😱😱ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวที่ใช้แนวคิดสร้างรถไฟฟ้าตีคู่ไปกับถนนสายหลักหรือครับ😨😨

หากใครได้มีโอกาสสัญจรผ่านไปผ่านมาตามแนวรถไฟฟ้า โดยเฉพาะรถไฟลอยฟ้าตามถนนทุกแห่งทั้งใน กทม.เอง หรือแม้แต่สายสระบุรี-โคราช ที่กำลังสร้างในปัจจุบัน...จะเห็นสิ่งหนึ่งคือ แนวเสาที่ก่อสร้างจะวิ่งไปตามถนนสายหลักๆ ไม่ว่าจะเป็นเส้นที่สร้างเสร็จในปัจจุบัน คือสายสุขุมวิท พญาไท หรือแม้แต่สายพหลโยธิน และที่เห็นชัดเจนคือสายสีม่วง เส้นบางใหญ่ หรือแม้แต่คนที่สัญจรไปทางภาคอีสาน จะเห็นที่กำลังก่อสร้างขณะนี้คือ สระบุรีโคราช

ซึ่งแน่นอนว่าปัญหาหนึ่งคือเรื่องการจราจรที่ต้องเสียพื้นที่ไปฟรีๆ ไม่น้อยกว่า 2 เลน อันจะสร้างความเดือดร้อนในแค่ของการจราจร และรวมถึงอุบัติเหตุที่ประเมินมูลค่าไม่ได้

ที่สงสัยคือ หน่วยงานที่ดำเนินการก่อสร้าง ได้มีการประเมิน หรือทำการศึกษาแล้วหรือครับว่า ประเทศไทย จะต้องสร้างทางรถไฟฟ้าตีคู่ไปกับถนน (สายหลัก) เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถสร้างตัดแทยง นำความเจริญไปสู่ถนนสายรองได้เลย
สงัยว่าค่าใช้จ่ายในการศึกษาดังกล่าวมันคุ้มค่าพอต่อการแปบผลออกมาดังที่เห็น (นี่ยังไม่ได้พูดถึงกรณีสายสีม่วงบางใหญ่ที่ทำออกมาแล้วไม่ค่อยมีใครใช้บริการ...กลับใช้การสัญจรบนถนนเหมือนเดิม จนรถไฟฟ้าต้องต่อขยายพร้อมออกโปรโมชั่นเชิญชวนให้คนหันมาใช้มากขึ้น)

สงสัยครับว่าประเทศอื่นเค้าสร้างทางรถไฟฟ้าขนานไปกับถนนเหมือนบ้านเรารึป่าว หรือไทยเป็นชาติเดียวที่มีแนวคิดแบบนี้
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 9
ในเชิงการวางแผนการจราจร ใช้4 steps planning process ครับซึ่งก็ใช้วิธีนี้แหละแบบเดียวกันทั่วโลก
สรุปง่ายๆ ว่าดูการเดินทางเป็นหลักครับจากไหนมาไหน ด้วยวิธีอะไร
บ้านเรา และอีกหลายๆ ประเทศ ถนนมาก่อน จึงดูเหมือนว่ารถไฟฟ้าวิ่งแต่ตามแนวถนนเท่านั้นครับ
จริงๆ หลายๆ ประเทศมี่ซาดิสท์หน่อย ที่เน้นแนวคิดขนคนมากกว่าขนรถ เขาแกล้งให้การใช้รถลำบากที่สุดด้วยซ้ำครับ
และทำให้ระบบขนส่งสาธารณะสะดวกสุดๆ บางเมืองมีระบบว่ารถเมล์ถึงแยกปุ๊บ ไฟเขียวทันทีก็มี
กลับมาที่บ้านเรา การวางรถไฟฟ้าตามแนวถนนนั้น มีประโยชน์หลายประการคือ
(1) เป็นที่ที่มีการสัญจรอยู่แล้ว เปิดแล้วรองรับประชาชนได้ทันที
(2) รัฐเวนคืนทำถนนอยู่แล้วจึงเป็นการใช้ทรัพยากรหลวงให้เกิดประโยชน์สูงส่งผลให้เวนคืนน้อย จึงกระทบประชาชนน้อย มีคนต่อต้านน้อย และประหยัดงบหลวง
ส่วนการก่อสร้างรถไฟฟ้านอกแนวถนนใหญ่ ก็มีข้อดีครับคือ
(1) เปิดพื้นที่สร้างเมืองใหม่ หรือถือโอกาสปรับปรุงเมืองเก่าแต่ก็ใช้เวลาและการลงทุนพอสมควร

ดังนั้น รัฐและภาคประชาชนต้องร่วมกันพิจารณาเป็นเส้นทางๆ ไปครับ ถ้ามีแนวถนนใหญ่ ก็ใช้ก่อน ถ้าไม่มีก็เปิดพื้นที่ใหม่ไปเลย เช่นสายสีส้ม ผ่าเข้ากลางถนนเล็กช่วงดินแดง ถือโอกาสปรับพื้นที่เมืองใหม่ไปเลย (แต่ก็มีการต่อต้านเยอะหน่อย)
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 11
(นี่ยังไม่ได้พูดถึงกรณีสายสีม่วงบางใหญ่ที่ทำออกมาแล้วไม่ค่อยมีใครใช้บริการ...กลับใช้การสัญจรบนถนนเหมือนเดิม จนรถไฟฟ้าต้องต่อขยายพร้อมออกโปรโมชั่นเชิญชวนให้คนหันมาใช้มากขึ้น)
^
^
^
^
เห็นประโยคนี้ แยกย้ายดีกว่า
เพราะ จขกท ไม่ได้ดูศึกษาสภาพปัจจุบันเลย แต่กลับตั้งคำถามเกี่ยวกับการศึกษาของหน่วยงานอื่นๆ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่