จากโพสต์ของรายการซุปเปอร์จิ๋ว...ตอนนี้สังคมเรากำลังเข้าใจและสอนอะไรเด็กกันผิด ๆ อยู่รึเปล่าครับ ?

เรื่องมันเริ่มต้นมาจาก



"ความตายมันเป็นสิ่งปกติ ชีวิตผมพร้อมตายเลยก็ได้ อนาคตมันเราก็ไม่รู้
โลกมันอยู่ยาก ขนาดขึ้นรถไฟฟ้าแทนที่เด็กจะได้นั่งยังไม่ได้นั่งเลย"

อ้าว อยู่ดี ๆ มาบอกอยากตายเพราะโลกมันอยู่ยาก เพราะแค่ผู้ใหญ่ไม่ลุกให้นั่ง ก็โดนสิครับ





เรื่องมันเริ่มไปกันใหญ่เมื่อแอดมินเพจไล่ลบคอมเม้นท์ต่าง ๆ พร้อมเหตุผลว่า "กลัวทำให้น้องไม่สบายใจ บางข้อความมีถ้อยคำที่รุนแรง"



----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


ประเด็นที่เราอยากให้ตระนักกันในสังคม คือประเด็นในการสอนให้เด็กรู้จักแยกแยะ

ระหว่าง "สิทธิ์" ที่เขาควรจะได้รับ กับ "น้ำใจ" ที่มีคนมอบให้

ผมเป็นผู้ใช้รถสาธารณะ ยอมรับโดยส่วนตัวว่าพยายามจะปันน้ำใจให้ในทุก ๆ ครั้ง ถ้ามีโอกาส

แต่ในมุมกลับกัน การที่น้องไม่ได้รับน้ำใจ ไม่ได้แปลว่าน้องกำลังขาดการช่วยเหลือจากสิทธิ์ที่หนูพึ่งจะได้รับ

และคนอื่นเองก็ไม่ผิดด้วย ถ้าเขาจะไม่มีน้ำใจกับหนู !!

ทุกคนซื้อตั๋วโดยสารหมด ไม่มีใครโดยสารฟรี ๆ นี้คือการเท่าเทียมกันในโลกของความเป็นจริง

การที่หนูเป็นเด็ก ไม่ได้แปลว่ามันจะต้องได้รับการทรีตที่ดีกว่าจากคนอื่น


เพราะน้ำใจเป็นสิ่งที่ทั้งคนรับและคนให้ไม่ได้หวังผลตอบแทน

การไม่ได้รับน้ำใจจึงไม่ควรถือว่าคนอื่นเขาละเมิดสิทธิ์ของหนู

สุดท้ายนี้ อยากฝากถึงทุก ๆ รายการ บทสัมภาษณ์น้อง ๆ ที่โควทออกมา

ไม่มีใครรู้ ไม่มีใครเห็น บทสัมภาษณ์ตัวเต็มเป็นอย่างไร และไม่มีใครเดากระแสสังคมล่วงหน้าได้

แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่มันเป็นที่สาธารณะ นั้นแปลว่าฟีดแบ็กที่ตอบกลับมา อาจจะไม่ใช่สิ่งที่คุณคาดหวังเสมอไป

ถ้ายอมรับความเห็นสาธารณะไม่ได้ อย่า พับ บลิค

ขอลากันไปด้วยคอมเม้นท์ที่สรุปประเด็นได้ครบถ้วนมากที่สุด

สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 7
นี้อ่านไม่แตกกันหรือไม่เข้าใจประเด็นครับ

ประเด็นคือ เราไม่ควรสอนให้เด็กละเมิดสิทธิ์ของผู้อื่นและเราควรสอนให้เด็กรู้จักความเท่าเทียมกับคนอื่น ๆ ในสังคมรึเปล่า

