคางขึ้นและขับขี่เดินทางระยะใกล้ ๆ เพื่อสัมผัสอากาศดี ๆ กินลมชิล ๆ โดยในขณะที่ยกคางขึ้นยังสามารถเอาแว่นกันแดดลงเพื่อป้องกันดวงตาจากแมลงและสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ได้อีกด้วย ซึ่งความสามารถตรงนี้ถ้ามีคะแนนเต็มร้อย ผมให้ 120 เลยครับ สะดวกและเอนกประสงค์มากจริง ๆ เชลหมวกภายนอกค่อนข้างใหญ่เมื่อเทียบกับหมวกไซส์เดียวกันกับหมวกจากทางญี่ปุ่น รูปทรงออกไปทางโค้ง ๆ กลม ๆ ไม่ค่อยมีเหลี่ยม มีสัน หรือดูโฉบเฉี่ยวเท่าไร ซึ่งถือว่าเป็นข้อดีในเรื่องของแอโรไดนามิกในทุกด้านของหมวก ที่คิดว่าจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับหมวกแนว Touring ที่ใช้ขี่กินลมชมวิว หันซ้าย หันขวามองสาวข้างถนนบ้างอะไรบ้าง ก็ไม่เกิดอาการต้านลมแต่อย่างใด สำหรับรูปสวย ๆ ของหมวกใบนี้สามารถหาดูได้จากเวปไซต์ ของ Schuberth ได้เลยนะครับ
เมื่อใช้งานมาเกือบ 3000 กม. โดนทั้งเหงื่อและฝุ่นมาไม่น้อยก็ถึงเวลาต้องทำความสะอาด โดยภายนอกก็คงไม่ต้องทำอะไรมากมาย เช็ดด้วยผ้าไมโครไฟเบอร์หมาด ๆ แล้วตามด้วยผ้าไมโครฯ แห้ง แปรงสีฟันหรือแปรงเล็ก ๆ ปัดทำความสะอาดตามซอกมุมต่าง ๆ ส่วนต่าง ๆ ที่ถอดได้ผมเลือกที่จะถอดล้างหรือซักเป็นชิ้น ๆ ไป เริ่มจาก แก๊ปบังแดด และไวเซอร์ ถอดแช่น้ำสบู่กันไปเลย เมื่อแช่น้ำก็ได้พบว่าไวเซอร์ใส ๆ ที่เห็นมีลูกเล่นโดยการซ้อนแผ่นกันฝ้าไว้อีกชั้น โดยล็อกไว้กับ Pin Lock ด้านในของไวเซอร์ ก็เลยจับถอดออกมาล้างเสียด้วยเลย
ในส่วนของนวมบุด้านใน จำนวนชิ้นและการประกอบมีความแตกต่างจากหมวกญี่ปุ่นนิดหน่อย โดยมีการเพิ่มนวมรองต้นคอมาอีกหนึ่งชิ้น ซึ่งสามารถถอดออกได้โดยการดึงออกจากรางด้านในหมวกตรงท้ายทอยก่อน แล้วจึงดึงสลักด้านหน้าออกจากช่องเสียบและปลดเป๊กออกจากนวมรองแก้มทั้ง 2 ด้าน ตามในภาพอาจจะดูไม่เข้าที่เข้าทางเท่าไรเนื่องจากติดสายไมค์และหูฟังบลูทูธ ทำให้ขอบของนวมรองต้นคอไม่สามารถเข้าล็อคในรางได้ทั้งหมด นอกจากนี้นวมรองต้นคอชิ้นนี้ยังสามารถถอดเปลี่ยนเป็นชุดอุปกรณ์สื่อสารของ Schuberth ได้ทันที (แต่ราคาไม่น่าคบเท่าไร) รายละเอียดตามนี้เลยครับ
https://www.schuberth.com/en/products/motorbikes/communication-systems/src-s2-sport.html
ต่อจากนั้นก็ถึงคิวของนวมรองแก้ม ซึ่งถ้าเป็นหมวกญี่ปุ่นก็คงแค่ปลดเป๊ก 3 จุด แล้วรูดผ่านสายรัดคางได้เลย แต่สำหรับเจ้านี่ถึงกับต้องนั่งอ่านคู่มือ สรุปแว่ …..ให้รูดซิปออกก่อนแล้วค่อย ๆ ดึงสายรัดคางผ่านสาย Anti-roll-off ถึงจะดึงเอานวมรองแก้มออกได้ ... เอาละสิครับทั่นผู้โชมมมมม ซิปอยู่ไหนฟระ ลูบ ๆ คลำ ๆ อยู่พักใหญ่ถึงจะเจอและเอาออกได้
