คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
วัฒนธรรมดงเซิน(ดองซอน) เป็นวัฒนธรรมของพวกอินโดไซนีส(ลาวะ) ที่พบในแถบอินโด ปินอยส์ ไต้หวันดั้งเดิม ผ่านจีนแผ่นดินใหญ่ที่พบในชาวจ้วงและผ่านเวียดลงมายังไทย
เย่วหนาน(เย่วนาม อวดนาม เวียดนาม อันนาม) ก็คือกลุ่มไปเย่ว์กลุ่มหนึ่ง(เผ่าเครือญาติไตลาว ตาม DNA) กลุ่มเย่ว์ มีตั้ง 100 กลุ่ม 100 เผ่า
ยีนของทางเวียดนาม ก็หนักไปในยีนของอินโดไซนีสที่ที่ไปใกล้กับพวกไต้หวันดั้งเดิมหรือ ฟิลิปปินส์ มากกว่ายีนของ ไตทิเบต เพิ่มยีนมลายูจากเขมรมาหน่อย(ยีนเขมร มี มลายู กับ อินโดไซนีสเป็นยีนหลัก) หากรับยีนของทางจีนแต้จิ๋วทางเหนือมาเพิ่มก็จะได้ยีนไซบีเรียน ปัจจุบันยีนของเวียดมียีนฝรั่งเศสมาผสม
อาณาจักรเวียดนามนี้ เดิมชื่อ “นามเวียด, หนานเย่ว์” ตั้งอยู่บริเวณอ่าวตังเกี๋ยลุ่มแม่น้ำแดง ในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๔ ก่อนตกอยู่ใต้อำนาจของจีนเป็นเวลานานนับพันปี ในพุทธศตวรรษที่ ๑๕ สมัยราชวงศ์โง จึงได้แยกตัวเป็นอิสระจากจีน
ถ้ามองเรื่องของภาษาเวียดนามมีวิวัฒนการมาหลายยุค ถ้าเอาเริ่มต้นก็น่าจะเป็นภาษาแบบอินโดไซนีส แบบออสโตรนิเซียน คือมีเสียงควบกล้ำ พยางค์เปิดไม่มีตัวสะกด ที่มีลักษณะคล้ายยกับภาษาจีน ภาษาไทกะได หรือที่เรียกว่าภาษาฮานี(คล้ายภาษาโลโลแบบทิเบต ไต)
อย่าง อาณาจักรวันลาง หรือ Lac Viet ในยุคดงเซิน วันลาง หรือ walang เป็นภาษาตากาล็อกฟิลิปปินส์(อินโดไซนีสผสมมลายู หรือ ออสโตรนีเซียน )
ยุคที่ภาษาไตเข้ามาปะปนในภาษาเวียดมากขึ้น น่าจะเป็นยุค ราชวงศ์โง นายพลโงเกวี่ยนผู้นำท้องถิ่นในเขตเมืองฮวาลือ(ว้า-ลื้อ) ทางใต้ของลุ่มแม่น้ำแดง ขับไล่ชาวจีนได้ แล้วจึงก่อตั้งราชวงศ์โงเปลี่ยนชื่อประเทศว่า ไดเวียด
ราชวงศ์ลี้,หลี แห่ง พระเจ้าหลีไทโต (Ly Thai To) ก็น่าจะเป็นเผ่าคนไต ปกครอง
กลุ่มคนไต เช่น พ่อขุนรามฯ พญาลิไท พญาเลอไท ก็น่าจะอยู่ในลูกหลานเหลนคนกลุ่มนี้ ที่มาจากเมืองแถนสิบสองจุไท(เดียนเบียนฟู)
จนมาถึงราชวงศ์สุดท้ายคือ ราชวงศ์เหงียน(ตระกูลเหงียนมาจากทางใต้) ที่น่าจะพูดภาษาเวียดเหมือง(มอญเขมร) กันเป็นส่วนใหญ่
ภาษาของทางเวียดจึงมีลักษณะผสมจากเริ่มแรกเป็นออสโตรนีเซียนผสมจีนทางเหนือเช่นกวางตุ้ง แล้วมาผสมไต(ไดเวียด ไตเย่ว์) และมอญเขมร(เวียดเหมือง)
ถ้านับพวกยุคหินและยุคสำริด เช่น ปักกิ่งแมน ลำปางแมน หรือ วัฒนธรรมบ้านเชียง จะมีลักษณะแนวเดียวกับ วัฒนธรรมดงเซิน คือมาจากพวก ออสโตรเอเชียติกจากลุ่มน้ำสินธุ และออสโตนีเซียนจากชวา คือกลุ่มพวกอินโดไซนีส นั่นเอง