ในขณะที่เรื่องของน้ำใจนั้นมันเป็นเรื่องที่บังคับกันไม่ได้และต่อให้พวกเขาไม่มีน้ำใจ พวกเขาก็ไม่ได้ทำผิดอะไร

มันเป็นสิ่งที่ควรได้ฟรี ไม่ใช่ได้มาจากการเรียกร้องครับ
ความคิดเห็นที่ 25
ตอนเด็กๆ พ่อผมสอนว่าได้รับน้ำใจ จากคนอื่นให้ขอบคุณ

แต่อย่าไปเรียกร้องน้ำใจจากคนอื่น

เพราะคำว่า "มีน้ำใจรึเปล่า ?" เป็นประโยคที่คนเห็นแก่ตัวชอบพูดกัน
ความคิดเห็นที่ 17
มันก็ไม่แปลกที่จะรู้สึกแบบนั้น

มันแล้วแต่คนจะมอง

คนถือสิทธิ์ของตนเป็นหลักก็คงมองอีกแบบ

คนถือน้ำใจและมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เป็นหลักก็คงมองอีกแบบ

มันไม่มีผิดหรอก

คนไม่มีน้ำใจก็ไม่ผิด ก็แค่ไม่มีน้ำใจ แค่นั้นเอง

คุณต้องยอมรับให้ได้ ว่าคุณไม่มีน้ำใจ และคุณไม่ผิด

เมื่อคุณเลือกที่จะไม่มีน้ำใจ และหากมีคนบอกว่าคุณไม่มีน้ำใจ มันคือข้อเท็จจริง ไม่ต้องไปรู้สึกขุ่นเคืองอะไร

ทำไมต้องไปมีความรู้สึก เมื่อโดนคนอื่นพูดในความเป็นจริง หากคุณใส่เสื้อดำ และมีคนบอกว่าคุณใส่เสื้อดำ ก็คือคุณใส่เสื้อดำ ก็แค่นั้น

หากคุณไม่มีน้ำใจ มีคนบอกว่าคุณไม่มีน้ำใจ มันก็ถูกแล้ว เค้าไม่ได้ว่าคุณผิด เค้าแค่บอกว่าคุณไม่มีน้ำใจ และคุณเองก็เชื่อนี่ ว่าไม่มีน้ำใจไม่ผิด แล้วจะมาอะไร
ความคิดเห็นที่ 15
ไม่รู้คิดไปเองหรือเปล่า
แต่ผมอ่านความเห็น แล้วกลับไปอ่าน
ผมมองว่า ประโยค "ขนาดเด็กควรจะได้นั่ง ยังไม่ได้นั่งเลย" นั่นแหละที่เรียกร้อง
มันก็เหมือนคนพิการมาบ่น ว่าคนพิการควรจะได้นั่ง ยังไม่ได้นั่ง
หรือคนขี่มอไซค์มาบอก ขนาดมอไซค์จ่ายภาษีด้วย ยังไม่ได้ลงอุโมงค์
ซึ่งมันก็คือการเรียกร้องด้วยรูปประโยคแบบหนึ่งนั่นแหละ
ความคิดเห็นที่ 23
เมื่อสังคม เริ่มแห้ง...................น้ำใจ
อ้างแต่สิทธิ์ หาใช่....................ควรต้อง
เด็กเยาว์วัย บ่นไป...................บ่ได้ ดอกนา
ผู้ใหญ่แห่ ร่ำร้อง.....................ปกป้อง สิทธิ์ตัว

สังคมไทย ใยแห้ง...................แล้งจริง
แค่บางอย่าง บางสิ่ง.................หวงห้าม
หากใครคิด ติติง......................ร้องร่ำ หาพวก
แม้เป็นเด็ก ยังขย้ำ....................ฉีกทึ้ง เมามันส์

กลับมาอ่านอีกที ก็เริ่มรู้สึกเหมือนเด็กคนนั้นเลย สังคมทุกวันนี้ "อยู่ยากเต็มที"
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่