ต่อจากนั้นก็เป็นคิวของนวมรองกระหม่อม ซึ่งก็ไม่ยากอะไร สุดท้ายสรุปแว่… สำหรับหมวกใบนี้สามารถถอดชิ้นส่วนออกมาซักได้ทั้งหมด 4 ชิ้น ตามภาพปลากรอบครับ
เมื่อถอดนวมออกหมดแล้วมาดูด้านในหมวกกันบ้าง ด้านในงานประกอบเรียบร้อยดีครับวัสดุเป็นคล้าย ๆ โฟมแข็ง ส่วนใหญ่หุ้มทับด้วยผ้ากำมะหยี่สีเทาดำ มีรูระบายอากาศมาจากช่องบนหัว และแล้วสายตาก็มาสะดุดเข้ากับสายไฟที่ลอดผ่านด้านในเชลของหมวกและคอนเน็กเตอร์ที่แปะไว้ด้วยเทปใสตรงท้ายทอย จนต้องกลับไปเปิดคู่มืออีกครั้งและมันก็คืออออออออ....สายอากาศบลูทูธ ที่เตรียมไว้เชื่อมต่อกับชุดสื่อสารของ Schuberth เอง ไฮโซ ไปอี๊กกกกกก
ส่วนอื่น ๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับตัวหมวก ล็อกสายรัดคางเป็นแบบ Quick release
ช่องรับลมด้านหน้าขนาดใหญ่ ... เหตุผลหนึ่งที่ตัดสินใจเลือกใบนี้แทน C3 Pro ก็ตรงนี้แหละ ช่องรับลมด้านหน้าใหญ่กว่ามาก แถมด้านในมรลูกเล่นเล็กๆ คือมีฟองน้ำกรองฝุ่นที่สามารถ ถอดล้างได้ ซึ่งมีประโยชน์มากกับการเดินทางในทริปนี้ที่ถนนเต็มได้ด้วยฝุ่นสามารถถอดล้างได้ทุกเย็น
แก็ปบังแดดด้านบนสามารถถอดออกได้ง่ายๆ แต่บิดตัวล็อคสีดำไปตำแหน่ง Un-Lock และดึงออกได้ และถ้าไม่ใช้จะมีฝาปิดแถมมาให้ในกล่องเลย รวมถึงถ้าจะใช้ยังสามารถปรับระดับได้ 3 ระดับ โดยการโยกคานล็อคอันเล็กๆ ด้านใต้แก๊ป และดันปรับได้ตามต้องการ
เอาล่ะครับ เรื่องของตัวหมวกกคงไม่มีอะไรแล้ว มาสรุปการใช้งานดีกว่า
ข้อดี
1. แก๊ปบังแดดปรับได้ 3 ระดับ ใช้งานได้ดี บังแดดเวลาวิ่งรถสวนดวงอาทิตย์ช่วงสาย ๆ และบ่าย ๆ ได้เป็นอย่างดี เวลาขี่ด้วยความเร็ว 130-140 กม./ชม. ยังไม่มีอาการสั่นให้รู้สึก
2. เปิดคางคงไม่ต้องพูดถึง ชนะเลิศ
3. แว่นกันแดดและไวเซอร์ไม่มีอาการหลอกตา
4. การเก็บเสียงทำได้ดี เปิดเพลงฟังผ่านบลูทูธเสียงเริ่มไม่ชัดเจนตั้งแต่ความเร็วประมาณ 120 กม./ชม. และฟังไม่ออกโดยสิ้นเชิงที่ความเร็วประมาณ 140 กม./ชม. การคุยโทรศัพท์ จะให้ดีควรลดความเร็วต่ำกว่า 80 กม./ชม.จะชัดเจนทั้งการพูดและฟัง
5. แอโรไดนามิกในทุกด้าน ไม่ว่าจะด้านหน้าตรง หันซ้าย หันขวา มีความรู้สึกว่าต้านลมน้อยกว่าใบอื่น ๆ ที่เคยใช้มา
6. คู่มือจริงจังมาก รายละเอียดดี ภาพปลากรอบชัดเจน
ข้อเสีย
1. หนักที่สุดก็คงเป็นเรื่องราคา 5555
2. รองลงมาก็อาจจะเป็นเรื่อง นน. ที่ด้านหลังเขียนไว้ว่าหนัก 1695+/- 50 กรัม ซึ่งก็ไม่ใช่หมวกที่หนักที่สุดและเบาที่สุดที่เคยใช้มา แต่พอใช้งานจริงใส่ขี่มอเตอร์ไซค์ต่อเนื่องเช้าจรดเย็นก็ไม่ได้รู้สึกว่าหนักแต่อย่างใด