ถ้าปัจจุบันภาษาของตระกูลเหงียน(ตระกูลทางใต้) ก็จะเป็นภาษาเวียดเหมือง(มอญเขมร)
การพัฒนาตัวอักษรของเวียดนาม ก็จะมีหลักๆ 3 ช่วง
จื๋อญอ (chữ nho, 字儒) หรือฮ้านตึ (Hán tự, 漢字) คืออักษรจีนที่ใช้เขียนภาษาจีนโบราณ
จื๋อโนม (chữ nôm, 字喃) เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาเวียดนาม โดยนำอักษรจีนมาดัดแปลงเล็กน้อย
จื๋อโกว๊กหงือ (chữ Quốc ngữ แปลว่า "อักษรของภาษาประจำชาติ") ซึ่งเป็นอักษรละติน พัฒนาโดยอาแล็กซ็องดร์ เดอ รอด ซึ่งเป็นมิชชันนารีชาวฝรั่งเศสที่เข้ามาเผยแผ่ศาสนา
เย่วหนาน(เย่วนาม อวดนาม เวียดนาม อันนาม) ก็คือกลุ่มไปเย่ว์กลุ่มหนึ่ง(เผ่าเครือญาติไตลาว ตาม DNA) กลุ่มเย่ว์ มีตั้ง 100 กลุ่ม 100 เผ่า
ยีนของทางเวียดนาม ก็หนักไปในยีนของอินโดไซนีสที่ที่ไปใกล้กับพวกไต้หวันดั้งเดิมหรือ ฟิลิปปินส์ มากกว่ายีนของ ไตทิเบต เพิ่มยีนมลายูจากเขมรมาหน่อย(ยีนเขมร มี มลายู กับ อินโดไซนีสเป็นยีนหลัก) หากรับยีนของทางจีนแต้จิ๋วทางเหนือมาเพิ่มก็จะได้ยีนไซบีเรียน ปัจจุบันยีนของเวียดมียีนฝรั่งเศสมาผสม
อาณาจักรเวียดนามนี้ เดิมชื่อ “นามเวียด, หนานเย่ว์” ตั้งอยู่บริเวณอ่าวตังเกี๋ยลุ่มแม่น้ำแดง ในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๔ ก่อนตกอยู่ใต้อำนาจของจีนเป็นเวลานานนับพันปี ในพุทธศตวรรษที่ ๑๕ สมัยราชวงศ์โง จึงได้แยกตัวเป็นอิสระจากจีน
ถ้ามองเรื่องของภาษาเวียดนามมีวิวัฒนการมาหลายยุค ถ้าเอาเริ่มต้นก็น่าจะเป็นภาษาแบบอินโดไซนีส แบบออสโตรนิเซียน คือมีเสียงควบกล้ำ พยางค์เปิดไม่มีตัวสะกด ที่มีลักษณะคล้ายยกับภาษาจีน ภาษาไทกะได หรือที่เรียกว่าภาษาฮานี(คล้ายภาษาโลโลแบบทิเบต ไต)
อย่าง อาณาจักรวันลาง หรือ Lac Viet ในยุคดงเซิน วันลาง หรือ walang เป็นภาษาตากาล็อกฟิลิปปินส์(อินโดไซนีสผสมมลายู หรือ ออสโตรนีเซียน )
ยุคที่ภาษาไตเข้ามาปะปนในภาษาเวียดมากขึ้น น่าจะเป็นยุค ราชวงศ์โง นายพลโงเกวี่ยนผู้นำท้องถิ่นในเขตเมืองฮวาลือ(ว้า-ลื้อ) ทางใต้ของลุ่มแม่น้ำแดง ขับไล่ชาวจีนได้ แล้วจึงก่อตั้งราชวงศ์โงเปลี่ยนชื่อประเทศว่า ไดเวียด
ราชวงศ์ลี้,หลี แห่ง พระเจ้าหลีไทโต (Ly Thai To) ก็น่าจะเป็นเผ่าคนไต ปกครอง
กลุ่มคนไต เช่น พ่อขุนรามฯ พญาลิไท พญาเลอไท ก็น่าจะอยู่ในลูกหลานเหลนคนกลุ่มนี้ ที่มาจากเมืองแถนสิบสองจุไท(เดียนเบียนฟู)
จนมาถึงราชวงศ์สุดท้ายคือ ราชวงศ์เหงียน(ตระกูลเหงียนมาจากทางใต้) ที่น่าจะพูดภาษาเวียดเหมือง(มอญเขมร) กันเป็นส่วนใหญ่
ภาษาของทางเวียดจึงมีลักษณะผสมจากเริ่มแรกเป็นออสโตรนีเซียนผสมจีนทางเหนือเช่นกวางตุ้ง แล้วมาผสมไต(ไดเวียด ไตเย่ว์) และมอญเขมร(เวียดเหมือง)