3. ยังไม่ได้รับการรับรองความปลอดภัยจากมาตรฐาน Snell โดยปกติเวลาจะซื้อหมวกสักใบ ปกติจะเลือกจากหมวกที่ผ่าน Snell เท่านั้น แต่ใบนี้มาได้อย่างไรก็ไม่รู้ววววววว
สรุป
ถ้าเรื่องราคาไม่ใช่ปัญหาสำหรับคุณ Schuberth E1 เป็นหมวกกันน็อค Touring Adventure ที่ดีที่สุดใบหนึ่งที่เคยใช้มาเลยครับ จบดื้อ ๆ แบบนี้แหละ มีอะไรที่ตกหล่นก็สอบถามได้เลยครับ
[CR] Schuberth E1 หมวก Touring Adventure สัญชาติเยอรมัน ราคา (กระเป๋าสตางค์) เบาหวิว
จนเมื่อถึงคราวต้องหาหมวกใบใหม่เลยต้องมองนอกกรอบจากยี่ห้อเดิม ๆ จากค่ายญี่ปุ่นที่คุ้นเคย โดยประเด็นหลักที่มองคือ ว่าจะหาหมวกที่เปิดคางได้ และบอกตรง ๆ ว่าก่อนที่จะซื้อ ได้รีวิวไว้แต่ Caberg Driod ด้วยราคาที่เป็นมิตร และตรงตามความต้องการที่ว่าสามารถเปิดคางได้ แต่เมื่อถึงวันที่ไปซื้อจริงนอกจากจะได้มีโอกาสได้ทดลองลูบ ๆ คลำ ๆ สวมหัว เปรียบเทียบกับ Schuberth E1 ใบนี้แล้ว ยังโดนราด (คงต้องใช้มากกว่าป้าย) ด้วยยาอะไรไม่รู้จาก อ.สมัญฯ แห่งโรงรถพันทิป จนจ่ายแพงกว่างบประมาณที่ตั้งไว้ถึง 3 เท่า หิ้วใบนี้ออกจากร้านมาแบบงง ๆ แม้กระทั่งว่าเมื่อถึงบ้านก็ยังรู้สึกหวิว ๆ แอบเสียดายเงินเกือบ 3 หมื่น อยู่ดี
และแล้วโอกาสที่จะได้ใช้งานจริงก็มาถึงหลังจากวันที่ซื้อมาเกือบเดือน เมื่อทริปใหญ่ที่สุดในชีวิตการขี่มอเตอร์ไซค์ได้ถูกกำหนดและวางแผนกันลงตัว สัตหีบ-หนองคาย-เวียงจันทร์-วังเวียง-สะหวันเขต-หลวงพระบาง-วังเวียง-ขอนแก่น-สัตหีบ ด้วยระยะทางรวมกว่า 2700 กม. ทำให้ได้รับรู้บุคลิก ข้อดี-ข้อด้อยมาพอสมควร ซึ่งคงจะเอาไปสรุปไว้ในตอนท้ายนะครับ ก่อนอื่นมาดูที่ตัวหมวกกันก่อนดีกว่า
สำหรับ Schuberth E1 น่าจะจัดอยู่ในจำพวกของหมวก Touring Adventure คือนอกจากจะมีแก๊ปบังแดดขนาดใหญ่ด้านบนที่สามารถปรับตำแหน่งขึ้นลงได้แล้ว ยังสามารถยกคางขึ้นได้ ทำให้มีความสะดวกมากขึ้นในกรณีของการเดินทางแล้วต้องการแค่แวะพักจิบน้ำโดยไม่ต้องถอดหมวกทั้งใบ หรือยกคางขึ้นและขับขี่เดินทางระยะใกล้ ๆ เพื่อสัมผัสอากาศดี ๆ กินลมชิล ๆ โดยในขณะที่ยกคางขึ้นยังสามารถเอาแว่นกันแดดลงเพื่อป้องกันดวงตาจากแมลงและสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ได้อีกด้วย ซึ่งความสามารถตรงนี้ถ้ามีคะแนนเต็มร้อย ผมให้ 120 เลยครับ สะดวกและเอนกประสงค์มากจริง ๆ เชลหมวกภายนอกค่อนข้างใหญ่เมื่อเทียบกับหมวกไซส์เดียวกันกับหมวกจากทางญี่ปุ่น รูปทรงออกไปทางโค้ง ๆ กลม ๆ ไม่ค่อยมีเหลี่ยม