ถ้านับพวกยุคหินและยุคสำริด เช่น ปักกิ่งแมน ลำปางแมน หรือ วัฒนธรรมบ้านเชียง จะมีลักษณะแนวเดียวกับ วัฒนธรรมดงเซิน คือมาจากพวก ออสโตรเอเชียติกจากลุ่มน้ำสินธุ และออสโตนีเซียนจากชวา คือกลุ่มพวกอินโดไซนีส นั่นเอง
ถ้าปัจจุบันภาษาของตระกูลเหงียน(ตระกูลทางใต้) ก็จะเป็นภาษาเวียดเหมือง(มอญเขมร)
การพัฒนาตัวอักษรของเวียดนาม ก็จะมีหลักๆ 3 ช่วง
จื๋อญอ (chữ nho, 字儒) หรือฮ้านตึ (Hán tự, 漢字) คืออักษรจีนที่ใช้เขียนภาษาจีนโบราณ
จื๋อโนม (chữ nôm, 字喃) เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาเวียดนาม โดยนำอักษรจีนมาดัดแปลงเล็กน้อย
จื๋อโกว๊กหงือ (chữ Quốc ngữ แปลว่า "อักษรของภาษาประจำชาติ") ซึ่งเป็นอักษรละติน พัฒนาโดยอาแล็กซ็องดร์ เดอ รอด ซึ่งเป็นมิชชันนารีชาวฝรั่งเศสที่เข้ามาเผยแผ่ศาสนา
แสดงความคิดเห็น
เวียดนามคือชาติพันธุ์ไท-กะไดที่ใช้ภาษาตระกูลมอญ-เขมรมาตั้งแต่ต้นใช่ไหม?
ข้าพเจ้าก็ไปสืบค้นตามร้านหนังสือบ้าง ในอินเตอร์เน็ตบ้าง เผื่อข้าพเจ้าจะตกหล่นอะไรหรือเปล่า เช่น คนเวียดนามอาจจะเป็นจีนฮั่นที่ลงมาสร้างอาณาจักรใหม่เองก็จริงๆได้ เป็นต้น ก็พบว่า ในพงศาวดารญวน(เวียดนามสือกี้) คนเวียดนามถือตนเป็นจีน(ฮั่น)สายหนึ่ง มีจุดกำเนิดเชื้อชาติตั้งแต่ยุคไคเภ็ก(ยุคไขเพิกเบิกโลก) ต่อเชื้อสืบสายลงมาตั้งอาณาจักรทางใต้ จนกลายเป็นเวียดนาม
แต่พอข้าพเจ้าไปอ่านกระทู้คำว่าที่ว่า”คนเวียดนามคือคนจีน(ฮั่น)ใช่ไหม?”ของเว็บทางจีนข้าพเจ้าพบว่า ทางจีน(ฮั่น)ส่วนใหญ่ไม่ได้ยอมรับว่าเวียดนามเป็นฮั่นเหมือนกับพวกตน บางรายไม่แม้กระทั่งจะบอกว่าคนฮั่นคือบรรพบุรุษของเวียดนามด้วยซ้ำ(แต่ยอมรับว่าการอพยพลงไปแต่งงานกันทีหลัง) และทางวิชาการของจีนถือว่าเวียดนามคือชนชาติที่พัฒนาตัวเองจากกลุ่มไปเยว่ (ไทยกับลาว ทางจีนก็อธิบายว่าเราคือชาติที่พัฒนามาจากคนกลุ่มนี้แหละ) พร้อมอธิบายว่าที่เวียดนามแต่งตัวคล้ายจีนฮั่นเป็นเพราะโดนวัฒนธรรมฮั่นกลืนกิน
ส่วนทางไทยก็อธิบายคล้ายๆ กับจีนโดยอธิบายว่าเวียดนามคือชนชาติที่พัฒนามาจากไป่เยว่ มีวัฒนธรรมในการใช้กลองสัมฤทธิ์เหมือนกันกับพวกผู้จ้วง(วัฒนธรรมดองซอน) บางบทความถึงกับมีข้อสันนิษฐานว่าไทกับเวียดนามมีบรรพบุรุษร่วมกันมาก่อน เพราะมีจุดร่วมทางประวัติศาสตร์ใกล้ๆ กัน พันธุกรรมก็ใกล้เคียงกันมาก ซึ่งเมื่อข้าพเจ้าอ่านจบก็คลายข้อสงสัยเรื่องประวัติความเป็นมาของคนเวียดนามพร้อมกับคิดว่าที่เวียดนามอยากเป็นจีน(ฮั่น)ขนาดนั้น คงจะโดนกระแส”ฮั่นฮว่า”อย่างรุนแรงเท่านั้นแหละ
แต่ข้าพเจ้ามาสะดุดตรงเรื่องกลุ่มภาษา...ที่ภาษาเวียดนามกลับไปสังกัดกลุ่มภาษามอญ-เขมร???