มีสัน หรือดูโฉบเฉี่ยวเท่าไร ซึ่งถือว่าเป็นข้อดีในเรื่องของแอโรไดนามิกในทุกด้านของหมวก ที่คิดว่าจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับหมวกแนว Touring ที่ใช้ขี่กินลมชมวิว หันซ้าย หันขวามองสาวข้างถนนบ้างอะไรบ้าง ก็ไม่เกิดอาการต้านลมแต่อย่างใด สำหรับรูปสวย ๆ ของหมวกใบนี้สามารถหาดูได้จากเวปไซต์ ของ Schuberth ได้เลยนะครับ
เมื่อใช้งานมาเกือบ 3000 กม. โดนทั้งเหงื่อและฝุ่นมาไม่น้อยก็ถึงเวลาต้องทำความสะอาด โดยภายนอกก็คงไม่ต้องทำอะไรมากมาย เช็ดด้วยผ้าไมโครไฟเบอร์หมาด ๆ แล้วตามด้วยผ้าไมโครฯ แห้ง แปรงสีฟันหรือแปรงเล็ก ๆ ปัดทำความสะอาดตามซอกมุมต่าง ๆ ส่วนต่าง ๆ ที่ถอดได้ผมเลือกที่จะถอดล้างหรือซักเป็นชิ้น ๆ ไป เริ่มจาก แก๊ปบังแดด และไวเซอร์ ถอดแช่น้ำสบู่กันไปเลย เมื่อแช่น้ำก็ได้พบว่าไวเซอร์ใส ๆ ที่เห็นมีลูกเล่นโดยการซ้อนแผ่นกันฝ้าไว้อีกชั้น โดยล็อกไว้กับ Pin Lock ด้านในของไวเซอร์ ก็เลยจับถอดออกมาล้างเสียด้วยเลย
ในส่วนของนวมบุด้านใน จำนวนชิ้นและการประกอบมีความแตกต่างจากหมวกญี่ปุ่นนิดหน่อย โดยมีการเพิ่มนวมรองต้นคอมาอีกหนึ่งชิ้น ซึ่งสามารถถอดออกได้โดยการดึงออกจากรางด้านในหมวกตรงท้ายทอยก่อน แล้วจึงดึงสลักด้านหน้าออกจากช่องเสียบและปลดเป๊กออกจากนวมรองแก้มทั้ง 2 ด้าน ตามในภาพอาจจะดูไม่เข้าที่เข้าทางเท่าไรเนื่องจากติดสายไมค์และหูฟังบลูทูธ ทำให้ขอบของนวมรองต้นคอไม่สามารถเข้าล็อคในรางได้ทั้งหมด นอกจากนี้นวมรองต้นคอชิ้นนี้ยังสามารถถอดเปลี่ยนเป็นชุดอุปกรณ์สื่อสารของ Schuberth ได้ทันที (แต่ราคาไม่น่าคบเท่าไร) รายละเอียดตามนี้เลยครับ https://www.schuberth.com/en/products/motorbikes/communication-systems/src-s2-sport.html
ต่อจากนั้นก็ถึงคิวของนวมรองแก้ม ซึ่งถ้าเป็นหมวกญี่ปุ่นก็คงแค่ปลดเป๊ก 3 จุด แล้วรูดผ่านสายรัดคางได้เลย แต่สำหรับเจ้านี่ถึงกับต้องนั่งอ่านคู่มือ สรุปแว่ …..ให้รูดซิปออกก่อนแล้วค่อย ๆ ดึงสายรัดคางผ่านสาย Anti-roll-off ถึงจะดึงเอานวมรองแก้มออกได้ ... เอาละสิครับทั่นผู้โชมมมมม ซิปอยู่ไหนฟระ ลูบ ๆ คลำ ๆ อยู่พักใหญ่ถึงจะเจอและเอาออกได้
ต่อจากนั้นก็เป็นคิวของนวมรองกระหม่อม ซึ่งก็ไม่ยากอะไร สุดท้ายสรุปแว่… สำหรับหมวกใบนี้สามารถถอดชิ้นส่วนออกมาซักได้ทั้งหมด 4 ชิ้น ตามภาพปลากรอบครับ
เมื่อถอดนวมออกหมดแล้วมาดูด้านในหมวกกันบ้าง ด้านในงานประกอบเรียบร้อยดีครับวัสดุเป็นคล้าย ๆ โฟมแข็ง ส่วนใหญ่หุ้มทับด้วยผ้ากำมะหยี่สีเทาดำ มีรูระบายอากาศมาจากช่องบนหัว และแล้วสายตาก็มาสะดุดเข้ากับสายไฟที่ลอดผ่านด้านในเชลของหมวกและคอนเน็กเตอร์ที่แปะไว้ด้วยเทปใสตรงท้ายทอย จนต้องกลับไปเปิดคู่มืออีกครั้งและมันก็คืออออออออ....สายอากาศบลูทูธ ที่เตรียมไว้เชื่อมต่อกับชุดสื่อสารของ Schuberth เอง ไฮโซ ไปอี๊กกกกกก
ส่วนอื่น ๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับตัวหมวก ล็อกสายรัดคางเป็นแบบ Quick release
ช่องรับลมด้านหน้าขนาดใหญ่ ... เหตุผลหนึ่งที่ตัดสินใจเลือกใบนี้แทน C3 Pro ก็ตรงนี้แหละ ช่องรับลมด้านหน้าใหญ่กว่ามาก แถมด้านในมรลูกเล่นเล็กๆ คือมีฟองน้ำกรองฝุ่นที่สามารถ ถอดล้างได้ ซึ่งมีประโยชน์มากกับการเดินทางในทริปนี้ที่ถนนเต็มได้ด้วยฝุ่นสามารถถอดล้างได้ทุกเย็น
แก็ปบังแดดด้านบนสามารถถอดออกได้ง่ายๆ แต่บิดตัวล็อคสีดำไปตำแหน่ง Un-Lock และดึงออกได้ และถ้าไม่ใช้จะมีฝาปิดแถมมาให้ในกล่องเลย รวมถึงถ้าจะใช้ยังสามารถปรับระดับได้ 3 ระดับ โดยการโยกคานล็อคอันเล็กๆ ด้านใต้แก๊ป และดันปรับได้ตามต้องการ
เอาล่ะครับ เรื่องของตัวหมวกกคงไม่มีอะไรแล้ว มาสรุปการใช้งานดีกว่า
ข้อดี
1. แก๊ปบังแดดปรับได้ 3 ระดับ ใช้งานได้ดี บังแดดเวลาวิ่งรถสวนดวงอาทิตย์ช่วงสาย ๆ และบ่าย ๆ ได้เป็นอย่างดี เวลาขี่ด้วยความเร็ว 130-140 กม./ชม. ยังไม่มีอาการสั่นให้รู้สึก
2. เปิดคางคงไม่ต้องพูดถึง ชนะเลิศ
3. แว่นกันแดดและไวเซอร์ไม่มีอาการหลอกตา
4. การเก็บเสียงทำได้ดี เปิดเพลงฟังผ่านบลูทูธเสียงเริ่มไม่ชัดเจนตั้งแต่ความเร็วประมาณ 120 กม./ชม. และฟังไม่ออกโดยสิ้นเชิงที่ความเร็วประมาณ 140 กม./ชม. การคุยโทรศัพท์ จะให้ดีควรลดความเร็วต่ำกว่า 80 กม./ชม.จะชัดเจนทั้งการพูดและฟัง
5. แอโรไดนามิกในทุกด้าน ไม่ว่าจะด้านหน้าตรง หันซ้าย หันขวา มีความรู้สึกว่าต้านลมน้อยกว่าใบอื่น ๆ ที่เคยใช้มา
6. คู่มือจริงจังมาก รายละเอียดดี ภาพปลากรอบชัดเจน
ข้อเสีย
1. หนักที่สุดก็คงเป็นเรื่องราคา 5555
2. รองลงมาก็อาจจะเป็นเรื่อง นน. ที่ด้านหลังเขียนไว้ว่าหนัก 1695+/- 50 กรัม ซึ่งก็ไม่ใช่หมวกที่หนักที่สุดและเบาที่สุดที่เคยใช้มา แต่พอใช้งานจริงใส่ขี่มอเตอร์ไซค์ต่อเนื่องเช้าจรดเย็นก็ไม่ได้รู้สึกว่าหนักแต่อย่างใด
3. ยังไม่ได้รับการรับรองความปลอดภัยจากมาตรฐาน Snell โดยปกติเวลาจะซื้อหมวกสักใบ ปกติจะเลือกจากหมวกที่ผ่าน Snell เท่านั้น แต่ใบนี้มาได้อย่างไรก็ไม่รู้ววววววว
สรุป
ถ้าเรื่องราคาไม่ใช่ปัญหาสำหรับคุณ Schuberth E1 เป็นหมวกกันน็อค Touring Adventure ที่ดีที่สุดใบหนึ่งที่เคยใช้มาเลยครับ จบดื้อ ๆ แบบนี้แหละ มีอะไรที่ตกหล่นก็สอบถามได้เลยครับ