ข้าพเจ้างงงวยมาก มันจะเป็นไปได้อย่างไร ทำไมเวียดนามที่มีการพัฒนาชนชาติมาจากกลุ่มไป่เยว่ มีวัฒนธรรมกลองสัมฤทธิ์เหมือนพวกผู้จ้วงกลับไม่ใช้ภาษาตระกูลไท-กะได ทั้งที่พันธุกรรมกรรมก็ใกล้เคียงกับไท พัฒนาชนชาติใกล้ๆ กับไท ซ้ำเขียนประวัติไปอิงกับจีน(ฮั่น)ตอนเหนือ กลับไปใช้ภาษาตระกูลมอญ-เขมรซึ่งเป็นชาติทางใต้
นอกจากนี้เวียดนามก็เป็นพวกถือลัทธิขงจื้อ รักพวกพ้อง กีดกันวัฒนธรรมอื่น น่าจะรักษาภาษาที่ติดตัวจากการอพยพจากเหนือลงใต้ได้ ตามหลัก”ภาษาจะเคลื่อนย้ายตามกลุ่มคนที่ใช้ภาษานั้นๆ ”สิ หรือมันจะมีจุดบอดข้อผิดพลาดอะไรที่ข้าพเจ้าตกหล่นไปหรือเปล่า?
จึงเป็นที่ของคำถามว่าจริงๆ คนเวียดนามก็คือชนชาติไท-กะไดที่ใช้ภาษาตระกูลมอญ-เขมรมาตั้งแต่ต้นใช่ไหม?
หรือจริงๆ แล้วคนเวียดนามคือคนเชื้อสายมอญ-เขมรที่ใช้ภาษาตระกูลมอญ-เขมรมาตั้งแต่ต้น แต่ดันไปรับประวัติศาสตร์ของชนชาติตอนเหนือมาเป็นประวัติศาสตร์ชาติตัวเอง?
หรือมันจะเกิดการผสมผสานทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมจนทำให้คนพูดภาษาสายไท-กะไดเกิดการย้ายภาษาไปใช้ภาษาตระกูลมอญ-เขมร?
ปล.ในเวียดนามสือกี้ มีเรื่องน่าสนใจเรื่องหนึ่งคือการอธิบายเรื่องการเริ่ม-เลิกสักตัวของคนเวียดนามด้วย โดยกล่าวว่าเป็นเพราะกษัตริย์เวียดนามมีเชื้อนาคราช(เงือก?)จึงทำให้อสรพิษชุกชุมกัดคนตายเป็นอันมาก จึงมีบัญชาให้ราษฎรสักตัวด้วยหมึกดำเป็นลวดลาย สัตว์ร้ายจะได้เข้าใจเป็นพวกเดียวกัน สืบต่อมาครั้นแผ่นดินจีนไต้เหม็งจึงสั่งยกเลิกเสีย(เพราะดูจะไม่ศรีวิไล?) จึงเหลือธรรมเนียมนี้แก่พวกลาวกาวข่าเขมร ซึ่งหลักฐานนี้เป็นเครื่องยืนยันได้ว่าคนเวียดนาม เดิมคือหนึ่งในชนชาติไป่เยว่จริงๆ เพราะพวกไป่เยว่จะนิยมตัดผมสั้น เปลือยท่อนบน สักหมึกดำเพื่อเป็นการป้องกันสัตว์ร้าย